Chanpen Thanomboon, Author at MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/author/chanpent/ National Metal and Materials Technology Center Mon, 17 Feb 2025 08:41:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico Chanpen Thanomboon, Author at MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/author/chanpent/ 32 32 หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (High Pressure Die Casting Process Technology) https://www.mtec.or.th/high-pressure-die-casting/ Mon, 06 Jan 2025 04:43:28 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=33721 หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (วันที่ 4-5 มีนาคม 2568) หลักสูตรอบรมเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง(High Pressure Die Casting Process Technology) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ... Read more

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (High Pressure Die Casting Process Technology) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (วันที่ 4-5 มีนาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
(High Pressure Die Casting Process Technology)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

วันที่ 4-5 มีนาคม 2568 เวลา 9:00-16:00 น.
ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

  หลักการและเหตุผล

กระบวนการหล่อโลหะความดันสูงเป็นกระบวนการที่ผลิตชิ้นงานหล่อที่มีรูปร่างซับซ้อน บาง ด้วยการฉีดโลหะเหลวเข้าสู่แม่พิมพ์ภายใต้ความดันสูงในเวลาที่สั้นมากๆ โดยมีตัวแปรกระบวนการผลิตที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อมากมาย เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานหล่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ช่างเทคนิค/วิศวกรผู้เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของกระบวนการหล่อความดันสูงในเรื่องของคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อ, ปัญหา NG ที่เกิดขึ้นที่ชิ้นงาน, ความรู้พื้นฐานทางด้านวัสดุ และการอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะดังกล่าวมาใช้ใน (1)การกำหนดค่าสภาวะการฉีด (2) การติดตามและควบคุมกระบวนการฉีด และ (3)วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดข้อบกพร่องและการกำหนดแนวทางการแก้ไข ในกระบวนการหล่อความดันสูง

 วัตถุประสงค์

1. สร้างความเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง
2. ระบุถีงตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อและการเกิดปัญหาข้อบกพร่อง
3. ปัญหาข้อบกพร่องที่พบในชิ้นงานหล่อ และกลไกการเกิด
4. ตัวอย่างกรณีศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในกระบวนการหล่อที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ

  เนื้อหาในการบรรยาย ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่

1. คุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง
2. พื้นฐานเกี่ยวกับอะลูมิเนียมผสมที่ใช้ในงานหล่อ
3. การใช้ประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อในกระบวนการหล่อความดันสูง
4. คุณภาพของชิ้นงานหล่อและปัญหาข้อบกพร่องที่พบในชิ้นงานหล่อกระบวนการหล่อความดันสูง

  รายละเอียดของเนื้อหาแต่ละส่วน

วันที่ 4 มีนาคม 2568

เช้า (9.00-12.00 น.)
1. คุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง
1.1. ลักษณะของชิ้นงานหล่อที่ฉีดขึ้นรูปโดยใช้กระบวนการหล่อความดันสูง
1.2. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง/คุณภาพ/ปัญหาข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อกับลักษณะการไหลของอลูมิเนียมเหลวในขั้นตอนการฉีด
1.3. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง/คุณภาพ/ปัญหาข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อ กับลักษณะการแข็งตัวของอลูมิเนียมเหลวในกระบวนการหล่อความดันสูง
1.4. ขอบเขตความสามารถและข้อจำกัดของกระบวนการหล่อความดันสูง
1.5. หลัการทำงานของเครื่องฉีด / แม่พิมพ์ ในกระบวนการหล่อความดันสูง
1.6. ขั้นตอนการทำงานใน 1 รอบการฉีดของกระบวนการหล่อความดันสูง
1.7. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในแต่ละขั้นตอนการทำงานใน 1 รอบการฉีด
1.7.1. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการฉีด
1.7.2. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการแข็งตัว
1.7.3. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์
1.7.4. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการทำความสะอาดแม่พิมพ์

