news Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/news/ National Metal and Materials Technology Center Mon, 23 Jun 2025 03:43:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico news Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/news/ 32 32 เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง และ บพท. ผนึกกำลังจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วม แปรรูปและใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ https://www.mtec.or.th/mtec-thailand-china-symposium-on-innovation-and-sustainability-technology-and-innovation-transfer-on-bamboo-processing-and-its-applications/ Mon, 23 Jun 2025 03:36:29 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38711 8 มิถุนายน 2568 ณ ห้องโลตัส 5-6 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง และ บพท. ผนึกกำลังจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วม แปรรูปและใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

8 มิถุนายน 2568
ณ ห้องโลตัส 5-6 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

            กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างจากไม้ไผ่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระหว่าง เอ็มเทค สวทช. และ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง จัดขึ้นภายในงาน “สัมมนาไทย – จีนด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน: การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม การแปรรูปไม้ไผ่และการประยุกต์ใช้งาน “Thailand – China Symposium on Innovation and Sustainability: Technology and Innovation Transfer on Bamboo Processing and Its Applications” ภายใต้งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. และ ดร.พสุภา ชินวรโสภาค อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม นายหม่า หมิงเกิง ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Counselor (Science and Technology) สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และศาสตราจารย์ ดร.ซรู่ว จาง รองคณบดีวิทยาลัยวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง ดร.ปุ่น เที่ยง บูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ ดร.ลักษมณ สมานสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน 

          ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง (Nanjing Forestry University) ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการแสวงหาและถอดบทเรียนว่าประเทศไทยและจีนสามารถร่วมมือกันอย่างไร ในการปลดล็อกศักยภาพของไม้ไผ่ ทั้งในมิติด้านงานวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ในบริบทจริง ซึ่ง “ไม้ไผ่” ในมุมมองที่เป็นวัสดุชีวภาพที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกทดแทนได้ และมีความหลากหลายในการใช้งาน นับเป็นวัสดุทางเลือกที่มีศักยภาพเป็นอย่างมากและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนสำคัญในการช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเป็นแหล่งวัตถุดิบตั้งต้นในการพัฒนานวัตกรรมวัสดุชีวภาพ โดย สวทช. มีความยินดีและภาคภูมิใจที่ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ผ่านกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดนเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ต่อไป”

          รองศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการเอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า “การลงนามครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง เอ็มเทค สวทช. กับ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง (Nanjing Forestry University) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างจากไม้ไผ่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและดำเนินงานวิจัยที่เสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะด้านการแปรรูปและใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้ในบริบทพื้นที่จริง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ใช้งานได้จริงและเกิดผลกระทบอย่างยั่งยืน”

          สำหรับวัตถุประสงค์ของการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและร่วมอภิปรายแนวโน้มงานวิจัยและเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมวัสดุและความยั่งยืนในปัจจุบัน ตลอดจนการประยุกต์ใช้และต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้มีความยั่งยืนในอนาคต และเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรม ผ่านการจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรและดำเนินงานวิจัยร่วมกันที่เสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในด้านการแปรรูปและใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่พัฒนานำไปสู่การใช้จริงในบริบทพื้นที่จริง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ใช้งานได้จริงและเกิดผลลัพธ์ผลกระทบอย่างยั่งยืนในระยะยาว

          อย่างไรก็ตามความร่วมมือระหว่างสวทช. และ จีนในครั้งนี้ ที่ผ่านมาทาง เอ็มเทค สวทช. มีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ (Technology Localization) โดยใช้กลยุทธ์การจัดหาเทคโนโลยีและเครื่องจักรจากต่างประเทศที่มีการพัฒนาไปไกลมาก ผ่านการออกแบบ พัฒนาและต่อยอดโดยคนไทย จึงเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการใช้งานจริงในระดับผู้ประกอบการไทยและกลุ่มลูกค้าปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของหน่วยงานพันธมิตรจีนและไทย โดยเฉพาะโครงการในลุ่มแม่น้ำโขงของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่เชื่อมโยงทั้ง 2 หน่วยงานนำมาสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ทำให้ เอ็มเทค สวทช. ได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์วัสดุ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง (College of Materials and Engineering, Nanjing Forestry University (NJFU)) นอกจากนี้จากการเยือน NJFU ของคณะจาก เอ็มเทค สวทช. เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ยังเป็นการเพิ่มความมั่นใจของทั้งสองฝ่ายที่จะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการแปรรูปไม้ไผ่ระหว่างจีนและไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของทั้งสองประเทศที่จะได้มีความร่วมมือในด้านใหม่ ๆ อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 50 ปี ซึ่งสะท้อนถึงมิตรภาพและความร่วมมืออันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน 

