ccm-researchproject Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/ccm-researchproject/ National Metal and Materials Technology Center Thu, 22 May 2025 07:12:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico ccm-researchproject Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/ccm-researchproject/ 32 32 ‘วัสดุกำบังรังสีจากวัสดุพลอยได้อุตสาหกรรม’ เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน https://www.mtec.or.th/shielding/ Wed, 21 May 2025 03:51:25 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37708 แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน ส่งผลให้หลายภาคส่วนสนใจการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากขึ้น แนวทางหนึ่งคือการนำวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณของเสียและใช้ทรัพยากรใหม่เท่าที่จำเป็น

The post ‘วัสดุกำบังรังสีจากวัสดุพลอยได้อุตสาหกรรม’ เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

‘วัสดุกำบังรังสีจากวัสดุพลอยได้อุตสาหกรรม’ เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน ส่งผลให้หลายภาคส่วนสนใจการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากขึ้น แนวทางหนึ่งคือการนำวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณของเสียและใช้ทรัพยากรใหม่เท่าที่จำเป็น

เถ้าลอยเป็นวัสดุพลอยได้จากโรงไฟฟ้า มีองค์ประกอบหลักคือ ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) และอะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) เถ้าลอยสามารถเกิดปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชันเมื่ออยู่ในสารละลายด่าง เช่น สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานี้เรียกว่า จีโอโพลิเมอร์ (geopolymer) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายปูนซีเมนต์ แข็งตัวและขึ้นรูปได้ที่อุณหภูมิห้องจึงใช้พลังงานในการผลิตต่ำ มีราคาถูก สามารถใช้ในงานก่อสร้างได้ และนำมาสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับจัดเก็บรักษากากกัมมันตรังสีแทนปูนซีเมนต์หรือคอนกรีตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้

ทีมวิจัยอีโคและฟังก์ชันนอลเซรามิกส์ กลุ่มวิจัยเซรามิกส์และวัสดุก่อสร้าง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการกากกัมมันตรังสี ศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้พัฒนาวัสดุจีโอโพลิเมอร์จากวัสดุพลอยได้ของโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมรีดร้อนเหล็ก เพื่อนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับจัดเก็บรักษากากกัมมันตรังสีและกำบังรังสีเอกซ์และรังสีแกมมา ผลงานนี้ได้รับทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิรัตน์ เอ็นจิเนียริ่ง

ทีมวิจัยใช้เถ้าลอยเป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุจีโอโพลิเมอร์ และใช้ผงเหล็ก (mill scale) หรือเหล็กออกไซด์ที่เป็นวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมรีดร้อนเหล็กเป็นสารดูดกลืนรังสี จากนั้นได้พัฒนาสูตรที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงสมบัติทางกายภาพ ทางกล อัตราการไหลตัว เวลาในการแข็งตัว และประสิทธิภาพในการกำบังรังสีเอกซ์และรังสีแกมมา อีกทั้งใช้เครื่องมือและขั้นตอนแบบปกติที่ใช้เตรียมซีเมนต์และคอนกรีตในโรงงาน

ต้นแบบวัสดุกำบังรังสีมีสองรูปแบบคือ 1) แบบก้อนขนาดเท่ากับอิฐมวลเบา (20x60x7.5 เซนติเมตร3) สามารถใช้แทนอิฐทั่วไปก่อเป็นผนังอาคารเพื่อป้องกันรังสี หรือวัสดุกำบังรังสีเฉพาะจุด 2) บรรจุภัณฑ์สำหรับใช้เก็บรักษากากกัมมันตรังสีขนาด 200 ลิตร ที่มีความหนา 5 เซนติเมตร และ 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันรังสีที่มีระดับอัตราปริมาณรังสีและปริมาตรในการจัดเก็บรักษากากกัมมันตรังสีที่แตกต่างกัน

ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการกำบังรังสีบ่งชี้ว่า ต้นแบบจีโอโพลิเมอร์กำบังรังสีแบบก้อนมีประสิทธิภาพกำบังรังสีแกมมาดีกว่าคอนกรีตกำบังรังสี ส่วนต้นแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับใช้เก็บรักษากากกัมมันตรังสีมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับถังเก็บกากกัมมันตรังสีจากคอนกรีตที่ใช้อยู่เดิม และจากการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นต์พบว่า กระบวนการผลิตต้นแบบจีโอโพลิเมอร์กำบังรังสีปลดปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่ต่ำกว่ากระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน

ผลงานนี้นอกจากจะส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ติดต่อสอบถามข้อมูล:
ทีมวิจัยอีโคและฟังก์ชันนอลเซรามิกส์ กลุ่มวิจัยเซรามิกส์และวัสดุก่อสร้าง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
ดร.สมัญญา สงวนพรรค
โทรศัพท์: 0 2564 6500 ต่อ 4044
อีเมล: samunys@mtec.or.th

The post ‘วัสดุกำบังรังสีจากวัสดุพลอยได้อุตสาหกรรม’ เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
BICBOK แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป https://www.mtec.or.th/research-projects-40088-2/ Thu, 30 Jan 2025 03:28:46 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=2712 BICBOK แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป ที่มา ยางมะตอยเป็นวัสดุที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ปิดผิวพื้นถนนและทางเดินต่างๆ เนื่องจากมีความคงทนและยืดหยุ่นสูง แต่มักมีข้อจำกัดต่อการนำมาใช้เพราะต้องอาศัยเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำงาน จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” พร้อมใช้งาน โดยบริษัท บิทูเมนต์ อินโนเวชั่น จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ... Read more

The post BICBOK แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

BICBOK แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป

ที่มา
ยางมะตอยเป็นวัสดุที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ปิดผิวพื้นถนนและทางเดินต่างๆ เนื่องจากมีความคงทนและยืดหยุ่นสูง แต่มักมีข้อจำกัดต่อการนำมาใช้เพราะต้องอาศัยเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำงาน จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” พร้อมใช้งาน โดยบริษัท บิทูเมนต์ อินโนเวชั่น จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วิจัยและพัฒนาต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ “Bicbok : แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” พร้อมใช้งาน ที่สามารถนำไปใช้ปูปิดทับพื้นผิวที่หลากหลายได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรและพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ สามารถใช้งานได้กับพื้นที่ทุกขนาดและยังคงคุณลักษณะที่โดดเด่นของยางมะตอย

เป้าหมาย
เพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” ในระดับอุตสาหกรรม ที่ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว โดยยังคงคุณสมบัติที่ดีและสามารถนำไปใช้ในงานที่หลากหลายได้

ทีมวิจัยทำอย่างไร
ได้ร่วมกับภาคเอกชนในการออกแบบและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต รวมทั้งพัฒนาต่อยอดสมบัติด้านอื่นๆของแผ่นพื้นโดยเพิ่มสารผสมอื่นๆที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการนำเอามาใช้ประโยชน์ให้ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบแผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป

คุณสมบัติ
ใช้งานง่ายสะดวกและติดตั้งได้รวดเร็ว มีความนุ่มนวลสบายเท้าเวลาเดินช่วยลดแรงกระแทก เมื่อมีน้ำขังจะไม่เกิดการลื่นไหลเหมือนในงานพื้นคอนกรีตทั่วไป ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ๆมีผู้สูงอายุอาศัยและทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ แผ่นพื้นยังมีความคงทนแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักกดได้สูงเทียบเท่ากับแผ่นปูพื้นปกติทั่วไป

สถานภาพงานวิจัย
ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตต้นแบบแผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปในระดับอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการสนับสนุนเร่งการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Research Gap Fund)

แผนงานในอนาคต
การพัฒนาต่อยอดสมบัติด้านอื่นๆเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การเติมวัสดุที่มีความพรุนตัวสูง มีสมบัติน้ำซึมผ่านได้ดี ช่วยพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นแผ่นพื้นยางมะตอยน้ำซึมผ่านได้ การใช้วัสดุสะท้อนแสงเพิ่มลงไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการมองเห็นในเวลากลางคืนเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ หรือการใช้วัสดุที่มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุหกล้มที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้สูงอายุอาศัยและทำกิจกรรมต่างๆ

ทีมวิจัย
ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล และ นายศุธีรพันธ์ พันธ์เลิศ

ติดต่อ
ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4242
อีเมล์ PITAKL@mtec.or.th

