หลักสูตรที่จัดเสร็จแล้ว

หลักสูตร กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 3 เมษายน 2567)

หลักสูตรอบรมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง(Manufacturing Process of Rubber Products) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 9.00-16.30 น. จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบทั้งในรูปแบบอบรมในห้องอบรม (onsite) พร้อมกับ อบรมในรูปแบบ onlineผู้สนใจสามารถเลือกรูปแบบการอบรมได้ตามที่ท่านสะดวก รายละเอียดดังนี้รูปแบบที่1 อบรม onsite ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีรูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting หลักการและเหตุผล       อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงเพราะประเทศไทยได้เปรียบทั้งในด้านที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบและยังมีค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมากนัก ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยียางจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2566 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยียางขึ้นจำนวน 6 หลักสูตรต่อเนื่องกันให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านเทคโนโลยียาง โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร […]

หลักสูตรอบรม ยางและสารเคมียาง (วันที่ 21-22 มีนาคม 2567)

   หลักสูตรอบรมยางและสารเคมียาง(Rubber and Compounding Ingredients) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันที่ 21-22 มีนาคม 2567 เวลา 9:00-16:30 น.ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีสามารถดาวโหลดเอกสารประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ PDF ได้ที่ DOWNLOAD  หลักการและเหตุผลอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงเพราะประเทศไทยได้เปรียบทั้งในด้านที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบและยังมีค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมากนัก ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยียางจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2566 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงได้เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยียางขึ้นจำนวน 6 หลักสูตรต่อเนื่องกันให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านเทคโนโลยียาง โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางของไทยให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์ โดยหลักสูตร “ยางและสารเคมียาง” เป็นหลักสูตรแรกของปีที่จะเน้นเผยแพร่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมบัติและการใช้งานของยางชนิดต่าง ๆ รวมถึงบทบาทและหน้าที่ของสารเคมีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง (โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตจากยางแห้ง) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกใช้ชนิดของยางได้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์และเข้าใจถึงหน้าที่ของสารเคมีแต่ละชนิดที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง  วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมบัติและการใช้งานของยางชนิดต่าง ๆ รวมถึงบทบาทและหน้าที่ของสารเคมีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง  เนื้อหาหลักสูตรการอบรมนี้เป็นการอบรมภาคทฤษฎีที่ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๆ 2 ส่วน ได้แก่1) สมบัติและการใช้งานของยางธรรมชาติ (NR) และยางสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ […]

หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567)

  หลักสูตรอบรมวิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง(Reverse Engineering of Rubber Products)    จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567ห้อง M120 อาคารเอ็มเทคอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีคลิกดู แผนที่ หลักการและเหตุผล        ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคนิคและเครื่องมือวิเคราะห์ส่งผลทำให้การทำวิศวกรรมย้อนรอยเพื่อแกะสูตรเคมียางในปัจจุบันสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและจำเป็นต้องใช้ชิ้นตัวอย่างในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ การแกะสูตรเคมียางของผลิตภัณฑ์ต้นแบบจะทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบนั้นทำจากยางอะไร มีปริมาณเนื้อยางมากเท่าใด และมีสารตัวเติมชนิดใดบ้างและมีอยู่ในปริมาณเท่าใด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ในการออกสูตรหรือปรับปรุงสูตรเคมียางเพื่อให้มีสมบัติที่ใกล้เคียงหรือดีกว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยางสามารถตรวจสอบชนิดของยางว่าเป็นไปตามข้อตกลงหรือไม่ก่อนที่จะทำการตรวจรับสินค้า รวมถึงการตรวจสอบสูตรเคมีของผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อในแต่ละครั้งว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่ ฯลฯ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีการแกะสูตรเคมียางดังกล่าว จึงได้จัดหลักสูตรการอบรมนี้ขึ้น โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเทคนิคต่างๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หาชนิดและ/หรือปริมาณเนื้อยาง สารตัวเติม รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์ยาง วัตถุประสงค์        เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์หาองค์ประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มเป้าหมาย        ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาง ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาง และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเทคโนโลยีการออกสูตรหรือการแกะสูตรเคมียาง วิทยากร […]

หลักสูตรอบรม การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง (วันที่ 4-6 มีนาคม 2567)

หลักสูตรอบรม การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 4 – 6 มีนาคม 2567ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี (แผนที่)   หลักการและเหตุผล       การออกแบบแม่พิมพ์ (Die Design) เป็นขั้นตอนหนึ่งของการออกแบบกระบวนการผลิต (Process Design) ในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง (High Pressure Die Casting Processes) การออกแบบกระบวนการผลิตที่ดีจะส่งผลให้: (1)ใช้เวลาในขั้นตอนเตรียมการผลิตสั้น(ออกแบบ/ผลิตแม่พิมพ์, การทดสอบการฉีด), (2) สามารถผลิตชิ้นงานหล่อได้อย่างต่อเนื่องและมีของเสียอยู่ภายในค่าขอบเขตที่กำหนดในการผลิตต่อเนื่อง (Mass production), และ(3) สามารถวางแผนลดต้นทุนการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบตลอดอายุการผลิตชิ้นงาน       การออกแบบกระบวนการผลิต (Process design) ประกอบด้วยขั้นตอนหลักได้แก่ (1) การวิเคราะห์ชิ้นงาน (Parts analysis) (2) การออกแบบDie layout, (3) […]

หลักสูตร การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 12-13 มีนาคม 2567)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนด้วยซอฟต์แวร์ Ansys จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 12-13 มีนาคม 2567 เวลา 9.00 – 16.00 น.อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี         หลักสูตรนี้อยู่ในชุดหลักสูตรสำหรับการพัฒนาทักษะสำหรับวิศวกรการคำนวณ หรือ CAE Engineer ทำให้เข้าใจทักษะการแก้ปัญหางานทางด้านวิศวกรรมด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAE : Computer-Aided Engineering) หลักสูตรนี้เน้นการวิเคราะห์ปัญหาโครงสร้าง (structural problem) และปัญหาการถ่ายเทความร้อน (heat transfer problem) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะได้รับการปูพื้นฐานทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys เพื่อสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง รวมทั้งเทคนิคในการวิเคราะห์ผลจากการคำนวณ จากตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หลังจากผ่านหลักสูตรนี้แล้วผู้เข้าอบรมจะมีองค์ความรู้และทักษะในการไปประยุกต์ใช้กับงานทางวิศวกรรมจริงต่อไป Key Highlights 1. การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนด้วยการประยุกต์ใช้การเทคโนโลยีการคำนวณทางด้านวิศวกรรมด้วย CAE2. การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง3. การพัฒนาทักษะและเทคนิคการวิเคราะห์และอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ รูปแบบการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการสอนแบบบรรยายและการลงมือปฏิบัติโดยใช้ซอฟต์แวร์ Ansys (ศูนย์ฯ จัดคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ติดตั้งอยู่ให้ผู้อบรมใช้งาน) […]

1 2 3 41