dtmd-saw, Author at MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/author/dtmd-saw/ National Metal and Materials Technology Center Mon, 23 Jun 2025 07:31:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico dtmd-saw, Author at MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/author/dtmd-saw/ 32 32 หลักสูตรอบรม การวิเคระห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 5-6 กันยายน 2567) #3 https://www.mtec.or.th/2025-advanced-ansys/ Wed, 11 Jun 2025 09:16:00 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38424 หลักสูตรอบรม การวิเคระห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 25-26 กันยายน 2568) หลักสูตรการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys(Advanced Finite Element Analysis with Ansys) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา ... Read more

The post หลักสูตรอบรม การวิเคระห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 5-6 กันยายน 2567) #3 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม การวิเคระห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 25-26 กันยายน 2568)

หลักสูตร
การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys
(Advanced Finite Element Analysis with Ansys)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

วันที่ 25-26 กันยายน 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

      หลักสูตรนี้เป็นการสอนการใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys วิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนที่มีความซับซ้อน เช่น ปัญหาการสัมผัส (contact problems), ปัญหาพลศาสตร์ (dynamics problems) เป็นต้น โดยผู้เข้าอบรมจะได้ลงมือใช้ซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง พร้อมสอนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการตีโจทย์และวิเคราะห์ผลการจำลอง นอกจากนั้นจะมีการยกตัวอย่างงานจริงจากประสบการณ์ของวิทยากรมาประกอบด้วย

  – ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนที่มีความซับซ้อน เช่น ปัญหาการสัมผัส (contact problems), ปัญหาพลศาสตร์ (dynamics problems) เป็นต้น
  – การใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys วิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนที่มีความซับซ้อน
  – กรณีศึกษาการวิเคราะห์งานในอุตสาหกรรม 

Key Highlights
  1.การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโครงสร้างขั้นสูงด้วยการประยุกต์ใช้การเทคโนโลยีการคำนวนทางด้านวิศวกรรมด้วย CAE
  2.การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง
  3.การพัฒนาทักษะและเทคนิคการวิเคราะห์และอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ

รูปแบบการอบรม
       การอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการสอนแบบบรรยายและการลงมือปฏิบัติโดยใช้ซอฟต์แวร์ Ansys (ศูนย์ฯ จัดคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ติดตั้งอยู่ให้ผู้อบรมใช้งาน)

เนื้อหาหลักสูตร
วันที่ 25 กันยายน 2568
08.30-09.00 น.    ลงทะเบียน
09.00-10.30 น.     Introduction to Non-Linear Analysis
                           Geometric Nonlinearity
10.30-10.45 น.      พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.      Geometric Nonlinearity Workshop
12.00-13.00 น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น.       Material Nonlinearity
14.30-14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น.       Material Nonlinearity Workshop

วันที่ 26 กันยายน 2568
09.00-10.30 น.      Boundary and Force Nonlinearities
10.30-10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.       Contact Problem
12.00-13.00 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น.       Workshop
14.30-14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง
14.30-16.00 น.       Advance Topic Workshop (Multiphysics)

วิทยากร

ดร.ยศกร ประทุมวัลย์
หัวหน้าทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน (รับสมัครเพียง 20 ท่านเท่านั้น)
ข้าราชการ 7,500.00 บาท/ท่าน (ไม่คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม)
บุคคลทั่วไป 8,025 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หมายเหตุ
  • ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม ค่าเช่า Notebook และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
  • กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของราคาค่าลงทะเบียน
  • กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ได้ที่ >>> https://forms.gle/akT17HXaPkf7Pskz7

การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 080-0-00001-0
สาขาอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
(กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (นายบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4675
E-mail: boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม การวิเคระห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 5-6 กันยายน 2567) #3 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง (วันที่ 15-17 กันยายน 2568) https://www.mtec.or.th/hpdc-die-design/ Wed, 11 Jun 2025 04:31:03 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38377 หลักสูตรอบรม การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง (วันที่ 15-17 กันยายน 2568) หลักสูตรอบรมการออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วันที่ 15-17 ... Read more

The post หลักสูตรอบรม การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง (วันที่ 15-17 กันยายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง (วันที่ 15-17 กันยายน 2568)

หลักสูตรอบรม
การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วันที่ 15-17 กันยายน 2568 เวลา 9:00-16:00 น.
ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
       การออกแบบแม่พิมพ์ (Die Design) เป็นขั้นตอนหนึ่งของการออกแบบกระบวนการผลิต (Process Design) ในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง (High Pressure Die Casting Processes) การออกแบบกระบวนการผลิตที่ดีจะส่งผลให้: (1)ใช้เวลาในขั้นตอนเตรียมการผลิตสั้น(ออกแบบ/ผลิตแม่พิมพ์, การทดสอบการฉีด), (2) สามารถผลิตชิ้นงานหล่อได้อย่างต่อเนื่องและมีของเสียอยู่ภายในค่าขอบเขตที่กำหนดในการผลิตต่อเนื่อง (Mass production), และ(3) สามารถวางแผนลดต้นทุนการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบตลอดอายุการผลิตชิ้นงาน
       การออกแบบกระบวนการผลิต (Process design) ประกอบด้วยขั้นตอนหลักได้แก่ (1) การวิเคราะห์ชิ้นงาน (Parts analysis) (2) การออกแบบDie layout, (3) การออกแบบระบบทางเดินโลหะเหลวและค่าตัวแปรการฉีด(Gating system and casting condition design), และ (4) การออกแบบระบบหล่อเย็น(Cooling system design)
       เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ชิ้นงาน (Parts analysis)ใน 3 ประเด็นหลัก (1) การนำชิ้นงานไปใช้งาน (Parts’ Function) (2)ระดับคุณภาพของชิ้นงานที่ต้องควบคุม (Parts’ Quality) (3)รูปร่าง มิติและค่าความเผื่อมิติ/รูปทรงเรขาของชิ้นงาน (Parts’ Shape and GD&T) จากนั้นจะนำผลจากการวิเคราะห์ชิ้นงานไปใช้ในการประเมินถึงความยากง่ายในการฉีดชิ้นงาน (Castability), กระบวนการขึ้นรูป/ตกแต่งชิ้นงานเพิ่มเติมหลังจากกระบวนการฉีด (Post Casting Process Operations) และการเสนอขอ Engineering Change Request (ECR) ต่อลูกค้า เพื่อช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นและด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
       จากนั้นจึงทำการกำหนดแนวคิดการออกแบบ(Concept design) ในขั้นตอน การออกแบบ Die layout, การออกแบบ Gating system, ค่าประมาณการ Condition ในการฉีดเบื้องต้น, และ Cooling system ของแม่พิมพ์ ตามลำดับ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
     1. เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกระบวนการหล่อไดคาสติ้งกับคุณภาพชิ้นงานและต้นทุนการผลิต
     2. เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์จากการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตชิ้นงานหล่อไดคาสติ้งที่อ้างอิงจาก การใช้งาน คุณภาพ รูปร่าง มิติและค่าความเผื่อมิติของชิ้นงานเป็นหลัก
     3. เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบกระบวนการผลิตชิ้นงานของกระบวนการหล่อไดคาสติ้งอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่การออกแบบกระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณท์ใหม่ (New model) การติดตามและควบคุมกระบวนการผลิต และการกำหนดสภาวะการผลิตที่เหมาะสม (Process Optimization /New Mold) ให้สอดคล้องกับ คุณภาพ ต้นทุนและเวลาส่งมอบชิ้นงานหล่อในตลอดช่วงอายุการผลิตของชิ้นงาน
     4. เพื่อแสดงถึงขั้นตอนการวิเคราะห์ชิ้นงานและนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปใช้ในการออกแบบแม่พิมพ์และ กำหนดค่าสภาวะในการหล่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งาน(Parts’ function) และหรือคุณภาพของชิ้นงานหล่อที่ต้องทำการควบคุมให้ได้ตามข้อกำหนดการผลิตของชิ้นงาน
     5. เพื่อนำเสนอ แนวคิด และหลักการคำนวณที่ใช้ในการออกแบบ die layout, ระบบทางเดินโลหะเหลวและค่าสภาวะในการฉีด, และระบบหล่อเย็นในแม่พิมพ์