The post เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยป่าไม้หนานจิง และ บพท. ผนึกกำลังจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วม แปรรูปและใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค สวทช. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Closed Loop Business) สู่ลำปางเมืองน่าอยู่และยั่งยืน https://www.mtec.or.th/mtec-closed-loop-business/ Mon, 23 Jun 2025 03:07:56 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38674 วันที่ 20 มิถุนายน 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง    รองศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Closed Loop Business) สู่ลำปางเมืองน่าอยู่และยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วันที่ 20 มิถุนายน 2568
ณ ห้องประชุมชั้น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

   รองศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) พร้อมด้วย ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง หัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน (WEST) กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC) เอ็มเทค ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและประสานความร่วมมือเชิงบูรณาการ ระหว่างภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อสาธิต และพัฒนาต้นแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมมูลค่าสูงองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง(อบจ.) โดยนางสาวตวงรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) บริษัท ยูเอซี เทรดดิ้ง โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท เทอร์รามินท์ จำกัด บริษัท เดอะวู้ดสมิธ จำกัด บริษัท บริษัท อีมิแน้นท์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) โครงการส่งเสริมและประสานความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม PPPs เพื่อสาธิต และพัฒนาต้นแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน(Closed loop business) ผลิตภัณฑ์เกษตร อุตสาหกรรมมูลค่าสูงจาก Waste to Wealth ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
โดยมีนายกฤษณะ พินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้เกียรติเป็นประธาร และคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบจ.ลำปาง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นเกียรติและร่วมเป็นสักขีพยานภายในงาน

           นายกฤษณะ พินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า ในการดำเนินงานโครงการครั้งนี้ กล่าวว่า จังหวัดลำปาง ได้กำหนดแผนพัฒนาจังหวัด “ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ สู่เมืองแห่งความสุข 2 มิติ Livable & Smart City” เป็นการพัฒนาบนฐานของความรู้ เชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ และสร้างดุลยภาพในการพัฒนาทุกมิติเพื่อไปสู่ความยั่งยืน เป็นเมืองแห่งความสุข 2 มิติ ที่ผสมผสานมนต์เสน่ห์แห่งความเป็นเมืองเก่า และเป็นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และการบริหารจัดการโดยการผลักดัน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) เมืองแห่งความสุข และสังคมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน (Goodness & Happiness /Philosophy of Sufficiency Economy) 2) เมืองแห่งการท่องเที่ยวและบริการ (Art & Culture & Tradition & Geopark)3) เมืองแห่งการเกษตรเชิงคุณภาพ (Agriculture & SDGs )4) เมืองแห่งการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนและการคมนาคมขนส่ง (Livable & Smart City & Smart link / Multiple Logistic Ecosystem & Tourism)5) เมืองแห่งอุตสาหกรรมและหัตถอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Industrial Handicraft & Creative Industry)6) เมืองแห่งการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Nature & Environment)ซึ่งแต่ละบริบทเชิงพื้นที่ในจังหวัดลำปาง ก็มีความแตกต่าง หลากหลาย ซึ่งต้องค้นหา “คำตอบ” ที่เป็นตัวเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน เพื่อขับเคลื่อน“ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ สู่เมืองแห่งความสุข ให้ถึงเป้าหมายความสำเร็จ และในปี พ.ศ.2567 คณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชน เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง(กรอ.) จึงมีการเพิ่มเติมแผนยุทธศาสตร์ “ลำปางเมืองไผ่ และไม้เศรษฐกิจชุมชน” ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแผนเชื่อมโยง 6 ยุทธ์ศาสตร์ของจังหวัดลำปาง เพราะมองเห็นว่าไผ่ คือพืช เกษตร อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ก่อสร้าง เวชสำอาง ยารักษาโรค และพลังงาน เป็นพืชเกษตรหมุนเวียนที่สามารถเชื่อมโยงครอบคลุมทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ ทุกกิจวัตร ทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนในจังหวัดลำปาง

