interview Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/interview/ National Metal and Materials Technology Center Wed, 30 Apr 2025 03:50:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico interview Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/interview/ 32 32 การขับเคลื่่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย https://www.mtec.or.th/theme-leader-of-strategic/ Wed, 13 Nov 2024 05:03:38 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=30509 การขับเคลื่่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย ดร.พสุ สิริสาลีTheme Leader of Strategic Theme : เครื่องมือแพทย์นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ... Read more

The post การขับเคลื่่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การขับเคลื่่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย

ดร.พสุ สิริสาลี
Theme Leader of Strategic Theme : เครื่องมือแพทย์
นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มียุทธศาสตร์การวิจัยที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรมโดยการขับเคลื่อน 4 กลุ่มงานวิจัยหลัก (main research themes) ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 14 แนวทางการวิจัยเชิงกลยุทธ์ (strategic themes) ทั้งนี้ “เครื่องมือแพทย์” จัดเป็นหนึ่งในแนวทางการวิจัยเชิงกลยุทธ์ซึ่งอยู่ในกลุ่มวิจัยหลัก คือ “นวัตกรรมอุปกรณ์การแพทย์และสุขภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต”

ดร.พสุ สิริสาลี นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม เป็น Theme Leader ซึ่งมีภารกิจหลักคือการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้มีความยั่งยืนทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

ความสำคัญและบริบท

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งมีความสลับซับซ้อนและมีความสำคัญต่อประเทศ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ไทยผลิตได้เองในสัดส่วนที่สูงมักเป็นวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ที่ใช้เพื่อการรักษาพยาบาลทั่วไปและใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน

อย่างไรก็ดี เครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องเอกซเรย์ เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง และผลิตภัณฑ์ทางจักษุวิทยา แทบทั้งหมดยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่

สาเหตุแรก การเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์ไทย ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อมั่นอันเกิดมาจากความคุ้นเคยในการฝึกหัดและการใช้อุปกรณ์ที่นำเข้ามาอย่างยาวนาน อีกทั้งไม่ต้องการความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดจากผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

สาเหตุที่สอง อุตสาหกรรมมีการแข่งขันด้านราคาอยู่ในระดับสูง บริษัทข้ามชาติมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าผู้ผลิตไทยที่ส่วนใหญ่เป็นเพียงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะในเชิงราคาที่ต่ำกว่าเนื่องจากการผลิตในปริมาณมาก (Economy of scale) เปรียบเสมือนกำแพงใหญ่อีกอย่างหนึ่งที่ขัดขวางการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตของไทย

สาเหตุที่สาม อัตราภาษีนำเข้าชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบในการผลิตอยู่ในระดับสูง ทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการไทยมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีระดับภาษีที่ต่ำ

สาเหตุที่สี่ การขาดองค์ความรู้และทรัพยากรที่เพียงพอ โดยเฉพาะองค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนา งบประมาณสนับสนุน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการนำร่อง หรือห้องปฏิบัติการทดสอบ

ในความเห็นของ ดร.พสุ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามประเทศไทยจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่หลากหลายและได้คุณภาพมาตรฐานสากลภายในประเทศ ด้วยเหตุที่เรามีงบประมาณแผ่นดินที่จำกัด หากสามารถลดการพึ่งพาผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศ ก็ย่อมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล

ไม่เพียงเท่านั้นยังจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่นำเข้าจากต่างประเทศมักมีราคาสูง ส่งผลให้โรงพยาบาลขนาดเล็กในชนบทมีโอกาสเข้าถึงได้น้อย หากประเทศไทยสามารถผลิตเองได้ในราคาที่เหมาะสม ก็ย่อมช่วยกลุ่มประชาชนที่อยู่พื้นที่ทุรกันดาร หรือประชากรกลุ่มเปราะบางที่ขาดความสามารถในการจ่ายค่ารักษา มีโอกาสเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น และ

ดร.พสุ กล่าวย้ำถึงประเด็นสำคัญคือ การมีอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ที่เข้มแข็งถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางสาธารณสุขในภาวะวิกฤตได้อย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ในภาววิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด จะมีภาพจำที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้มีอำนาจต่อรองกับประเทศผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญ โดยประเทศผู้ผลิตเหล่านั้นจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ให้กับประเทศของตนเองจนเพียงพอก่อน แล้วจึงจะส่งออกไปยังประเทศอื่นได้

พันธกิจและพันธนาการ

ดร.พสุ กล่าวว่า เอ็มเทค ในฐานะเป็นกำลังหลักที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ระบบสาธารณสุขไทยพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง และได้วางพันธกิจหลักสำคัญประกอบไปด้วย หนึ่ง การสร้างนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรให้ผ่านการขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ สอง การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานเครื่องมือแพทย์ และสาม การสร้างการรับรู้และผลักดันให้นวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง

อย่างไรก็ตาม หนทางการสร้างงานวิจัยและพัฒนาในประเทศก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ดร.พสุ ขยายภาพข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เคยประสบคือ ผลงานวิจัยและพัฒนาโดยส่วนใหญ่มักไม่สามารถพัฒนาออกสู่ตลาดได้จนประสบความสำเร็จ  แต่มักหยุดอยู่ที่ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี หรือ Technology Readiness Level (TRL) ระดับ 4-7 ซึ่งเป็นเพียงขั้นกลาง ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบต้นแบบ เช่น ต้นแบบห้องปฏิบัติการ หรือภาคสนามเท่านั้น

เหตุใดผลงานจำนวนมากยังคงถูกหน่วงรั้งจนไม่สามารถก้าวข้ามกำแพงสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้?

ดร.พสุ มองว่ามีเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น ข้อจำกัดของสายป่านเงินทุนในฝั่งเอกชนเอง ที่จะร่วมลงทุนในกิจกรรมทดสอบต้นแบบ ทดสอบเพื่อขอรับรองมาตรฐาน การผลิตเพื่อทดลองตลาด หรือพัฒนาการบริการต่างๆเพื่อแข่งขันกับผู้ประกอบการใหญ่จากต่างประเทศ ขณะเดียวกันในฝั่งรัฐ นอกจากข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีแล้วยังพบว่ามีการบริหารจัดการทุนแบบแยกส่วนตามระยะพัฒนาการของ TRL รวมถึงเงื่อนไขการให้ทุนมักเป็นปีต่อปี ทำให้การส่งต่องานวิจัยขาดความต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคในขั้นตอนมาตรฐานและการวิเคราะห์ทดสอบ เนื่องจากมีจำนวนศูนย์วิเคราะห์ทดสอบที่ได้รับการรับรองไม่เพียงพอ ที่มีอยู่ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกประเภทหัวข้อการตรวจวิเคราะห์ กระบวนการทดสอบก็มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน อีกทั้งนักวิจัยหรือผู้ประกอบการเองก็ยังขาดการสื่อสาร และการสร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานกำกับดูแลในกระบวนการขอขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์ ซึ่งต้องมีการจัดเตรียมเอกสาร CSDT (Common Submission Dossier Template)

เมื่อมองภาพที่ใหญ่ขึ้น นอกจากจะมีหลายหน่วยงานที่สนับสนุนทุนแล้ว ในระดับนโยบายชาติก็ยังมีหลายกระทรวงและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อจำกัดของนโยบายและเป้าประสงค์ที่แตกต่างกันของแต่ละหน่วยงาน จึงทำให้ขาดจุดร่วมของโจทย์วิจัยที่ชัดเจน ตลอดจนการวางกลยุทธ์ของชาติในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ประเทศได้สามารถมุ่งเป้าวิจัยและพัฒนาจนถึงฝั่งฝันได้

กุศโลบายและความร่วมมือ

เครื่องมือแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่แข่งขันกันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้นความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในการทลายพันธนาการอุปสรรคที่ผ่านมา เอ็มเทคในฐานะหน่วยงานของรัฐจึงพยายามแสวงหาพันธมิตรและความร่วมมือในทุกระดับ ทั้งหน่วยงานกำกับดูแลนโยบายทางสาธารณสุขและหน่วยบริหารจัดการทุน ทั้งระหว่างหน่วยผลิตวิจัยและพัฒนา เช่น สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย กับผู้ใช้ความรู้หรือผู้ผลิตภาคเอกชน ที่นำองค์ความรู้ไปสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตลอดต่อเนื่องถึงผู้ขาย ผู้ทำการตลาดที่เกี่ยวข้อง และผู้ให้บริการ จนสุดท้ายปลายทางคือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การรักษาและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์เหล่านั้น

ดร.พสุ พยายามกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียข้างต้นซึ่งล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศ โดยที่ผ่านมาเอ็มเทคได้พยายามดำเนินการอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง จนเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกำเนิดคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  Model สาขาเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0

นอกเหนือจากความรู้ความสามารถที่เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมและความชำนาญเฉพาะทางของทีมนักวิจัยแล้ว กลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดระบบนิเวศ และส่งผลให้นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ของเอ็มเทคหลายผลงานสามารถประสบผลสำเร็จสู่ระดับเชิงพาณิชย์ได้

ดร.พสุ ยกตัวอย่างเช่นการทำให้บุคลากรทางการแพทย์เข้ามามีส่วนร่วม ก็เพื่อทลายข้อจำกัดในการสร้างความเชื่อมั่นของการใช้เครื่องมือแพทย์ฝีมือคนไทย ซึ่งยังขาด lead user หรือแพทย์ผู้ใช้งานกลุ่มแรก ที่จะสามารถมาเป็น site reference ในการอ้างอิงข้อมูลและประสิทธิภาพในการใช้งานของเครื่องมือแพทย์ฝีมือคนไทยได้ นอกจากนี้ยังเพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมนั้นตรงตามความต้องการของแพทย์ผู้ใช้ สะดวกต่อการใช้งาน และสร้างความคุ้นชินให้เกิดขึ้นอีกด้วย

เช่นเดียวกับเอกชน เอ็มเทคดูแลไม่เพียงจำกัดแต่เฉพาะขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น แม้ภายหลังจำหน่ายสิทธิเทคโนโลยีออกไปแล้ว ก็ยังติดตามและสนับสนุนภาคเอกชนในการดำเนินการ จวบจนประสบความสำเร็จสามารถเข้าสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้ เช่น การสนับสนุนข้อมูลในเชิงเทคนิคเพื่อการขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย หรือเพื่อการสร้างความเชื่อมั่น เป็นต้น

ปัจจุบันเริ่มมีเอกชนหรือผู้ผลิตที่เติบใหญ่ปรากฏเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น ดร.พสุ จึงมองว่าเป็นอีกหนึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต่อไปจะทวีความสำคัญ ต่อการผลักดันและขยายผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ตลอดห่วงโซ่ได้มากยิ่งขึ้น และเอ็มเทคก็จะพยายามดึงเข้ามาให้มีส่วนร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือให้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

เอ็มเทคพรั่งพร้อมด้วยบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ รวมทั้งโรงงานต้นแบบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 องค์กรมีห้องปฏิบัติการวิจัย (CAD/CAE/3D-Printer) มีโรงงานต้นแบบการแพทย์ โปรตีนทางการแพทย์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 และได้ขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์จากองค์การอาหารและยา (อย.) และยังมีโรงงานต้นแบบอุปกรณ์การแพทย์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO13485 และได้ขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ จากอย. เอ็มเทคพร้อมเป็นพันธมิตรที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตลอดการเดินทางของห่วงโซ่อุปทานในระบบนิเวศนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์นี้

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

มีคำกล่าวว่า Direction is more important than speed ดร.พสุ ได้ให้ทรรศนะว่า Direction ในที่นี้ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และมุ่งเป้าหมายฝันให้ไกล นั่นคือ มุ่งพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทยจนสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ กล่าวคือ ต้องผลักดันผลิตภัณฑ์ของไทยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน การเป็นที่ยอมรับ และขายได้ในระดับสากลนั่นเอง

เป้าหมายตลาดในประเทศอาจเป็นหมุดหมายแรก (milestone) แต่ด้วยข้อจำกัดในศักยภาพของตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก ในขณะที่มาตรการสนับสนุนจากทางภาครัฐตลอดจนทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ส่งผลต่อความอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ทำให้ท้ายสุดแล้วผู้ประกอบการต้องฉวยโอกาสระหว่างจำหน่ายในประเทศนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องอันดับถัดไปก็คือ การเร่ง speed ตัวเองให้เข้มแข็งเพื่อพร้อมผลักดันตัวเองไปสู่การส่งออกในระดับสากล และสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง

อีกหนึ่งแนวคิดเชิงกลยุทธ์ที่ดร.พสุ เห็นว่าควรริเริ่มก็คือ Open innovation ซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากแนววิถีเดิมๆ ที่มุ่งเน้นการทำวิจัยและพัฒนาในลักษณะต่างคนต่างทำ ใช้บุคลากรภายในแต่ละหน่วยงานดำเนินการเป็นหลัก แต่แนวคิดนี้หน่วยงานจะเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิดและประสบการณ์จากภายนอกหน่วยงานด้วย โดยแสดงหรือเปิดเผยให้คนทั่วไปได้ทราบว่า หน่วยงานเรานั้นมีการพัฒนาหรือนวัตกรรมอะไร และมีความต้องการเทคโนโลยีอะไรบ้าง ซึ่งหลายครั้งทำให้พบนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีจากหน่วยงานอื่นที่อาจมาช่วยสนับสนุนกันได้ ทำให้เพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานได้มากกว่าเดิม

ทั้งนี้นวัตกรรมที่ ดร.พสุ มองว่า ระดับที่น่าสนใจควรมีระดับ TRL เกิน 4 ขึ้นไป และมีศักยภาพทั้งในเชิงเทคนิคและการตลาด ซึ่งนั่นจะทำให้การต่อยอดมีความเป็นไปได้และลดระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาด (Time-to-market) ให้สั้นลง ไม่เพียงเท่านั้นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ควรจำกัดแต่เฉพาะของภายในประเทศ แต่ควรหมายรวมถึงของต่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่านวัตกรรมหรือเทคโนโลยีระดับสูงหลายอย่างนั้น ต่างประเทศได้เคยลองผิดลองถูกและพัฒนาจนมีความก้าวหน้าไปไกลมาก ตัวอย่างเช่นอุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์กลุ่มโรคหัวใจ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงระดับสูง ที่ผ่านมาไทยยังไม่มีความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านนี้เป็นของตนเอง หากสามารถสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างกันได้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมระดับสูงขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มโอกาสให้นักวิจัยสามารถเรียนรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อีกด้วย

สนใจรายละเอียดติดต่อ
ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก
ดร.พสุ สิริสาลี
E-mail: pasu.sir@mtec.or.th
ทีมวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ด้านวิจัยและพัฒนาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

The post การขับเคลื่่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ความท้าทายใหม่…ยกระดับไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://www.mtec.or.th/bamboo-st/ Tue, 22 Oct 2024 02:53:03 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=29367 ความท้าทายใหม่…ยกระดับไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปางTheme Leader strategic themes: ไม้เศรษฐกิจ “ไผ่”และหัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ... Read more

The post ความท้าทายใหม่…ยกระดับไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ความท้าทายใหม่...ยกระดับไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง
Theme Leader strategic themes: ไม้เศรษฐกิจ “ไผ่”
และหัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มียุทธศาสตร์การวิจัยที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรมโดยการขับเคลื่อน 4 กลุ่มงานวิจัยหลัก (main research themes) ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 14 แนวทางการวิจัยเชิงกลยุทธ์ (strategic themes) ทั้งนี้ แนวทางการวิจัยเชิงกลยุทธ์ ไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” นับเป็นหนึ่งในแนวทางการวิจัยเชิงกลยุทธ์ซึ่งอยู่ในกลุ่มวิจัยหลัก คือ การพัฒนาวัสดุชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์สมบัติเฉพาะที่มีมูลค่าสูง   

ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง หัวหน้าทีมวิจัย ทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ เป็น Theme Leader เป็นผู้นำทีมในการสานต่อวิสัยทัศน์ในการยกระดับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้เศรษฐกิจของชุมชนไทยอย่างยั่งยืนด้วยวิศวกรรมและเทคโนโลยี

ที่มา

ดร.ทิพย์จักร เล่าว่า “เมื่อปี พ.ศ. 2563 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดทำ Wood Innovation HUB White paper เพื่อมุ่งให้เกิดการบูรณาการการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบครบวงจร โดยมีเป้าหมายตอบโจทย์การยกระดับไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย”

เมื่อ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ซึ่งท่านสนใจมุ่งเน้นการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ เปลี่ยนมุมมองงานวิจัยเป็นกลไกการช่วยผลักดันการลงทุนเกิดการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ใช่วิจัยเพื่อวิจัยเท่านั้น ทั้งยังเล็งเห็นการต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว เอ็มเทคจึงจัดตั้งทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน และ Strategic Theme ไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” ขึ้น เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของ สวทช. ที่ต้องการช่วยยกระดับพืชไม้เศรษฐกิจมูลค่าสูงด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ภายใต้โมเดล BCG Implementation พลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทย” และทั้งนี้ยังทราบถึงการดำเนินงานในปัจจุบันของ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ที่ได้มีศึกษาวิจัยเรื่องพันธุ์ไม้ไผ่และไม้เศรษฐกิจอื่นๆ ด้วย

“Strategic Theme ไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” เป็นหนึ่งในยุทธศสตร์การวิจัยที่เอ็มเทคเล็งเห็นความสำคัญของการต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว และต้องการเป็น technical arms ในการสนับสนุนเทคโนโลยีสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ ภารกิจหลักของ Strategic Theme ไม้เศรษฐกิจที่ในระยะปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่ไม้เศรษฐกิจมี 3 ข้อ ได้แก่ 1. ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจของประเทศ 2. ผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ 3. วิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและชุมชน เพื่อยกระดับเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมที่ต่อยอดไปยังการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ โดยมีทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืนรับผิดชอบหลัก และสอดรับกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยการบูรณาการความร่วมมือร่วมกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน”

มุ่งเป้าอย่างไรให้มั่นใจ

ปัจจุบันประเทศไทยปลูกไผ่กว่า 11 สายพันธุ์ บนพื้นที่เกือบ 1 แสนไร่ การนำไปใช้ประโยชน์มีหลากหลาย เช่น เครื่องจักสาน เฟอร์นิเจอร์ ถ่าน หรือเป็นหน่อไม้ปรุงอาหาร และสิ่งก่อสร้าง  แต่ไผ่ที่นำมาใช้กับสิ่งก่อสร้างที่เหมาะสมได้แก่ ไผ่ซางหม่น ส่วนไผ่อื่นๆ เช่น ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง ซึ่งมีการปลูกอยู่ที่ 50% ของการปลูกในประเทศ ก็มีการใช้งานในรูปแบบอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป

ดร.ทิพย์จักร เล่าว่า “ในต่างประเทศมีการนำไผ่ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง สิ่งทอ เวชสำอาง ไปจนถึงชิ้นส่วนรถฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเรื่องพื้นที่ปลูกและสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือภาคตะวันออก และยังรวมไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ซึ่งสำรวจพบชนิดพันธุ์ไผ่พื้นเมืองกว่า 50 ชนิด  และยังพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังส่งออกไม้ในรูปของแปรรูปหรือไม้ท่อนไปต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขาดการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของไม้เศรษฐกิจ เอ็มเทคเล็งเห็นจุดที่ขาดในด้านต่างๆ จึงมีนโยบายทำหน้าที่เป็น Technical Arms และมุ่งเน้นตอบโจทย์ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) เพื่อผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใช้ ทีมวิจัยต้องศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากไผ่ รวมทั้งร่วมทำงานกับทางด้านต้นน้ำที่เป็นเกษตรกรเพื่อส่งเสริมปริมาณการปลูกไผ่ กลางน้ำที่ทีมวิจัยต้องเข้าไปทำให้เกิดการแปรรูปไผ่สู่การประโยชน์เชิงธุรกิจได้จริงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชน และปลายน้ำซึ่งเป็นกลุ่มผู้ต้องการใช้บอร์ดไผ่ในธุรกิจผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและผู้ใช้อย่างธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย”

 “ด้วยบทบาทของ เอ็มเทค ซึ่งต้องการเป็น Technical Arms ทำให้เรามุ่งเน้นความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญทั้งในและต่างประเทศ ทีมวิจัยได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนช่วยยกระดับการผลักดันแผนยุทธศาสตร์/แผนงานโครงการฯ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปไผ่และไม้ในจังหวัดลำปาง โดยเบื้องต้นในระยะสั้นจังหวัดจะมีการสนับสนุนการปลูกไผ่เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอสามารถรองรับต่อการผลิตไม้บอร์ดในอนาคต ซึ่งเป็นโมเดลที่จะขยายฐานไปที่จังหวัดอื่นด้วย เช่น จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีศักยภาพในการปลูกไผ่เช่นเดียวกัน โดยเป้าหมายสำคัญระยะต้นเพื่อให้เกิดการับรู้ของตลาดและตอบสนองต่อการใช้งานในประเทศให้ได้ก่อน”

“หลักของการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างกว้างนั้น จำเป็นต้องหาเอกชนเข้ามารับสินค้าในปริมาณเป้าหมายที่จะสร้างความมั่นใจได้ และต้องสำรวจการตลาด (Market Survey) เพื่อช่วยตัดสินใจและสร้างโอกาสทางการตลาด จนเรามีความต้องการอย่างชัดเจนแล้ว จึงได้เข้าไปทำงานร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งได้เสนอให้เอ็มเทคเข้าไปช่วยสนับสนุนในส่วนของการลดช่องว่างทางเทคโนโลยี หรือ technology gap โดยเราได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนในการสร้างโรงงานต้นแบบสำหรับสายการผลิตนำร่องในปีนี้”