กลุ่มเป้าหมาย
     1. ผู้ทำงาน/มีประสบการณ์การทำงานในกระบวนการหล่อความดันสูงไม่ต่ำกว่า 3 ปีหรือมีพื้นฐานทักษะ/ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรในกระบวนการหล่อความดันสูง
     2. ผู้มีประสบการณ์ใน (1)การทดสอบการฉีด (Trial), (2)การแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง, (3) การควบคุมกระบวนการฉีด และ/หรือ การควบคุมคุณภาพชิ้นงาน, (4) การออกแบบ/ ซ่อมบำรุงแม่พิมพ์ในกระบวนการหล่อความดันสูง
     3. มีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมจำลองการหล่อ

รายละเอียดเนื้อหาการบรรยาย
   เนื้อหาของการอบรมจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วนหลักประกอบด้วย
      • ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 องค์ประกอบหลักของชิ้นงานกับการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง
      • การวิเคราะห์ชิ้นงานเพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิต
      • การออกแบบ Die Layout
      • การออกแบบระบบทางเดินโลหะเหลวและค่าตัวแปรการฉีด(Gating system and casting condition design)
      • การออกแบบระบบหล่อเย็น(Cooling system design)
      • กรณีศึกษาการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง
โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    1.ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 องค์ประกอบหลักของชิ้นงานกับการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง
       1.1.องค์ประกอบหลักของชิ้นงานที่ต้องพิจารณาและนำมาใช้กำหนดแนวทางการออกแบบกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง
       1.2.อิทธิพลของรูปร่าง มิติและค่าความเผื่อมิติ/รูปทรงเรขาของชิ้นงาน (Parts’ Shape / Geometric and Dimensioning and Tolerancing, GD&T )ที่มีผลต่อการออกแบบกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง
       1.3.อิทธิพลของหน้าที่การใช้งานของชิ้นงาน(Parts’ Functionality)ที่มีผลต่อการออกแบบกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง
       1.4.อิทธิพลของระดับคุณภาพของชิ้นงานที่ต้องควบคุม (Parts’ Quality) ที่มีผลต่อการออกแบบกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง
     2.การวิเคราะห์ชิ้นงานเพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิต
       2.1.ระดับคุณภาพและการทดสอบการใช้งานของชิ้นงานหล่อไดคาสติ้ง
              2.1.1.ระดับคุณภาพของชิ้นงานไดคาสติ้ง
                2.1.1.1.คุณภาพผิว (Surface quality)
                2.1.1.2.ความสมบรูณ์ภายในเนื้อชิ้นงาน (Soundness quality)
             2.1.2.การทดสอบการใช้งานของชิ้นงานไดคาสติ้ง Parts’ functionality
                2.1.2.1.การทดสอบการใช้งานเชิงกล (Mechanical testing)
                2.1.2.2. Leake test
             2.1.3.การใช้ผลการวิเคราะห์ระดับคุณภาพ และการทดสอบการใช้งานของชิ้นงานในการกำหนดแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิต
        2.2.รูปร่าง มิติและค่าความเผื่อมิติ/รูปทรงเรขาของชิ้นงาน (Parts’ Shape and GD&T)
              2.2.1.ขอบเขตความสามารถของกระบวนการหล่อไดคาสติ้งในด้านของมิติและค่าความเผื่อมิติ/รูปทรงฯของชิ้นงานและระดับความเรียบผิว
              2.2.2.อิทธิพลของรูปร่างชิ้นงานที่มีผลต่อความยากง่ายในการฉีดชิ้นงานในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง
              2.2.3.อิทธิพลของรูปร่างชิ้นงานที่มีผลต่อโครงสร้างแม่พิมพ์
              2.2.4.การใช้ผลการวิเคราะห์รูปร่าง มิติและค่าความเผื่อมิติ/รูปทรงเรขาของชิ้นงานในการกำหนดแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิต
        2.3.วัสดุชิ้นงานหล่อ
              2.3.1.อิทธิพลของธาตุในโลหะผสมที่มีผลต่อสมบัติเชิงกลและความยากง่ายในการฉีดของชิ้นงานหล่อไดคาสติ้ง
              2.3.2.การใช้ผลการวิเคราะห์เกรดวัสดุชิ้นงานหล่อในการกำหนดแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิต
     3.การออกแบบ Die layout
        3.1.แนวทางในการกำหนด Parting line และ parting plane สำหรับแม่พิมพ์ไดคาสติ้ง
        3.2.การกำหนดส่วนของชิ้นงานด้าน Fix / Move / Core pin และ Slide Core
        3.3.การประเมินค่ามุมถอดและ Undercut
        3.4. การกำหนดตำแหน่งและทิศทางการจัดวางชิ้นงานบนหน้าแม่พิมพ์ (Parts’ position and orientation)
     4.การออกแบบระบบทางเดินโลหะเหลวและค่าตัวแปรการฉีด (Gating system and casting condition design)
        4.1. การออกแบบเส้นทางการไหลของโลหะเหลว (Flow path design)
              4.1.1.หลักในการออกกำหนดเส้นทางการไหล (Principles of flow path design) และการกำหนดตำแหน่งของ ingate
              4.1.2.การแบ่งส่วนการป้อนเติมและการกำหนดขนาดความยาวของ Ingate
              4.1.3.ตัวอย่างกรณีศึกษาการออกแบบเส้นทางการไหล=> My standard flow pattern of each part shape to apply with the real life
        4.2.การออกแบบขนาด Ingate (Ingate design) และการตรวจสอบความเข้ากันได้ของแม่พิมพ์และเครื่องฉีดโดยใช้แผนภูมิ PQ2(ความดัน-อัตราการไหลกำลังสอง) (Die and machine compatibility analysis using PQ2 Diagram)
              4.2.1.การกำหนดค่า Fill time ในการฉีดของชิ้นงาน
              4.2.2.การประเมินอัตราการไหลของแต่ละ Ingate / การกำหนดขนาดพื้นที่หน้าตัด Ingate / การประมาณค่าความเร็วโลหะเหลวขณะไหลผ่าน Ingate
              4.2.3.การกำหนดขนาดของ plunger และ ความเร็ว High speed ของ Plunger
              4.2.4.แนวทางการกำหนดตำแหน่ง Switch point / ระยะเร่งHigh Speed / ตำแหน่งโลหะเหลวภายในคาวิตี้ที่ Plunger เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว High speed
              4.2.5. การใช้ แผนภูมิ PQ2 ในการตรวจสอบความเข้ากันได้ของแม่พิมพ์และเครื่องฉีด (Die and machine compatibility)
        4.3.การออกแบบ Gate (Gate design)
              4.3.1.ชนิดของ Gate ที่ใช้ในแม่พิมพ์ die casting
              4.3.2.การออกแบบ Fan gate และ ความสัมพันธ์ระหว่างมุมการไหลของโลหะเหลว (Flow angle) กับขนาดของ Fan gate
              4.3.3.การออกแบบ Tangential gate และ ความสัมพันธ์ระหว่างมุมการไหลของโลหะเหลว (Flow angle) กับขนาดของ Tangential gate
              4.3.4.ตัวอย่างกรณีศึกษาการเลือกออกแบบ Gate ให้สอดคล้องกับรูปแบบการไหลที่ต้องการ
         4.4.การออกแบบ Runner (Runner design)
               4.4.1.หน้าที่ของ Runner
               4.4.2.การออกแบบหน้าตัด Runner เพื่อลดการสูญเสียความร้อนโลหะเหลวในระหว่างการไหล
               4.4.3.การควบคุมการไหลภายใน Runner เพื่อป้องกันการกักอากาศ
               4.4.4.การใช้ Runner ในการควบคุมอัตราการไหลของ Ingate
        4.5.การออกแบบ Overflow (Overflow and vent design)
               4.5.1.หน้าที่ของ Overflow และ Vent
               4.5.2.การกำหนดตำแหน่งของ overflow และ รูไอ
               4.5.3.การคำนวณหาขนาดพื้นที่หน้าตัดของรูไอ
               4.5.4.การเลือกใช้งาน รูไอ Vent / Chilled Vent / Cast Vac
        4.6.การคำนวณหาแรงปิดแม่พิมพ์ และการประเมินแรงกระทำต่อ Tie Bar
              4.6.1.การคำนวณค่าแรงปิดแม่พิมพ์ (Die Closing force calculation)
              4.6.2.การคำนวณค่าแรงปิด Slide core (Slide core Closing force calculation)
              4.6.3.การคำนวณค่าแรงกระทำบน Tie bar ของเครื่องฉีด(Tie bar load balancing)
         4.7.การใช้โปรแกรม Simulation ในการประเมินการออกแบบแม่พิมพ์และค่าตัวแปรในการฉีด
              4.7.1.การตรวจสอบรูปแบบการไหลจากผล Simulation เปรียบเทียบกับที่ออกแบบ
              4.7.2.การประเมินความสามารถในการระบายอากาศของรูไอ
              4.7.3.การประเมินอัตราการไหลของโลหะเหลวที่ Ingate
              4.7.4.การประเมินการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิชิ้นงานและแม่พิมพ์
     5.การออกแบบระบบหล่อเย็น(Cooling system design)
         5.1.ชนิดของระบบควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ในแม่พิมพ์ไดคาสติ้ง
         5.2.ชนิดของระบบหล่อเย็นที่ใช้ในแม่พิมพ์ไดคาสติ้ง
         5.3.ตัวแปรหลักของระบบหล่อเย็นที่มีผลต่ออุณหภูมิแม่พิมพ์
         5.4.วัสดุแม่พิมพ์กับความสามารถในการระบายความร้อนในแม่พิมพ์ไดคาสติ้ง
     6.กรณีศึกษาการออกแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง
         6.1.กรณีศึกษาการออกแบบกระบวนการผลิตช่วยลดเวลาในการออกแบบ/ผลิตแม่พิมพ์และการลดเวลาการทดสอบการฉีด
         6.2.กรณีศึกษาการออกแบบกระบวนการผลิตช่วยในติดตามและควบคุมกระบวนการผลิตในขั้นตอนการผลิตต่อเนื่อง (Mass Production)
         6.3.กรณีศึกษาการออกแบบกระบวนการผลิตช่วยในการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อลดต้นทุนในการผลิต