            ด้านนางสาวตวงรัตน์ กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้าง “โมเดลความร่วมมือ” ระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดลำปางอย่างเป็นรูปธรรม “บันทึกข้อตกลงฉบับนี้” จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเข้าถึงตลาด และมีรายได้ยั่งยืน และมีการพัฒนาอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทุกกิจวัตร ทั้งด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม เราจะร่วมกันขับเคลื่อนลำปางสู่อนาคตที่มั่นคง และยั่งยืน โดยความร่วมมือครั้งนี้ มุ่งเน้นเป้าหมายสำคัญ 3 ด้าน 1) ส่งเสริมการฟื้นฟู อนุรักษ์ บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ ของเสียชีวมวลภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนวัตกรรมสังคมที่ช่วยแก้ปัญหาหมอกควัน ไฟป่า การปล่อยก๊าชเรือนกระจก PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม กระบวนการมาตรฐานที่ถูกต้อง เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเกษตร ปศุสัตว์ และอุตสาหกรรม ที่ช่วยลด ชดเชย ทดแทนค่าใช้จ่ายการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อเป็นการปรับตัว รับมือ การเปลี่ยนผ่านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างคุ้มค่า และเป็นธรรม 2) ยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูง จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ ของเสียชีวมวล Wast to Wealth สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่นลำปาง ให้เชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่เกษตร พลังงาน ปศุสัตว์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง สิ่งทอ เวชสำอาง ไปจนถึงการท่องเที่ยวชุมชน ให้ท้องถิ่น ชุมชนในจังหวัดลำปาง ก้าวไปถึงขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ได้รับการยอมรับด้วยมาตรฐานสากล 3) ขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รองรับการซื้อขายในตลาดคาร์บอน (Carbon Market) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตามหลัก SDGs

              นอกจากนี้ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โดยความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ จะเป็นหน่วยงานเฉพาะทางที่สนับสนุนการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านโลหะและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ ของเสียชีวมวลจาก Wast to Wealth ซึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการยกระดับพื้นที่จังหวัดลำปาง สาธิต และพัฒนาต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระบวนการมาตรฐานระดับสากล ตลอดจนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคอุตสาหกรรม และนักลงทุน ในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในอนาคต

ด้านการดำเนินงานและความเชี่ยวชาญของภาคีเครือข่าย
– มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง จะขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมด้วยไผ่ FSC ในฐานะพืชเบิกนำ
– บริษัท ยูเอซี เทรดดิ้ง โซลูชั่นส์ จำกัด จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ เครื่องใช้ในครัวเรือน และไบโอชาร์
– บริษัท เดอะวู้ดสมิธ จำกัด จะผลิตแผ่นบอร์ดไม้ไผ่ เฟอร์นิเจอร์ และถ่าน White Charcoal
– บริษัท อีมิแน้นท์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะพัฒนาแอร์จากเยื่อไม้ไผ่และไส้กรองจากไบโอชาร์
– บริษัท เทอร์รามินท์ จำกัด จะบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน และการบริการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์คาร์บอน (Carbon Sink) CDR/CFP/CFO รองรับการซื้อขายในตลาดคาร์บอน (Carbon Market)

          ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านของจังหวัดลำปางสู่เศรษฐกิจสีเขียวและยั่งยืน โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมร่วมกับวิถีชุมชน เพื่อให้ลำปางก้าวสู่เมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่มั่นคงในระยะยาว

ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาข่าวจาก: เพจ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง https://www.facebook.com/share/p/1C6Jscz9nn/|
ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาข่าวจาก: dailynews online https://www.dailynews.co.th/news/4836310/ 

The post เอ็มเทค สวทช. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Closed Loop Business) สู่ลำปางเมืองน่าอยู่และยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
MTEC สวทช. ชวนผู้ส่งออกไทยเร่งเตรียมข้อมูล “รับมือ CBAM ก่อนถึงกำหนดบังคับใช้เต็มรูปแบบใน EU” https://www.mtec.or.th/mtec-cbam-eu-manufacturing-expo-2025/ Sat, 21 Jun 2025 12:12:53 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38654 19 มิถุนายน 2568 ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. จัดงานสัมมนาหัวข้อ “รับมือมาตรการ CBAM ด้วยความเข้าใจ: การเตรียมข้อมูลสำหรับการส่งออก ... Read more