บ่มเพาะเทคโนโลยี ก้าวสู่ธุรกิจ

ดร.ทิพยจักร เล่าถึงแนวทางการดำเนินงานว่า “เป้าหมายของทีมคือ ช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตด้วยงานวิจัยและความสามารถของทีมที่จะช่วยในการแปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่ม โดยการศึกษาข้อมูลความต้องการของตลาดและลูกค้า รวมถึงการจัดทำแผนที่สิทธิบัตร (Patent Mapping) วิเคราะห์เอกสารสิทธิบัตร  เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการมุ่งเป้าไปที่ไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” ก่อน ได้เริ่มต้นที่ผลิตภัณฑ์ไม้บอร์ดที่ผลิตจากไผ่ เนื่องจากไผ่เป็นพืชที่น่าสนใจ เติบโตได้เร็ว ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ มีคุณสมบัติที่ดี และมีคุณประโยชน์สามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย ทำให้สามารถบริหารจัดการการปลูกได้ เมื่อนำมาพัฒนารูปแบบการผลิตก็จะสามารถแปรรูปทดแทนไม้เนื้อแข็งเพื่อช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าสู่การบริโภคที่ยั่งยืนได้”

“ทีมวิจัยเล็งเห็นว่า หากเราเริ่มการยกระดับธุรกิจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเริ่มจากการวิจัยอาจจะไม่ทันการณ์และไม่เกิดผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ถ้าต้องการให้เกิดการใช้งานจริงในระดับผู้ประกอบการไทยและกลุ่มลูกค้าปลายทาง จะใช้แนวทางที่เรียกว่า Technology Localization โดยการใช้กลยุทธ์การจัดหาเทคโนโลยีและเครื่องจักรจากสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีการพัฒนาไปไกลมากแล้ว โดยสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกัน เรียนรู้เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เอ็มเทคจะส่งทีมงานและมีแนวคิดส่งไผ่ซางหม่นของประเทศไทยไปทดลองใช้กับเครื่องจักรจริง เพื่อมั่นใจว่าเครื่องจักรดังกล่าวสามารถใช้กับไผ่ของเราได้ เป็นความร่วมมือกับ Nanjing Forestry University (NJFU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมการพัฒนา “การถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างทางเลือกจากไม้ไผ่ เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม”  เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งการเกษตรแบบยั่งยืน พร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุขึ้น”

“กลยุทธ์การทำงานเบื้องต้นประกอบด้วยการทำงานกับพันธมิตรที่มีความเข้มแข็งด้านการพัฒนาระบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ การนำร่องการใช้ความรู้และเครื่องมือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสำหรับในพื้นที่ได้ร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่ของเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดลำปางและจังหวัดอุดรธานี รวมถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อบ่มเพาะความรู้ให้สามารถนำความรู้กลับไปต่อยอดในพื้นที่ได้  และจากการศึกษาด้านการตลาดร่วมกับทีม BD ทีมวิจัยพบว่า ประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยีด้านไม้บอร์ดให้สามารถขึ้นรูปจากไม้ไผ่มาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ เป้าหมายที่สนใจศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้บอร์ด ไม้ฝา สำหรับงานDecoration และกลุ่มผลิตภัณฑ์พวกเสา คานในงานก่อสร้าง หรืองาน Structural เพื่อให้เป็นทางเลือกของ End user ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่แข็งแรงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

“ไม้บอร์ด ไม้ฝาจากไผ่” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทีมได้ศึกษาความเป็นไปได้และความต้องการของลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างแล้วระดับหนึ่ง จึงต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงและสามารถใช้ได้อย่างแพร่หลาย ไผ่เป็นไม้ที่มีรูปร่างและเนื้อผิวที่มีลักษณะเฉพาะตัว และมีความแข็งแรงเทียบเท่าหรือสูงกว่าไม้อื่นทั่วไป ดังนั้น ทีมวิจัยมองว่าจะสามารถใช้กรรมวิธีเชิงเทคนิคปรับปรุงคุณสมบัติให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงได้”  

“แผนการจัดตั้งโรงงานต้นแบบสายการผลิตไผ่  (Production line prototype plant)  เป็นการลงทุนตั้งโรงงานต้นแบบผลิตนำร่องขึ้นสำหรับลดความเสี่ยงแทนผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุน เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์และปรับเปลี่ยนแบบได้ตามความต้องการของลูกค้า เป็นการทำงานร่วมกันของหลายกลุ่มวิจัย ทั้งกลุ่มวิจัยด้านโพลิเมอร์และกลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาวิจัยหลายเรื่อง เช่น การทำสี และการขึ้นรูป นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างมาตรฐานไม้บอร์ดจากไผ่ด้วย ซึ่งต้องมีการทดสอบวิจัยสมบัติเพื่อสนับสนุนการยกร่างมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ด้วย”

สู่กลยุทธ์ความยั่งยืน

“ทีมวิจัยมุ่งมั่นผลักดันให้เกิดภาพความเชื่อมโยงที่เกิดมูลค่าเพิ่มของห่วงโซ่อุปทานของกระบวนการผลิตทั้งในระดับชุมชนหรือผู้ประกอบการต่างๆ ในพื้นที่ปลูกไผ่ของประเทศ โดยเป็นตัวเชื่อมต่อทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับสิ่งก่อสร้างและใช้ได้จริง ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศในเบื้องต้นและมีศักยภาพในการส่งออกได้ในอนาคต ด้วยการสนับสนุนทางเทคนิคและช่วยกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ รวมถึงสิ่งที่สำคัญช่วยพัฒนาคนหรือนวัตกรของแต่ละพื้นที่ เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประยุกต์ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้างให้เป็นนวัตกรรมทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความเข้มแข็งให้แก่การเกษตรแบบยั่งยืน”

ในการสร้างนวัตกรรมหรืองานวิจัยในอนาคตตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน  “ทีมวิจัยวางแผนโดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste) ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุดในกระบวนการผลิตไม้บอร์ดจากไผ่ ทั้งนี้จะนำของเสียทั้งแบบขุย เสี้ยน ข้อไผ่ที่แข็ง และของเสียอื่นๆ แปรรูปไปใช้ประโยชน์ต่อ  (Waste Utilization)  เช่น ผลิตเป็นถ่านกัมมันต์  Bamboo composite ด้วย” ดร. ทิพย์จักร กล่าวทิ้งท้าย

สนใจรายละเอียดติดต่อ
ทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน เว็บไซต์ https://www.mtec.or.th/edc-research-group/west/

ขอบคุณข้อมูลจาก
ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง
E-mail: thipjak.nal@mtec.or.th
ทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

The post ความท้าทายใหม่…ยกระดับไม้เศรษฐกิจ “ไผ่” ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
จากงานการตลาดในธุรกิจเกษตรและอาหาร สู่สายสนับสนุนในองค์กรวิจัยตามสไตล์ ชลาลัย ชัตตั้น https://www.mtec.or.th/interview-92456/ Tue, 30 Apr 2024 09:08:48 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=20622 จากงานการตลาดในธุรกิจเกษตรและอาหาร สู่สายสนับสนุนในองค์กรวิจัยตามสไตล์ ชลาลัย ชัตตั้น   สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ คุณชลาลัย ซัตตั้น ผู้จัดการ งานวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบทางธุรกิจ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ... Read more

The post จากงานการตลาดในธุรกิจเกษตรและอาหาร สู่สายสนับสนุนในองค์กรวิจัยตามสไตล์ ชลาลัย ชัตตั้น appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

จากงานการตลาดในธุรกิจเกษตรและอาหาร สู่สายสนับสนุนในองค์กรวิจัยตามสไตล์ ชลาลัย ชัตตั้น

The post จากงานการตลาดในธุรกิจเกษตรและอาหาร สู่สายสนับสนุนในองค์กรวิจัยตามสไตล์ ชลาลัย ชัตตั้น appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข : ผู้สร้างความเชี่ยวชาญจากการวิเคราะห์ทดสอบ https://www.mtec.or.th/interview-84800/ Tue, 26 Sep 2023 06:52:40 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=4122 ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข : ผู้สร้างความเชี่ยวชาญจากการวิเคราะห์ทดสอบ สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ “การได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่ไม่จำกัดขอบเขตในการเรียนรู้มาให้คำปรึกษาเชิงเทคนิคแก่กลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อตอบโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับประเทศ คือ สิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจ” ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข คุณศุภกาญจน์ ... Read more

The post ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข : ผู้สร้างความเชี่ยวชาญจากการวิเคราะห์ทดสอบ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข : ผู้สร้างความเชี่ยวชาญจากการวิเคราะห์ทดสอบ

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

“การได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่ไม่จำกัดขอบเขตในการเรียนรู้มาให้คำปรึกษาเชิงเทคนิคแก่กลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อตอบโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับประเทศ คือ สิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจ”

ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข

คุณศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการอาวุโส และรักษาการผู้จัดการ งานวิเคราะห์เชิงฟิสิกส์ ฝ่ายสนับสนุนเทคนิคด้านวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของวัสดุ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจบการศึกษาได้เริ่มทำงานที่กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จากนั้นได้มาทำงานที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จวบจนปัจจุบัน

บ่มเพาะความเชี่ยวชาญด้านจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง

คุณศุภกาญจน์เริ่มทำงานที่เอ็มเทคเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ มีหน้าที่ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง (Scanning Electron Microscope, SEM) และกล้องจุลทรรศน์แบบแสง (Optical Microscope, OM) แก่นักวิจัยภายในและลูกค้าภายนอก

คุณศุภกาญจน์เล่าย้อนว่า “ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ในสมัยที่เรียนปริญญาตรีก็เคยเห็นภาพถ่ายจากกล้อง SEM และ OM มาก่อน แต่ไม่ทราบหลักการทำงาน ดังนั้น เมื่อเข้ามาทำงานที่เอ็มเทคก็เริ่มมาเรียนรู้ใหม่อย่างจริงจัง โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเป็นผู้สอนทั้งการใช้งานเครื่องและหลักการทำงาน ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก”

ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี ที่ทำงานให้บริการด้วยกล้อง SEM ก็ได้วิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมาก คุณศุภกาญจน์เล่าถึงตัวอย่างที่สร้างความประทับใจว่า “เป็นงานวิจัยด้านชีววิทยาของนักวิจัยไบโอเทคที่ทำร่วมกับต่างประเทศ เกี่ยวกับการใช้สิ่งมีชีวิตกำจัดศัตรูที่เป็นเชื้อรา งานนี้ให้ความรู้สึกเหมือนว่าได้ถ่ายภาพเอเลี่ยน อีกงานหนึ่งเป็นตัวอย่างการวิเคราะห์ชิ้นงานจำลอง (replica) เพราะไม่สามารถวิเคราะห์ชิ้นงานจริงได้โดยตรง เช่น ชิ้นงานอาจมีขนาดใหญ่ หรือเคลื่อนย้ายไม่สะดวก นักวิจัยต้องเตรียมตัวอย่างด้วยการลอกลายโดยใช้แผ่นโพลิเมอร์ จากนั้นจึงค่อยนำแผ่นโพลิเมอร์ที่มีลายมาวิเคราะห์ด้วยกล้อง SEM ซึ่งภาพที่ได้จะดูยากมาก ดังนั้น ผู้ที่จะวิเคราะห์ภาพลักษณะนี้ได้ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เท่านั้น”

โดยปกติในการให้บริการ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะทำหน้าที่ให้บริการการใช้เครื่องมือ ส่วนนักวิจัยจะเป็นผู้ตีความผลการวิเคราะห์ แต่การที่ให้บริการแก่นักวิจัยบ่อยครั้ง ทั้งในงานวิจัย หรืองานแก้ปัญหาให้แก่อุตสาหกรรม ทำให้คุณศุภกาญจน์มีโอกาสได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์จากการรับฟังนักวิจัยเล่าถึงที่มาที่ไปของงาน กระบวนการทำงาน ตรรกะในการวิเคราะห์ และแง่คิดต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพแบบก้าวกระโดด

อย่างไรก็ดี “สำหรับเทคนิคการจำลองนั้น แม้จะเคยทำมาพอสมควร แต่ก็ยังไม่สามารถให้ความเห็นในรายงานได้ เพราะผู้ที่จะแสดงความเห็นในรายงานได้นั้นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการเรียนและสั่งสมประสบการณ์มานาน แต่กรณีของงานวิจัย ถ้ามีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถที่จะคิดวิเคราะห์ได้ สามารถใช้ตรรกะทางวิทยาศาสตร์ในการสรุปผลได้” คุณศุภกาญจน์เล่าเสริม

เมื่อทำงานจนมีประสบการณ์มากพอและมีผู้ใช้บริการมากขึ้น ทำให้ห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องรับเจ้าหน้าที่เพิ่ม ในฐานะที่มีประสบการณ์มากที่สุดคุณศุภกาญจน์ก็ได้ถ่ายทอดความรู้สู่เจ้าหน้าที่รุ่นน้อง และกล่าวว่า

“เนื่องจากเจ้าหน้าที่คนเดียวไม่สามารถใช้งานกล้องได้ทั้งวัน เพราะในการถ่ายภาพต้องใช้สายตาในการโฟกัสภายใต้แสงไฟสลัว ประกอบกับอาจเกิดความเครียดในการทำงาน ดังนั้นหลังจากที่ทำงานมาระยะหนึ่ง ห้องปฏิบัติการก็เริ่มรับเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ๆ เราก็รับหน้าที่สอนงานให้แก่รุ่นน้อง”

“ปัจจุบันกล้อง SEM มีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลหลายคน ได้แก่ คุณวิยภรณ์ กรองทอง, คุณเบญจวรรณ ทองชื่นตระกูล และคุณพงศธร สุขสนอง นอกจากนี้ นโยบายการใช้เครื่องมือมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ดังนั้น นักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยที่ต้องการความสะดวกและความมีอิสระในการใช้เครื่องมือเองนั้น จำเป็นต้องได้รับการฝึกจากเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญก่อน โดยเป็นการฝึกไปพร้อมกับการปฏิบัติงานจริง (on the job training)”

นอกจากการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบภายในเอ็มเทคแล้ว คุณศุภกาญจน์ยังให้บริการลูกค้าภายนอกด้วย แม้ในช่วงเวลานั้น การให้บริการภายนอกจะมีสัดส่วนที่น้อยกว่าการให้บริการภายใน

เมื่อถามถึงความท้าทายของงานให้บริการลูกค้าภายนอก คุณศุภกาญจน์เล่าว่า

“งานที่ยากและท้าทายมักเป็นเรื่องของความคาดหวังผลทางวิทยาศาสตร์จากการวิเคราะห์ เพราะลูกค้าเสียเวลาและเสียค่าบริการเครื่องมือ เขาย่อมต้องการได้ผลที่น่าพอใจ เช่น ภาพสวย คมชัด ภายใต้กรอบเวลาในการดำเนินการที่จำกัด ส่วนการวิเคราะห์ผลนั้น นักวิจัยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการตั้งสมมุติฐาน หาสาเหตุมาอธิบาย และให้ข้อแนะนำเพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ นี่คือความท้าทายที่ต้องทำออกมาให้ดีที่สุด เพื่อตอบโจทย์ได้ตามความคาดหวังของลูกค้า รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจด้วย”

ขยายฐานความรู้สู่เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction, XRD)

ในปีพ.ศ. 2550 คุณศุภกาญจน์ได้โอนย้ายมาดูแลเครื่อง XRD โดยในตอนนั้นมีคุณศุภฤกษ์ เห็นประเสริฐแท้ เป็นผู้สอนการใช้งาน และดร.พิมพา ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการ คุณศุภกาญจน์เล่าว่า “การเปลี่ยนบทบาทจากเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง และจุลวิเคราะห์มาสู่เทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกชันนั้นเพราะตรงกับความรู้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ที่เรียนมา และต้องการเรียนรู้ในเทคนิคใหม่ๆ ประกอบกับเครื่อง XRD ช่วยให้เห็นข้อมูลของวัสดุระดับนาโน ซึ่งขณะนั้นนาโนเทคโนโลยีกำลังได้รับความสนใจมากขึ้น”

ในช่วงที่ห้องปฏิบัติการยังมีเครื่องเอกซ์เรยฟลูออเรสเซนส์ (X-ray fluorescence spectrometer, XRF) สำหรับใช้วิเคราะห์ธาตุ ในขณะที่เครื่อง XRD ให้ข้อมูลโครงสร้างของสารประกอบ เมื่อมีลูกค้าภายนอกมารับบริการ นอกจากห้องปฏิบัติการจะวิเคราะห์ตามที่ลูกค้าต้องการแล้ว บางครั้งก็แนะนำให้ลูกค้าทราบข้อมูลว่า การวิเคราะห์ตัวอย่างโดยใช้เพียงเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งจะมีข้อจำกัด

“ยกตัวอย่างเทคนิค XRF วิเคราะห์ธาตุได้ แต่ไม่ทราบชนิดสารประกอบที่แน่นอน ดังนั้น ถ้าใช้เทคนิค XRD มาประกอบกันก็จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้น” คุณศุภกาญจน์เล่าประสบการณ์

ประสบการณ์ที่สั่งสมกับบทบาทที่เพิ่มขึ้น

ปี พ.ศ.2560 เป็นปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง คุณศุภกาญจน์ได้ผันตัวเองมาช่วยงานบริการด้านเทคนิค โดยรับหน้าที่เป็นผู้รับข้อมูลเบื้องต้นจากลูกค้า และให้คำแนะนำในการรับบริการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด รวมถึงการมีตำแหน่งบริหารเป็นรักษาการผู้จัดการ งานวิเคราะห์เชิงฟิสิกส์ ฝ่ายสนับสนุนเทคนิคด้านวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของวัสดุ ซึ่งประกอบด้วยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สมบัติทางความร้อนของวัสดุ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของผง และห้องปฏิบัติการการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์

คุณศุภกาญจน์ กล่าวว่า “จากประสบการณ์ทำงานทำให้มีโอกาสได้คุยกับลูกค้าจึงทำให้รู้ปัญหาว่า เมื่อลูกค้าโทรมาแล้วได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่สามารถตอบคำถามได้ครบถ้วนภายในการคุยเพียงครั้งเดียว ลูกค้าจะรู้สึกสะดวกสบาย เพราะไม่ต้องอธิบายความต้องการซ้ำหลายครั้งทำให้ไม่เสียเวลา นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้อยากเข้ามาช่วยในส่วนนี้”

“ในมุมมองส่วนตัวคิดว่าการมีเจ้าหน้าที่ที่คอยให้คำแนะนำลูกค้าในเบื้องต้นนั้น มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพราะสามารถแนะนำเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม โดยให้ข้อมูลเชิงเทคนิคเพิ่มเติมเพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือก เช่น หากลูกค้าต้องการวิเคราะห์องค์ประกอบและปริมาณของธาตุ ก็จะอธิบายว่ามีเทคนิคอะไรบ้าง และแต่ละเทคนิคมีจุดเด่นหรือจุดด้อยอะไร หรือในกรณีที่ไม่เชี่ยวชาญก็อาจช่วยกรองข้อมูล แล้วส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญโดยตรงได้เลย เป็นการลดขั้นตอนและประหยัดเวลา”

คุณศุภกาญจน์เชื่อว่าการมีเจ้าหน้าที่ทำงานในลักษณะนี้ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการงานวิเคราะห์เชิงฟิสิกส์ด้วย

“อย่างไรก็ดี การทำหน้าที่คอยให้คำแนะนำลูกค้าในเบื้องต้น ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ เพราะนอกจากการรับข้อมูลในเบื้องต้นแล้ว ยังมีกระบวนการในขั้นตอนอื่น รวมถึงการเตรียมเอกสารต่างๆ อีก เช่น การสืบค้นข้อมูลวิธีการทดสอบ การออกแบบวิธีการทดสอบ การคิดค่าบริการ ใบเสนอราคา และการส่งอีเมลเพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท่านอื่นทราบ”

หากมีลูกค้าต้องการปรึกษาในส่วนอื่นนอกเหนือจากงานบริการวิเคราะห์ทดสอบ เช่น งานที่เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของนักวิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คุณศุภกาญจน์ก็สามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าได้ โดยการรับฟังรายละเอียดที่จำเป็น และสรุปประเด็นความต้องการของลูกค้า เพื่อเชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับบุคลากรหรือหน่วยงานภายในได้อย่างถูกจุด เป็นการลดขั้นตอนในการติดต่อและเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าด้วย

ส่วนผลการตอบรับการให้บริการจากลูกค้า คุณศุภกาญจน์ กล่าวว่า

“ลูกค้ายังส่งงานมาที่เอ็มเทคอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อในคุณภาพของงานที่ส่งมอบ ราคาสมเหตุสมผล ระยะเวลาเหมาะสม แต่หากต้องการเร่งด่วน เอ็มเทคก็มีบริการงานด่วนในราคาค่าบริการที่สูงกว่าปกติ นอกจากนี้ การที่เราได้คุยกับลูกค้าโดยตรงก็เปรียบเสมือนเป็นการสร้างพันธมิตรที่ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ ทั้งนี้เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าด้วย”

พัฒนาบุคลากรและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยความเชี่ยวชาญที่มี