The post BICBOK แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
CERAPORE วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย https://www.mtec.or.th/research-projects-38622/ Wed, 29 Jan 2025 03:26:52 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=2742 CERAPORE วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย ที่มา ทีมวิจัยเอ็มเทคมีความเชี่ยวชาญในการสังเคราะห์วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากวัตถุดิบหลายชนิดที่มีปริมาณซิลิคอนไดออกไซด์เหมาะสม เช่น เถ้าลอย เถ้าหนัก เศษแร่บางชนิด และดินที่มีมูลค่าต่ำ ประเทศไทยมีเถ้าลอยที่เป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี เถ้าลอยส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยการฝังกลบจึงก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทีมวิจัยเอ็มเทคใช้เถ้าลอยดังกล่าวเพื่อสังเคราะห์เป็นวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ ... Read more

The post CERAPORE วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

CERAPORE วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย

ที่มา
ทีมวิจัยเอ็มเทคมีความเชี่ยวชาญในการสังเคราะห์วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากวัตถุดิบหลายชนิดที่มีปริมาณซิลิคอนไดออกไซด์เหมาะสม เช่น เถ้าลอย เถ้าหนัก เศษแร่บางชนิด และดินที่มีมูลค่าต่ำ

ประเทศไทยมีเถ้าลอยที่เป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี เถ้าลอยส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยการฝังกลบจึงก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทีมวิจัยเอ็มเทคใช้เถ้าลอยดังกล่าวเพื่อสังเคราะห์เป็นวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ นับเป็นการจัดการที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

เป้าหมาย
พัฒนาวัสดุเซรามิกที่มีความพรุนตัวสูงสำหรับใช้ในกระบวนการแยก กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ และกระบวนการเร่งปฏิกิริยา โดยกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์คือ

• บริษัท SME ที่นำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปผลิตวัสดุพรุนตัว
• อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้วัสดุพรุนตัวในกระบวนการผลิต

ทีมวิจัยทำอย่างไร
สังเคราะห์วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากเถ้าลอยให้มีความพรุนตัวสูง มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ และทนต่อสภาวะที่มีความชื้นหรือความร้อนได้เป็นอย่างดี

ผลการทดสอบ
วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์สามารถใช้เป็นเมมเบรนเพื่อทำให้ก๊าซเชื้อเพลิงมีความบริสุทธิ์สูงขึ้น หรืออาจใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสแบบรวดเร็วของกากชีวมวล เพื่อช่วยลดปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ ทำให้มีสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันปิโตรเลียมยิ่งขึ้น อันเป็นการลดต้นทุนการนำเข้าวัสดุดังกล่าวจากต่างประเทศ

สถานภาพปัจจุบัน
ปัจจุบัน บริษัท เหมืองขุนฝาง จำกัด รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในส่วนการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากแหล่งแร่ โดยบริษัทได้เช่าพื้นที่ในอาคาร INC 2 สำหรับเปิดบริษัทเพื่อสังเคราะห์ซีโอไลต์ที่ได้จากการทำงานวิจัยร่วมกับเอ็มเทค

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์

แผนงานในอนาคต
ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ภาคเอกชน เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากของเสียเหลือทิ้งชนิดอื่นให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ติดต่อ
เปรียวธิดา จันทรัตน์ นักวิเคราะห์ หน่วยวิจัยเซรามิกส์
โทร: 02 564 6500 ต่อ 4302
อีเมล: priawthida.jan@mtec.or.th

The post CERAPORE วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ผลิตจากเถ้าลอย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน https://www.mtec.or.th/research-projects-36514/ Tue, 28 Jan 2025 02:48:45 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=2765 ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ที่มา ปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารและที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศคิดเป็นร้อยละ 50 จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง 1ºC จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ดังนั้น วิธีที่ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศลงได้คือการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ผงสีและผิวเคลือบที่สามารถสะท้อนรังสีอาทิตย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสีอินฟราเรดใกล้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและที่อยู่อาศัยลดลงได้อย่างยั่งยืน ... Read more

The post ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

ที่มา
ปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารและที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศคิดเป็นร้อยละ 50 จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง 1ºC จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ดังนั้น วิธีที่ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศลงได้คือการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ผงสีและผิวเคลือบที่สามารถสะท้อนรังสีอาทิตย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสีอินฟราเรดใกล้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและที่อยู่อาศัยลดลงได้อย่างยั่งยืน

ผงสีฟ้า

ผงสีส้ม

ผงสีแดง

เป้าหมาย

  • พัฒนาผงสีที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอาทิตย์ได้ดี เพื่อนำผงสีที่ได้ไปผลิตสี (paint) และเคลือบเซรามิก (glaze) สำหรับใช้เป็นวัสดุเปลือกอาคาร เช่น ผนัง และหลังคา
  • สังเคราะห์ผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
  • พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผิวเคลือบที่ใช้ผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด

ทีมวิจัยทำอย่างไร

  • พัฒนาผงสีสะท้อนรังสีอาทิตย์ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาสถานะของแข็ง (solid-state reaction) โดยศึกษาตัวแปรต่างๆ ได้แก่ องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น การเติมสารเจือ และสภาวะการเผา เพื่อให้ได้ค่าสีตามที่ต้องการ และได้ค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง
  • พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกโดยศึกษาตัวแปรต่างๆ เช่น องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น ปริมาณของผงสีที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้ได้ผิวเคลือบที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง

ผลงานวิจัย

  • ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่าหรือสูงกว่าผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
  • ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตสีและเคลือบเซรามิกที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้
  • อนุสิทธิบัตรการผลิตผงสีส้มสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้


สถานภาพงานวิจัย

ดำเนินการแล้วเสร็จ

แผนงานวิจัยในอนาคต
ดำเนินงานวิจัยในเฟสที่ 2 เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่ระดับโรงงานต้นแบบ (pilot scale) และระดับโรงงานพาณิชย์ (commercial scale) โดยมีต้นทุนการผลิตที่แข่งขันได้

ทีมวิจัย:
เอ็มเทค: ดร.สิทธิสุนทร สุโพธิณะ, ดร.ปาจรีย์ ถาวรนิติ, น.ส.มัณฑนา สุวรรณ, น.ส.นุจรินทร์ แสงวงศ์ และนายเขมกร โกมลศิริสุข

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: ผศ.ดร.พัฒนะ รักความสุ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ: ผศ.ดร.วัลลภ หาญณรงค์ชัย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง: ผศ.ดร.ปานไพลิน สีหาราช

ติดต่อ:
ดร.สิทธิสุนทร สุโพธิณะ (นักวิจัยอาวุโส)
กลุ่มวิจัยเซรามิกส์และวัสดุก่อสร้าง
โทรศัพท์ 02 5646500 ต่อ 4234
อีเมล sitthis@mtec.or.th

The post ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย https://www.mtec.or.th/research-projects-24307/ Mon, 27 Jan 2025 04:22:31 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=7400 เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย ที่มา ประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเผาไหม้ถ่านหินจะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัตถุพลอยได้แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนัก 20% โดยประมาณ ในการเผาไหม้ถ่านหิน4 หมื่นตัน/วัน จะได้เถ้าถ่านหินประมาณ 1 หมื่นตัน/วัน หรือกว่า 3 ... Read more

The post เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย

ที่มา
ประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเผาไหม้ถ่านหินจะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัตถุพลอยได้แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนัก 20% โดยประมาณ ในการเผาไหม้ถ่านหิน4 หมื่นตัน/วัน จะได้เถ้าถ่านหินประมาณ 1 หมื่นตัน/วัน หรือกว่า 3 ล้านตัน/ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์สูงสุดของวัสดุและการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุพลอยได้จากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหิน จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยเรื่องการเก็บกลับคืนเซโนสเฟียร์ (Cenospheres) จากเถ้าลอย

เป้าหมาย
วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างฐานเทคโนโลยีองค์ความรู้เรื่องกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย และพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม

สถานภาพงานวิจัย
• ได้กระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์ที่มีคุณภาพและเป็นระบบได้ต้นแบบกระบวนการและชุดอุปกรณ์คัดแยกแบบเปียกและแบบแห้ง
• สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเถ้าลอยอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถขยายสเกลการผลิตได้
• เกิดการจ้างงานแก่คนในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ทีมวิจัยทำอย่างไร
• สร้างฐานข้อมูลเชิงวัสดุที่แสดงปริมาณและคุณภาพของเซโนสเฟียร์ในเถ้าลอย ที่เป็นวัตถุพลอยได้จากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินในโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปาง
• สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยอย่างเป็นระบบ อันประกอบด้วยกระบวนการคัดแยกแบบเปียกและแบบแห้ง
• พัฒนาต้นแบบกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย ทั้งกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง

คุณสมบัติ
เซโนสเฟียร์ (Cenospheres) เป็นวัตถุอนินทรีย์ที่ผสมอยู่ในเถ้าลอย มีซิลิกาและอะลูมินาเป็นองค์ประกอบหลัก จัดเป็นวัสดุที่มีมูลค่าสูง มีคุณสมบัติเด่นคือ มีน้ำหนักเบา (ความหนาแน่นน้อยกว่า 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) เป็นฉนวนกันความร้อน ทนทานต่อสารเคมี ทนต่อแรงอัดที่สูง ดูดซึมน้ำน้อย และไหลร่วนตัวดี เซโนสเฟียร์จึงถูกนำไปใช้งานเป็นวัสดุตัวเติม (additive/filler) อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น พลาสติกน้ำหนักเบา คอมโพสิต ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์ และพาหนะทางน้ำ วัสดุกันลามไฟ อิฐทนไฟ ปูนอุดรอย ปูนฉาบผนัง ซีเมนต์ที่ใช้ในการขุดเจาะน้ำมัน สีและสารเคลือบผิว ตลอดจนมีการใช้งานในอุตสาหกรรมเครื่องบิน รวมทั้งการทหารและยานอวกาศ

แผนงานในอนาคต
• พัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับการคัดแยกเซโนสเฟียร์ด้วยกระบวนการแบบเปียกให้สามารถทำได้แบบต่อเนื่องในระดับขยายสเกล
• พัฒนาประสิทธิภาพและกำลังผลิตของเครื่องต้นแบบกระบวนการคัดแยกเถ้าลอยแบบแห้ง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติแม่นยำ (โครงการวิจัยต่อยอดร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
• ศึกษาและพัฒนาใช้เซโนสเฟียร์ที่คัดแยกได้เป็นผลิตภัณฑ์ เช่น อิฐทนไฟ วัสดุตัวเติมในคอมโพสิทเพื่อเพิ่มสมบัติเชิงกล เป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียง และวัสดุนำส่งโมเลกุลทางด้านชีวการแพทย์

ติดต่อ
ดร. ศรชล โยริยะ และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4224
Email: sorachy@mtec.or.th

The post เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม https://www.mtec.or.th/research-projects-24287/ Sun, 26 Jan 2025 04:23:31 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=7546 วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมวัสดุชนิดนี้สังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น เถ้าลอย ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งดินภายในประเทศที่มีมูลค่าต่ำ การใช้วัสดุนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียและวัตถุดิบในประเทศ และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมการผลิต แนวคิดหลัก พัฒนาวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม มีสมรรถนะการใช้งานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถนำไปผลิตเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคภายในประเทศ จุดเด่นของผลงานวิจัย > ... Read more

The post วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมวัสดุชนิดนี้สังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น เถ้าลอย ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งดินภายในประเทศที่มีมูลค่าต่ำ การใช้วัสดุนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียและวัตถุดิบในประเทศ และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมการผลิต

แนวคิดหลัก
พัฒนาวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม มีสมรรถนะการใช้งานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถนำไปผลิตเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคภายในประเทศ

จุดเด่นของผลงานวิจัย
> วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้จากแหล่งดินและเถ้าลอย มีความพรุนตัวสูงมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ สามารถทนต่อสภาวะที่มีความชื้นและความร้อนได้ดี
> วัสดุนี้สามารถประยุกต์ใช้หลากหลายด้าน เช่น ใช้เป็นวัสดุเมมเบรน หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสแบบรวดเร็วของกากชีวมวล เพื่อช่วยลดปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ ทำให้น้ำมันชีวภาพมีสมบัติใกล้เคียงน้ำมันปิโตรเลียมยิ่งขึ้น

สถานภาพงานวิจัย
บริษัท เหมืองขุนฝาง จำกัด รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในส่วนการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากแหล่งแร่ โดยเช่าพื้นที่ในอาคาร INC 2 เพื่อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ซีโอไลต์ร่วมกับเอ็มเทค

ทีมวิจัยและพัฒนา
ดร.ศุภวรรณ วิชพันธุ์
ดร.ดวงเดือน อาจองค์
ดร.คณิต สูงประสิทธิ์
คุณปัญจลักษณ์ สิรินวรานนท์

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
ดร.ศุภวรรณ วิชพันธ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4202
Email : supawank@mtec.or.th
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

The post วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม https://www.mtec.or.th/research-projects-29117/ Sat, 25 Jan 2025 04:24:16 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=7387 วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม ที่มา จีโอโพลีเมอร์ (Geopolymer) ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีสมบัติคล้ายกับเซรามิกทั่วไป แต่การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้องโดยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน จึงใช้พลังงานในการผลิตต่ำกว่าการผลิตเซรามิกโดยทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย เป้าหมาย ทีมวิจัยเอ็มเทคนำโดย ดร.อนุชา วรรณก้อน ได้วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์จากวัสดุเหลือทิ้ง ... Read more