กำหนดการ
วันที่ 15 กันยายน 2568
 8.30 น. – 9.00 น.   ลงทะเบียน
 9.00 น. – 10.30 น.  ส่วนที่ 1: หัวข้อ 1.1 – 1.4
 10.30น. – 10.45 น.   Coffee Break
 10.45 น. – 12.00 น.  ส่วนที่ 2: หัวข้อ 2.1
 12.00 น. – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
 13.00 น. – 14.30 น.  ส่วนที่ 2: หัวข้อ 2.2
 14.30 น. – 14.45 น.  Coffee Break
 14.45 น. – 16.00 น.  ส่วนที่ 3: หัวข้อ 3.1 -3.4
วันที่ 16 กันยายน 2568
 9.00 น. – 10.30 น.   ส่วนที่ 4: หัวข้อ 4.1 -4.2
 10.30น. – 10.45 น.   Coffee Break
 10.45 น. – 12.00 น.  ส่วนที่ 4: หัวข้อ 4.2 -4.3
 12.00 น. – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
 13.00 น. – 14.30 น.  ส่วนที่ 4: หัวข้อ 4.4.-4.5
 14.30 น. – 14.45 น.  Coffee Break
 14.45 น. – 16.00 น.  ส่วนที่ 4: หัวข้อ 4.6
วันที่ 17 กันยายน 2568
 9.00 น. – 10.30 น.   ส่วนที่ 4: หัวข้อ 4.7
 10.30น. – 10.45 น.   Coffee Break
 10.45 น. – 12.00 น.  ส่วนที่ 5: หัวข้อ 5.1 -5.2.
 12.00 น. – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
 13.00 น. – 14.30 น.  ส่วนที่ 5: หัวข้อ 5.3 -5.4
 14.30 น. – 14.45 น.  Coffee Break
 14.45 น. – 16.00 น.  ส่วนที่ 6: หัวข้อ 6.1 -6.3

วิทยากร

ดร.พงษ์ศักดิ์ ดุลยประพันธ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
อดีตนักวิจัยด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

คุณเอกชัย กิติแก้วทวีเสริฐ
วิศวกร
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคาจ่ายสุทธิรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 10,165 บาท/ท่าน
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรของรัฐ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จ่ายสุทธิ 9,500 บาท/ท่าน
** รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**

หมายเหตุ
– ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน
– มีเอกสารประกอบการอบรมให้กับผู้เข้ารับการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านลิงค์เว็บไซต์ >>> https://forms.gle/Tzzn51ofrsThjoF87