The post MTEC สวทช. ชวนผู้ส่งออกไทยเร่งเตรียมข้อมูล “รับมือ CBAM ก่อนถึงกำหนดบังคับใช้เต็มรูปแบบใน EU” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

19 มิถุนายน 2568
ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

           ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. จัดงานสัมมนาหัวข้อ “รับมือมาตรการ CBAM ด้วยความเข้าใจ: การเตรียมข้อมูลสำหรับการส่งออก EU” ภายในงาน Manufacturing Expo 2025 เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทยรับมือกับมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism – CBAM) ของสหภาพยุโรป (EU) ที่กำลังจะบังคับใช้เต็มรูปแบบ

          งานสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทีมวิจัยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) เอ็มเทค สวทช. ได้แก่ คุณวันวิศา ฐานังขะโน และนางสาวณัฐสุดา ยกชู ซึ่งได้ให้ความรู้เจาะลึกเกี่ยวกับ CBAM และแนวทางการเตรียมข้อมูลอย่างถูกต้อง โดยอธิบายว่า CBAM เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย European Green Deal และมาตรการ “Fit for 55” ของ EU มีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) และเพิ่มความชอบธรรมในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมในสหภาพยุโรป สินค้าที่อยู่ในเฟสแรกของมาตรการประกอบด้วยเหล็กและเหล็กกล้า, อะลูมิเนียม, ซีเมนต์, ปุ๋ย, ไฮโดรเจน และไฟฟ้า ผู้ประกอบการควรตรวจสอบรหัส CN Code ของสินค้าตนเองอย่างละเอียด เนื่องจากไม่ใช่ทุกรหัสสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จะถูกบังคับให้รายงานค่า CBAM และในอนาคตมีแนวโน้มจะขยายขอบเขตไปยังเซรามิกและแก้ว

          ปัจจุบันมาตรการ CBAM อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2568 ซึ่งผู้ประกอบการมีหน้าที่เพียงรายงานข้อมูลการนำเข้าและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุก 3 เดือน โดยยังไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าคาร์บอน ส่วนระยะบังคับใช้จริง (Definitive Period) เดิมกำหนดวันที่ 1 มกราคม 2569 มีแนวโน้มจะเลื่อนออกไปเป็น 1 มกราคม 2570 ซึ่งจะเริ่มมีการเรียกเก็บเงินค่าคาร์บอน และการรายงานจะเปลี่ยนเป็นการรายงานปีละครั้งภายในวันที่ 31 พฤษภาคม (และมีแนวโน้มเลื่อนเป็นเดือนตุลาคม) สำหรับสินค้าที่มีปริมาณการส่งออกน้อยกว่า 50 ตันต่อปีจะได้รับการยกเว้นจากมาตรการนี้

           การคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ฝังอยู่ในสินค้า (Specific Embedded Emission) จะพิจารณาเฉพาะการปล่อยก๊าซโดยตรงจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต รวมถึงการปล่อยก๊าซทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้าและความร้อน ซึ่งแตกต่างจากการคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ (CFP) หรือคาร์บอนฟุตพรินต์องค์กร (CFO) หากนำมาใช้โดยตรงอาจทำให้ค่าสูงเกินจริงและเสียเปรียบได้ ผู้ส่งออกจะต้องซื้อ CBAM Certificate ซึ่ง 1 ใบรับรองเท่ากับปริมาณคาร์บอน 1 ตันที่ปล่อยเกินจากที่กำหนด โดยราคาจะอ้างอิงกับราคาปิดเฉลี่ยรายสัปดาห์ของสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในตลาดสหภาพยุโรป (EU ETS) ที่มีการผันผวนคล้ายหุ้น และในระยะบังคับใช้จริงจะต้องมีการรับรองข้อมูลโดยผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต

          ทั้งนี้ EU ได้จัดเตรียม CBAM Communication Template (ไฟล์ Excel) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการกรอกและรายงานข้อมูล โดยผู้ประกอบการควรใช้ Template เวอร์ชันล่าสุดเสมอ (ปัจจุบันคือ 2.1.1) แม้จะอนุญาตให้ใช้ค่า Default Value หากไม่สามารถหาข้อมูลจริงจากซัพพลายเออร์ได้ แต่ค่าเหล่านี้มักจะถูกกำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการจัดหาข้อมูลจริงจากต้นทาง