The post วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม

วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม

ที่มา
จีโอโพลีเมอร์ (Geopolymer) ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีสมบัติคล้ายกับเซรามิกทั่วไป แต่การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้องโดยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน จึงใช้พลังงานในการผลิตต่ำกว่าการผลิตเซรามิกโดยทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย

เป้าหมาย
ทีมวิจัยเอ็มเทคนำโดย ดร.อนุชา วรรณก้อน ได้วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์จากวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิก

ทีมวิจัยทำอย่างไร
• วิเคราะห์องค์ประกอบของของเสียจากอุตสาหกรรม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตจีโอโพลิเมอร์
• พัฒนาสูตรและศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตจีโอโพลิเมอร์ให้มีสมบัติตามต้องการ
• พัฒนาจีโอโพลีเมอร์เป็นผลิตภัณฑ์
• ทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม

สถานภาพงานวิจัย
ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กระเบื้องจีโอโพลิเมอร์ตกแต่งจากเศษแก้ว อิฐจีโอโพลิเมอร์ลายหิน และอิฐมวลเบาคอมโพสิตจากจีโอโพลิเมอร์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี

ผลการทดสอบ
• การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้อง
• กระบวนการขึ้นรูปไม่ซับซ้อน
• ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายทั้งสมบัติและรูปแบบ

แผนงานในอนาคต
วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์ใน 3 แนวทาง ได้แก่
• พัฒนาจีโอโพลิเมอร์เนื้อแน่น (dense geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง
• พัฒนาจีโอโพลิเมอร์พรุน (porous geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุฉนวนกันความร้อน
• ขึ้นรูปจีโอโพลิเมอร์ด้วยการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ (additive manufacturing)

ติดต่อ
เปรียวธิดา จันทรัตน์ นักวิเคราะห์ หน่วยวิจัยเซรามิกส์
โทร: 02 564 6500 ต่อ 4302
อีเมล: priawthida.jan@mtec.or.th

The post วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม (CERAPORE) https://www.mtec.or.th/research-projects-17878/ Fri, 24 Jan 2025 06:44:45 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=7680 วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม (CERAPORE) ที่มาโจทย์วิจัย ทีมวิจัยของเอ็มเทคมีความเชี่ยวชาญในการผลิตวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ กระบวนการแยก (separation process) กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (purification process) กระบวนการเร่งปฏิกิริยา (catalytic process) เป็นต้น ... Read more

The post วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม (CERAPORE) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม (CERAPORE)

ที่มาโจทย์วิจัย
ทีมวิจัยของเอ็มเทคมีความเชี่ยวชาญในการผลิตวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ กระบวนการแยก (separation process) กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (purification process) กระบวนการเร่งปฏิกิริยา (catalytic process) เป็นต้น

วัสดุพรุนตัวชนิดนี้สามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น ของเสียเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และแหล่งดินภายในประเทศ อันเป็นการลดปัญหาการจัดการของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ของเสียและวัตถุดิบภายในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

industrial wastes and mineral resources

เป้าหมาย
พัฒนาวัสดุเซรามิกที่มีความพรุนตัวสูง มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ ทนต่อสภาวะที่มีความชื้นหรือความร้อนได้ดี ใช้งานในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย อีกทั้งยังลดการนำเข้าวัสดุดังกล่าวจากต่างประเทศ

กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่
• กลุ่มบริษัท SMEs เป็นผู้ที่นำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ผลิตวัสดุพรุนตัวที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคภายในประเทศ
• กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นผู้ใช้งานวัสดุพรุนตัว การใช้งานวัสดุจากงานวิจัยจึงช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าสินค้า

ทีมวิจัยทำอย่างไร
สังเคราะห์วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากแหล่งดินและเถ้าลอย (fly ash) ที่มีความพรุนตัวสูง มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ สามารถทนต่อสภาวะที่มีความชื้นหรือความร้อนได้ดี

นอกจากนี้ ยังใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น ใช้เป็นวัสดุเมมเบรน หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสแบบรวดเร็วของกากชีวมวล เพื่อช่วยลดปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ ซึ่งจะช่วยให้น้ำมันชีวภาพมีสมบัติใกล้เคียงน้ำมันปิโตรเลียมยิ่งขึ้น