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

แนะนำที่พัก
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สามารถเดินจากที่พักมาที่อาคารเอ็มเทคที่อยู่ภายในอุทยานฯ ได้เลย
ดูรายละเอียดที่พักได้ที่ https://www.nstda.or.th/ssh/service/cost-services/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 02 529 7100 ต่อ 77000 ,77237
ติตต่อจองห้องพัก ได้ที่ 02-529-7100 กด 0 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
อีเมลสำหรับจองห้องพัก : pr-ssh@nstda.or.th

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail: boonrkk@mtec.or.th    

The post หลักสูตรอบรม การออกแแบบแม่พิมพ์และกระบวนการผลิตไดคาสติ้ง (วันที่ 15-17 กันยายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง (วันที่ 10 กันยายน 2568) https://www.mtec.or.th/formulation-techniques-and-improvement-of-specific-properties-of-rubbers/ Fri, 06 Jun 2025 06:12:13 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38129 หลักสูตรอบรม เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง (วันที่ 10 กันยายน 2568) หลักสูตรอบรมเทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง(Formulation Techniques and Improvement of Specific Properties of Rubbers) ... Read more

The post หลักสูตรอบรม เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง (วันที่ 10 กันยายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง (วันที่ 10 กันยายน 2568)

หลักสูตรอบรม
เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง
(Formulation Techniques and Improvement of Specific Properties of Rubbers)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วันที่ 10 กันยายน 2568 เวลา 9:00-16:30 น.
จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ
รูปแบบที่1 อบรม onsite ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
รูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting

หลักการและเหตุผล
        หลักสูตรอบรมนี้มีเนื้อหาครอบคลุมเทคนิคในการออกสูตรเพื่อให้ได้สมบัติตามต้องการ โดยเน้นไปที่การปรับค่าความแข็ง ความทนทานต่อแรงดึง ความทนทานต่อการฉีกขาด ความต้านทานต่อการขัดถู การเสียรูปถาวรหลังกด กระเด้งกระดอนและฮิสเตอรีซิส ความทนทานต่อความร้อน/แสงแดด ความทนทานต่อโอโซน ความต้านทานต่อของเหลว การนำความร้อน/การนำไฟฟ้า ความทนทานต่อเปลวไฟ การลดอัตราการเกิดรีเวอร์ชั่น ความทนทานต่อการล้าตัว/การประลัย และการซึมผ่านของก๊าซ

วัตถุประสงค์
        เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง

กลุ่มเป้าหมาย
        ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาง และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเทคโนโลยีการออกสูตรยาง ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการอบรมเต็มที่ ผู้เข้าอบรมควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมมาพอสังเขป

กำหนดการ
8.30 น. – 9.00 น.     ลงทะเบียน
9.00 น. – 10.30 น.   ทฤษฎีการทำนายสมบัติของยางเมื่อทำการปรับเปลี่ยนสูตร
10.30น. – 10.45 น.   พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น.   การปรับค่าความแข็ง ความทนทานต่อแรงดึง ความทนทานต่อการฉีกขาด และความต้านทานต่อการขัดถู
12.00 น. – 13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น.   การปรับค่าการเสียรูปถาวรหลังกด การกระเด้งกระดอนและฮิสเตอรีซิส ความทนทานต่อความร้อน/แสงแดด ความทนทานต่อโอโซน และความต้านทานต่อของเหลว
14.30 น. – 14.45 น.   พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.30 น.   การปรับค่าการนำความร้อน/การนำไฟฟ้า ความทนทานต่อเปลวไฟ การลดอัตราการเกิดรีเวอร์ชั่น ความทนทานต่อการล้าตัว/การประลัย และการซึมผ่านของก๊าซ

วิทยากร

ดร.พงษ์ธร แซ่อุย
นักวิจัยอาวุโส
ทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน
ข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ ราคา 3,500 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
บุคคลทั่วไปและภาคเอกชน ราคา 3,745 บาท/ท่าน (รวม Vat7%)

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่ https://forms.gle/ZwoVzEWo6ntGAYuC7
*** On-site รับเพียง 20 ท่านเท่านั้น ***

หมายเหตุ
– ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม 
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th/kobkula@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
– กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th/kobkula@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์/ กอบกุล อมรมงคล)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th/ kobkula@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง (วันที่ 10 กันยายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม รีโอโลยีของอาหารเชิงปฏิบัติ (วันที่ 1-2 กันยายน 2568) https://www.mtec.or.th/practical-food-rheology/ Fri, 06 Jun 2025 03:34:23 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38059 หลักสูตรอบรม รีโอโลยีของอาหารเชิงปฏิบัติ (วันที่ 1-2 กันยายน 2568) หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการรีโอโลยีของอาหารเชิงปฏิบัติ (Practical Food Rheology) จัดโดยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหารศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ ... Read more

The post หลักสูตรอบรม รีโอโลยีของอาหารเชิงปฏิบัติ (วันที่ 1-2 กันยายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม รีโอโลยีของอาหารเชิงปฏิบัติ (วันที่ 1-2 กันยายน 2568)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
รีโอโลยีของอาหารเชิงปฏิบัติ
(Practical Food Rheology)

จัดโดย
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วันที่ 1-2 กันยายน 2568 เวลา 9.00-16.30 น.
M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

        รีโอโลยี (rheology) หรือศาสตร์การไหลเป็นองค์ความรู้ และการวิเคราะห์ทดสอบที่สำคัญในการวิจัยพัฒนา ประเมินคุณภาพ และควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและ/หรือมอร์โฟโลยี (morphology) สมบัติรีโอโลยีและคุณภาพเนื้อสัมผัส และกระบวนการขึ้นรูปของอาหาร กับสมบัติเชิงหน้าที่ (functionality) ของอาหาร ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา  ไม่เพียงเพราะความต้องการของผู้บริโภคในการ “สร้างสรรค์อาหารใหม่” เพื่อทดแทนอาหารที่ถูกมองว่าไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีไขมัน น้ำตาล หรือเกลือสูง แต่ยังรวมถึงความต้องการของอุตสาหกรรมในการพัฒนาอาหารที่มีสมบัติเชิงหน้าที่ใหม่ (novel functionalities) เพื่อตอบเทรนด์การบริโภคอาหารที่สนใจเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้นอีกด้วย งานวิจัยในสาขานี้ยังถือว่ามีศักยภาพอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงแนวทางการออกแบบและพัฒนาอาหารในอนาคต (future foods) และยังเป็นสาขาที่น่าตื่นเต้น ที่จะต้องบูรณาการองค์ความรู้แบบสหสาขาวิชา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ในการอธิบายความสัมพันธ์ดังกล่าวของระบบอาหารที่สนใจ สามารถตีความข้อมูลเชิงรีโอโลยีได้อย่างชัดเจน กระชับ และเชื่อมโยงกับสมรรถนะของอาหารที่ผู้บริโภครับรู้ได้จริงมากขึ้น
        การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ความรู้พื้นฐานของศาสตร์การไหล (Rheology) รวมถึงการวิเคราะห์สมบัติเชิงกล และสมบัติไตรโบโลยี (Tribology) ของตัวอย่างอาหาร เครื่องมือที่ใช้ทดสอบ และการวิเคราะห์ผลการทดสอบ ตลอดจนการนำผลการวิเคราะห์ในเชิงของศาสตร์การไหลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปรับปรุงกระบวนการผลิต และแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงกรณีศึกษา และการสาธิตการทดสอบสมบัติรีโอโลยีและวิเคราะห์เนื้อสัมผัสของตัวอย่างอาหาร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา/ปรับปรุงเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์อาหารให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น
 