เมื่อถามว่าหลังจากที่ผันตัวไปช่วยงานบริการเทคนิค รวมถึงมีตำแหน่งบริหาร งานในส่วนการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้วยเทคนิค XRD ยังอยู่ในความรับผิดชอบหรือไม่ คุณศุภกาญจน์ตอบว่า “ทำบ้างเป็นบางครั้ง แต่จะเป็นงานในลักษณะการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ทดสอบ เช่น การวิเคราะห์แร่ใยหินในแป้งทัลคัม (talcum) ซึ่งเป็นโจทย์จากบริษัทเอกชน การวิเคราะห์ต้องใช้หลายเทคนิคทั้ง SEM, XRD, จุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์ (Polarized Light Microscope, PLM) และในประเทศไทยยังไม่มีใครรับวิเคราะห์”

“ดังนั้นด้วยศักยภาพทั้งโครงสร้างพื้นฐานและความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่เอ็มเทค เราจึงเริ่มศึกษาความเป็นไปได้โดยใช้เครื่องมือที่มี ซึ่งก็สามารถพัฒนาได้ระดับหนึ่ง แต่หากพัฒนาเพิ่มเติมก็น่าจะลดขีดจำกัดในการตรวจวัด (detection limit) ลงได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์แร่ใยหินในปริมาณต่ำได้”

นอกจากนี้ คุณศุภกาญจน์ยังใช้ความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRD ช่วยสนับสนุนงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นการสอนนักวิจัยหรือผู้ช่วยวิจัยให้ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ หรือการมีส่วนร่วมในงานวิจัยในส่วนของการวิเคราะห์ทดสอบ ทั้งยังจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั้งภายในและภายนอกเอ็มเทคอีกด้วย

การมองไปในอนาคตและบทบาททางเทคนิค

สำหรับการมองอนาคตในสายอาชีพนั้น คุณศุภกาญจน์เล่าว่า “ส่วนตัวชอบทำงานบริการ เพราะได้พูดคุยกับลูกค้าเพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งทำให้รู้สึกว่าได้ให้สิ่งที่มีประโยชน์ทั้งกับองค์กรและลูกค้า การทำงานที่ผ่านมาสามารถให้บริการลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาผ่านช่องทาง MTEC INFO และทางโทรศัพท์ได้เกือบ100% แต่ถ้าหากต้องกลับไปทำงานห้องปฏิบัติการก็สามารถทำได้ เพราะมีความสุขกับการทำงานในห้องปฏิบัติการ หรือหากมีโจทย์ที่เป็นการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ทดสอบจะมองว่าถ้าต่างประเทศทำได้ เราก็ต้องทำได้ ถ้าขาดความรู้ก็ไปศึกษาหรืออบรมเพิ่มเติม และสั่งสมประสบการณ์ ถ้าเกิดประโยชน์ต่อประเทศก็ต้องยิ่งทำให้ได้”

ความภาคภูมิใจ

เนื่องจากอุตสาหกรรมบางรายอาจไม่สามารถซื้อเครื่องมือราคาสูงที่มีความหลากหลายได้ อีกทั้งไม่มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเครื่องมือ การวิเคราะห์ทดสอบ ตลอดจนการแปลผลและการให้คำแนะนำเชิงเทคนิค ดังนั้น การได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่ไม่จำกัดขอบเขตในการเรียนรู้ มาให้คำปรึกษาเชิงเทคนิคแก่กลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อตอบโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับประเทศ คือสิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คุณศุภกาญจน์อย่างยิ่ง

The post ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข : ผู้สร้างความเชี่ยวชาญจากการวิเคราะห์ทดสอบ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
วิศวกรหน้าที่ความรับผิดชอบในวิถีที่เรียบง่าย https://www.mtec.or.th/interview-80804/ Thu, 06 Jul 2023 04:03:13 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=20676 วิศวกรหน้าที่ความรับผิดชอบในวิถีเรียบง่าย สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ   วิศวกรหน้าที่ความรับผิดชอบในวิถีที่เรียบง่าย“ปัญหาเพียงจุดเล็กๆ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นหายนะที่ใหญ่โตได้” คุณสุรศักดิ์ พุทธินันท์ ตำแหน่งวิศวกรอาวุโส ฝ่ายบริหารโครงสร้างพื้นฐาน คุณสุรศักดิ์ พุทธินันท์ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาไฟฟ้ากำลัง จากโรงเรียนฝีมือช่างทหาร ... Read more

The post วิศวกรหน้าที่ความรับผิดชอบในวิถีที่เรียบง่าย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วิศวกรหน้าที่ความรับผิดชอบในวิถีเรียบง่าย

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

 

วิศวกรหน้าที่ความรับผิดชอบในวิถีที่เรียบง่าย
“ปัญหาเพียงจุดเล็กๆ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นหายนะที่ใหญ่โตได้”

คุณสุรศักดิ์ พุทธินันท์ 
ตำแหน่งวิศวกรอาวุโส ฝ่ายบริหารโครงสร้างพื้นฐาน

คุณสุรศักดิ์ พุทธินันท์ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาไฟฟ้ากำลัง จากโรงเรียนฝีมือช่างทหาร ภายหลังจบการศึกษาได้รับราชการ สังกัดช่างโยธาทหาร และได้ศึกษาในระดับปริญญาตรีเพิ่มเติมในช่วงนอกเวลาราชการ โดยศึกษาด้านไฟฟ้ากำลังที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ได้สมัครเข้าทำงานในบริษัท Air Catering Service ก่อนจะมาทำงานในฐานะวิศวกรที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

“ช่างซ่อมทีวี” แรงบันดาลใจสู่เส้นทางการเป็นวิศวกร

ในกรณีของคุณสุรศักดิ์ คำกล่าวที่ว่า “บุคคลหรือเหตุการณ์ บางครั้งก็มีส่วนสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่มนุษย์เราได้เลือกเส้นทางอาชีพของตัวเอง” คงไม่เกินจริงนัก!

คุณสุรศักดิ์เล่าถึงเกร็ดบางอย่างในช่วงวัยเด็กว่า “โทรทัศน์ของที่บ้านสมัยก่อนเป็นเครื่องหลอด เมื่อใช้ไปนานๆ มักเกิดปัญหาภาพล้ม ต้องตามช่างซ่อมทีวีมาซ่อมให้ ซึ่งแต่ละครั้งเสียค่าซ่อมประมาณ 100-200 บาท (เมื่อ 50 ปีก่อนเงินขนาดนี้ค่อนข้างมีค่ามาก) ผมนั่งดูช่างซ่อมสังเกตว่าไม่ได้ทำอะไรมาก เพียงแค่บัดกรี และเปลี่ยนอะไหล่นิดหน่อย ทำให้คิดว่าเราก็น่าจะซ่อมเองได้บ้าง หลังจากนั้นผมก็เริ่มสนใจด้านไฟฟ้า และงานด้านวิศวกรรมอื่นๆ เรื่อยมา”

รู้จัก “คุณสุรศักดิ์” วิศวกรอาวุโสของเอ็มเทค

คุณสุรศักดิ์เป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด ประวัติการศึกษาได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดราชโอรส และเมื่อจบ ม.ศ.3 ได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างกล แต่เรียนได้ 1 ปีก็ลาออกไปเรียนที่โรงเรียนช่างฝีมือทหาร กระทั่งได้วุฒิ ปวช.

เขาเล่าว่า “การศึกษาที่โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ปีแรกทุกคนจะได้เรียนเกือบทุกสาขาวิชาชีพ1 แต่ในปี 2-3 ก็จะเลือกเรียนในสาขาวิชาชีพที่สนใจ การได้มาศึกษาที่นี่ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้เปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องระเบียบวินัยและความอดทน อีกทั้งเมื่อจบการศึกษาแล้วยังสามารถเข้าทำงานราชการได้เลย ซึ่งผมเข้ารับราชการเป็นช่างโยธาทหาร ขณะเดียวกันก็ศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้านไฟฟ้ากำลังเพิ่มเติมในช่วงนอกเวลาราชการด้วย”
__________________________________
1 โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเพื่อผลิตช่างฝีมือให้แก่หน่วยงานราชการต่างๆ ในกระทรวงกลาโหม และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานใน 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักร ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมโลหะ ช่างแมคคาทรอนิกส์ ช่างยานยนต์ ช่างไฟฟ้ากำลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์

เส้นทางการทำงานก่อนมาเป็นวิศวกรที่เอ็มเทค

เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คุณสุรศักดิ์ได้สอบเข้าทำงานที่บริษัท Air Catering Service โดยทำงานในแผนกซ่อมบำรุงของส่วนครัวการบิน เขาเล่าว่า “งานที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย ในเวลานั้นกฎหมายเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย ผมมองว่าการได้ทำงานในส่วนนี้ทำให้เราได้เพิ่มพูนความรู้หลายๆ อย่างที่ไม่เคยเรียนในหลักสูตรมาก่อน เช่น จุลินทรีย์ เครื่องกล และการเติมอากาศ นอกจากนี้ ในช่วงที่ครัวการบินย้ายสถานที่ไปยังตึกใหม่ ผมก็มีหน้าที่ย้ายครุภัณฑ์ที่มีหลากหลายประเภทเพื่อไปติดตั้งยังที่ใหม่ด้วย ซึ่งประสบการณ์ตรงนี้ได้นำมาปรับใช้เมื่อมาทำงานที่เอ็มเทค”

“เมื่อทำงานที่สายการบินได้ประมาณ 5 ปี คุณสุรศักดิ์ก็เปลี่ยนมาทำงานเป็นที่ปรึกษาอีกประมาณ 1 ปี จากนั้นก็กลับมาทำงานที่ในแผนกซ่อมบำรุงของครัวการบินที่จังหวัดภูเก็ต และดูแลเครื่องมือต่างๆ เช่นเดิม อย่างไรก็ดี แม้การทำงานที่ครัวการบินจะได้ประสบการณ์ทำงานมากมาย แต่เขาก็ต้องการหาประสบการณ์ใหม่ๆ ดังนั้นในอีก 5 ปีต่อมาจึงเปลี่ยนงานอีกครั้ง โดยครั้งนี้มาทำงานที่เอ็มเทคในฐานะวิศวกรจวบจนปัจจุบัน (พ.ศ. 2566)”

จุดเริ่มต้นการทำงานที่เอ็มเทค

คุณสุรศักดิ์เล่าว่า “ในช่วงที่ทำงานที่ภูเก็ต ผมอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งและเห็นว่าเอ็มเทคประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งวิศวกร ก็เกิดความสนใจจึงมาสมัครและได้งาน โดยเริ่มทำงานในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 ตอนนั้นงานวิศวกรรมแบ่งเป็น 2 งานย่อย คือ งานซ่อมบำรุงวิศวกรรม และงานความปลอดภัย ซึ่งผมอยู่งานซ่อมบำรุงวิศวกรรม”

“ผมทำงานที่ตึกโยธีประมาณ 3-4 เดือน จากนั้นก็ย้ายมาอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Science Park) หน้าที่และความรับผิดชอบหลักในตอนนั้นคือ การทำแผน เขียนขั้นตอนการย้ายคน เครื่องจักร ครุภัณฑ์ และการติดตั้งเครื่องมือต่างๆ ของเอ็มเทค อย่างไรก็ดี หากมีครุภัณฑ์ของศูนย์แห่งชาติอื่นที่คล้ายคลึงกัน ผมก็ต้องทำงานร่วมกับศูนย์อื่น รวมถึงผู้รับเหมาด้วย”

นอกจากภารกิจการย้ายและติดตั้งเครื่องมือแล้ว คุณสุรศักดิ์ยังมีภารกิจอื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยเขาเล่าว่า “การซ่อมบำรุงเครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ก็เป็นงานส่วนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบ ส่วนงานปรับปรุงพื้นที่ (renovate) ก็ยังคงมีมาตลอดขึ้นอยู่กับโครงการของนักวิจัย หรืองานเดิมที่เคยปรับปรุงเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจต้องรื้อถอน ปรับปรุง และพัฒนาใหม่ให้เหมาะสม สอดคล้องกับการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป”

งานที่ท้าทาย

เมื่อถามถึงงานที่ท้าทาย คุณสุรศักดิ์ตอบว่าเป็นงานติดตั้งเตาชุบโลหะอาคาร Pilot Plant และงานปรับปรุงพื้นที่ เพราะต้องใส่ใจรายละเอียดและแก้ไขปัญหาต่างๆ เขาเล่าว่า “การปรับปรุงพื้นที่ ถึงแม้จะมีเอกสารการจ้างงาน หรือ TOR (Terms of Reference) ที่ดีเพียงใดก็มักเกิดปัญหาที่ต้องแก้ไขที่หน้างานอยู่เสมอ อาจเพราะผู้รับเหมาไม่ค่อยสนใจเรื่องกฎระเบียบที่เป็นรายละเอียดยิบย่อยที่ระบุไว้ใน TOR มากนัก เขามักให้ความสำคัญกับเนื้องานที่ทำได้ หรือไม่ได้เท่านั้น เราก็ต้องคอยกำกับดูแลเพื่อให้งานเสร็จทันเวลาตามเป้าหมาย”

“ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม คืองานปรับปรุงและต่อเติมชั้น 6 อาคารเอ็มเทคจากดาดฟ้าให้เป็นพื้นที่สำนักงาน สิ่งแรกที่ต้องศึกษาคือโครงสร้างเดิมสามารถรับน้ำหนักที่จะเพิ่มมากขึ้นได้หรือไม่ หากได้ ก็หาผู้ออกแบบ และมีการกำหนดสเปกของวัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้าง เพราะวัสดุที่ใช้ควรมีน้ำหนักเบาเพื่อไม่ให้ฐานรากรับน้ำหนักที่มากเกินไป” เขายกตัวอย่าง

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบระบายอากาศที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการปรับปรุงพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่เดิมเป็นดาดฟ้าที่มีปล่อง (hood) สำหรับระบายไอของสารเคมีจากห้องปฏิบัติการต่างๆ คุณสุรศักดิ์เล่าถึงวิธีการแก้ปัญหาว่า “เราให้งานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมตรวจเช็คสภาพอากาศในพื้นที่ ซึ่งผลที่ได้พบว่า เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน อีกทั้งงานวิศวกรรมสนับสนุนก็เป็นงานกลุ่มแรกที่ย้ายเข้าพื้นที่ เพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีปัญหาใดๆ นอกจากนี้อีกผลงานคือ การติดตั้งเตาชุบโลหะอาคาร Pilot Plant มี 2 พื้นที่คือ ห้อง MP107 เป็นเตาชุบโลหะแบบแนวนอน และห้อง MP128 เป็นเตาแบบแนวตั้ง เนื่องจากเป็นเตาที่มีขนาดใหญ่ระบบควบคุมมีความซับซ้อน”

งานที่ภาคภูมิใจมากที่สุด

การทำงานตลอดระยะเวลา 20 กว่าปี ย่อมมีงานที่สร้างความภูมิใจ คุณสุรศักดิ์เล่าว่า “ครั้งหนึ่งเครื่องมือภายในห้องปฏิบัติการชั้น 1 ใช้งานไม่ได้ คาดว่าระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือบอร์ด (board) มีปัญหา ช่างที่รับผิดชอบให้ความเห็นว่าไม่น่าจะสามารถซ่อมได้ เพราะบอร์ดตัวเก่าไหม้อาจต้องเปลี่ยนบอร์ดใหม่ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง ผมลองนำแผ่นบอร์ดตัวเก่ามาดู สังเกตเห็นรอยเขม่าเหมือนเส้นผมขนาดเล็กมาก จึงทดลองซ่อมด้วยการขูดเอาเขม่าออกให้หมดแล้วลองใส่กลับเข้าไปในเครื่องพบว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติ”

“ปัจจุบันอาจนิยมเปลี่ยนเป็นของใหม่มากกว่าการซ่อมเพราะไม่เสียเวลา แต่บางครั้งก็อาจต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก โดยเฉพาะบอร์ดที่ใช้ในเครื่องมือที่มีราคาค่อนข้างสูง และโรงงานเลิกผลิตไปแล้ว ทำให้ต้องสั่งทำเฉพาะขึ้นมาใหม่ทำให้มีราคาสูงมาก บางอย่างหากเราสามารถแก้ปัญหาได้ก็จะช่วยประหยัดได้มาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปัจจัยโดยรอบว่าจะใช้วิธีใด”

“ผมคิดว่าปัญหาเพียงจุดเล็กๆ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นหายนะที่ใหญ่โตได้ อย่างเรื่องการทำความสะอาดเครื่องมือครุภัณฑ์ บางครั้งแค่ฝุ่นก็อาจส่งผลให้เครื่องมือมีปัญหาได้ ประเทศไทยไม่เหมือนต่างประเทศทั้งเรื่องความชื้น สภาพอากาศที่ต่างกัน เมื่อบอร์ดมีทั้งฝุ่นและมีความชื้น อาจส่งผลให้เกิดความร้อนแล้วทำให้เกิดรอยไหม้ระหว่างจุดสองจุดได้ สำหรับงานนี้บางคนอาจจมองว่าเป็นเพียงงานเล็กๆ แต่สำหรับผมเป็นงานที่ภาคภูมิใจที่สุดครับ”

การบริหาร ทีมงาน และการถ่ายทอดงาน

คุณสุรศักดิ์ มีประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งเรื่องการบริหารคน งาน และงบประมาณในฐานะหัวหน้างาน การซ่อมบำรุงและการปรับปรุงพื้นที่ในฐานะของวิศวกร หรือการสอนงานรุ่นน้องในฐานะรุ่นพี่ที่ทำงานมาก่อน เขากล่าวถึงบทบาทที่เคยทำว่า “ที่ผ่านมาเคยทำงานด้านบริหารและดูแลงบประมาณ สำหรับผมเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะการทำงานกับคนจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะกับแต่ละคนไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดตายตัว ในขณะที่การทำงานซ่อมบำรุง ถ้าจับจุดการทำงานของเครื่องจักรได้ก็จบ”

“ส่วนการสอนงานรุ่นน้อง ผมจะใช้วิธีให้งานเพื่อทดลองทำ เพราะงานจะสอนเขาเอง อย่างไรก็ดี สไตล์การทำงานของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เวลาที่มอบหมายงานบางคนก็อยากลองทำก่อน แต่บางคนก็จะปฏิเสธทันทีถ้าเขาคิดว่าไม่น่าจะทำได้ สไตล์ของผม ผมอยากให้ลองทำงานที่ได้รับมอบหมายก่อน ถ้าทำไม่ได้ก็ค่อยมาหาวิธีแก้ไขปัญหากัน”

งานอดิเรกที่ชอบและงานถนัดที่ใช่

สำหรับงานอดิเรก คุณสุรศักดิ์บอกว่า “ผมมีความชอบหลายอย่าง สมัยก่อนชอบเรื่องการบริหาร งานเทคนิค ต่อมาก็สนใจเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ปรัชญา ภาพเขียน โดยความชอบก็จะเปลี่ยนไปตามวัยและช่วงอายุ สำหรับงานอดิเรกตอนนี้น่าจะเป็นการบริหารจัดการต้นไม้ในสวนที่ต่างจังหวัด ส่วนเวลาว่างจะดูสื่อโซเชียลบ้าง เพราะก็มีประโยชน์แต่บางครั้งก็กินเวลาในชีวิตไปเยอะ จึงต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม หากไม่แบ่งเวลาก็จะไม่ได้งาน อีกอย่างโซเชียลก็เป็นดาบสองคมอ่านแล้วก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริงต้องใช้วิจารณญาณ”

การวางแผนหลังเกษียณ

ปลายเดือนกันยายนเป็นวันสิ้นปีงบประมาณ และวันเกษียณอายุราชการ ในปี 2566 นี้ คุณสุรศักดิ์เป็นหนึ่งในพนักงานที่เกษียณอายุ คุณสุรศักดิ์ เล่าถึงแผนหลังเกษียณว่า “แผนที่วางไว้คือใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีความสุขและทำหน้าที่ต่อครอบครัวให้ดีที่สุด เพราะช่วงที่ผ่านมาได้ละทิ้งหน้าที่ในส่วนนี้ไปบ้าง คนเราก็บอกไม่ได้หลังจากเกษียณไปแล้วจะอยู่สักกี่ปี ส่วนตัวผมพยายามบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระแก่คนข้างหลัง ถึงแม้การเกษียณจากงานประจำ แต่ก็ยังมีภาระงานในส่วนอื่นที่รออยู่เพียงแต่ให้ความรู้สึกอิสระมากกว่า”

ข้อคิดถึงคนรุ่นหลัง

“การทำงานอะไรก็แล้วแต่ต้องมีความอดทน รอบคอบ ช่างสังเกต และความท้าทายที่ต้องแก้ปัญหาตรงนั้น งานทุกงานมีคุณค่า ปัญหาทุกปัญหามีทางออก เพียงแต่ต้องมองให้เห็นคุณค่าและหาแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ให้เจอ ชีวิตคนเราก็เหมือนเส้นโค้งคว่ำ มีจุดกำเนิด จุดสูงสุด และกลับสู่จุดกำเนิด ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีจัดการชีวิตที่ต่างกัน สำหรับผมพยายามให้เส้นโค้งที่ว่าเกิดการ overshoot เมื่อเวลาหาค่าเฉลี่ยจะได้ไม่ตกต่ำมากนัก!”
เขากล่าวทิ้งท้าย