ผลงานที่เกิดขึ้นตอบโจทย์แนวโน้มความต้องการระดับประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันมีแหล่งดินที่มีมูลค่าต่ำ อีกทั้งปริมาณเถ้าลอยที่เป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินจากโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี

โดยทั่วไป เถ้าลอยจะถูกกำจัดโดยการฝังกลบ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ การนำของเสียเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ จึงมีส่วนช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากจากอุตสาหกรรมการผลิต

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ
การนำของเหลือทิ้งหรือวัสดุพลอยได้มาเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความสม่ำเสมอของปริมาณและคุณภาพของของวัสดุพลอยได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดผลพลอยได้นั้นๆ รวมถึงปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีในการสังเคราะห์และควบคุมขนาด การกระจายตัวของรูพรุนในโครงสร้างซีโอไลต์ที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งาน

การก้าวข้ามอุปสรรคสำคัญ
การนำผลงานจากโครงการไปทดลองใช้งานเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและให้เป็นที่ยอมรับ เช่น คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้องมีความใกล้เคียงกับสินค้าที่ขายในท้องตลาด ตลอดจนวิธีการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

สถานภาพปัจจุบัน
พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยนี้
ปัจจุบัน บริษัท เหมืองขุนฝาง จำกัด รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในส่วนการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากแหล่งแร่ โดยบริษัทได้เช่าพื้นที่ในอาคาร INC 2 สำหรับเปิดบริษัทเพื่อสังเคราะห์ซีโอไลต์ที่ได้จากการทำงานวิจัยร่วมกับเอ็มเทค

แผนงานในอนาคต
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากของเสีย ของเหลือทิ้งหลากหลายชนิด ให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางปิโตรเคมี

The post วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม (CERAPORE) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ผลงานสูตรเคลือบเซรามิกไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ https://www.mtec.or.th/research-projects-1227/ Thu, 23 Jan 2025 06:45:34 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=7865 ผลงานสูตรเคลือบเซรามิกไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ ที่มาของโครงการ โรงงานเซรามิกที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์เป็นสโตนแวร์ ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของประดับหรือของที่ระลึกต่างๆ เผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,150-1250 °C แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขัน และตันทุนพลังงาน ที่สูง ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ และสร้างความแตกต่างกับคู่แข่งขัน ... Read more

The post ผลงานสูตรเคลือบเซรามิกไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ผลงานสูตรเคลือบเซรามิกไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ

ที่มาของโครงการ
โรงงานเซรามิกที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์เป็นสโตนแวร์ ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของประดับหรือของที่ระลึกต่างๆ เผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,150-1250 °C แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขัน และตันทุนพลังงาน ที่สูง ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ และสร้างความแตกต่างกับคู่แข่งขัน จึงมีความสนใจในการนําเคลือบ อุณหภูมิต้าไปใช้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงานและสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้กับโรงงาน

รายละเอียดโครงการ
โครงการได้รับทุนวิจัยจาก สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อดําเนินการพัฒนาเคลือบเอฟเฟค ไร้สารตะกัวสําหรับเผาเคลือบเซรามิกที่อุณหภูมิต่ำ โดยมีการพัฒนา เคลือบใส ให้สามารถเผาสุกตัวได้ที่อุณหภูมิ 1100 °C และเผา เพื่อทําให้เกิดผลึกในอุณหภูมิช่วง 980-1080 °C จํานวน 4 สูตร จากการสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย และทีมงานวิจัยได้มีโอกาสไป เยี่ยมชมโรงงานในกลุ่มจังหวัดลําปาง ได้มีโรงงานไทยสิราซัพพลาย โรงงานกิตติโรจน์เซรามิกส์ และโรงงานนันท์เซรามิค ที่มีความ สนใจในการทําเคลือบที่อุณหภูมิต่ํา และได้ขอความอนุเคราะห์ในการ ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสูตรเคลือบไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ เพื่อนําไปทดลองใช้ในโรงงาน เพื่อเป็นการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้มีความหลากหลาย และผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่โรงงานนันท์เซรามิกและผลิตภัณฑ์ที่ได้
Technology transfer to Nanth Ceramic Factory

การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่โรงงานไทยสิราซัพพลายและผลิตภัณฑ์ที่ได้
Technology transfer to Thaisira Supply Factory