วัตถุประสงค์
        เพื่อเพิ่มพูนความรู้พื้นฐานและความรู้เชิงลึกในด้านศาสตร์การไหล (Rheology) รวมถึงสมบัติเชิงกลและไตรโบโลยีของอาหาร แก่บุคลากรทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
 

กำหนดการ
วันที่ 1 กันยายน 2568
8.30-9.00 น.     ลงทะเบียน
9.00-10.30 น.    Introduction to Rheology and Rheometry Methods (ช่วงแรก)
10.30-10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.  Introduction to Rheology and Rheometry Methods (ช่วงสอง)
12.00-13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น.  Rheology of Food Dispersions
14.30-14.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.15 น.  Rheology of Food Hydrocolloids
16.15-16.30 น.  Q & A

วันที่ 2 กันยายน 2568
9.00-10.30 น.   Tribological Measurements of Foods
10.30-10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.  Case Studies: Healthy and elderly/dysphagia foods
12.00-13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00 น.  Rheology lab demonstration (Rotational rheometer) – Rheological analysis
15.00-15.15 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
15.15-16.15 น.  Mechanical testing lab demonstration
16.15-16.30 น.  Q & A

 
วิทยากร
 

ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ดร.นิสภา ศีตะปันย์
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

นายเอกพงษ์ คงเจริญ
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

นางสาวพัชรีญา รักษา
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

นายณัฐวุฒ ลิ้มประยูร
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน
ข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 8,000 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
บุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 8,560 บาท (รวม Vat7%)

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่  https://forms.gle/X2qjNBRvNwRfmUhPA
***รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น***

หมายเหตุ
• ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
• สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
• กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
• กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม รีโอโลยีของอาหารเชิงปฏิบัติ (วันที่ 1-2 กันยายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
สัมมนาหัวข้อเรื่อง รับมือมาตรการ CBAM ด้วยความเข้าใจ: การเตรียมข้อมูลสำหรับการส่งออก EU (วันที่ 19 มิถุนายน 2568_บ่าย) #2 https://www.mtec.or.th/general-training-courses-93329-2-2-3-2-2-2-2/ Tue, 03 Jun 2025 03:43:02 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37990 จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้อง MR213 ... Read more

The post สัมมนาหัวข้อเรื่อง รับมือมาตรการ CBAM ด้วยความเข้าใจ: การเตรียมข้อมูลสำหรับการส่งออก EU (วันที่ 19 มิถุนายน 2568_บ่าย) #2 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น.
ณ ห้อง MR213 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
ภายในงานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2025

สมาชิกสภาวิศวกรจะได้รับการรับรองให้มีการสะสมหน่วยพัฒนา (PDU) 3 หน่วย

ช่วงเปลี่ยนผ่านของ CBAM เริ่มตั้งแต่ 2566 และใกล้จะจบลงในปี 2568 หลังจากการลองผิดลองถูกมากกว่า 2 ปี บริษัทผู้ส่งออกสินค้าของไทย CBAM ยังคงมีความกังวล และ เข้าไม่เข้าใจแนวทางการรายงานข้อมูลที่ถูกต้อง .ในการนี้ สวทช โดยเอ็มเทค จึงจัดการบรรยายเพื่อสร้างความเข้าใจกับรูปแบบการรายงาน CBAM รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการส่งออก ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและตรวจสอบข้อมูล ด้วยเหตุนี้เองเอกสารที่ใช้รายงานข้อมูลจึงมีความสำคัญ การจัดงานครั้งนี้จึงจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล เพื่อใช้สำหรับการค้าขายกับตลาดยุโรปในอนาคต

วิทยากร 

นางสาววันวิศา ฐานังขะโน
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
ทีมวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตและการประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการค้า (LIDAST)
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.
นางสาวณัฐสุดา ยกชู
ผู้ช่วยวิจัย
ทีมวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตและการประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการค้า (LIDAST)
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.


การลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน คลิ๊กที่นี่!!

หมายเหตุ
– กรณีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โปรดแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: peerapp@mtec.or.th ภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2568 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นต่อไป

หากท่านไม่แจ้งยกเลิก ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท

– กรณียกเลิกจัดบรรยายดังกล่าว ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดกิจกรรม โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้ลงทะเบียนทราบก่อนการจัดงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
นายพีระพงษ์ พิณวานิช
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4680
E-mail : peerapp@mtec.or.th

 

The post สัมมนาหัวข้อเรื่อง รับมือมาตรการ CBAM ด้วยความเข้าใจ: การเตรียมข้อมูลสำหรับการส่งออก EU (วันที่ 19 มิถุนายน 2568_บ่าย) #2 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
สัมมนาหัวข้อเรื่อง บทบาทของเทคโนโลยี Digital Twin ในยุค Industry 4.0 (วันที่ 19 มิถุนายน 2568_บ่าย) #1 https://www.mtec.or.th/general-training-courses-93329-2-2-3-2-2-2/ Tue, 03 Jun 2025 03:29:38 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37983 จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้อง MR212 ... Read more

The post สัมมนาหัวข้อเรื่อง บทบาทของเทคโนโลยี Digital Twin ในยุค Industry 4.0 (วันที่ 19 มิถุนายน 2568_บ่าย) #1 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น.
ณ ห้อง MR212 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
ภายในงานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2025

สมาชิกสภาวิศวกรจะได้รับการรับรองให้มีการสะสมหน่วยพัฒนา (PDU) 3 หน่วย

แนวคิด Industry 4.0 หรือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในภาคอุตสาหกรรม ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงมาบูรณาการเข้าสู่ระบบการผลิตและการดำเนินงานของโรงงานหรือองค์กร เป้าหมายหลักของ Industry 4.0 คือการสร้างระบบอุตสาหกรรมที่มีความอัจฉริยะ มีประสิทธิภาพสูง และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม  การปรับตัวให้เข้าสู่ยุค Industry 4.0 จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัยหลากหลาย เช่น Digital Twin, Artificial Intelligence (AI), Big Data, Internet of Things (IoT) และอื่น ๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการผลิตและการดำเนินงานมีความแม่นยำและสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

ในสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวคิด Digital Twin รวมถึงการประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในงานออกแบบและการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม ข้อมูลที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ ผู้ประกอบการ, วิศวกร, นักวิจัย และ ผู้สนใจในอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่ต้องการนำ Digital Twin มาใช้เพื่อพัฒนาวงการวิศวกรรมและอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ระดับ Industry 4.0 อย่างแท้จริง

วิทยากร 

ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ
นักวิจัยอาวุโส
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.
ดร.ยศกร ประทุมวัลย์
วิศวกรอาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัย
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.


การลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน คลิ๊กที่นี่!!

หมายเหตุ
– กรณีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โปรดแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: peerapp@mtec.or.th ภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2568 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจท่านอื่นต่อไป

หากท่านไม่แจ้งยกเลิก ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 1,000 บาท

– กรณียกเลิกจัดบรรยายดังกล่าว ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดกิจกรรม โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้ลงทะเบียนทราบก่อนการจัดงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
นายพีระพงษ์ พิณวานิช
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4680
E-mail : peerapp@mtec.or.th

The post สัมมนาหัวข้อเรื่อง บทบาทของเทคโนโลยี Digital Twin ในยุค Industry 4.0 (วันที่ 19 มิถุนายน 2568_บ่าย) #1 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้วยการออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรม (วันที่ 29 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/cae_innovation/ Wed, 28 May 2025 09:09:52 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37915 หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) หลักสูตรอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้วยการออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรม จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย ... Read more

The post หลักสูตรอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้วยการออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรม (วันที่ 29 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้วยการออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรม

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

วันที่ 29 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ
รูปแบบที่1 อบรม onsite ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
รูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting

ที่มาของหลักสูตร
        ด้วยสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า การแข่งขันในการลดต้นทุนและลดกำไรต่อหน่วย เป็นต้น ทำให้บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับตัวด้วยการพยายามพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาในตลาดสินค้าทั่วไปแบบเดิม อย่างไรก็ตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ ข้อมูล และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ มาประกอบเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจะประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของคุณลักษณะทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์และในแง่ของการสามารถครองใจผู้บริโภคเพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสมและมียอดจำหน่ายที่คุ้มค่าต่อการลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
        หลักสูตร 1 วันนี้ได้ถูกออกแบบให้ครอบคลุมเนื้อหาที่จำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมตั้งแต่ขั้นตอนแรก ๆ ในการเริ่มเกิดแนวคิดการพัฒนา จนกระทั่งขั้นตอนท้าย ๆ ในการเข้าสู่ตลาดทั้งในส่วนผู้บริโภครายบุคคล (B2C: Business-to-Customer), ลูกค้าบริษัทเอกชน (B2B: Business-to-Business) และลูกค้าภาครัฐ (B2G: Business-to-Government)  โดยการบรรยายเริ่มจากเนื้อหาเกี่ยวกับกฎระเบียบและเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการตลาด จากนั้นจะเป็นเนื้อหาการออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีคุณลักษณะเป็นไปตามต้องการรวมทั้งผ่านมาตรฐานการทดสอบต่าง ๆ  ซึ่งในการบรรยายจะมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาจริงจากทีมวิทยากรมาประกอบด้วย
 
วัตถุประสงค์
        เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้ ข้อมูล และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแล้วประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของคุณลักษณะทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์และในแง่ของการสามารถครองใจผู้บริโภคได้
 
กำหนดการ
8:30-9:00 น.    ลงทะเบียน/ เปิดห้องออนไลน์
9:00-10:30 น.  บทที่ 1 ข้อควรตระหนักในเบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
                            บทที่ 2 ทรัพย์สินทางปัญญา
                                – ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
                                – การขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
                            บทที่ 3 บัญชีนวัตกรรมไทย
                                – ประโยชน์ของการได้รับขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย
                                – หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย
                                – การเตรียมความพร้อมเพื่อขอขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทย
10:30-10:45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10:45-12:00 น.  บทที่ 4 การทำตลาดผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
                               – กรณี B2C และ B2B 
                               – กรณี B2G
                             บทที่ 5 การทดสอบตามมาตรฐานต่าง ๆ
                               – มาตรฐานภาคบังคับของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
                               – มาตรฐานภาคสมัครใจของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
12:00-13:00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00-14:30 น.  บทที่ 6 การออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรม
                               – หลักการออกแบบเชิงวิศวกรรม
                               – เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAE)
14:30-14:45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
14:45-16:00 น.  บทที่ 6 การออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรม (ต่อ)
                               – ประเภทของปัญหาทางวิศวกรรมต่าง ๆ
                               – ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CAE
                            สรุปเนื้อหาการอบรมและตอบคำถาม
 
วิทยากร
ดร.ยศกร ประทุมวัลย์
วิศวกรอาวุโสทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
 
ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ
นักวิจัยอาวุโสทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
 

ค่าลงทะเบียน
ข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 3,500 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
บุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 3,745 บาท (รวม Vat7%)

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่ https://forms.gle/4N6aJnt5nA2kfMzk9
***รูปแบบ onsite รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น***

หมายเหตุ
• ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
• สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
• กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
• กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้วยการออกแบบและคำนวณเชิงวิศวกรรม (วันที่ 29 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/matlab_for_engineers/ Tue, 27 May 2025 09:15:33 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37872 หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) หลักสูตรอบรมMATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน ... Read more

The post หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเริ่มต้นใช้งาน MATLAB ได้อย่างมั่นใจ
• เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MATLAB อย่างเป็นระบบ
• พัฒนาโปรแกรมและกระบวนการวิเคราะห์ให้เป็นแบบอัตโนมัติ (Automation)
• สร้าง Application ใช้งานได้จริงบน Desktop และ Mobile โดยใช้ GUI ของ MATLAB

กลุ่มเป้าหมาย
• วิศวกร นักวิเคราะห์ข้อมูล และนักพัฒนาโปรแกรมในภาคอุตสาหกรรม
• นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม

Course Highlights
• ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม
• Workshop เน้นปฏิบัติจริงจากโจทย์ที่ใช้ในชีวิตจริง/อุตสาหกรรม
• เรียนรู้การใช้งาน MATLAB ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงการพัฒนาแอปพลิเคชัน
• เสริมทักษะการคิดเชิงตรรกะและการออกแบบโครงสร้างโปรแกรม
• คู่มือและโค้ดตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ต่อได้ทันที

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
• ไฟล์สไลด์และชุดตัวอย่างโค้ดทั้งหมด
• ใบประกาศนียบัตรการเข้าร่วมหลักสูตรอบรม

กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 26 สิงหาคม 2568 – พื้นฐานสู่การวิเคราะห์ข้อมูล
8.30-9.00 น.     ลงทะเบียน
9.00-12.00 น.   พื้นฐานการใช้งาน MATLAB และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
                             • แนะนำ Interface ของ MATLAB
                             • ตัวแปร และการทำงานกับข้อมูล (Matrix, Table, Cell)
                             • การเขียน Script และ Function
                             • การควบคุมการทำงาน: if, for, while
                             • ตัวอย่างการประยุกต์เบื้องต้นในวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
12.00-13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.   การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MATLAB
                             • การนำเข้าข้อมูลจาก CSV, Excel, Sensor
                             • การใช้งาน MATLAB ในรูปแบบ Object-oriented
                             • การทำ Visualization
                             • การวิเคราะห์สถิติพื้นฐานและการใช้ Toolbox ที่เกี่ยวข้อง เช่น Statistics and Machine Learning Toolbox
                             • Workshop: วิเคราะห์ข้อมูลจริงและสรุปผล