The post วิศวกรหน้าที่ความรับผิดชอบในวิถีที่เรียบง่าย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ความสุขในรการเป็นนักวิจัยของ ดร.โซติรส ดอกขัน https://www.mtec.or.th/interview-79709/ Wed, 07 Jun 2023 04:25:46 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=20709 ความสุขในการเป็นนักวิจัยของ ดร.โชติรส ดอกขัน “ชีวิตมีทางเลือกเสมอ หากเลือกที่จะสนุกและชอบในสิ่งที่ทำเราก็จะทำสิ่งนั้นได้ดีและสิ่งนั้นย่อมเหมาะกับเรา การได้ออกภาคสนาม ทำงานร่วมกับชาวสวน หรือการได้คิดค้น ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้รู้ว่าการเป็นนักวิจัยเหมาะที่สุดแล้ว” ดร.โชติรส ดอกขัน สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ ... Read more

The post ความสุขในรการเป็นนักวิจัยของ ดร.โซติรส ดอกขัน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ความสุขในการเป็นนักวิจัยของ ดร.โชติรส ดอกขัน

“ชีวิตมีทางเลือกเสมอ หากเลือกที่จะสนุกและชอบในสิ่งที่ทำเราก็จะทำสิ่งนั้นได้ดีและสิ่งนั้นย่อมเหมาะกับเรา การได้ออกภาคสนาม ทำงานร่วมกับชาวสวน หรือการได้คิดค้น ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้รู้ว่าการเป็นนักวิจัยเหมาะที่สุดแล้ว”

ดร.โชติรส ดอกขัน

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

ดร.โชติรส ดอกขัน หรือ ดร.ปอร์ นักวิจัยจากทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่ กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์พอลิเมอร์ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (The University of Manchester)

เส้นทางการศึกษาและโอกาสสู่การเป็นนักวิจัย

ดร.โชติรส มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย เช่น เทคโนโลยีน้ำยางและผลิตภัณฑ์ยาง เทคโนโลยีการวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยรังสี พอลิเมอร์คอลลอยด์ และเพอรอฟสไกต์โซลาร์เซลล์ (perovskite solar cell) เธอเล่าถึงเส้นทางการศึกษาสู่การเป็นนักวิจัยกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยางว่า

“ตอนเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสตรีทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนมีส่วนสนับสนุนในหลายด้าน เช่น สร้างห้องปฏิบัติการให้นักเรียนสามารถทำการทดลองเองได้ พาไปทัศนศึกษาชมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ฯ หลายครั้ง ด้วยความที่ปอร์ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์อยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้รู้สึกสนุก อยากเรียนรู้ และทำการทดลองจึงเกิดแรงบันดาลใจ และนี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชอบงานวิจัยวิทยาศาสตร์มาตลอด”

“เมื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ด้านวิทยาศาสตร์โพลิเมอร์ก็ได้รับทุนเพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับน้ำยางและผลิตภัณฑ์ยาง จากนั้นเมื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทก็ได้รับทุน TGIST หรือทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (Thailand Graduate Institute of Science and Technology) ทำให้ได้ร่วมงานกับดร.สุรพิชญ (ลอยกุลนันท์) และคุณฉวีวรรณ (คงแก้ว) โดยทั้งสองท่านเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (co-advisor) ในหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับวิธีกำจัดของเสียในน้ำยางข้น การทำวิจัยในครั้งนี้ทำให้ปอร์รู้สึกว่าได้เรียนรู้ ยิ่งได้มีโอกาสออกภาคสนาม และทำงานร่วมกับชาวสวน ยิ่งทำให้สนุกกับการทำวิจัยมากยิ่งขึ้น”

“ต่อมาเมื่อจบการศึกษา ดร.สุรพิชญ และคุณฉวีวรรณ จึงชวนมาทำวิจัยที่เอ็มเทคต่อ จากนั้นได้ไปช่วย ผศ.ดร.กฤษฎา (สุชีวะ) ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการเอ็มเทคในขณะนั้น ทำงานที่ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง มหาวิทยาลัยมหิดลประมาณ 1 ปี ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริการทางเทคนิค และเมื่อเอ็มเทคเปิดรับสมัครผู้ช่วยวิจัยกลุ่มวิจัยยางจึงได้มาสมัครและทำงานที่เอ็มเทคเรื่อยมาจนปัจจุบัน”

หลังจากทำงานมาได้ระยะหนึ่งเธอได้รับทุนรัฐบาลกระทรวงวิทยาศาสตร์ ตามความต้องการของเอ็มเทค ประเภททุนพัฒนาข้าราชการไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ดร.โชติรส เล่าว่า

“เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษามีความเชี่ยวชาญด้านวัสดุชีวภาพ (biomaterial) และโซลาร์เซลล์ (solar cell) งานวิจัยที่ทำในตอนแรกจึงเกี่ยวกับโพลิเมอร์อ่อนสังเคราะห์ (synthetic soft polymer) สำหรับใช้ในการดูดซับโลหะในน้ำเสีย แต่จากการศึกษาทดลองในเบื้องต้นพบว่าได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจนัก ปอร์จึงพยายามเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสและหาสิ่งที่จะมาเชื่อมโยงกับความเชี่ยวชาญของอาจารย์ จึงได้เสนอกับอาจารย์ว่าจะลองนำโพลิเมอร์อ่อนสังเคราะห์มาประยุกต์ใช้ในงานโซลาร์เซลล์แทน ซึ่งปอร์ได้พิสูจน์ให้อาจารย์เห็นว่าแนวคิดนี้มีความเป็นไปได้ และท้ายที่สุดก็สามารถจดสิทธิบัตรจากผลงานนี้ได้จำนวน 2 ฉบับ ทั้งยังตีพิมพ์บทความวิชาการอีกด้วย”

“เมื่อกลับมาทำงานที่เอ็มเทคในฐานะนักวิจัยก็ไม่รู้สึกว่ามีอุปสรรคในการทำงาน เพราะคุ้นเคยกับทีมงานที่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน อีกทั้งเคยได้รับการฝึกฝนในช่วงที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัยมาแล้ว โดยพี่ๆ นักวิจัยช่วยฝึกสอนน้องในทีมให้ลองทำหลายอย่าง เช่น การร่างข้อเสนอโครงการวิจัย การนำเสนอผลงานวิชาการต่างประเทศ เป็นต้น จึงไม่ต้องปรับตัวเยอะ สามารถเริ่มงานได้เลย”

ดร.โชติรส ย้อนเล่าถึงเส้นทางการเป็นนักวิจัยว่า “ตอนที่กำลังศึกษาปริญญาตรี ปอร์ไม่มีแผนจะศึกษาในระดับปริญญาโทต่อ แต่มีดร.วิรัช (ทวีปรีดา) ช่วยหาทุนให้ และเมื่อได้มาทำงานที่เอ็มเทคไม่นาน สวทช. ก็มีทุนให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ถือเป็นจังหวะและโอกาสที่ดีที่ทำให้ปอร์ได้เดินในเส้นทางอาชีพนักวิจัย ปอร์จึงอยากบอกกับทุกคนว่า ชีวิตมีทางเลือกเสมอ หากเลือกที่จะสนุกและชอบในสิ่งที่ทำเราก็จะทำสิ่งนั้นได้ดีและสิ่งนั้นย่อมเหมาะกับเรา การได้ออกภาคสนาม ทำงานร่วมกับชาวสวน หรือการได้คิดค้น ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้รู้ว่าการเป็นนักวิจัยเหมาะที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ถ้าเราเชื่อมั่นและพยายามอย่างเต็มที่”

บทบาทนักวิจัยเอ็มเทค

เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ดร.โชติรส ได้กลับมาทำงานในฐานะนักวิจัยเอ็มเทค สังกัดกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง กลุ่มวิจัยฯ แบ่งออกเป็น 4 ทีมวิจัย ได้แก่ ทีมวิจัยน้ำยางและวัสดุยาง ทีมวิจัยยางและมาตรฐานยางยั่งยืน ทีมวิจัยวิศวกรรมยางขั้นสูง และทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่

ดร.โชติรสเล่าว่า “กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยางจะโฟกัสเรื่องยางธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากยางจัดเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศจึงมีความพยายามพัฒนาให้ยางมีมูลค่าสูงขึ้นเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทีมวิจัยที่ปอร์สังกัดคือผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน ทำงานภายใต้ ดร.ปณิธิ (วิรุฬห์พอจิต) ซึ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และมาตรฐานของยาง กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยางและทีมงานมีการทำงานที่ค่อนข้างหลากหลาย เรามองว่ายางธรรมชาติเหมือนเป็นพันธกิจหลัก แต่เราก็ยังคงเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ควบคู่กันไป เช่น ยางสังเคราะห์ และวัสดุอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้น งานที่ปอร์สนใจจึงค่อนข้างหลากหลาย เช่น การพัฒนาการวัลคาไนซ์น้ำยางไนไตรล์ (nitrile butadiene latex) ด้วยอิเล็กตรอน และการพัฒนาวัสดุที่มาจากธรรมชาติ หรือของเสีย/ของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในน้ำยางหรือยางแห้ง เป็นต้น”

“งานหนึ่งที่ทำหลังจากจบปริญญาเอกคือ การนำวัสดุธรรมชาติหรือสารสกัดจากของเสีย/วัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมต่างๆ มาเตรียมและผสมในน้ำยางและยางแห้ง เพื่อเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติและน้ำยางสังเคราะห์ที่สามารถย่อยสลายได้ การนำเพียโซอิเล็กทริกมาใช้ในยาง เนื่องจากคุณสมบัติของเพียโซอิเล็กทริกเมื่อได้รับการกระตุ้นจะทำให้เกิดพลังงาน หากพื้นยางทั่วไปมีความนุ่มและรับแรงได้ดีก็น่าสนใจ ดังนั้นจึงมีการศึกษาเบื้องต้นโดยนำเพียโซอิเล็กทริกใส่เข้าไปในยางทำให้เกิดวัสดุใหม่ซึ่งมีความร่วมมือกับดร.จิรภา (ตั้งศรีตระกูล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นผู้พัฒนาวัสดุเพียโซอิเล็กทริก และคุณศิริชัย (พัฒนวาณิชชัย) จากทีมวิจัยยางและมาตรฐานยางยั่งยืน เอ็มเทค นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาสารตัวเติมจากสะเก็ดสนิมที่เกิดจากการรีดร้อนสำหรับอุตสาหกรรมยาง โดยมีความร่วมมือกับดร.จิรภา (ตั้งศรีตระกูล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.ปิยนันท์ (บุญพยัคฆ์) และดร.ศิริกาญจน์ (ขันสัมฤทธิ์) มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในนามของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย” ดร.โชติรส ยกตัวอย่าง

ผลงานในปัจจุบัน

เมื่อถามถึงงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ดร.โชติรส เล่าว่า “ปัจจุบันเทรนด์ของโลกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติเริ่มมีผลกระทบจากสถานการณ์ที่สหรัฐฯ ออกมาตรการห้ามใช้ถุงมือยางธรรมชาติ เนื่องจากมีผู้ใช้บางรายเกิดอาการแพ้โปรตีนในถุงมือยางธรรมชาติ ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ใช้บางส่วนอาจจะแพ้โปรตีน หรือบางส่วนอาจแพ้สารเคมีที่ใช้ในสูตรการวัลคาไนซ์ด้วยระบบกำมะถันหรือแป้งที่ใช้ในการเคลือบถุงมือยางก็ได้ นอกจากนี้ บางประเทศในโซนยุโรปเริ่มมีการสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารเคมีในระบบการวัลคาไนซ์ด้วยกำมะถันบางชนิด ดังนั้นทีมวิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่มีความปลอดภัยมากขึ้นมาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว”

“ก่อนหน้านี้กลุ่มวิจัยเคยดำเนินโครงการที่มีการใช้เทคโนโลยีการวัลคาไนซ์น้ำยางธรรมชาติด้วยลำอิเล็กตรอน (electron beam) ภายใต้การดูแลของผศ.ดร.กฤษฎา (สุชีวะ) และดร.สุรพิชญ (ลอยกุลนันท์) โดยมีการใช้น้ำยางข้นชนิดที่รักษาสภาพน้ำยางด้วยสารรักษาสภาพไร้แอมโมเนีย (TAPS) แต่โครงการนี้เสร็จสิ้นแล้ว ทีมวิจัยเห็นว่ายังไม่มีการพัฒนาการวัลคาไนซ์น้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียเกรดเชิงพาณิชย์ด้วยอิเล็กตรอน ดังนั้น ทีมวิจัยจึงร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ขอทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการพัฒนาระบบการผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์แบบต่อเนื่องด้วยเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับการแพทย์และอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมและได้ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางที่มีความปลอดภัยมากขึ้นเนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีในระบบการวัลคาไนซ์ด้วยกำมะถัน”

“โครงการนี้ สทน. และเอ็มเทคไม่ได้มองว่าเป็นการพัฒนาแค่ในระดับห้องปฏิบัติการ แต่ต้องการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม โดย สทน. ได้มีการพัฒนาระบบลำเลียงแบบต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์ได้ในปริมาณมากตอบสนองความต้องการใช้ของอุตสาหกรรม และเอ็มเทคได้มีการทดสอบการผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์จากระบบลำเลียงน้ำยางแบบต่อเนื่อง พัฒนาปรับสูตรน้ำยางที่จะนำเข้าสู่ระบบต่อเนื่องและน้ำยางที่ผ่านการวัลคาไนซ์ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนให้มีคุณสมบัติเหมาะสมและผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับการแพทย์และอาหาร ปัจจุบันโครงการนี้อยู่ระหว่างดำเนินโครงการและได้รับทุนจาก วช. เป็นปีที่ 2 แล้ว”

“การเป็นนักวิจัยทำให้เรารู้สึกสนุกกับการได้คิดและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ
ยิ่งถ้าสามารถแก้ไขอะไรได้…
จะรู้สึกมีความสุขกับการทำงานที่เกิดประโยชน์และใช้งานได้จริง”

การวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยลำอิเล็กตรอน

ดร.โชติรส อธิบายเพิ่มเติมว่า “โดยปกติการวัลคาไนซ์น้ำยางจะใช้สารเคมีต่างๆ ในระบบกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลยาง ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ส่วนการวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยอิเล็กตรอนอาศัยหลักการเดียวกันกับการวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยสารเคมี คือทำให้เกิดการเชื่อมโยงแบบโครงสร้างตาข่าย 3 มิติ โดยการใช้อิเล็กตรอนแทนการใช้สารเคมี ซึ่งอิเล็กตรอนจะกระตุ้นปฏิกิริยาการเกิดอนุมูลอิสระ (free radical) และทำให้เกิดการเชื่อมโยง (crosslinking) โมเลกุลยาง โดยมีการสร้างพันธะระหว่างคาร์บอน (C-C bond) ในสายโซ่โมเลกุลยาง หลังการวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยอิเล็กตรอนจะมีการนำน้ำยางไปทดสอบระดับการวัลคาไนซ์ก่อนที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์”

“น้ำยางที่วัลคาไนซ์แล้วยังคงอยู่ในรูปของน้ำยาง เราจึงสามารถนำน้ำยางที่ผ่านการวัลคาไนซ์ไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ถุงมือ จุกนม และถุงยางอนามัยได้เหมือนเดิม ข้อดีของวิธีนี้คือน้ำยางที่เตรียมได้ไม่มีการใช้สารเคมีในระบบกำมะถัน จึงมีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าเทรนด์โลกเปลี่ยนและมีการห้ามใช้สารเคมีในระบบกำมะถัน เราก็จะได้เปรียบที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้พร้อมใช้ได้ก่อน ซึ่งทีมวิจัยก็ยังมีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมในส่วนนี้”

เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนและระบบลำเลียงน้ำยางเข้าฉายวัลคาไนซ์แบบต่อเนื่อง (สทน.)

ผลงานที่สร้างความภูมิใจ

ดร.โชติรส มีงานวิจัยที่หลากหลาย เช่น การพัฒนานวัตกรรมการวัลคาไนซ์น้ำยางธรรมชาติด้วยลำอิเล็กตรอน, การทดสอบการผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์จากระบบลำเลียงน้ำยางแบบต่อเนื่องด้วยเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับการแพทย์และอาหาร, เทคโนโลยีการแก้ปัญหาของเสียในอุตสาหกรรมน้ำยาง (GRASS), การพัฒนาต้นแบบเครื่องตรวจจับการเสียสภาพของน้ำยางข้น (MST) อัตโนมัติ รวมถึงอุปกรณ์เสริมสำหรับติดตั้งกับเครื่องทดสอบเสถียรภาพต่อการปั่น (MST) เพื่อให้อ่านค่าแบบอัตโนมัติ, การพัฒนาสารเคมียางจากใบกระถินและใบยางพาราสู่ผลิตภัณฑ์ยางวงที่มีความเป็นพิษต่ำและย่อยสลายได้ และการวิจัยและพัฒนาการผลิตถุงมือยางสำหรับปฏิบัติงานไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งผลงานทุกชิ้นล้วนเป็นความภาคภูมิใจของเธอที่ได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยทุกท่านและช่วยกันสร้างสรรค์งานที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ดีผลงานที่ท้าทายที่สุด ได้แก่ “การวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยอิเล็กตรอน”

ดร.โชติรส เล่าว่า “การวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยอิเล็กตรอนมีปัญหาค่อนข้างเยอะ เช่น การวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยอิเล็กตรอนนั้นการเชื่อมโยงโมเลกุลยางจะไม่แข็งแรงเท่ากับการวัลคาไนซ์ด้วยระบบกำมะถัน ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสมบัติของผลิตภัณฑ์ และสมบัติหลังการบ่มเร่งด้วยความร้อน (aging) ซึ่งจะไม่ผ่านมาตรฐาน ปอร์จึงต้องหาวิธีการหรือสารเคมีที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งตรงนี้เป็นโจทย์ที่ยาก และอาจเป็นหนึ่งในปัญหาที่ผ่านมาที่ทำให้งานไม่สามารถออกสู่อุตสาหกรรมได้”

“ทีมวิจัยจึงพยายามแก้ปัญหานี้เพื่อผลักดันให้งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้งานได้จริง ซึ่งตอนนี้ปอร์สามารถหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว อย่างไรก็ตามน้ำยางธรรมชาติจัดเป็นของที่ได้จากธรรมชาติ มีองค์ประกอบที่หลากหลาย จึงทำให้มีสมบัติไม่นิ่ง ถึงแม้จะมีการควบคุมสมบัติของน้ำยางเบื้องต้นตามมาตรฐานแล้วก็ตาม แต่เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าในกระบวนการผลิตน้ำยางข้นมีการเติมอะไรลงไปบ้างทำให้จำเป็นต้องมีการที่ปรับน้ำยางในห้องปฏิบัติการหรือหน้างานอีกครั้งก่อนที่จะนำน้ำยางมาวัลคาไนซ์ด้วยอิเล็กตรอนหรือใช้งาน สิ่งเหล่านี้จึงถือเป็นความท้าทายที่ไม่เคยหยุดนิ่ง และนี่อาจเป็นข้อเสียเปรียบหนึ่งเมื่อเทียบกับน้ำยางสังเคราะห์ที่มีสมบัติที่แน่นอน ซึ่งก็นับเป็นความท้าทายที่ทำให้เรารู้สึกสนุกกับการพัฒนางานวิจัยต่อไปเรื่อยๆ”

การวางแผน พัฒนา และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

การแก้ปัญหาเรื่องสมบัติที่ไม่นิ่งของน้ำยางเพื่อให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีในอนาคตราบรื่นนั้น ดร.โชติรส กล่าวว่า “ทีมวิจัยได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการปรับสภาพ/เตรียมน้ำยางก่อนที่จะนำน้ำยางมาวัลคาไนซ์ด้วยลำอิเล็กตรอน ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจและมีการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ และเมื่อลองทำซ้ำก็ยังได้ผลดีเช่นเดิม ดังนั้นวิธีการใหม่นี้สามารถควบคุมสมบัติน้ำยางก่อนที่จะเข้าฉายด้วยอิเล็กตรอนได้”

“ส่วนเรื่องสมบัติของผลิตภัณฑ์ยางหลังการบ่มเร่งด้วยความร้อน ปอร์ได้ค้นพบสารป้องกันการเสื่อมสภาพ (antioxidant) ตัวใหม่ที่เหมาะสมกับน้ำยางที่ผ่านการวัลคาไนซ์ด้วยอิเล็กตรอน และนำมาทดลองกับน้ำยางที่ผ่านการวัลคาไนซ์ด้วยอิเล็กตรอน พบว่าสมบัติค่อนข้างนิ่งแล้ว ปัจจุบันเราสามารถผลิตน้ำยางที่ผ่านการวัลคาไนซ์ด้วยอิเล็กตรอนแบบแบตช์ (batch) ได้ในปริมาณประมาณ 1 ตันต่อวัน อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อคือการนำน้ำยางเข้าฉายด้วยระบบลำเลียงแบบต่อเนื่องเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและตอบสนองความต้องการใช้ของอุตสาหกรรม ดังนั้นในปี 2566 นี้จึงเป็นการพัฒนาระบบลำเลียงน้ำยางเข้าฉายแบบต่อเนื่อง และการทดสอบการผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์จากระบบลำเลียงน้ำยางแบบต่อเนื่องด้วยเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน รวมถึงการปรับน้ำยางให้มีสมบัติเหมาะสมสำหรับการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ยางสำหรับการแพทย์และอาหารต่อไป และเมื่อได้น้ำยางวัลคาไนซ์ที่มีสมบัติเหมาะสมแล้วก็จะส่งเข้าไปทดลองในไลน์การผลิตของโรงงานผลิตภัณฑ์เพื่อศึกษาการขึ้นรูป และปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตจริง ซึ่งถ้าผ่านตรงนี้ได้ก็จะมีโอกาสเข้าสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น”