ผลที่เกิดขึ้น
ได้ดําเนินการถ่ายทอดสูตรเคลือบ และเทคโนโลยีการผลิต ที่อุณหภูมิ 1100 °C ให้กับโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม จํานวน 3 โรงงานข้างต้น ซึ่งในการนําสูตรเคลือบใหม่ในใช้ใน กระบวนการผลิตจริงของโรงงาน ต้องทําควบคู่ไปกับการปรับใช้ ให้เหมาะสมกับเนื้อดินอุณหภูมิต่ําด้วย โดยสูตรเคลือบที่ทําการ ถ่ายทอด มีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 1 ทั้งนี้การลดอุณหภูมิ การเผาทุกๆ 100 °C จะทําให้ต้นทุนพลังงานลดลง 10-15% หากคิดราคาเชื้อเพลิงแก๊ส LPG ถังละประมาณ 1,200 บาท (48 กก./ถัง) จะได้ผลการลดการใช้พลังงานในการผลิตดังแสดงในตารางที่ 2

หัวหน้าโครงการ : ดร.อนุชา วรรณก้อน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ผู้ร่วมวิจัย : นายปริญญา สมร่าง, นางวัชรี สอนลา, นางสาวภัทรวรรณ เฉยเจริญ, นายสิทธิศักดิ์ ประสานพันธ์, นายวิทยา ทรงกิตติกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
Project Leader : Dr. Anucha Wannagon National Metal and Materials Technology Center
Research Team : Mr. Parinya Somrang, Mr. Watcharee Sornlar, Ms. Pattarawan Choeycharoen, Mr. Sitthisak Prasanphan
Mr. Witaya Shongkittikul National Metal and Materials Technology Center
Contact : 0 2564 6500 ext. 4045 e-mail anuchaw@mtec.or.th

The post ผลงานสูตรเคลือบเซรามิกไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย : Cenospheres Separation from Fly Ash https://www.mtec.or.th/research-projects-24219/ Wed, 22 Jan 2025 07:39:47 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=7572 เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย Cenospheres Separation from Fly Ash เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย Cenospheres Separation from Fly Ash การใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า จะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัสดุพลอยได้กว่า 3.5 ... Read more

The post เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย : Cenospheres Separation from Fly Ash appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย Cenospheres Separation from Fly Ash

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย
Cenospheres Separation from Fly Ash

การใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า จะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัสดุพลอยได้กว่า 3.5 ล้านตัน/ปี แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนักประมาณ 20% การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัสดุพลอยได้จึงเป็นที่มาของการพัฒนากระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย

แนวคิดหลัก

เซโนสเฟียร (Cenospheres) เป็นอนภุาคโครงสร้างกลม กลวง มี องค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกับเถ้าลอยคือมีซิลิกาและอะลูมินาเป็นองค์ประกอบหลักเซโนสเฟียร์ มีน้ำหนักเบา มีความหนาแน่นต่ำ เป็นฉนวนกันความร้อน ทนต่อสารเคมี ทนต่อแรงอัดที่สูง ดูดซึมน้ำน้อย และไหลร่วนตัวดีจึงใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, พลาสติกน้ำหนักเบา, วัสดุกันเสียง, วัสดุกันลามไฟ, ซีเมนต์, สีและสารเคลือบผิว เป็นต้น

จุดเด่นของผลงานวิจัย
> องค์ความรู้เรื่องกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยที่เป็นระบบทั้งกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง
> ฐานข้อมูลเชิงวัสดุและคุณภาพของเซโนสเฟียร์ที่ได้จากเถ้าลอยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
> ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเถ้าลอยอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทางหนึ่ง

สถานภาพผลงานวิจัย
– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบเปียกระดับขยายสเกลที่สามารถคัดแยกเซโนสเฟียร์ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง
– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบแห้งภาคสนามที่มีประสิทธิภาพการคัดแยกเถ้าลอยได้หลายชนิดและมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ติดตั้ง ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปางแล้ว
– มีการจ้างงานคนในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ทีมวิจัยและพัฒนา
ดร. ศรชล โยริยะ
น.ส. อังคณา ชุมภู
น.ส. ภัทรธิชา เทพศรี

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
ดร. ศรชล โยริยะ
โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4224
Email : sorachy@mtec.or.th
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

The post เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย : Cenospheres Separation from Fly Ash appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>