วันที่ 27 สิงหาคม 2568 – การทำงานอัตโนมัติและการสร้างแอปพลิเคชัน
9.00-12.00 น.        Automation – ทำให้การวิเคราะห์เป็นระบบอัตโนมัติ
                               • การสร้าง Script อัตโนมัติ และ Batch Processing
                               • การใช้งาน Loop กับข้อมูลจำนวนมาก
                               • การสร้างรายงานอัตโนมัติ ผ่าน LaTeX
                               • Workshop: เขียน Script อัตโนมัติสำหรับงานวิเคราะห์ซ้ำ ๆ
12.00-13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.   Application Development – การสร้าง GUI และแอปพลิเคชัน
                                • แนะนำ App Designer
                                • การออกแบบ GUI เบื้องต้น
                                • การเชื่อมต่อ GUI กับฟังก์ชันการประมวลผล
                                • การ Export แอปไปใช้งานในรูปแบบ Desktop หรือ Web App
                                • Workshop: สร้างแอปง่าย ๆ ที่ใช้งานได้จริง

วิทยากร


ดร.ธนรรค อุทกะพันธ์
นักวิจัยทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน
ข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 7,500 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
บุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 8,025 บาท (รวม Vat7%)

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่ https://forms.gle/1Rii8LnFbF6ddqoL7
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**

หมายเหตุ
• ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
• สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
• กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
• กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล (วันที่ 21-22 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/2025_hardening/ Mon, 26 May 2025 08:35:08 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37847 หลักสูตรอบรม การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล (วันที่ 21-22 สิงหาคม 2568) หลักสูตรอบรมการชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล(Hardening of Automotive and Machine Parts) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย ... Read more

The post หลักสูตรอบรม การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล (วันที่ 21-22 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล (วันที่ 21-22 สิงหาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล
(Hardening of Automotive and Machine Parts)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ร่วมกับ
สมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย

วันที่ 21-22 สิงหาคม 2568 เวลา 9:00-16:00 น.
จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ
รูปแบบที่1 อบรม onsite ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
รูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting

หลักการและเหตุผล
       การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากสาขาหนึ่งของประเทศ แม้ว่าปัจจุบันจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก แต่ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมหลักด้านการผลิตของประเทศ การชุบแข็งมักจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรกล โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงหรือต้องรับการเสียดสีสูง กระบวนการชุบแข็งจึงนับว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของชิ้นส่วนโดยตรง ดังนั้นการเข้าใจถึงหลักการ และขั้นตอนการดำเนินการจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิต

วัตถุประสงค์
       เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการชุบแข็งวิธีต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มเหล็กกล้า และการตรวจสอบคุณภาพงานชุบแข็ง ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล

กลุ่มเป้าหมาย
       ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รวมถึงชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทั่วไป ทั้งระดับช่างเทคนิค วิศวกร ด้านการผลิต วางแผนการผลิต รวมถึงด้านการประกันคุณภาพ บุคคลากรด้านการศึกษาทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 21 สิงหาคม 2568
8.30 – 9.00 น.     ลงทะเบียน/ เปิดห้องออนไลน์
9.00 – 10.30 น.    โลหะวิทยาเบื้องต้น (Introduction to Metallurgy)
                             แผ่นภาพสมดุลย์เหล็กคาร์บอน (Iron – Carbon Equilibrium Diagram)
10.30 – 10.45 น.  พักการบรรยาย 15 นาที
10.45 – 12.00 น.  อิทธิพลของคาร์บอนและสารเจือในเหล็กกล้า (Influence of Carbon and Alloys in Steels)
                             การแบ่งเกรดเหล็กกล้า (Steel Classification)
12.00 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น.  การชุบแข็งเหล็กกล้า (Hardening of Steels)
                                1.ชุบแข็งทั้งชิ้น (Full Hardening)
14.30 – 14.45 น.  พักการบรรยาย 15 นาที
14.45 – 16.00 น.     2.ชุบแข็งแบบมาร์เทมเปอริ่ง (Martempering)
                                3.ชุบแข็งแบบออสเทมเปอริ่ง (Austempering)

วันที่ 22 สิงหาคม 2568
9.00 – 12.00 น.    การชุบผิวแข็ง (Surface Hardening)
                                1.การชุบผิวแข็งอินดักชั่น (Induction Hardening)
10.30 – 10.45 น.  พักการบรรยาย 15 นาที
                                2.การชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง (Carburizing)
                                3.การชุบผิวแข็งแบบคาร์โบไนไตรดิ่ง (Carbonitriding)
12.00 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น.  เตาชุบแข็งรูปแบบต่างๆ (Type of Furnaces)
                             การตรวจสอบคุณภาพงานชุบแข็ง (Quality Test of Hardened Work Piece)
14.30 – 14.45 น.  พักการบรรยาย 15 นาที
14.45 – 16.00 น.    1.การวัดความแข็ง (Hardness Test) HB, HV, HRC, HRA, Micro Vickers
                               2.การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค (Micro Structure Examination)
                               3.การตรวจหารอยร้าว (Inspection for Surface Crack)
                             Q&A

วิทยากร


รศ.สมนึก วัฒนศรียกุล
นายกสมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย
ข้าราชการบำนาญ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน 7,490 บาท/ท่าน (ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ข้าราชการ/หน่วยงานรัฐ 7,000 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม)

**On-site รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น**

หมายเหตุ
  • อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
  • กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
  • กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่ https://forms.gle/cF54uogbg6HnUMrX8
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**

การชำระค่าลงทะเบียน
       โอนเงินเข้าบัญชี/ ทำเช็ค สั่งจ่ายในนาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0 (กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ และหลักสูตรที่สมัครมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม การชุบแข็งชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องจักรกล (วันที่ 21-22 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ) (วันที่ 6-8 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-corrosion-and-corrosion-protection-technologies-in-industries/ Thu, 22 May 2025 06:09:04 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37745 หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 2 กรกฎาคม 2568) หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ)Corrosion and Corrosion Protection Technologies in ... Read more