ภาพการทำงานร่วมกับทีมอื่น และเครื่อง MST ที่ทีมพัฒนาขึ้น

สไตล์การทำงาน

นอกจากการทำงานภายในกลุ่มวิจัยเดียวกันแล้ว ดร.โชติรสยังได้สร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มวิจัยด้วย ดร.โชติรส เล่าว่า “ปอร์ได้ร่วมกับคุณเอนก (ภู่จำนงค์) และดร.จอมขวัญ (มั่นแน่) วิศวกรและนักวิจัยจากทีมวิจัยระบบวิศวกรรมขั้นสูง กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ในการพัฒนาเครื่องตรวจจับการเสียสภาพของน้ำยางข้น (MST, Mechanical Stability Testing) อัตโนมัติ โดยทั่วไปโรงงานจะใช้เครื่องทดสอบ MST ที่ต้องอาศัยคนในการระบุจุดยุติที่น้ำยางเสียสภาพ (ค่า MST) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ทดสอบ อย่างไรก็ตามลูกค้าของโรงงานต้องการเครื่องมือที่แม่นยำมากกว่าคนโดยอาจใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ทีมวิจัยจึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาต่อไป ดังนั้นจึงได้ขอทุนสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อพัฒนาอุปกรณ์เสริมสำหรับติดตั้งกับเครื่องทดสอบเสถียรภาพต่อการปั่น (MST) เพื่อให้อ่านค่าแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ ปอร์ยังร่วมงานกับ ดร.บงกช (หะรารักษ์) นักวิจัย ทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ โดยสนใจจะนำลิกนิน (lignin) ซึ่งเป็นสารสกัดจากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการเกษตรมาใช้ในน้ำยางและยางแห้งเพื่อพัฒนาหาแนวทางการใช้งานใหม่ๆ เช่น พัฒนาโฟมยางดูดซับน้ำมัน และถุงมือยางย่อยสลายได้ เป็นต้น สำหรับเป็นแนวทางในการขอทุนสนับสนุนการวิจัยต่อไป”

ดร.โชติรส เล่าต่อว่า “ปอร์ยังได้มีโอกาสร่วมกับดร.ชาญวิทย์ (สุริยฉัตรกุล) ทีมวิจัยจากศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (ไบโอเทค) และคุณปรียวิศว์ (ณ อุบล) จากทีมวิจัยน้ำยางและวัสดุยางเอ็มเทค ในเรื่องการพัฒนายางที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยไบโอเทคสามารถพัฒนาเชื้อที่ย่อยยางธรรมชาติ เซลลูโลส และสารอื่นๆ รวมถึงพัฒนาเอนไซม์ที่ใช้เป็นตัวเร่งในการย่อยสลายได้”

นอกจากงานวิจัยแล้ว ดร.โชติรส ยังทำงานในส่วนของการเป็นวิทยากรรับเชิญ อาจารย์ที่ปรึกษาโปรเจ็คให้กับนักศึกษาจากหลากหลายสถาบัน รวมถึงรับนักศึกษาฝึกงาน เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้และแนวทางในการทำวิจัย อีกทั้งยังสอนงานแก่ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัยภายในทีม ดร.โชติรส กล่าวว่า “ส่วนใหญ่ปอร์จะเขียนแผนงานหรือโปรเจ็คก่อน จากนั้นจะคุยสรุปสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร เป้าหมายเป็นอย่างไร และเปิดโอกาสให้ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย นักเรียน นักศึกษาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ หลังจากนั้นจะมีการติดตามงานเพื่อให้ได้งานที่มีความถูกต้อง”

เมื่อถามถึงการเป็นนักวิจัยในสไตล์ของเธอ ดร.โชติรสตอบว่า

“ปอร์เป็นนักวิจัยในแบบที่สนุกกับการได้คิดและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ปอร์มองว่าปัญหาต่างๆ เป็นสิ่งที่ท้าทายและยิ่งถ้าสามารถแก้ปัญหาอะไรได้ก็จะมีความสุขที่ได้มีโอกาสทำงานที่เป็นประโยชน์และใช้งานได้จริง ชอบที่ได้ทำวิจัยและสนุกกับการได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น พร้อมที่จะแบ่งปันความสำเร็จไปด้วยกัน อนาคตก็ยังอยากทำวิจัยและพัฒนาสิ่งใหม่ไปเรื่อยๆ นอกจากงานวิจัยแล้วก็ชอบทำงานที่เป็นประโยชน์กับสังคม เช่น เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปเพื่อแบ่งปันสิ่งที่เรารู้ค่ะ”

The post ความสุขในรการเป็นนักวิจัยของ ดร.โซติรส ดอกขัน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
บทบาทของ MTEC ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง https://www.mtec.or.th/interview-79005/ Wed, 10 May 2023 08:23:49 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=20738 บทบาทของ MTEC ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) บทบาทสำคัญของกิจกรรมนี้คือการทำหน้าที่จัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางระดับประเทศ (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มอก.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางระดับระหว่างประเทศ (International Organization ... Read more

The post บทบาทของ MTEC ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

บทบาทของ MTEC ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) บทบาทสำคัญของกิจกรรมนี้คือการทำหน้าที่จัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางระดับประเทศ (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มอก.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางระดับระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization, ISO)

ปัจจุบันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางระดับประเทศยังไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดที่มีการใช้งานในประเทศ จึงต้องเพิ่มการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางให้ครอบคลุมมากขึ้น อีกทั้งยังต้องทำการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางบางชนิดที่ล้าสมัยให้สอดคล้องกับพื้นฐานเทคโนโลยีของประเทศและมาตรฐานสากล เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

จุดเริ่มต้นของการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง

ดร.พงษ์ธร แซ่อุย นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน เล่าถึงที่มาของการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางว่า “สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลเรื่องการมาตรฐานของประเทศ ต้องการทบทวนมาตรฐานเก่าที่ไม่เคยได้รับการปรับปรุงแก้ไข จึงได้ทาบทาม ผศ.ดร.กฤษฎา (สุชีวะ) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการเอ็มเทค และเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น ให้เป็นที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการทบทวนและแก้ไขมาตรฐาน มอก. ฉบับเก่าที่ล้าสมัยและจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา โดยมีคุณชญาภา นิ่มสุวรรณ เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการหลัก ส่วนผมได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานโดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเชิงเทคนิค ซึ่งในปีแรกได้ดำเนินการแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน มอก. รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ และจากนั้น เราก็ได้รับทุนจาก สมอ. ต่อเนื่องอีกประมาณ 3 ปี โดยในช่วงระยะเวลารวม 4 ปีนั้น เราได้ดำเนินการแก้ไขและพัฒนามาตรฐาน มอก. รวมทั้งสิ้นประมาณ 30 ฉบับ และเราได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้มากพอสมควร”

ปัจจุบัน ดร.พงษ์ธรและคุณชญาภา สังกัดทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน โดยทีมวิจัยเป็นหนึ่งในหน่วยงานกำหนดมาตรฐาน (Standard Developing Organization: SDOs) ที่ได้รับการรับรองจาก สมอ. ให้จัดทำมาตรฐานยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และคุญชญาภายังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการวิชาการ รายสาขา คณะที่ 29 (ยางและผลิตภัณฑ์ยาง) ของ สมอ. ด้วย

ขั้นตอนและระยะเวลาการจัดทำมาตรฐาน

การดำเนินการจัดทำมาตรฐานแต่ละขั้นตอนมีกรอบเวลากำหนดที่ชัดเจน ถ้าเป็นมาตรฐานระดับประเทศ (มอก.) มีกำหนดเวลาการทบทวนใหม่ทุก 5 ปี ส่วนมาตรฐานระดับระหว่างประเทศ (ISO) จะทบทวนใหม่ทุก 3 ปี แต่ก็สามารถทบทวนได้ก่อนหากจำเป็น (เช่น ในกรณีที่ภาคเอกชนร้องขอให้ทำการแก้ไข) โดยการแก้ไขมาตรฐานทุกครั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิชาการ (กว.) ของ สมอ.

คุณชญาภา เล่าว่า “เมื่อคณะวิจัยได้รับโจทย์มาจากผู้ผลิตหรือผู้ใช้ที่มีความต้องการจะให้ผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตหรือใช้อยู่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เราจะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำมาตรฐาน เสนอคณะกรรมการวิชาการ (กว.) ของ สมอ. เพื่อขอความเห็นชอบที่จะดำเนินการจัดทำร่างมาตรฐาน และดำเนินการขออนุมัติงบประมาณจากแหล่งทุน”

“เมื่อแหล่งทุนอนุมัติงบประมาณ คณะวิจัยฯ จะเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้ใช้ และนักวิชาการ พร้อมทั้งดำเนินการศึกษามาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ จากแหล่งข้อมูลทั้งในและต่างประเทศเพื่อนำข้อมูลต่างๆ รวมถึงสเปคของผลิตภัณฑ์มาใช้ในการอ้างอิง นอกจากนี้ เรายังต้องออกไปภาคสนามเพื่อพูดคุยและเยี่ยมชมกระบวนการผลิตและการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาจัดทำร่างมาตรฐานฉบับแรกเพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นร่วมกันพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่ บทนิยาม ขอบเขตของมาตรฐาน รวมถึงสมบัติต่างๆ ที่ควรจะต้องมีการกำหนดไว้ในร่างมาตรฐาน”

มอก. 3011-2562
แผ่นยางปูพื้นสำหรับคนพิการทางการมองเห็น

มอก. 3052-2563
แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ

“หลังจากการประชุมครั้งที่ 1 เราจะทำการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาทดสอบทั้งสมบัติพื้นฐานของยางและประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์ตามรายการต่างๆ ที่ได้รับจากมติของที่ประชุม ทั้งนี้ เราต้องแน่ใจด้วยว่ารายการต่างๆ ที่จะทดสอบนั้นจะต้องมีห้องปฏิบัติการทดสอบภายในประเทศรองรับไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถขอตรารับรองได้ง่ายหลังจากที่มาตรฐานฉบับนี้ประกาศบังคับใช้ สำหรับในกรณีที่จำเป็นต้องทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์ แต่ประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือทดสอบ เราเองก็จำเป็นต้องสร้างเครื่องทดสอบขึ้นมาเพื่อรองรับการทดสอบที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต เมื่อเราทดสอบสมบัติต่างๆ ตามรายการที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ และนำเสนอในที่ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาและกำหนดเกณฑ์ตัวเลขที่เหมาะสมของแต่ละสมบัติ จากนั้นเราก็จะนำมติที่ประชุมไปจัดทำร่าง มอก. และส่งเวียนขอข้อคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อคิดเห็นที่ได้รับจากการเวียนขอข้อคิดเห็นดังกล่าวมาประชุมหารือกับคณะทำงานอีกครั้ง ท้ายสุด เราก็จะทำการแก้ไขร่างมาตรฐานตามมติของที่ประชุมซึ่งถือเป็นร่างสุดท้ายก่อนที่จะส่งให้ สมอ.พิจารณาประกาศใช้ต่อไป” คุณชญาภา กล่าวเสริม

ดร.พงษ์ธร กล่าวว่า “หัวข้อมาตรฐานที่จัดทำขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของผู้บริหารที่ต้องการผลักดันผลงานวิจัยของเอ็มเทคไปสู่มาตรฐานทั้งระดับประเทศ (มอก.) และระดับระหว่างประเทศ (ISO) เพื่อให้ผลงานวิจัยมีมาตรฐานและได้รับการยอมรับในวงกว้าง สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตเกิดความมั่นใจในการมารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี อย่างไรก็ดี หัวข้อมาตรฐานที่จัดทำขึ้นส่วนใหญ่ก็ยังคงเกิดจากความต้องการของภาคเอกชนที่ต้องการให้มีมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตขึ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค หรือเพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของภาครัฐ”

“ปัจจุบัน คณะวิจัยกำลังดำเนินการจัดทำร่าง มอก. ยางปิดช่องว่างระหว่างชานชาลาและขบวนรถขนส่งทางรางอยู่ ส่วนผลงานล่าสุดของเราที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในระดับประเทศเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ มอก. 3011-2562 แผ่นยางปูพื้นสำหรับคนพิการทางการเห็น มอก. 3052-2563 แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ และ มอก. 2666-2563 ยางถอนขนสัตว์ปีก เป็นต้น”

การผลักดันมาตรฐานสู่ระดับระหว่างประเทศ

คุณชญาภามีประสบการณ์คลุกคลีกับงานด้านมาตรฐานมานานกว่า 10 ปี ทั้งในบทบาทการเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดทำร่างมาตรฐานและเป็นหนึ่งในผู้แทนของประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมมาตรฐานในระดับระหว่างประเทศ (ISO) และระดับภูมิภาค (อาเซียน) โดยการทำงานลักษณะนี้ต้องละเอียดรอบคอบและใช้ความรู้ทางเทคนิคค่อนข้างมาก ที่ผ่านมา คณะชญาภาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันและยกระดับ มอก. ให้เป็นมาตรฐานระดับระหว่างประเทศ (ISO) เพื่อให้ทั่วโลกใช้มาตรฐานเดียวกันกับเรา ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ยาก มีกติกาที่แตกต่างกัน และมีระยะเวลาการทำงานประมาณ 3 ปี

คุณชญาภา เล่าว่า “มาตรฐานระดับระหว่างประเทศ (ISO) มีการแบ่งขั้นตอนการจัดทำเอกสารร่างมาตรฐานเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการยื่นข้อเสนอโครงการที่เรียกว่า NWIP (New Work Item Proposal) ซึ่งเสนอโดยประเทศสมาชิก ISO ซึ่ง NWIP ต้องผ่านความเห็นชอบอย่างน้อย 2 ใน 3 ของประเทศสมาชิกและมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมเป็นคณะทำงานอย่างน้อย 5 ประเทศ จึงจะผ่านการเห็นชอบให้ดำเนินโครงการต่อไปได้ เมื่อผ่านการเห็นชอบ ผู้นำโครงการจะจัดทำร่างมาตรฐานฉบับ NP (New Proposal) ส่งให้ ISO เพื่อดำเนินการเวียนขอข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิกต่อไป”

“หลังจากได้ข้อคิดเห็นจากการเวียนร่างมาตรฐาน แล้ว ISO จะมีการประชุมคณะทำงานปีละ 1 ครั้งเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นำโครงการได้ชี้แจงข้อคิดเห็นจากประเทศต่าง ๆ ก่อนที่จะมีการลงมติให้ร่างนั้นผ่านขึ้นไปอยู่ในสถานะถัดไป ขั้นตอนที่สอง เป็นการจัดทำร่างมาตรฐานฉบับ CD (Committee Draft) ที่มีรายละเอียดทางเทคนิคค่อนข้างมาก บางทีก็อาจจะมีการเพิ่มการทดสอบอื่นๆ (หากมติที่ประชุมเสนอให้มีการทดสอบเพิ่มเติม) ในขั้นตอนที่สาม เป็นการจัดทำร่าง DIS (Draft International Standard) ซึ่งเป็นร่างมาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขทั้งทางเทคนิคและภาษาตามข้อคิดเห็นที่ได้รับมาก่อนหน้านี้ และทำการเวียนร่างฉบับนี้เพื่อที่จะขอข้อคิดเห็นและนำเข้าที่ประชุมอีกครั้งเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาอนุมัติก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือการปรับปรุงร่าง DIS ให้สมบูรณ์ตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม จากนั้นก็จะทำการส่งร่างมาตรฐานฉบับสุดท้ายนี้ซึ่งเรียกว่า FDIS (Final Draft International Standard) ให้แก่ ISO เพื่อเตรียมประกาศใช้ต่อไป” คุณชญาภากล่าว

ขั้นตอนการจัดทำมาตรฐาน ISO

“สำหรับมาตรฐานเส้นด้ายยาง เราได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการจัดทำมาตรฐาน ISO 20058:2017 General purpose rubber thread — Specification และ ISO 2321:2017 Rubber threads — Methods of test ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตหลักมีความเห็นไม่ตรงกันกับประเทศไทย จึงต้องมีการเจรจากันหลายครั้ง เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นชอบตรงกัน”

ดร.พงษ์ธร ให้ข้อมูลเสริมว่า “ผลิตภัณฑ์แผ่นยางปูพื้นคอกปศุสัตว์ ISO 22941:2021 Rubber sheets for livestock — Dairy cattle — Specification เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราได้ผลักดันให้เป็นมาตรฐานระดับระหว่างประเทศ และเป็นผลงานวิจัยของเอ็มเทคที่ต้องการผลักดันมาตรฐานไทยสู่ระดับโลก นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้สร้างเครื่องทดสอบความต้านทานต่อการลื่นไถลของแผ่นยางปูคอกปศุสัตว์ พร้อมทั้งได้กำหนดวิธีทดสอบไว้ในมาตรฐาน ISO ฉบับดังกล่าว ปัจจุบัน เอ็มเทคจัดเป็นหน่วยงานทดสอบเพียงที่เดียวในประเทศไทยที่สามารถให้บริการทดสอบสมบัติดังกล่าวของแผ่นยางปูพื้นคอกปศุสัตว์ได้”

เทคนิคการประสานงาน และการรับมือ

การจัดการมีขั้นตอนการทำมาตรฐานที่ชัดเจนอยู่แล้ว และรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่การทดสอบสมบัติต่างๆ ของแต่ละผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์ (performance test) ที่หาหน่วยงานที่รับทดสอบได้ค่อนข้างยากมาก แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายหรือเป็นปัญหาที่เราต้องหาทางแก้ไข

คุณชญาภา เล่าว่า “ในขั้นตอนการทำงาน ได้ประสานกับผู้คนหลากหลาย ทั้งนักวิชาการ ผู้ผลิต และผู้ใช้ ทั้งในประเทศและจากทั่วโลก เราต้องฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และหาข้อสรุปที่ทุกคนเห็นชอบตรงกัน บางครั้งก็ต้องมีการเจรจานอกรอบบ้าง หรืออาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาชีพนี้ช่วยสื่อสารให้ก็มี เป็นการทำงานแบบพึ่งพากัน เพราะเราเป็นเพียงหนึ่งในหน่วยงานที่รับจัดทำมาตรฐานก่อนส่งต่อให้ สมอ. พิจารณาประกาศใช้ นอกจากเราจะเป็นเจ้าภาพจัดทำมาตรฐานเองแล้ว บ่อยครั้งที่เราเองก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานในการจัดทำร่างมาตรฐานที่มีหน่วยงานอื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดทำด้วยเช่นกัน”

ดร.พงษ์ธร เล่าเสริมว่า “ในบางครั้งเราก็ต้องขอคำแนะนำเรื่องการทดสอบสมบัติของยางจากทีมวิจัยในกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยางด้วย เช่น ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับน้ำยางก็จะขอความช่วยเหลือจาก ดร.พร้อมศักดิ์ (สงวนธำมรงค์) นักวิจัยจากทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือคุณฉวีวรรณ (คงแก้ว) นักวิจัยจากทีมวิจัยน้ำยางและวัสดุยาง หรือกรณีที่ต้องการผลักดันผลงานวิจัยของเอ็มเทคไปเป็นมาตรฐาน เราก็จำเป็นต้องทำงานกันร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับนักวิจัยเจ้าของผลงาน อุปสรรคใหญ่ที่สุดของการทำมาตรฐานคือเรื่องการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์ (performance test) เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก็จะมีการทดสอบที่แตกต่างกัน และหาสถานที่ที่รับทดสอบได้ยาก เช่น การทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (deformability) หรือความต้านทานต่อการลื่นไถล (slip resistance) ของผลิตภัณฑ์แผ่นยางปูพื้นคอกปศุสัตว์ ที่เราไม่สามารถหาหน่วยงานที่รับทดสอบได้ ทำให้เอ็มเทคต้องสร้างเครื่องทดสอบขึ้นใหม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความร่วมมือกันจากหลายฝ่าย กว่าจะประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้”

การส่งมอบงานให้ทีมงานรุ่นใหม่

เมื่อถามว่า คนที่มาทำงานส่วนนี้ได้ต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านไหน จำเป็นต้องจบมาทางด้านยางโดยตรงหรือไม่ อย่างไร

คุณชญาภา กล่าวว่า “ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องยาง โดยเฉพาะเรื่องการทดสอบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะจัดทำมาตรฐานนี้ ถูกใช้งานอย่างไร และต้องการสมบัติหรือคุณลักษณะเด่นอะไรบ้าง เพื่อที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดทำเป็นร่างมาตรฐานในขั้นต้นก่อนที่จะนำไปเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงาน นอกจากนี้ หากมีการถกเถียงกันหรือมีการตั้งคำถามในระหว่างการประชุม เราต้องสามารถชี้แจงและอธิบายได้ หรือเวลานำชิ้นงานตัวอย่างมาทดสอบ ต้องสามารถสื่อสารได้ว่าควรจะทดสอบสมบัติอะไรบ้าง ถ้าเป็นการทดสอบใหม่ที่เราไม่รู้จักมาก่อน เราก็ต้องไปดูวิธีการและขั้นตอนการทดสอบด้วย”

“ส่วนการสอนงานจะเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน แม้การจัดทำมาตรฐานจะมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ความท้าทายจะเป็นเรื่องเชิงเทคนิคที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน ในช่วงแรกเป็นการเรียนรู้การทำมาตรฐานในระดับประเทศ โดยทำตามขั้นตอนและเรียนรู้วิธีการค้นข้อมูล แหล่งข้อมูล ซึ่งการทำงานแต่ละครั้งจะมีการระบุขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจนไว้ในข้อเสนอโครงการอยู่แล้ว แต่สิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้คือ ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมที่ได้รับจากการประชุมในแต่ละครั้ง บ่อยครั้งที่เราต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และอธิบายหรือชี้แจงให้ผู้ร่วมประชุมเข้าใจและเห็นพ้องตรงกันกับเรา ซึ่งงานประเภทนี้อาจถือได้ว่าเป็นการทำงานนโยบายเชิงเทคนิคก็ได้”

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นถึงการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางของไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันในระยะยาวได้ทั้งในตลาดระดับประเทศและระดับโลกนั่นเอง

ผู้ให้สัมภาษณ์:
ดร.พงษ์ธร แซ่อุย นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยกระบวนการผลิตยางขั้นสูงและมาตรฐานยาง
คุณชญาภา นิ่มสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเทคนิค ทีมวิจัยกระบวนการผลิตยางขั้นสูงและมาตรฐานยาง

The post บทบาทของ MTEC ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
จากวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์….สู่วิศวกรทางการแพทย์ คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์ ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี https://www.mtec.or.th/interview-78151/ Tue, 18 Apr 2023 09:11:39 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=20775 จากวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์….สู่วิศวกรทางการแพทย์ คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์ ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์ สะสมประสบการณ์หลายด้านจากการทำงานวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งในผลงานสำคัญและภาคภูมิใจคือ การพัฒนาเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ T-Box ระหว่างทำงานที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ต่อมาได้มีโอกาสดูแลภาพรวมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรมของโครงการต่างๆ ... Read more

The post จากวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์….สู่วิศวกรทางการแพทย์ คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์ ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

จากวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์....สู่วิศวกรทางการแพทย์ คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์ ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์ สะสมประสบการณ์หลายด้านจากการทำงานวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งในผลงานสำคัญและภาคภูมิใจคือ การพัฒนาเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ T-Box ระหว่างทำงานที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ต่อมาได้มีโอกาสดูแลภาพรวมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรมของโครงการต่างๆ ภายใต้ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม ส่วนงานกลางของ สวทช.