บ่าย (13.00-16.00 น.)
1.8. การอ่านค่าตัวแปรการฉีด ทั้งsetup และ Actual จากเครื่องฉีด
1.9. การคำนวณหาแรงปิดแม่พิมพ์และการเลือกขนาดเครื่องฉีดให้เหมาะสมกับชิ้นงานหล่อ
2. พื้นฐานเกี่ยวกับอะลูมิเนียมผสมที่ใช้ในงานหล่อ
2.1. มาตราฐานอลูมิเนียมที่ใช้ฉีดขึ้นรูปในกระบวนการหล่อความดันสูง
2.2. เกรดอลูมิเนียมที่มีผลต่อการกำหนดค่าตัวแปรและคุณภาพชิ้นงานหล่อ
2.3. การคำนวณสัดส่วน Ingot กับ Scrap ที่ใช้ในการหลอมอลูมิเนียมเหลว
2.4. อิทธิพลของโลหะเหลวที่มีผลต่อคุณภาพและการเกิดข้อบกพร่องในชิ้นงานหล่อ

วันที่ 5 มีนาคม 2568

เช้า (9.00-12.00 น.)
3. การอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ (simulation)
3.1. ความเข้าใจเกียวกับโปรแกรมจำลองการหล่อ
3.2. การประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองการหล่อในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง
3.3. วิธีการอ่านผลการคำนวณที่ได้จากโปรแกรมจำลองการหล่อ
3.4. การใช้ผลการคำนวณจากโปรแกรมจำลองการหล่อในการประเมินอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพและการเกิดปัญหาข้อบกพร่องในชิ้นงานหล่อ

บ่าย (13.00-16.00 น.)
4. ปัญหาข้อบกพร่องที่พบในกระบวนการหล่อความดันสูง
4.1. ปัญหาข้อบกพร่องในกระบวนการหล่อความดันสูงจำแนกตามตำแหน่งที่พบในชิ้นงานหล่อ
4.2. กลไกการเกิดปัญหาข้อบกพร่องแต่ละชนิดในกระบวนการหล่อความดันสูง
4.3. ตัวแปรที่มีผลต่อการเกิดปัญหาข้อบกพร่อง
4.4. ตัวอย่างกรณีศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในกระบวนการหล่อที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ

 กำหนดการอบรม

8.30 – 9.00 น.    ลงทะเบียน
9.00 – 10.30 น.  เวลาในการอบรม
10.30 – 10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น.  เวลาในการอบรม
12.00 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น.  เวลาในการอบรม
14.30 – 14.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.00 น.  เวลาในการอบรม

 วิทยากร

ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
ทางด้านงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงงานให้บริการทางด้านเทคนิค
การให้คำปรึกษา ทางด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
จำนวนหลายโครงการในหลายบริษัทฯ

 

ดร.พงษ์ศักดิ์ ดุลยประพันธ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
อดีตนักวิจัยด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

คุณเอกชัย กิติแก้วทวีเสริฐ
วิศวกรทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

 รายละเอียดการลงทะเบียน

ราคาค่าลงทะเบียนแบ่งตามประเภทผู้เข้าอบรม ดังนี้
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคาจ่ายสุทธิรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 7,490 บาท/ท่าน
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรของรัฐ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จ่ายสุทธิ 7,000 บาท/ท่าน

 ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่  https://forms.gle/dAVyNeWvr6DhjBJR9

หมายเหตุ
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– มีเอกสารประกอบการอบรม อาหารว่างและอาหารกลางวัน ให้กับผู้เข้ารับการอบรม
– รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น
กรณีที่ทางศูนย์ฯ ขอยกเลิกการจัดอบรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจัดอบรม อันเนื่องจากมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าอบรมจำนวนน้อยเกินไปหรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้สมัครในทุกกรณี  อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับค่าอบรมที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้า

**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
**โปรดดำเนินการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 หากท่านไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ศูนย์ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสำรองที่นั่งอบรมของท่าน**

การชำระค่าลงทะเบียน
ทำเช็คสั่งจ่าย/ โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
(กรุณาส่งหลักฐานการฝากเช็ค/ โอนเงินเข้าบัญชีมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)

 สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม
(คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (High Pressure Die Casting Process Technology) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ประเมินสมรรถนะและความปลอดภัยยานยนต์ไฟฟ้า EV performance and safety assessment https://www.mtec.or.th/ev-performance-and-safety-assessment/ Tue, 04 Jun 2024 02:07:47 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=14163 ดร.จิตติ มังคละศิริ หัวหน้าทีมวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตและการประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการค้า เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 3 (INC-3) ณ สำนักงานใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา

The post ประเมินสมรรถนะและความปลอดภัยยานยนต์ไฟฟ้า EV performance and safety assessment appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ประเมินสมรรถนะและความปลอดภัยยานยนต์ไฟฟ้า EV performance and safety assessment

บริการให้คำปรึกษา:

  • วิเคราะห์การกระจายน้ำหนัก และวิเคราะห์ระบบส่งกำลัง เช่น
    หาขนาดมอเตอร์และแบตเตอรี่ที่เหมาะสม
  • วิเคราะห์อัตราเร่ง การสิ้นเปลือง และระยะทางการขับขี่ด้วยแบบจำลอง
  • ทดสอบสมรรถนะด้านยานยนต์ไฟฟ้าในสภาวะการใช้งานจริง เช่น พลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ Energy consumption Range
    per charge Charging duration Electrical usage of equipment
  • ทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า เช่น การป้องกันทางไฟฟ้า
    การทดสอบการแยกกันทางไฟฟ้า (Isolation) การตรวจสอบการทำงาน
    เชิงความร้อน ความสามารถในการต้านทานผลกระทบจากน้ำ (Resistance to water effect) ให้คำปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไข

เครื่องมือ:

  • Vehicle weighing scale
  • Energy logger
  • Various type of Current sensors
  • Insulation tester
  • ตู้ Distribution board + EV Charger
  • GNSS based speed sensor
  • Inertial navigation sys. + RTK system
  • Safety equipment
  • Test track: MTEC wading track at Prachinburi

ติดต่อ
ดร.ฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุล chadchas@mtec.or.th
นายเศรษฐลัทธ์ แปงเครื่อง setthaluth.pan@mtec.or.th
นายณรงค์ฤทธิ์ สืบนันตา narongrit.sue@mtec.or.th

The post ประเมินสมรรถนะและความปลอดภัยยานยนต์ไฟฟ้า EV performance and safety assessment appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
วิเคราะห์และทดสอบด้านวิศวกรรมยานยนต์ https://www.mtec.or.th/safety-ride-comfort-vehicle-testing/ Tue, 04 Jun 2024 01:29:18 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=14137 ดร.จิตติ มังคละศิริ หัวหน้าทีมวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตและการประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการค้า เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 3 (INC-3) ณ สำนักงานใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา

The post วิเคราะห์และทดสอบด้านวิศวกรรมยานยนต์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วิเคราะห์และทดสอบด้านวิศวกรรมยานยนต์ Performance, Safety & Ride comfort Vehicle testing

บริการให้คำปรึกษา:

  • วิเคราะห์สมรรถนะทั่วไป เช่น จุดศูนย์ถ่วง ค่า Static stability factor (SSF) ความสามารถในการไต่ทางลาดชัน และวิเคราะห์แรงต้านทาน
    เป็นต้น
  • ทดสอบสมรรถนะเสถียรภาพและระบบบังคับเลี้ยว ตามข้อกำหนด ISO3888, ISO7401, ISO13674-2, ISO4138
  • ทดสอบคุณภาพระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว ตามข้อกำหนด UN R140
  • ทดสอบสมรรถนะการเบรก ตามข้อกำหนด UN R13, R13H, R78
  • ให้คำปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไข

เครื่องมือ:

  • Vehicle weighing scale
  • Various type of data loggers
  • GNSS based speed sensor
  • Inertial navigation sys. + RTK system
  • Inertial measurement unit (IMU)
  • Various type of accelerometers
  • Seat pad accelerometer
  • Software: MATLAB
  • Test track: partners

 

ติดต่อ
ดร.ฉัตรชัย ศรีสุรางค์กุล chadchas@mtec.or.th
นายเศรษฐลัทธ์ แปงเครื่อง setthaluth.pan@mtec.or.th
นายณรงค์ฤทธิ์ สืบนันตา narongrit.sue@mtec.or.th

The post วิเคราะห์และทดสอบด้านวิศวกรรมยานยนต์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>