เอ็มเทค สวทช. พร้อมเป็นพันธมิตรสำคัญในการสนับสนุนและให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการไทย เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมและปรับตัวรับมือกับมาตรการ CBAM ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างโอกาสและขยายตลาดสำหรับสินค้าไทยที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำในเวทีโลก

 

 

The post MTEC สวทช. ชวนผู้ส่งออกไทยเร่งเตรียมข้อมูล “รับมือ CBAM ก่อนถึงกำหนดบังคับใช้เต็มรูปแบบใน EU” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
MTEC สวทช. ชวนผู้ประกอบการไทยสู่ Industry 4.0 ตรวจสุขภาพโรงงานฟรี เรียนรู้ Digital Twin https://www.mtec.or.th/mtec-digital-twin/ Sat, 21 Jun 2025 11:55:55 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38631 19 มิถุนายน 2568 ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร           ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. ... Read more

The post MTEC สวทช. ชวนผู้ประกอบการไทยสู่ Industry 4.0 ตรวจสุขภาพโรงงานฟรี เรียนรู้ Digital Twin appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

19 มิถุนายน 2568
ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

          ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 โดยได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ “บทบาทของเทคโนโลยี Digital Twin ในยุค Industry 4.0” ภายในงาน Manufacturing Expo 2025 ณ ไบเทค บางนา บรรยายโดย ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ และ ดร.ยศกร ประทุมวัลย์ นักวิจัยจากทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ เอ็มเทค สวทช.

          สำหรับ Digital Twin หรือ “ฝาแฝดดิจิทัล” ถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน Industry 4.0 ซึ่งเป็นการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุ กระบวนการ หรือระบบทางกายภาพขึ้นมาในโลกดิจิทัล และเชื่อมโยงกับข้อมูลจริงแบบเรียลไทม์ผ่านเซ็นเซอร์ IoT ทำให้สามารถเฝ้าระวัง วิเคราะห์ และทำนายพฤติกรรมได้อย่างแม่นยำ เทคโนโลยี Digital Twin แบ่งออกเป็น 3 ระดับหลัก 

Tier 3: Geometry Engineering (3D CAD) เป็นระดับพื้นฐานที่สร้างโมเดลดิจิทัล 3 มิติด้วยโปรแกรม CAD ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การสร้างแบบจำลอง 3 มิติสำหรับวางแผนกู้ภัยในกรณีตึกถล่ม หรือการทำแผนผังท่อใต้ดินในโรงงานเพื่อให้การทำงานแม่นยำกว่าการวัดด้วยมือ

Tier 2: Engineering Simulation (CAE) เป็นการนำโมเดล 3 มิติมาผนวกกับการจำลองทางวิศวกรรม (CAE) เช่น Finite Element Analysis (FEA) และ Computational Fluid Dynamics (CFD) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น การออกแบบล้อแม็กให้แข็งแรงแต่เบา การวิเคราะห์การกระจายความร้อนในโรงไฟฟ้า หรือการหาสาเหตุเพลาหักในโรงงาน

Tier 1: Simulation-Based Digital Twin คือระดับสูงสุดที่จำลองผลลัพธ์ทุกกรณีล่วงหน้าและจัดเก็บในรูปแบบ “Reduced Order Model (ROM)” เมื่อได้รับข้อมูลเรียลไทม์จากเซ็นเซอร์ จะสามารถคำนวณและแสดงผลต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงาน อัตราการสึกหรอ ได้ภายในเสี้ยววินาที เทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์และการเฝ้าติดตามสินทรัพย์แบบเรียลไทม์

           สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการยกระดับสู่ Industry 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Digital Twin ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการแข่งขันในยุคดิจิทัล MTEC สวทช. มีทีมวิจัย CAE ที่เชี่ยวชาญพร้อมให้บริการหลากหลาย อาทิ การบริการทดสอบ, การฝึกอบรมเชิงเทคนิค (Finite Element, CFD, การออกแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรม, วัสดุศาสตร์), การให้คำปรึกษาทางเทคนิค, การรับจ้างวิจัย และร่วมวิจัย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SME ยังสามารถรับส่วนลดค่าบริการครึ่งหนึ่งจากการสนับสนุนของหน่วยงาน iTAP ของ สวทช. อีกด้วย