ปัจจุบันคุณอรรถกรทำงานในฐานะวิศวกร ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

การเปลี่ยนแปลง สู่การเริ่มต้น

คุณอรรถกรจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม หลังจบการศึกษาก็เริ่มงานที่เนคเทค คุณอรรถกรเล่าว่า “ผมเริ่มทำงานที่เนคเทค ซึ่งตอนนั้นได้ร่วมทำโครงการวิจัยเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือประสิทธิภาพสูง หรือ T-Box ที่นำไปให้ทหารทางภาคใต้ได้ใช้ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดที่ฝ่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา งานเตรียมความพร้อมทางวิศวกรรมเพื่อการผลิต ของส่วนงานกลาง สวทช. ดูแลภาพรวมของโครงการด้านงานออกแบบและวิศวกรรม โดยช่วยดูแลระบบการทำงาน วิเคราะห์ต้นทุน วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อให้โครงการเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่ได้ความรู้เยอะมาก”

“เมื่อทำงานไปสักพัก ผมพยายามค้นหาตัวเอง จนเริ่มสนใจงานทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์ และเริ่มขอทุนศึกษาเรียนต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมทางการแพทย์ โดยขอลาเรียนต่อ 2 ปี พอจบก็ได้รับการชักชวนให้มาทำงานในทีมของ ดร.ศราวุธ (เลิศพลังสันติ) ขณะนั้นเป็นหัวหน้าทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ) จึงเป็นจุดเปลี่ยนของการเริ่มต้นของวันนี้ครับ”

ผลงานแรกที่เอ็มเทค

ในช่วงที่สังกัดฝ่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา งานเตรียมความพร้อมทางวิศวกรรมเพื่อการผลิต ของส่วนงานกลาง สวทช. ส่วนงานกลาง คุณอรรถกรมีโอกาสได้ดูแลภาพรวมของโครงการต่างๆ เช่น โครงการเครื่องล้างไต เก้าอี้ทำฟัน และเครื่องช่วยทำกายภาพสำหรับแขน และเมื่อย้ายมาที่เอ็มเทค งานแรกที่ร่วมทำเป็นเครื่องอุปกรณ์ควบคุมการไหลของน้ำยาจากถุงล้างไตทางช่องท้องแบบไม่สัมผัสน้ำยาแบบอัตโนมัติซึ่งมี ดร. สิทธา (สุขกสิ) หัวหน้าทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี เป็นหัวหน้าโครงการ ผลงานนี้เป็นผลงานต้นแบบเชิงสาธารณประโยชน์โดยปัจจุบันใช้งานอยู่ที่โรงพยาบาลกลาง

คุณอรรถกรเสริมว่า “ปกติการใช้น้ำยาล้างไตจะขึ้นกับส่วนสูงและน้ำหนัก ซึ่งแต่ละคนจะได้ปริมาณไม่เท่ากัน แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถประจำอยู่ที่เครื่องได้ตลอดเวลาก็อาจทำให้คนที่ตัวเล็กได้รับน้ำยาล้างไตในปริมาณมากเกินก็ทำให้รู้สึกแน่นในท้องได้ ทีมวิจัยจึงได้ออกแบบอุปกรณ์ควบคุมการไหลของน้ำยาจากถุงล้างไตโดยคำนวณน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อให้เหมาะพอดีกับผู้ใช้งาน โดยมีโปรแกรมควบคุมการหยุดของน้ำยาล้างไต และสามารถใช้กับระบบถุงล้างไตแบบปิดได้”

ความชำนาญ เสริมทีมงาน

การทำงานเป็นทีมส่วนใหญ่จะแบ่งงานกันและช่วยกันทำทุกคน เมื่อถามถึงความเชี่ยวชาญ คุณอรรถกรตอบว่า “ถ้าถามความเชี่ยวชาญของผมจริงๆ ก็จะเป็นทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางการยศาสตร์ หรือ Ergonomics การทำงานที่ลดโอกาสการเกิดอาการบาดเจ็บในการทำงานของคน รวมถึงด้านการสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการมองภาพรวม ตั้งแต่การผลิตจนต่อยอดไปถึงมือลูกค้า”

คุณอรรถกรเล่าว่า “ตัวอย่างงานที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ เป็นชุดบอดี้สูทที่ช่วยในการเคลื่อนไหวและป้องกันการบาดเจ็บ หรือชุดเรเชล รุ่น Active ผลงานนี้ทำร่วมกับสมาชิกในทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี เป็นการทำงานร่วมกันโดยอาศัยความชำนาญของแต่ละคนในทีม ส่วนผมจะช่วยดูด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสร้างแบบจำลองการทำงานกล้ามเนื้อเชิงคณิตศาสตร์ (McKibben muscle) สำหรับใส่ในชุด บางครั้งก็ได้เข้าไปคุยเรื่องการตัดเย็บกับสถาบันพัฒนาแพ็ทเทิร์นอุตสาหกรรมและการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วย”

“นอกจากนี้ ยังได้ร่วมศึกษาความเป็นไปได้เชิงเทคนิคในการนำ Exoskeleton Technology มาใช้สำหรับการปฏิบัติงานด้านการก่อสร้าง หรือผู้ดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุ โดยศึกษาวิเคราะห์และคำนวณค่าชีวกลศาสตร์ (biomechanical) ของร่างกายคน เมื่อคนยกของที่น้ำหนักมากจะเกิดแรงกดที่กระดูกสันหลังที่ระดับ L4 และ L5 ซึ่งหากกระดูกส่วนนี้รับภาระมากเกินจะทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกบาดเจ็บได้ ทีมวิจัยจึงได้พัฒนา “Ross” (รอส) หรือชุดอุปกรณ์ที่สวมและสะพายเข้ากับร่างกาย ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหลัง และในส่วนนี้ผมได้ช่วยทีมออกแบบเครื่องมือประเมินการวิเคราะห์การยศาสตร์ (ergonomics assessment) ให้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น โดยเครื่องสามารถแสดงค่าตัวเลขจากการคำนวณออกมา ซึ่งหากเกินค่าที่กำหนดก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้”

เรียนรู้จากการทำงานเป็นทีม

คุณอรรถกรเล่าว่า “ตอนผมเข้ามาเริ่มงานในทีมรู้สึกว่าทุกคนในงานเก่งมาก และส่วนใหญ่เป็นนักวิจัย ลักษณะการทำงานของทีม เมื่อได้โจทย์มาก็จะนั่งคุยปรึกษากัน ตกลงแบ่งงาน และแยกกลับไปทำการบ้าน ทำให้ผมต้องไปอ่านและศึกษาข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อที่สุดท้ายจะสามารถกลับมาคุยกันในทีมว่าเราจะทำแบบไหน โดยในทีมจะช่วยกันทุกคน”

“สิ่งที่ได้เรียนรู้จากทีมก็มีหลายเรื่อง อย่าง ดร.ศราวุธ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้ทีมได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอ หรือวิธีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อการนำมาใช้งาน และ ดร. วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ การรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ได้ดีมากๆ นอกจากนี้ ในทีมจะมี ดร.เปริน (วันแอเลาะ) ที่เชี่ยวชาญและจบมาทางกายวิภาคศาสตร์ มีความแม่นยำเรื่องกล้ามเนื้อต่างๆ เราก็ได้ทบทวน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และทดลองทำจริง โดยมีทีมงานที่มีความชำนาญในแต่ละด้านสอนและเรียนรู้กันได้ตลอด เปิดโอกาสให้คิดเอง บอกเป้าหมายกว้างๆ ว่าต้องการอะไร มีการคุยกันในทีมตลอด”

การพัฒนากำลังคน

“ผมว่าคนเราถ้ามีประสบการณ์ที่ผิด จะสามารถกลับมาทำให้ถูกได้ …”

คุณอรรถกร กล่าวว่า “ปัจจุบันมีนักเรียนฝึกทักษะวิจัยมาฝึกงานในทีมที่ต้องดูแล หลักการสอนงานของผมเริ่มต้นเมื่อมีโจทย์มา ผมอยากให้น้องลองทำสิ่งที่เราแนะนำเบื้องต้นไปก่อน โดยให้น้องได้ลองผิดลองถูกก่อนเพื่อมีประสบการณ์ และมาดูว่าน้องสามารถทำงานได้ตรงตามที่เราต้องการหรือไม่ แต่ถ้ามันไม่ตรง เราก็จะพยายามแนะนำไปเรื่อยๆ ให้ได้ตามที่เราต้องการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องดูสิ่งที่เขาชอบ เพราะถ้าเขาชอบก็จะสามารถทำได้ดี และตั้งใจทำมาก อาจเกินความคาดหวังของเรา”

วางแผนอนาคต

ปัจจุบันคุณอรรถกรได้รับมอบหมายให้ดูแลห้องปฏิบัติการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์อุปกรณ์วัดและประมวลผลด้านสุขภาพแบบสวมใส่ (Wearable devices) ที่มีแผนให้บริการในอนาคต คุณอรรถกรเล่าว่า “ผมได้รับมอบหมายให้เรียนรู้การใช้งานและแก้ไขเครื่องมือ ออกแบบการทดสอบและใช้เครื่องมือ ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ได้เรียนรู้เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ”

“การได้ร่วมทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีทำให้ได้รับความรู้ และได้ประสบการณ์การทำงานวิจัยในหลายๆ เรื่อง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีในการศึกษาต่อปริญญาเอกได้ ผมมีความสนใจที่จะเรียนต่อทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์ เพื่อมุ่งหวังจะร่วมสร้างผลงานที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ร่วมกับทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีต่อไปครับ”

อรรถกร สุวนันทวงศ์ ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี
การศึกษา: จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร และปริญญาโท สาขาวิศวกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

The post จากวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์….สู่วิศวกรทางการแพทย์ คุณอรรถกร สุวนันทวงศ์ ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังความปลอดภัยในยานยนต์ https://www.mtec.or.th/interview-75323/ Fri, 13 Jan 2023 09:34:22 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=20818 ณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังความปลอดภัยในยานยนต์ สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ คุณณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจำลองการฉีดขึ้นรูปพลาสติกโดยใช้โปรแกรม Moldflow ขณะทำวิทยานิพนธ์มีโอกาสได้ทำงานในบริษัท SME ... Read more

The post ณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังความปลอดภัยในยานยนต์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังความปลอดภัยในยานยนต์

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

คุณณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจำลองการฉีดขึ้นรูปพลาสติกโดยใช้โปรแกรม Moldflow ขณะทำวิทยานิพนธ์มีโอกาสได้ทำงานในบริษัท SME แห่งหนึ่งประมาณ 6 เดือน จึงทำให้ได้เรียนรู้พื้นฐานการออกแบบ การกัดแม่พิมพ์ การออกแบบแม่พิมพ์ และการกำหนดไกด์ไลน์ (guideline) ในการฉีดพลาสติก

หลังจบการศึกษาได้เข้าทำงานที่เอ็มเทคและทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอด 21 ปี คุณณรงค์มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรม การวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ การออกแบบพัฒนาต้นแบบสำหรับการผลิต การออกแบบกระบวนการทดสอบและการประเมินสมรรถนะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล และการพัฒนาแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับกระบวนการผลิต

เริ่มต้นชีวิตการทำงาน

คุณณรงค์เริ่มงานที่เอ็มเทคในตำแหน่งวิศวกรด้านการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CAD (Computer Aided Design) และกรรมวิธีการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CAM (Computer Aided Manufacturing) เขาเล่าว่า “ตอนที่สมัครงานเอ็มเทคเป็นตำแหน่งวิศวกร เพื่อมาทำงานด้านคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม หรือ CAE (Computer Aided Engineering) แต่เมื่อมาทำงานจริง งานที่ทำส่วนใหญ่เป็นด้าน CAD/CAM ผมทำด้านนี้ประมาณ 10 ปี ก็เริ่มทำงานที่ใช้ความรู้ด้าน CAE โดยงานแรกที่ทำคือ การวิเคราะห์โครงสร้างแชสซีรถบรรทุกเล็กเพื่อการเกษตร ซึ่งการได้ทำงานด้าน CAD/CAM มาก่อนถือเป็นพื้นฐานที่ดีในการต่อยอดงานอื่น เพราะปัจจุบันวิศวกรจะต้องมีความรู้รอบด้านตั้งแต่การออกแบบ การวางแผนการผลิต และการคำนวณเชิงวิศวกรรม เพื่อให้ทำงานได้อย่างครบวงจร”

ก้าวสู่วิศวกรด้านยานยนต์

ปัจจุบันคุณณรงค์เป็นวิศวกรอาวุโส สังกัดทีมวิจัยเทคโนโลยียานยนต์และการขับขี่ คุณณรงค์เล่าว่า “ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบกศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยานยนต์และการออกแบบ ทำให้มีโอกาสทำงานลักษณะนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยทีมวิจัยที่ทำงานด้วยกัน ได้แก่ คุณประสิทธิ์ (วัฒนวงศ์สกุล) ซึ่งเข้ามาทำงานที่เอ็มเทคพร้อมๆ กับผม ดร.ศราวุธ (เลิศพลังสันติ) ดร.ฉัตรชัย (ศรีสุรางค์กุล) คุณเศรษฐลัทธ์ (แปงเครื่อง) คุณพีรกิตติ์ (วิริยะรัตนศักดิ์) และคุณณรงค์ฤทธิ์ (สืบนันตา) และน้องๆ NCR (Non-Co-researcher)”

“ยานยนต์ที่ทีมสนใจคือรถเฉพาะกิจ เช่น รถสามล้อ รถพยาบาล และรถโรงเรียน เนื่องจากเป็นรถดัดแปลงที่มีความสำคัญกับชุมชนและบริบทของสังคมไทย ขณะที่รถเหล่านี้ยังมีประเด็นเรื่องความปลอดภัย และไม่ได้รับการตรวจสอบดูแลในเชิงวิศวกรรมที่ดี เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงเกิดความสูญเสียต่อชีวิตค่อนข้างมาก เราจึงเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น”

เมื่อถามถึงที่มาของโจทย์วิจัยด้านยานยนต์ คุณณรงค์กล่าวว่า “โจทย์วิจัยมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ภาคเอกชน ภาครัฐ และกองทุนต่างๆ ที่ทีมวิจัยเสนอโครงการเข้าไป โจทย์วิจัยที่มาจากภาคเอกชน เช่น รถสามล้อต้นแบบจาก Urban Mobility Tech Co., Ltd (2016) เนื่องจากเอกชนต้องการพัฒนาโครงสร้างของรถสามล้อไฟฟ้า ซึ่งในตอนนั้นประเทศไทยยังมีผู้ผลิตจำนวนน้อยราย และไม่ได้อ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัย ขณะที่สหภาพยุโรป (EU) มีมาตรฐานออกมาแล้ว เราจึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างให้มีความแข็งแรงมากขึ้น หรือโครงสร้างเสริมความแข็งแรงเพื่อรองรับการพลิกคว่ำในรถตู้พยาบาล (2019) ซึ่งช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุ ลดความบาดเจ็บซ้ำซ้อนที่อาจเกิดกับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์”

“โจทย์ที่มาจากภาครัฐ หรือองค์กรต่างๆ เช่น โจทย์วิจัยเรื่องรถสองแถวรับส่งนักเรียนจาก ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย ซึ่งมักเกิดความสูญเสียมากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากไม่มีการคำนวณความแข็งแรงโครงสร้าง รวมถึงการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยตามข้อบังคับของกฎหมาย” “ทีมวิจัยก็เข้าไปมีส่วนร่วม โดย ดร.ศราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการ และริเริ่มนำมาตรฐานสำหรับทดสอบความแข็งแรงของรถโรงเรียน FMVSS 220 มาประยุกต์ใช้ โดยทีมช่วยกันออกแบบ พัฒนาโครงสร้างส่วนโดยสารใหม่ และผมได้รับมอบหมายให้วิเคราะห์ความแข็งแรงโครงสร้าง รวมถึงมีการวางแผนทดสอบจริง เพื่อยืนยันถึงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ จนได้แบบสั่งผลิตของโครงสร้างส่วนโดยสารรถสองแถวรับส่งนักเรียนที่มีความปลอดภัยมากขึ้น และแจกจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปผลิตใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถตอบโจทย์ผู้ให้ทุน รวมถึงกรมการขนส่งทางบก เพราะมีความปลอดภัยมากขึ้นและสามารถวิ่งบนท้องถนนได้”

“ส่วนโจทย์ที่มาจากกองทุนต่างๆ เช่น อุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ เริ่มจากสำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก ขอให้เราช่วยพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการชนในรถบรรทุกให้มีความปลอดภัย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถเล็กที่มาชนบริเวณด้านข้างและด้านท้ายรถบรรทุกมักเกิดการมุดเข้าไปด้านในจนเสียชีวิต เราพัฒนางานจนได้ผลลัพธ์เบื้องต้นนำเสนอต่อกรมการขนส่งทางบก ซึ่งกรมฯ ก็เห็นถึงศักยภาพของทีมวิจัยจึงผลักดันให้เกิดโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแบบมาตรฐานของอุปกรณ์ป้องกันด้านท้ายและด้านข้างของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของผ่านกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) สุดท้ายได้เป็นแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับการผลิตอุปกรณ์ป้องกันทั้งสองแบบที่ผู้ประกอบการรถบรรทุกสามารถเลือกไปใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะจากโครงการเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถบรรทุก ซึ่งกรมการขนส่งทางบกจะเริ่มประกาศใช้กับรถบรรทุกที่จดทะเบียนใหม่ในกลางปี 2566 ผลงานที่เราส่งมอบสร้างความเชื่อมั่นให้แก่กรมการขนส่งทางบก จึงทำให้มีงานจากกรมฯ อย่างต่อเนื่อง เช่น การวิเคราะห์ และทดสอบโครงแชสซีและตัวถัง เพื่อกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสารที่เรากำลังดำเนินการอยู่ โดยมีดร.ศราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการ เป็นต้น”

เจาะลึกผลงานจากการวิจัยและพัฒนา

อุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ

การพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเป็นงานที่มีความท้าทายมาก เนื่องจากรถบรรทุกในประเทศไทยมีความหลากหลาย ดังนั้น การออกแบบอุปกรณ์จึงต้องให้ครอบคลุมทุกประเภทของรถด้วย

คุณณรงค์อธิบายแนวทางการวิจัยว่า “โจทย์วิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การออกแบบอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้าย ซึ่งกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้การออกแบบจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ทีมวิจัยจึงได้ปรึกษาและหาข้อมูลร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งได้ข้อสรุปว่า อุปกรณ์ป้องกันด้านท้ายจะใช้มาตรฐาน UN ECE R58 Rev3 (R58) และด้านข้างใช้มาตรฐาน UN ECE R73 Rev1 (R73) โดยวัสดุที่ใช้ผลิตต้องหาได้ในประเทศ และผู้ประกอบการทุกรายสามารถทำได้ในต้นทุนที่ไม่สูงมาก ในขณะเดียวกันต้องติดตั้งกับรถได้ครอบคลุมตั้งแต่ลักษณะที่ 1-7 ยกเว้นลักษณะที่ 8 และ9 ที่เป็นรถลักษณะพิเศษ”