The post หลักสูตรอบรม การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ) (วันที่ 6-8 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 2 กรกฎาคม 2568)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ)
Corrosion and Corrosion Protection Technologies in Industries (Principle, Case Studies, and Workshop)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
       การกัดกร่อนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างโลหะที่ใช้งานในสภาวะที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน ซ่อมบำรุง หรือใช้วัสดุที่ต้านทานการกัดกร่อนดีขึ้นของโครงสร้างดังกล่าว นับเป็นต้นทุนการกัดกร่อนที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมและยั่งยืน ต้นทุนการกัดกร่อนทั่วโลกคาดการณ์โดยสมาคม AMPP อยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 3.4% ของ GDP โลก (2013) สำหรับต้นทุนการกัดกร่อนในประเทศไทย (Corrosion Cost Survey in Thailand) นั้น จากการสำรวจ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2554 พบว่ามีมูลค่าราว 466,600 ล้านบาท หรือประมาณ 4.8% ของ GDP ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นทุนการกัดกร่อนตามสัดส่วน GDP นั้นมีมูลค่าสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา (3.1% ของ GDP) ญี่ปุ่น (1.0% ของ GDP)
       ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ด้านการกัดกร่อนของโลหะจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงด้านการกัดกร่อน เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และโครงสร้างเหล็ก ฯลฯ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการเลือกวัสดุที่เหมาะสม การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง การคาดการณ์อัตราการกัดกร่อน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการกัดกร่อน และลดความเสียหายของโครงสร้าง หรือเครื่องมือต่าง ๆ
       หลักสูตรอบรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจการกัดกร่อนรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงเทคนิคการวัด-ติดตามการกัดกร่อน และเรียนรู้เทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนผ่านการบรรยายทางทฤษฎี โดยทีมวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ตรง และร่วมกิจกรรมภาคปฏิบัติในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
 
วัตถุประสงค์ 
  1. เข้าใจความสำคัญของการกัดกร่อน
  2. ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
  3. ทราบถึงกลไก สาเหตุ และเทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ
  4. ทราบถึงเทคนิคการทดสอบการกัดกร่อนและเทคนิคการติดตามการกัดกร่อน
  6. ได้เรียนรู้และทดลองภาคปฏิบัติ ด้วยชิ้นงานตัวอย่าง และเครื่องมือที่เหมาะสม
  8. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานจริง
 
รูปแบบกิจกรรม
       อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
 
กลุ่มเป้าหมาย
       ทุกอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาด้านการกัดกร่อน และต้องการเข้าใจกลไกการกัดกร่อน เพื่อการเลือกวิธีป้องกันอย่างเหมาะสม
 
วิทยากร 
  1. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
  2. ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์; Ph.D. (Metallurgical Engineering)
  4. อ.ปิยะ คำสุข; M. Sc. (Industrial Chemistry)
  5. อ.ปราณปรียา วังจินา; M. Sc. (Materials Science)
  6. อ.เบญจวรรณ มูลศรี; B. Eng. (Materials Science)
 
ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน  
ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.ปิยะ คำสุข
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.ปราณปรียา วังจินา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.เบญจวรรณ มูลศรี
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
 
ผู้ช่วยวิทยากร
  1. อ.นิรุช บุญชู; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
  2. อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน; B. Eng. (Metallurgical Engineering)
  3. อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี; B. Eng. (Mechatronic Engineering) 
 
กำหนดการ  
วันที่ 6 สิงหาคม 2568
08:30 น. – 09:00 น. ลงทะเบียน และ Pre Test
09:00 น. – 09:30 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                        – หลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
                                        – จลนศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ของการกัดกร่อน
09.30 น. – 10:30 น. รูปแบบการกัดกร่อน(ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์)
                                         – การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion) 
                                         – การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
                                         – การกัดกร่อนภายใต้ฉนวน (Corrosion under insulation)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 
10:45 น. – 12:00 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ต่อ) (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                          – การกัดกร่อนและสึกกร่อน (Erosion corrosion)
                                          – การกัดกร่อนเฉพาะบางเฟส (Dealloying corrosion)
                                          – การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
                                          – การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
                                          – การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
                                          – การกัดกร่อนจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 corrosion)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น. ภาคปฏิบัติ: การศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน  (อ.ปิยะ คำสุข/อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน/อ.นิรุช บุญชู/ น.ส.เบญจวรรณ มูลศรี)
                                    แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้
                                    สถานีที่ 1 การศึกษาชิ้นส่วนส่วนที่เสียหายแบบ galvanic corrosion/ dealloying corrosion
                                    สถานีที่ 2 การศึกษาพฤติกรรมการเสียหายของวัสดุด้วยรูปแบบ pitting corrosion
                                    สถานีที่ 3 การศึกษาการเสียหายของใบพัดด้วยรูปแบบ Intergranular corrosion cracking
                                    สถานีที่ 4 การศึกษาการเสียหายของชิ้นส่วนด้วยรูปแบบ SCC และ MIC
 
วันที่ 7 สิงหาคม 2568
09:00 น. – 10:00 น. การทดสอบการกัดกร่อนด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้า (อ.ปิยะ คำสุข/ อ.ปราณปรียา วังจินา)
                                        – Equipment
                                        – Open circuit potential measurement
                                        – Polarization/ Potentiodynamics test
                                        – Linear polarization test (LPR)
                                        – Electrochemical impedance spectroscopy test (EIS)
10:00 น. – 10:00 น.  การทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งสภาวะ(ดร.วนิดา/ อ.เบญจวรรณ)
10:30 น. – 10:45 น.   พักรับประทานอาหารว่าง 
10:45 น. –  11:15 น.     การทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งสภาวะ (ดร.วนิดา/ อ.เบญจวรรณ)
11:15 น. – 12:00 น.      การทดสอบภาคสนามและการติดตามการกัดกร่อน (ดร.วนิดา)
12:00 น. – 13:00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น.   การทดสอบการกัดกร่อนภาคปฏิบัติ (อ.ปิยะ คำสุข/อ.ปราณปรียา วังจินา/อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี/อ.เบญจวรรณ มูลศรี)
แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษา
                                      สถานีที่ 1 OCP & Polarization test
                                      สถานีที่ 2 EIS
                                      สถานีที่ 3 Galvanic test
                                      สถานีที่ 4 Corrosion sensor
วันที่ 8 สิงหาคม 2568
09:00 น. – 12:00 น. เทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนโดยการเคลือบผิว (ดร.วนิดา)
                                       – Polymer and metallic coating
                                       – Corrosion resistant alloy and Inhibitors
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 น. – 12:00 น. เทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนโดยการเคลือบผิว (ต่อ) (ดร.วนิดา)
                                       – Cathodic protection
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 15:00 น. การป้องกันการกัดกร่อนภาคปฏิบัติ  (ดร.วนิดา/ดร.อำนวยศักดิ์/อ.ปิยะ/อ.ปราณปรียา วังจินา/อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี/อ.เบญจวรรณ มูลศรี)
                                   แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษา
                                    สถานีที่ 1 Corrosion map and coating selection
                                    สถานีที่ 2 Cathodic protection
                                    สถานีที่ 3 Coating resistance comparison
                                    สถานีที่ 4 Corrosion resistant alloy selection
15:00 น. – 16:00 น.  Post test
 
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน Google form: https://forms.gle/Ju9KRjSmyb4wf2Eg6
 
ค่าลงทะเบียน
ราคาสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 12,000 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ราคาสำหรับบุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 12,840 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การชำระค่าลงทะเบียน
 • โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
 • กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ) (วันที่ 6-8 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>