ลักษณะของรถประเภทต่างๆ ตั้งแต่ 1-9

“จากโจทย์วิจัยเราเริ่มออกแบบโดยนำเทคนิค Morphological Matrix มาใช้ คือนำความต้องการของลูกค้ามาเป็นสิ่งที่กำหนดเงื่อนไขการออกแบบในเชิงวิศวกรรม เช่น ชนิดและขนาดของเหล็กรูปพรรณที่นำมาใช้ การติดตั้ง และชิ้นส่วนประกอบต่างๆ โดยอ้างอิงข้อกำหนดจากมาตรฐาน R58 และ R73 เป็นแนวทาง และพยายามออกแบบอุปกรณ์ให้สามารถใช้ร่วมกันครอบคลุมกับรถทุกประเภทโดยใช้ชิ้นงานให้น้อยที่สุด ซึ่งผลลัพธ์คือแบบโครงสร้างของอุปกรณ์ป้องกันด้านท้ายจำนวน 72 แบบ ครอบคลุมรถตั้งแต่ลักษณะที่ 1-7 สามารถนำไปติดกับรถบรรทุกขนาด 10 ล้อ หรือ 6 ล้อ หรือรถขนาด 2 เพลา หรือ 3 เพลาก็ได้ และอุปกรณ์ด้านข้าง 18 แบบ ในขณะเดียวกันก็ใช้การคำนวณเชิงวิศวกรรมเพื่อวิเคราะห์ความแข็งแรงให้เป็นไปตามเกณฑ์ของมาตรฐานทั้งสอง โดยมีการยืนยันถึงผลการออกแบบด้วยการทดสอบจริง”

“ทีมวิจัยได้จัดสร้างแท่นทดสอบความแข็งแรงของอุปกรณ์ด้านข้างและด้านท้ายของรถบรรทุก ที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อใช้เป็นสถานที่ทดสอบกลางอีกด้วย ทั้งนี้แบบทั้งหมดมีความสอดคล้องตามมาตรฐาน R58 และ R73 ซึ่งกรมการขนส่งทางบกให้การยอมรับ และสามารถเข้าไปดาวน์โหลดแบบที่สอดคล้องกับรถบรรทุกของตนเอง (https://www.mtec.or.th/rupdlupd-test/) เพื่อนำมาผลิต ติดตั้งใช้งานได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย สร้างความปลอดภัย และลดภาระของผู้ประกอบการในวันที่ข้อกำหนดถูกประกาศใช้”

คุณณรงค์เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาว่า “สำหรับผู้ประกอบการบางรายที่มีศักยภาพในการออกแบบ และต้องการออกแบบอุปกรณ์ป้องกันให้สอดคล้องกับความต้องการของเขา ก็สามารถให้เราซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่กรมการขนส่งทางบกให้การยอมรับ ทำการทดสอบด้วยการจำลองบนคอมพิวเตอร์ หรือการทดสอบจริงบนแท่นทดสอบตามมาตรฐาน พร้อมทั้งจัดทำรายงานเชิงเทคนิค เพื่อนำใช้ไปประกอบยื่นจดทะเบียนรถกรมการขนส่งทางบก เมื่อกรมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าผลทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยก็จะอนุมัติให้จดทะเบียนใช้งานได้ เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งภาคเอกชน กรมการขนส่งทางบก และ สวทช. รวมถึงเกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนนอีกด้วย”

โครงสร้างเสริมความแข็งแรงในการรองรับการพลิกคว่ำของห้องโดยสารรถตู้พยาบาล

รถพยาบาลเป็นพาหนะที่จำเป็นต่อการขนย้ายหรือช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะรถตู้พยาบาล เนื่องจากมีความคล่องตัวและมีพื้นที่ในการทำหัตถการฉุกเฉินเพื่อการกู้ชีพมากกว่ารถกระบะพยาบาล ทั้งนี้การดัดแปลงรถตู้เชิงพาณิชย์ให้เป็นรถตู้พยาบาล จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งาน ทีมวิจัยเอ็มเทคจึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างเสริมความแข็งแรงเพื่อรองรับการพลิกคว่ำ ภายใต้ทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และบริษัท สุพรีร่า อินโนเวชั่น จำกัด
คุณณรงค์เล่าว่า “มาตรฐานการทดสอบการพลิกคว่ำที่ได้รับการยอมรับคือ UN ECE R66 (R66) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ประเมินความปลอดภัยจากการพลิกคว่ำในรถโดยสารขนาดใหญ่ โดยสามารถทดสอบได้ 2 แบบ คือ หนึ่ง – ทดสอบจริง โดยสร้างรถจริงมาทดสอบการพลิกคว่ำ บนแท่นทดสอบแบบพลิกเอียงได้และ สอง – คือจำลองการทดสอบบนคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามเพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินการพลิกคว่ำของรถขนาดเล็ก เช่น รถตู้พยาบาล ที่มีขนาดพื้นที่ห้องโดยสารแตกต่างไปจากรถโดยสารขนาดใหญ่ จึงมีความจำเป็นต้องประยุกต์มาตรฐาน R66 ก่อนนำไปใช้ประเมินความปลอดภัย”

“ในโครงการเราทำการทดสอบการพลิกคว่ำจริง 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้รถตู้รุ่นเก่ามาดัดแปลงให้เป็นรถพยาบาลจริงโดยไม่มีการเสริมโครงสร้างความแข็งแรง และทดสอบการพลิกคว่ำจริง เพื่อดูว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ในขณะเดียวกันก็ทำการจำลองบนคอมพิวเตอร์ควบคู่กันไป เพื่อตรวจสอบข้อมูลแบบจำลองที่สร้างขึ้น รวมถึงกระบวนการที่ใช้ในการจำลองว่าถูกต้อง และให้ผลลัพธ์สอดคล้องกับการทดสอบจริงหรือไม่”

“ผลการทดสอบการพลิกคว่ำจริงพบว่า ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน จึงต้องมีการพัฒนาโครงสร้างเสริมความแข็งแรงเพื่อรองรับการพลิกคว่ำติดตั้งลงไปบนห้องโดยสารรถตู้พยาบาล โดยทีมใช้ผลการจำลอง และทดสอบครั้งแรกเป็นพื้นฐานในการพัฒนาห้องโดยสารรถตู้พยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน R66 ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการลองผิดลองถูกกับรูปแบบของโครงสร้างเสริมความแข็งแรง จนสุดท้ายได้ผลลัพธ์การจำลองการพลิกคว่ำที่มีความน่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับมาตรฐาน R66 ซึ่งยืนยันได้จากผลการทดสอบการพลิกคว่ำจริงของรถตู้พยาบาลที่ติดตั้งโครงสร้างเสริมความแข็งแรงตามที่ออกแบบไว้ในครั้งที่สอง”

ต้นแบบโครงสร้างเสริมความแข็งแรงเพื่อรองรับการพลิกคว่ำที่ใช้ในรถตู้รุ่นเก่าสามารถใช้ในรถตู้รุ่นใหม่ได้หรือไม่ คุณณรงค์อธิบายว่า “รถตู้รุ่นใหม่มีรูปแบบภายนอกและภายในแตกต่างจากรถตู้รุ่นเก่าโดยสิ้นเชิง จึงไม่สามารถใช้ต้นแบบเดิมได้โดยตรง ทำให้ต้องมีปรับเปลี่ยนโครงสร้างเสริมความแข็งแรง อย่างไรก็ดี จากการที่รถตู้รุ่นใหม่มีราคาแพง และยังไม่มีรถหมดสภาพที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนทดสอบการพลิกคว่ำจริงได้ ดังนั้นทีมวิจัยจึงต้องหามาตรฐานเพื่อใช้เปรียบเทียบผลการจำลอง ซึ่งมาตรฐานที่ใช้เป็นของอเมริกาคือ FMVSS 216 ที่เป็นการทดสอบการกดหลังคาด้านข้างแบบเต็มคัน โดยนำมาใช้เทียบเคียงกับ R66 อันเป็นที่มาของงานวิจัยการพัฒนาชิ้นส่วนเสริมความแข็งแรงเพื่อรองรับการพลิกคว่ำของห้องโดยสารรถตู้พยาบาล ร่วมกับบริษัท สุพรีร่า อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งมีความท้าทาย 2 ประการ”

“ประการแรก เราต้องพิสูจน์ว่าสามารถนำมาตรฐาน FMVSS 216 มาใช้เทียบเคียง R66 ได้ขณะเดียวกันภายใต้งบประมาณที่จำกัด ทำให้เราไม่สามารถหารถตู้รุ่นใหม่มาทดสอบจริง การทดสอบจึงต้องกระทำบนแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของรถตู้พยาบาลรุ่นเก่า เพื่อเปรียบเทียบ และยืนยันถึงการนำมาตรฐานดังกล่าวมาประยุกต์ใช้”

“ส่วนความท้าทายประการถัดมา คือ การออกแบบ และทดสอบโครงสร้างเสริมความแข็งแรงเฉพาะส่วนแทนการทดสอบรถทั้งคัน ภายใต้การประยุกต์ใช้มาตรฐาน FMVSS 216 และเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันด้วยการจำลองบนคอมพิวเตอร์ ร่วมกับการสร้างชุดอุปกรณ์ทดสอบจริง เพื่อใช้ยืนยันถึงแนวทางการทำงาน สุดท้ายเราพัฒนาจนได้โครงสร้างเสริมความแข็งแรงที่มีความปลอดภัยเพียงพอต่อการรองรับการพลิกคว่ำในรถพยาบาลรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันบริษัทเอกชนอยู่ระหว่างผลิตติดตั้งบนรถพยาบาลรุ่นใหม่ที่จัดจำหน่าย และดำเนินการขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรม”

เมื่อถามว่าการทดสอบการจำลองบนคอมพิวเตอร์ให้ใกล้เคียงความจริงนั้นต้องทำอย่างไร คุณณรงค์อธิบายว่า “โดยทั่วไปทำได้ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือกรณีที่เราสามารถหาข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพความปัญหาจริงได้ ทั้งมิติของโครงสร้าง สมบัติรอยเชื่อมต่างๆ (joining) ตลอดจนสมบัติของวัสดุ เช่น ในกรณีโครงสร้างของรถบัสโดยสารที่ผลิตตัวถังขึ้นเองในประเทศโดย เราสามารถหาข้อมูลดังกล่าวได้ไม่ยากนัก ทั้งมิติและสมบัติของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ แบบ และขนาดต่างๆ ที่ถูกนำมาต่อกันเป็นโครงถักด้วยการเชื่อม สามารถทดสอบสมบัติของวัสดุได้ด้วยการทดสอบแรงดึง (Tensile test) หรือทดสอบความแข็งแรงเฉพาะส่วนการเชื่อมต่อของโครงสร้างด้วยการกดดัดแบบสามจุด (Three-Point Bending Test) ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้สามารถหาสมบัติตรงบริเวณจุดและส่วนอื่นๆ ของปัญหาที่สนใจได้ค่อนข้างแม่นยำ ทำให้การกำหนดแนวทาง รวมถึงข้อมูลประกอบการคำนวณ และสามารถทวนสอบความถูกต้องของการจำลองกับผลการทดสอบจริงกระทำได้ไม่ยากนัก

“ส่วนในรูปแบบที่สองเป็นกรณีที่เรามีข้อมูลที่กล่าวมาไม่ครบถ้วน ก็จะใช้การประมาณข้อมูลจากการวัดจริงด้วยเครื่องมือต่างๆ ร่วมกับผลลัพธ์จากการทดสอบจริง เช่น กรณีรถตู้เชิงพาณิชย์ที่ประกอบสำเร็จมาจากผู้ผลิตทั้งคัน ภายในจะมีโครงสร้างที่มีความซับซ้อนสูง และมีสมบัติวัสดุที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มตำแหน่ง โครงสร้างอาจมีวางประกบซ้อนกันโดยมีรูปร่าง สมบัติวัสดุแตกต่างกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดน้ำหนัก รวมถึงสร้างความแข็งแรงในตำแหน่งที่ต่างกันไป โดยมีตัวถังด้านในและนอกปิดทับอยู่ ซึ่งหากไม่มีข้อมูลจากผู้ผลิต ก็เป็นการยากที่จะทำให้ได้ข้อมูลสำหรับการจำลองบนคอมพิวเตอร์ที่แม่นยำเช่นกรณีแรก การเก็บข้อมูลจำเป็นต้อง รื้อ ตัด แยกโครงสร้างออกเป็นส่วน ซึ่งใช้เวลา และต้นทุนค่อนข้างมาก ดังนั้นการจำลองดังกล่าวจึงต้องอาศัยผลการทดสอบจริงเป็นตัวเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้จากการจำลองบนคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างแบบจำลองที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับปัญหา รวมถึงตรวจสอบแนวทางการวิเคราะห์ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ โดยเริ่มต้นจากการทดสอบเปรียบเทียบจากชิ้นส่วนเล็กๆ ในจำนวนที่มากพอ แล้วค่อยขยายเป็นโครงสร้างตัวรถ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกำหนดแนวทางในการคำนวณ และประมาณผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงจากการทดสอบได้”

ความภาคภูมิใจต่อผลงาน

คุณณรงค์มีความภาคภูมิใจในทุกผลงานที่ได้ทำ เพราะแต่ละงานมีคุณค่าในตัวเอง แต่ผลงานอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้ายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างและได้รับการยอมรับค่อนข้างดี ทั้งจากวงการวิชาการและผู้ให้ทุน อีกทั้งสิ่งที่พัฒนานี้จะกลายเป็นข้อกำหนดที่ต่อไปทุกคนต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานนี้สำเร็จได้เพราะทุกคนในทีม จึงถือเป็นความสำเร็จร่วมกัน

คุณณรงค์เล่าถึงบทบาทของผู้ร่วมงานในทีมว่า “ดร.ศราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการที่กำหนดทิศทางของงานวิจัยว่าควรเป็นอย่างไร รวบรวมข้อมูล และมาตรฐานต่างๆ ผมและคุณประสิทธิ์ ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างตามโจทย์หรือมาตรฐานว่าควรมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ทำการจำลอง ตลอดจนปรับปรุง พัฒนาแบบจำลองให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ และดำเนินการผลิตต้นแบบเพื่อทดสอบ ขณะที่การทดสอบจริงจะมี ดร.ฉัตรชัย คุณเศรษฐลัทธ์ คุณพีรกิตติ์ คุณณรงค์ฤทธิ์ และน้องๆ NCR ร่วมกันวางแผน และสร้างเครื่องมือทดสอบ รวมถึงดำเนินการทดสอบและแปลผลลัพธ์ จากนั้นทีมจะร่วมกันวางแผนการผลิต กำหนดการควบคุมคุณภาพการผลิตของต้นแบบว่าให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยทุกขั้นตอนการทำงานจะมีการหารือกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการทำงานที่ครบวงจรและจะขาดคนใดคนหนึ่งไปไม่ได้”

การพัฒนากำลังคน

กำลังคนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ นอกเหนือจากงานวิจัยแล้ว ทีมวิจัยยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนากำลังคนด้วย คุณณรงค์เล่าว่า “เมื่อมีรุ่นน้องเข้ามาร่วมงาน เราต้องยอมรับว่าความรู้ที่เขาเรียนมาอาจไม่ตรงกับสิ่งที่เราคาดหวัง ส่วนใหญ่เราจะดูพื้นฐาน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานในการทำงานที่แตกต่างกัน เราต้องเสริมอะไรบางอย่าง ในขณะเดียวกันก็ปรับทัศนคติในการทำงาน เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่จะมีแนวคิดในการทำงานที่แตกต่างจากคนรุ่นเรา งานที่ผมทำกว่าจะได้องค์ความรู้จะใช้เวลาและความพยายามค่อนข้างมาก ซึ่งเด็กรุ่นใหม่จะใช้วิธีการสอนหรือทำให้ดู ขณะเดียวกันก็จะมีประเด็นคำถามให้คิดต่อหรือนำไปฝึกฝนเพิ่มเติม ทั้งนี้ตัวเด็กเองก็ต้องศึกษา และขวนขวายหาความรู้มาในระดับหนึ่งก่อน และเมื่อติดปัญหาจึงค่อยมาถาม จะได้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจร่วมกัน เราต้องพยายามปรับทัศนคติตรงนี้”

“เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง เราจะรู้ว่าความสามารถเขาอยู่ตรงไหน เราจะดึงความสามารถของเขาออกมาอย่างไร และพยายามถ่ายทอดประสบการณ์ให้ ค่อยๆ พัฒนาความเชี่ยวชาญไปซึ่งใช้เวลาทั้งตัวเราและเด็กเอง แต่ก็เป็นสิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจ เพราะเด็กที่เคยทำงานกับเราส่วนใหญ่ได้ทำงานในองค์กรชั้นนำที่ดี ทำให้เห็นว่าแนวทางในการพัฒนาคนของเรามาถูกทางแล้ว”

“นอกจากนี้ เรายังจัดสัมมนาให้แก่ผู้สนใจ โดยหัวข้อส่วนใหญ่เป็นการให้องค์ความรู้ในการออกแบบ หรือการจำลองบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งภาคเอกชนสนใจแต่ยังขาดองค์ความรู้ หรือมีซอฟต์แวร์ที่อาจมีศักยภาพไม่เพียงพอ เราต้องการให้องค์ความรู้เหล่านี้แก่เขาเพื่อให้เขามีศักยภาพเพิ่มขึ้น และมีองค์ความรู้ที่จะพัฒนาอุปกรณ์อะไรบางอย่างต่อไป ถือเป็นการสร้างคน และยกระดับการแข่งขันของประเทศอีกรูปแบบหนึ่ง”

ทีมวิจัยยังให้ความสำคัญกับการสอนครู รวมถึงเด็กตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาที่เรียนสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ “การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะและสมรรถนะด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรมด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม” ที่มี ดร.ศราวุธ เป็นหัวหน้าโครงการนั้น ได้นำอุปกรณ์ AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน

โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยต่างๆ ของทีมมาประยุกต์ เช่น ในการออกแบบโครงสร้างเสริมความแข็งแรงแบบต่างๆ ติดตั้งบนรถ เมื่อพลิกคว่ำจะเกิดความเสียหายแตกต่างกันอย่างไร หรือวิชาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องอะตอมที่มองไม่เห็น ผู้เรียนก็จะเห็นภาพเสมือนจริงที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ได้อีกระดับหนึ่ง” คุณณรงค์ยกตัวอย่าง

เป้าหมายการทำงาน

คุณณรงค์กล่าวถึงเป้าหมายในการทำงานว่า “สำหรับผม เป้าหมายกับความเป็นจริงอาจไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่ควบคุมได้คือ ตัวเอง ดังนั้น เป้าหมายที่ตั้งไว้คือ พยายามทำทุกวันให้ดีที่สุด และทำงานให้เกินความคาดหวัง เพราะสิ่งที่เราทำจะเป็นสิ่งที่ประเมินศักยภาพของตัวเราเอง”

The post ณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังความปลอดภัยในยานยนต์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ปริญญา จันทร์หุณีย์ จากครูเทคนิค….สู่นักพัฒนาอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์ https://www.mtec.or.th/interview-70106/ Tue, 02 Aug 2022 06:48:00 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=20912 ปริญญา จันทร์หุณีย์ จากครูเทคนิค….สู่นักพัฒนาอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์ สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ คุณปริญญา จันทร์หุณีย์ วิศวกรอาวุโส ทีมวิจัยชีวกลศาสตร์ กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการเขียนแบบ ออกแบบ และการใช้ซอฟต์แวร์ ... Read more

The post ปริญญา จันทร์หุณีย์ จากครูเทคนิค….สู่นักพัฒนาอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ปริญญา จันทร์หุณีย์ จากครูเทคนิค....สู่นักพัฒนาอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้
ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

คุณปริญญา จันทร์หุณีย์ วิศวกรอาวุโส ทีมวิจัยชีวกลศาสตร์ กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการเขียนแบบ ออกแบบ และการใช้ซอฟต์แวร์ (Software) ต่างๆ ในการเขียนและออกแบบ และสามารถนำความรู้มาต่อยอดในการคิดค้นและพัฒนาผลงานเด่นสำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์หลากหลายผลงาน ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการแพทย์และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์เหล่านี้จากต่างประเทศในราคาแพง

จุดเริ่มต้นของการศึกษาด้านการออกแบบ

คุณปริญญาเล่าว่า “ผมจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นคณะและสาขาที่ปั้นนักศึกษาให้มาเป็นครูเทคนิคนั่นเอง”

“ในเทอมสุดท้ายก่อนจบการศึกษาได้เลือกเรียนวิชาการออกแบบ 3 มิติ เป็นวิชาเลือกเสรี ถือเป็นโชคชะตาก็ว่าได้ เพราะเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครเลือกเรียนเลย ซึ่งจริงๆ แล้วชอบเรียนวิชาเขียนแบบ ออกแบบมาตั้งแต่สมัยเรียน ปวช. แล้ว โดยเรียนจบ ปวช. ในสาขาช่างยนต์ที่นครศรีธรรมราช”

“การมีความชอบส่วนตัวเป็นพื้นฐานทำให้การเรียนราบรื่นไม่มีอุปสรรคเลย หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีก็ได้มีประสบการณ์ไปเป็นครูสอนความรู้ด้านช่างให้กับนักศึกษาสาขาช่างกล ที่วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี”

ประสบการณ์การทำงานในภาคเอกชน

หลังจากเป็นครูได้สักพัก คุณปริญญาก็ลาออกไปทำงานกับบริษัทขายซอฟต์แวร์ออกแบบสำหรับงานด้านวิศวกรรม (Solidworks) ในแผนก application engineering โดยมีหน้าที่สาธิตและแนะนำการใช้งานซอฟต์แวร์ รวมถึงรับทราบและแก้ไขปัญหาของลูกค้า เช่น บริษัทผลิตล้อแม็ก

คุณปริญญาเล่าประสบการณ์ว่า

“ถ้าพบปัญหาล้อพังก็จะแก้ปัญหาโดยเอาโมลเก่าไปเซาะร่องให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้แข็งแรงขึ้น ถือว่าแก้ปัญหาได้ทันที แต่ถ้าไปดูล้อแม็กของต่างประเทศจะพบว่ามีก้านรูปทรงเพียวบาง ก็จะพยายามชี้แจงและอธิบายว่าสิ่งเหล่านี้สามารถใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยในการออกแบบและพยากรณ์ว่ารูปทรงแบบนี้สามารถรับแรงได้และดูสวยงามด้วย”

“การทำงานตรงนี้ทำให้ได้เรียนรู้ทักษะการเจรจาต่อรองกับลูกค้าและเทคนิคการขายที่ทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจของบริษัทลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าซอฟต์แวร์ในราคาเกือบล้านใด้ โดยการทำงานทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายจะทำหน้าที่นำเสนอสินค้าและเมื่อลูกค้าให้ความสนใจ ก็จะเป็นหน้าที่ของเราที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมและตอบคำถามในด้านการใช้งานซอพต์แวร์ ทำให้สามารถปิดการขายได้” คุณปริญญากล่าวเสริม

ก้าวแรกของการทำงานวิจัยที่เอ็มเทค

เมื่อถามว่าเหตุใดจึงมาทำงานที่เอ็มเทค คุณปริญญาอธิบายว่า “ผมรู้จักเอ็มเทคจากการแนะนำของรุ่นพี่ที่พระจอมเกล้าพระนครเหนือ เนื่องจากเห็นว่าตนเองชอบทำงานวิจัยและให้ความรู้กับลูกค้าจึงคิดว่าน่าจะไปทำงานวิจัย จึงได้เข้ามาสมัครงานกับเอ็มเทคและผ่านการสัมภาษณ์งานกับ ดร. ดนุ พรหมมินทร์”

ในวันสัมภาษณ์ดร. ดนุ ได้ถามว่ารู้จักเกี่ยวกับเรื่องแผลกดทับและเปลตักหรือไม่ ซึ่งโชคดีที่คุณปริญญารู้จักและเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มาจากคุณพ่อเนื่องจากคุณพ่อทำงานเป็นเวรเปลที่โรงพยาบาลมานานเกือบ 30 ปีจนได้เป็นหัวหน้าแผนก ทำให้สามารถตอบคำถามได้ดีและผ่านการสัมภาษณ์ได้เข้ามาทำงานเป็นวิศวกรคนแรกของ ดร. ดนุ และเป็นช่วงของการเริ่มต้นสร้างทีมงานไปพร้อมๆ กัน นับถึงปัจจุบันก็ทำงานที่เอ็มเทคมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว

คุณปริญญากล่าวเพิ่มเติมว่า “คุณพ่ออยากให้ทำงานราชการ คุณพ่อจึงดีใจมากที่มาทำงานที่เอ็มเทค และตนเองเป็นคนชอบทำงานอะไรที่แปลกใหม่ ท้าทายความสามารถ การออกแบบ 3 มิติสามารถเข้าถึงมิติที่ไม่สามารถวาดภาพด้วยกระดาษ ทำให้สามารถจินตนาการได้ล่วงหน้าและสร้างให้เป็นจริงได้ด้วยทักษะที่มีบวกกับหลักวิชาการที่ ดร. ดนุค่อยๆ แนะนำและสอดแทรกเข้ามา จึงทำให้การทำงานมีความสนุก”

“ดร. ดนุ มักบอกเสมอว่าเราจะต้องทำสิ่งที่ใหม่กว่า ต้องไม่เหมือนใคร ก็เลยเป็นที่มาของผลงานที่ผม และ ดร. ดนุ พัฒนาขึ้นมาสามารถจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรได้จำนวนมาก” คุณปริญญากล่าวถึงหลักการที่ได้เรียนรู้

ผลงานวิจัยที่สร้างความภาคภูมิใจ

คุณปริญญามีผลงานวิจัยที่สำคัญหลายชิ้น และเล่าว่า “ผลงานวิจัยที่สร้างความภาคภูมิใจอันแรกเลยคือ DIY Spacer หรืออุปกรณ์พ่นยาที่สามารถประดิษฐ์ได้ด้วยตนเอง สำหรับใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด ซึ่งคุณหมอได้แจ้งให้ทราบถึงปัญหาว่าอุปกรณ์ที่มีขายและใช้อยู่ในขณะนั้นเป็นของต่างประเทศและมีราคาแพง คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้”

เขาจึงได้ศึกษาข้อมูลและกลไกอุปกรณ์ของต่างประเทศ ใช้เวลาเพียง 3 วัน ก็สามารถสร้างต้นแบบออกมาได้ หลังจากปรึกษากับดร. ดนุ และทดสอบเบื้องต้นจนเห็นทิศทางความเป็นไปได้แล้วจึงนำไปเสนอให้คุณหมอพิจารณา ในขณะเดียวกันก็สืบค้นข้อมูลการจดลิขสิทธิ์ต่างๆ และได้ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรผลงานนี้ไว้ 

“ผลงาน DIY Spacer นี้ได้สร้างชื่อเสียง ได้รับรางวัลและโด่งดังไปถึงต่างประเทศ สร้างผลกระทบสูง ทั้งยังสามารถนำมาใช้รักษาอาการป่วยของลูกสาวตนเองได้ด้วย ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและมองว่าตนเองมีคุณค่าที่สามารถนำความรู้ที่เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้คนในครอบครัวก็ภูมิใจและยินดีกับการทำงานนี้ด้วย”

ส่วนผลงานที่สร้างความภาคภูมิใจอีกชิ้นคือ Beach Chair หรืออุปกรณ์จัดท่าผ่าตัดหัวไหล่และแขนในท่าบีชแชร์ ซี่งเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาแพง และในการใช้งานอุปกรณ์แบบเดิมจำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ราว 6 คน ในการพยุงตัวผู้ป่วย 

 “แต่อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้จะช่วยผ่อนแรง ลดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ลงเหลือเพียงแค่ 2 คน คือแพทย์และผู้ช่วยผ่าตัดเท่านั้น คุณหมอได้นำ Beach Chair นี้ไปใช้งานเป็นเวลาหลายปี มีเคสผ่าตัดมากกว่า 5,000 เคส และคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดด้วย Beach Chair ก็มีอัตราการกลับมารักษาหรือผ่าตัดซ้ำน้อยมาก ทุกคนได้รับประโยชน์และมีความสุข นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์นี้สามารถช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศในราคาแพงอีกด้วย” คุณปริญญากล่าวถึงจุดเด่นและความสำเร็จของผลงานชิ้นนี้

สำหรับคำถามที่ว่าทำไมจึงใช้คำว่า Beach Chair คำตอบก็คือ “เพราะว่าลักษณะการนั่งผ่าตัดจะเหมือนกับนั่งเตียงชายหาดประมาณนั้นเลยครับ โดยคุณหมอสามารถปรับระดับและเลือกมุมต่างๆ ได้ตามต้องการ”

คุณปริญญาเล่าว่าคุณพ่อของเขามีปัญหาไหล่ติด ยกแขนได้ไม่ตรง เมื่อไปหาคุณหมอ คุณหมอบอกว่าคุณพ่อจะได้ขึ้นเตียงผ่าตัดที่ผมเป็นคนออกแบบแน่นอน ซึ่งคุณพ่อกลัวการผ่าตัด คุณหมอจึงบอกว่าถ้าไม่อยากผ่าตัดก็ต้องออกกำลังกาย คุณพ่อจึงออกกำลังกายตามที่คุณหมอแนะนำ และปัจจุบันก็หายขาดจากอาการไหล่ติดแล้ว 

จุดเด่นของทีมวิจัยชีวกลศาสตร์

จุดเด่นของทีมเราข้อแรกคือการมี connection กับแพทย์ และกลุ่มของแพทย์ท่านหนึ่งก็มี connection กับกลุ่มของแพทย์อีกกลุ่มหนึ่ง ทำให้ทีมวิจัยสามารถเข้าถึงบุคลาการทางการแพทย์และรับทราบข้อมูลระดับภายในได้ เนื่องจากมีประสบการณ์การทำงานร่วมกันมานานและทีมแพทย์เองก็รู้ว่าเรามีความสามารถแค่ไหนอย่างไร

“หรือจะพูดให้ชัดก็คือเราสามารถสร้างกลไกหรือต้นแบบเพื่อแก้ปัญหาให้คนไข้ของคุณหมอได้ ดังนั้นจุดเด่นของเราก็คือเมื่อคุณหมอเล่าปัญหาให้ฟัง ผมและดร. ดนุ ก็จะใช้เวลาไม่นานที่จะสร้างบางสิ่งบางอย่างออกมาเพื่อเสนอให้คุณหมอพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาปัญหานั้นได้” คุณปริญญากล่าวเสริม

อีกกรณีหนี่งก็คือ เมื่อแพทย์ต้องการอุปกรณ์ที่ใช้กรองลมสำหรับการรักษาคนไข้ปวดหัวเข่า ซึ่งในการรักษานั้นคุณหมอจะดูดอากาศบริเวณใกล้ๆ ตัวใส่ในไซริงค์แล้วฉีดเข้าไปในข้อเข่าเพื่อให้เข่าบวมแล้วดูว่าเข่าหลวมหรือไม่ อากาศที่คุณหมอดูดเข้าไปนั้นไม่แน่ใจว่าสะอาดหรือไม่

คุณปริญญาเล่าว่า “ผมนึกถึงรถยนต์ BMW เลยครับ ซึ่งจะมีกระเปาะตัวหนึ่งโดยข้างในจะมีแผ่นไดอะแฟรมที่เป็นตัวกรองอากาศ และพอมาศึกษาพบว่าทางการแพทย์จะใช้ HEPA filter ก็เลยลองเขียนแบบแล้วนำไปเสนอให้คุณหมอพิจารณาและทำให้ลองใช้ดู ก็สามารถช่วยคุณหมอแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สรุปแล้วจุดเด่นของทีมงานผมคือการมีแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และสามารถพัฒนาต่อยอดให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมครับ”

งานวิจัย “โมโนฟิลาเมนต์”

โมโนฟิลาเมนต์ (monofilament) เป็นอุปกรณ์ตรวจประเมินความรู้สึกที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน โดยได้รับการติดต่อจากคุณหมอบูรพา โรงพยาบาลศิริราช คุณหมอต้องการเส้นเอ็นต้นทุนต่ำ ผลิตจากไนลอน ความยาว 4-5 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับเอ็นตกปลา

คุณสมบัติที่ต้องการคือเมื่อนำมาเส้นเอ็นมาทำให้ตรงและแห้งไม่มีความชื้น แล้วกดลงบนฝ่ามือหรือฝ่าเท้าแล้วเส้นเอ็นจะงอเป็นรูปตัวเอส (S) และในขณะที่กดนั้นจะให้แรงเท่ากับ 10 กรัม ซี่งเป็นตัวเลขที่คุณหมอได้ศึกษามาแล้วว่า แรง 10 กรัมจะบอกถึงความรู้สึกได้ว่าโดนกดหรือไม่

คุณปริญญากล่าวว่า “เส้นเอ็นตัวนี้จะช่วยในการตรวจและติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าเป็นมากี่ปีแล้ว โดยคุณหมอจะให้คนไข้นอน ตามองเพดาน แล้วใช้เส้นเอ็นกดลงที่ปลายเท้า โดยมีข้อกำหนดมาตรฐาน (protocol)”

ในการกดและการสนทนากันว่ากดแล้วนะรู้สึกหรือไม่ ซึ่งจะมีทั้งกดจริงและกดหลอก แล้วเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยว่าคนไข้จำเป็นต้องใช้รองเท้าป้องกันเท้าหรือยัง เพราะเมื่อไรที่คนไข้ไม่รู้สึก เวลาเดินสะดุดแล้วเกิดแผลจะเป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งถ้าไม่มีวินัยในการดูแลแผลที่ดีก็อาจนำไปสู่การต้องตัดเท้าได้ และรองเท้าป้องกันเท้านี้มีราคาแพง ถ้าวินิจฉัยผิดพลาดอาจทำให้คนไข้ต้องเสียเงินซื้อรองเท้าโดยที่ยังไม่ถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้จริง

คุณปริญญาเล่าต่อว่า โมโนฟิลาเมนต์จึงเป็นพระเอกในเรื่องนี้ ก่อนที่จะมาคุยกับทีมวิจัย ทีมแพทย์ต้องซื้อเส้นเอ็นมาในราคาแพง จึงจำเป็นต้องมีการใช้ซ้ำ ซึ่งจริงๆ ต้องใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และการใช้ตรวจหลายคนพอมาถึงคนท้ายๆ เส้นเอ็นก็ล้าไปแล้ว อาจทำให้การตรวจผิดพลาดได้ เราจึงทำการพัฒนาและศึกษาในเรื่องธรรมชาติของไนลอน ความชื้น การอบให้ตรงและการประกอบเส้นเอ็นให้จับและหยิบออกใช้งานได้ง่าย

คุณปริญญาเน้นว่า “ที่สำคัญคือทำให้มีราคาถูก เพื่อให้ใช้แล้วทิ้งเลย โดยการนำวัสดุหรือเส้นเอ็นที่มีขายตามท้องตลาดมาพัฒนาให้มีสมบัติและลักษณะทางกายภาพพร้อมใช้งานตามที่ต้องการ”

โครงการดังกล่าวนี้เป็นโครงการระยะสั้นและดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้วโดยผลงานนี้ ดร. ดนุ ได้นำไปเขียนเป็นผลงานทางวิชาการร่วมกับแพทย์ และได้มีการทดสอบในห้องปฎิบัติการโดยการทดลองว่าความยาวแต่ละความยาวให้แรงกดเท่ากับ 10 กรัมและสม่ำเสมอหรือไม่ และตัวคุณปริญญาเองเป็นคนออกแบบวิธีการจับยึดเส้นเอ็นให้พร้อมใช้งาน โดยอาจประกอบเส้นเอ็นเข้ากับปากกาหรือดินสอโดยใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยในการดำเนินงาน”

การทำงานร่วมกับทีมวิจัยอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกเอ็มเทค

ก่อนการทำงานวิจัยที่เอ็มเทค คุณปริญญาเคยทำงานร่วมกับทีมวิจัยของเนคเทคในส่วนของเครื่องเดนตีสแกน (DentiiScan) โดยออกแบบเครื่องเวอร์ชันแรก นอกจากนี้ยังเคยทำงานร่วมกับทีมวิจัยยางของเอ็มเทคในส่วนของโครงการรับจ้างวิจัยฟูกที่นอนน้ำซึ่งเขาเป็นหัวหน้าโครงการ ทุกโครงการที่ผ่านมานี้ทำงานร่วมกันได้ราบรื่นและสำเร็จด้วยดี

“จากการทำงานร่วมกับทีมวิจัยอื่นทั้งภายในและภายนอกเอ็มเทคทำให้เห็นภาพการทำงานในหลายมิติโดยคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เวลาทำอะไรจะเก่งมากและทำได้ทุกอย่าง งานก็ราบรื่นและสำเร็จด้วยดี”

วิธีการแนะนำและสอนงานน้องๆ วิศวกรที่เพิ่งเริ่มเข้ามาทำงานใหม่

หากมีวิศวกรใหม่เข้ามาร่วมงานด้วย คุณปริญญาจะมีขั้นตอนคือ อันดับแรกต้องรู้ประวัติการทำงานก่อนว่าเคยทำงานและมีประสบการณ์ด้านไหนมาบ้าง แล้วค่อยๆ ป้อนความรู้และข้อมูลให้ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ตนเองถนัด เช่น จะถามน้องๆ ว่าเคยเขียนแบบ ออกแบบหรือไม่ อ่านแบบออกหรือไม่ ดูภาพ 3 มิติเป็นหรือไม่ รวมถึงรู้มาตรฐานการเขียนแบบหรือไม่ เพื่อนร่วมงานใหม่จะต้องศึกษาและเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เมื่อมีงานหรือปัญหาเข้ามาให้คิด พวกเขาก็จะมีแนวความคิดและสามารถพัฒนางานต่างๆ ได้

“อีกส่วนหนึ่งผมจะแนะนำในเรื่องการเจรจาและการวางตัวให้เหมาะสมในเวลาที่ต้องไปติดต่องาน โดยจะแนะนำให้ทำตัวเหมือนน้ำครึ่งแก้ว เราควรฟังเขาก่อนว่าต้องการอะไร ฟังให้เยอะ พูดให้น้อย แล้วค่อยๆ นำเสนอ อย่าไปเอาชนะ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ผมได้เจอมาและนำมาสอนให้กับน้องๆ ในทีม” คุณปริญญากล่าวเสริม

แนวคิดในการทำงานและการดำเนินชีวิต

เมื่อถามถึงหลักในการทำงานและการใช้ชีวิต คุณปริญญาตอบว่า “อันดับแรกเลยต้องทำตัวให้เหมือนน้ำก้นแก้ว เมื่อสมัยก่อนผมอาจจะเป็นคนหัวแข็ง เชื่อมั่นตัวเองสูง เป็นเหมือนตอนเรียนจบใหม่ๆ แบบนั้นเลยและดุมาก”

“แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน ความคิดและจิตใจก็เปลี่ยน อาจเนื่องจากคนรอบข้างและสื่อต่างๆ รวมถึงการดูภาพยนตร์ในเรื่องชีวิตต่างๆ ทำให้รู้สึกว่าการศึกษาเป็นทั้งชีวิต ไม่มีวันจบสิ้น เราไม่ได้รู้หมดทุกอย่าง ก็เลยทำตัวเป็นน้ำก้นๆ แก้วหรือครึ่งแก้ว ก็จะทำให้ได้เรียนรู้อะไรมากมายและคอยติดตามด้วยสติดูว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลหรือไม่ เราทำถูกต้องหรือไม่ เราโอเคไหม นี่ก็คือแนวคิดในการทำงานและการดำเนินชีวิตของผมครับ”

เป้าหมายในชีวิตและการทำงานของคุณปริญญา คือต้องการสร้างผลงานออกมาแล้วมีการนำไปใช้งานจริงอย่างแพร่หลาย แต่เขาก็เข้าใจว่างานที่ทำเป็นงานด้านอุปกรณ์การแพทย์ อาจต้องใช้เวลาและไม่สามารถวาดภาพว่าธุรกิจนี้จะสำเร็จปีไหนเพราะการทำธุรกิจมีคู่แข่งและปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง

เขากล่าวว่า “ดังนั้นผลงานที่ทำขึ้นที่จะออกจากเอ็มเทคก็อยากทำให้ดีที่สุดและได้ตามมาตรฐานและให้ประชาชนคนไทยได้ใช้กัน ตัวอย่างเช่นผลงาน M-Wheel ก็ได้ทราบข่าวว่าคนในจังหวัดร้อยเอ็ดที่เพิ่งรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปนั้นมีความพอใจในการใช้งานมาก”

งานอดิเรก

ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คุณปริญญาจะชอบทำงานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุขคือการซ่อม ปรับปรุงหรือฟื้นฟูรถยนต์ BMW รุ่น classic E30 โดยจะทำตั้งแต่การซ่อม ปรับปรุง ทำสี ทำเครื่องยนต์ช่วงล่าง และประกอบตัวรถ

เขากล่าวว่า “ทำงานอยู่ที่บ้านผมเองและมีรายได้จากงานอดิเรกนี้ด้วย ลูกค้าจะเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้ออดีตโดยจะหารถมาให้เพื่อปั้นหรือปรับปรุงให้เป็นแบบที่ต้องการ สิ่งที่ได้ทางอ้อมจากงานอดิเรกนี้คือได้ศึกษาว่ารถยนต์ BMW มีเทคโนโลยีอะไรในช่วง 30 ปีที่แล้ว และทำให้ทราบว่าการสร้างรถนั้นนอกจากเรื่องสมรรถนะแล้วยังมีเรื่องความสวยงามอีกด้วย”

คุณปริญญาเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการรับงานจากลูกค้าว่า “ผมเปิด facebook ในชื่อ ถาม-ตอบกับช่างยนต์มือดำ และค่อยๆ สร้างโปรไฟล์ของตนเองโดยเริ่มต้นโพสต์โชว์รถตัวเองก่อน ตั้งแต่การทำช่วงล่าง การจัดซื้ออะไหล่ เหมือนการพยายามขายตัวเองก่อนเพื่อให้มีตัวตนก่อน โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมมาออกแบบเครื่องมือพิเศษเพื่อให้การประกอบรถสมบูรณ์ที่สุด อีกส่วนหนึ่งก็ศึกษาคู่มือจากเยอรมันเพิ่มเติมโดยสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต”

เขาจัดทำคลิปสั้นๆ โพสต์ลงใน facebook ของตนเอง เมื่อมีคนเห็นขั้นตอนการทำงานว่าดีและชอบก็จะติดต่อเข้ามาหาเอง

“มีเงื่อนไขว่า รถ 1 คัน จะใช้เวลาทำประมาณ 2 ปี จะเร่งเวลาไม่ได้เพราะมีงานประจำทำอยู่แล้ว ถ้านับถึงปัจจุบันก็ทำสำเร็จไปแล้วรวม 6 คัน งานอดิเรกนี้จะไม่ได้ทำทุกเสาร์-อาทิตย์ เพราะจะต้องแบ่งเวลาให้กับครอบครัวด้วยครับ” คุณปริญญากล่าวปิดท้าย

The post ปริญญา จันทร์หุณีย์ จากครูเทคนิค….สู่นักพัฒนาอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>