The post MTEC สวทช. ชวนผู้ประกอบการไทยสู่ Industry 4.0 ตรวจสุขภาพโรงงานฟรี เรียนรู้ Digital Twin appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค สวทช. ชูนวัตกรรม “กันเธอ–เจนีน” ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 https://www.mtec.or.th/mtec-thailand-research-expo-2025/ Fri, 20 Jun 2025 01:54:39 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38613 กรุงเทพฯ – ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัวนวัตกรรม “Gunther IMU – Janine Application” ระบบตรวจจับและป้องกันการหกล้มด้วยปัญญาประดิษฐ์ ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. ชูนวัตกรรม “กันเธอ–เจนีน” ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

กรุงเทพฯ – ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัวนวัตกรรม “Gunther IMU – Janine Application” ระบบตรวจจับและป้องกันการหกล้มด้วยปัญญาประดิษฐ์ ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

         เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2568 ดร.ศราวุฒิ เลิศพลังสันติ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช. ได้ขึ้นกล่าวบนเวที Highlight Stage เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการวิจัย “กันเธอ–เจนีน” ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โครงการนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อประเมินและลดความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุ ผ่านการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีหลัก 2 ส่วน ได้แก่ “กันเธอ” (Gunther) อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหวแบบสวมใส่ขนาดเล็ก และ “เจนีน” (Janine) แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์กันเธอเพื่อติดตาม วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง จากการทดสอบใช้งานร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 50 คน โครงการได้รับผลตอบรับในเชิงบวก ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพในการขยายผลใช้งานในวงกว้าง โดยคาดว่าจะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นใจ มีสุขภาพดี และใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น

         หลังจากนั้น ดร.พิมพ์พิมล แดงอินทวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้บรรยายในหัวข้อ “Fall Insight: รู้ทัน ป้องกันการหกล้ม” โดยเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า หนึ่งในสามของผู้สูงอายุทั่วโลกจะประสบกับการหกล้มในแต่ละปี และในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต โดยปัจจัยเสี่ยงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของร่างกายตามวัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของระบบหลอดเลือด หัวใจ สายตา การได้ยิน กล้ามเนื้อ กระดูก ระบบประสาท รวมถึงโรคประจำตัวและการใช้ยาหลายชนิด และปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่ไม่เหมาะสม

การประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นสามารถทำได้โดยใช้แบบทดสอบ Time Up and Go Test หากใช้เวลาในการลุก เดิน และกลับมานั่งเกิน 13.5 วินาที จะถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการหกล้ม พร้อมกันนี้ยังได้แนะนำแนวทางการป้องกันที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกสวมรองเท้าที่เหมาะสม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

       ด้าน ดร.เปริน วันแอเลาะ นักวิจัยจาก MTEC สวทช. ได้อธิบายรายละเอียดของนวัตกรรม โดยระบุว่า “กันเธอ” (Gunther) เป็นอุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย และสามารถสั่นเตือนเบา ๆ เมื่อผู้ใช้อยู่ในท่าทางที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ โดยออกแบบให้สวมใส่ร่วมกับเสื้อผ้าในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก ขณะที่ “เจนีน” (Janine) เป็นแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่เสมือนโค้ชส่วนตัว แสดงผลการเคลื่อนไหว ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบทดสอบ Time Up and Go Test และสามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลทันทีหากเกิดการหกล้ม ทั้งยังออกแบบอินเทอร์เฟซให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ทั้งในด้านขนาดตัวอักษรและโทนสี เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงได้จริง

          เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าใจการทำงานของระบบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คุณฮาซียะห์ แวหามะ ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัยจาก MTEC ได้สาธิตการใช้งานแบบเรียลไทม์ โดยแสดงให้เห็นว่า Time Up and Go Test สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยใช้เพียงเก้าอี้ที่มั่นคงและพื้นที่ว่างประมาณ 3 เมตร แอปพลิเคชันจะเริ่มจับเวลาเมื่อผู้ใช้ลุกจากเก้าอี้ เดินไปกลับ และกลับมานั่ง จากนั้นจะแสดงผลการประเมินทันที พร้อมบันทึกข้อมูลย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามความก้าวหน้าของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเข้าใจง่าย การสาธิตนี้ช่วยตอกย้ำถึงประโยชน์ของนวัตกรรมที่มุ่งส่งเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง

           ตลอดระยะเวลาการจัดงานระหว่างวันที่ 16–20 มิถุนายน 2568 นวัตกรรม Gunther IMU – Janine Application ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานอย่างต่อเนื่อง ณ บูทนิทรรศการในโซน Highlight ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 โดยมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ควบคู่กับการสาธิตการทำงานของระบบ Gunther และแอปพลิเคชัน Janine ผ่านอุปกรณ์จริงและสื่อมัลติมีเดีย ช่วยให้ผู้เข้าชมเห็นภาพการใช้งานในสถานการณ์จริงได้อย่างชัดเจน สะท้อนถึงศักยภาพของงานวิจัยไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์สังคมสูงวัย และมีความพร้อมในการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในระดับชุมชนและประเทศต่อไป

The post เอ็มเทค สวทช. ชูนวัตกรรม “กันเธอ–เจนีน” ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค สวทช. นำเสนอนวัตกรรมการจัดการภาวะกลืนลำบากด้วยหลักวิศวกรรมศาสตร์ https://www.mtec.or.th/mtec-dysphagia-food-innovation-asia-conference-2025/ Wed, 18 Jun 2025 04:01:12 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38559 13 มิถุนายน 2568 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร           ดร. ชัยวุฒิ กมลพิลาส หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. นำเสนอนวัตกรรมการจัดการภาวะกลืนลำบากด้วยหลักวิศวกรรมศาสตร์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

13 มิถุนายน 2568
ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร

          ดร. ชัยวุฒิ กมลพิลาส หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมการจัดการภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ภายใต้หัวข้อ “An Engineering Approach to Advancing Dysphagia Management” ในงานประชุมวิชาการ Food Innovation Asia Conference 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 มิถุนายน 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร

          การนำเสนอของ ดร. ชัยวุฒิ เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการ Food Innovation Asia Conference 2025 ภายใต้แนวคิด “Frontier of Food Transformation towards Technology, Sustainability and Innovation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักเทคโนโลยีและนักวิทยาศาสตร์อาหารจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกได้เชื่อมโยง แบ่งปันประสบการณ์ และสร้างเครือข่าย เพื่อเน้นย้ำความก้าวหน้าสำคัญในการวิจัยและนวัตกรรมอาหาร พร้อมทั้งมุ่งเน้นแนวโน้ม ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

 

           นวัตกรรมการจัดการภาวะกลืนลำบากที่นำเสนอในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้หลักการทางวิศวกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจำนวนมาก การพัฒนาในครั้งนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

The post เอ็มเทค สวทช. นำเสนอนวัตกรรมการจัดการภาวะกลืนลำบากด้วยหลักวิศวกรรมศาสตร์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค สวทช. โชว์ศักยภาพงานวิจัยด้านอาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ในงาน “The 9th Thailand Healthcare Facilities Management Excellence Seminar” https://www.mtec.or.th/mtec-thailand-healthcare-facilities-management-excellence-seminar/ Mon, 16 Jun 2025 06:00:11 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38533 13 มิถุนายน 2568 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ           ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. โชว์ศักยภาพงานวิจัยด้านอาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ในงาน “The 9th Thailand Healthcare Facilities Management Excellence Seminar” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

13 มิถุนายน 2568
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ

          ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Patient Food Service Future Healthcare: อาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค/ผู้สูงอายุ” ในงานสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี 2568 เรื่อง “ความเป็นเลิศด้านระบบสิ่งสนับสนุนโรงพยาบาลในประเทศไทยประจำปี” ครั้งที่ 9 (The 9th Thailand Healthcare Facilities Management Excellence Seminar) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการระบบสิ่งสนับสนุนทางการแพทย์ ด้านวิศวกรรมเครื่องมือแพทย์ วิศวกรรมอาคาร ระบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยปีนี้จัดขึ้นใน Theme: Decentralized Healthcare and role of HFM Service (ระบบสิ่งสนับสนุนโรงพยาล กับการดูแลระบบสุขภาพแบบกระจายศูนย์)

          ภายในงานดังกล่าว เอ็มเทค สวทช. ได้จัดแสดงผลงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์อาหาร ประกอบด้วย
– IDDSI Flow Tester, Fork Tester: เครื่องมือทดสอบสำหรับประเมินระดับความหนืดของอาหารตามมาตรฐาน IDDSI (International Dysphagia Diet Standardisation Initiative) เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก

– อาหารผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวการณ์เคี้ยวและการกลืนลำบาก: ผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านโภชนาการและแก้ปัญหาการเคี้ยวและการกลืนของผู้สูงอายุ

– สารปรับสมบัติรีโอโลยีจากเมือกเม็ดแมงลัก: การนำวัตถุดิบธรรมชาติมาพัฒนาเป็นสารปรับปรุงเนื้อสัมผัสอาหาร ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการผลิตอาหารสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ

          การเข้าร่วมงานครั้งนี้ เป็นการนำเสนอถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของเอ็มเทค สวทช. ในการพัฒนางานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์อาหาร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของสังคมสูงวัยและความต้องการของระบบบริการสุขภาพในอนาคต

The post เอ็มเทค สวทช. โชว์ศักยภาพงานวิจัยด้านอาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ในงาน “The 9th Thailand Healthcare Facilities Management Excellence Seminar” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค สวทช. จัดการประชุมระดมสมอง Biochar Consortium ครั้งที่ 2.2 (จัดใหม่) https://www.mtec.or.th/mtec-biochar-consortium2-2/ Thu, 12 Jun 2025 06:55:30 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38461 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร กำหนดจัด การประชุมระดมสมอง Biochar Consortium ครั้งที่ 2.2 (จัดใหม่) ขึ้นในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. จัดการประชุมระดมสมอง Biochar Consortium ครั้งที่ 2.2 (จัดใหม่) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

          ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร กำหนดจัด การประชุมระดมสมอง Biochar Consortium ครั้งที่ 2.2 (จัดใหม่) ขึ้นในวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2568 เวลา 09:00 – 16:30 น. ผ่านระบบประชุมออนไลน์ WebEx โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในห่วงโซ่คุณค่าไบโอชาร์ (Biochar Value Chain) และสร้างโอกาสความร่วมมือใหม่และพัฒนาโครงการร่วม รวมถึงการขอรับทุนสนับสนุนในอนาคต

           ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษและแบ่งปันประสบการณ์ อาทิ

• Mr. Brett Shields – Chief Technical Advisor, AFFIRM Project, Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) นำเสนอ “An overview presentation on biochar”

• รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
นำเสนอ “บทบาทของ บพท. ต่อการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านไบโอชาร์ของประเทศไทย”

รศ. ดร. สุนีรัตน์ ฟูกุดะ นำเสนอ “สถานะปัจจุบันของการวิจัยไบโอชาร์ในประเทศไทย”

รศ. ดร. อภินิติ โชติสังกาศ และคุณคมชลัช ทองติ่ง นำเสนอ “ระบบนิเวศของไบโอชาร์”

•  คุณขวัญภิรมย์ฑร สุขศรีญ์ Global Head of Development and Compliance, Biochar Life Co., Ltd. แบ่งปันประสบการณ์ “การทำงานกับเกษตรกรในโลกเรื่องไบโอชาร์”

คุณพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แบ่งปันประสบการณ์ “สูตรสำเร็จไบโอชาร์ในประเทศไทย”

          ช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมระดมสมองภายใต้หัวข้อ “การอภิปรายเกี่ยวกับความต้องการด้านความช่วยเหลือทางเทคนิคในห่วงโซ่คุณค่าของไบโอชาร์” โดยมี รศ. ดร. เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (UNISERV) เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมทั้งมีการรายงานผลการอภิปรายและการเปิดเวทีถาม-ตอบ ก่อนปิดการประชุมโดย ดร.ชัญชณา ธนชยานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

           การประชุมในครั้งนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีไบโอชาร์ นักวิจัย ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมได้ฟรี

รับชม VDO ย้อนหลังและเอกสารประกอบการประชุม VDO Recording (rerun) และ เอกสารประกอบการประชุม: https://drive.google.com/drive/folders/1slM–OOIRs8Mk7gMQvnbPhBa9RaIsH-1?usp=sharing

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
โทร. 0 2564 6500 ต่อ 4795, E-mail: priawthida.jan@mtec.or.th (เปรียวธิดา)
โทร. 0 2564 6500 ต่อ 4416, E-mail: natnicha.phi@mtec.or.th (ณัฐนิชา)

The post เอ็มเทค สวทช. จัดการประชุมระดมสมอง Biochar Consortium ครั้งที่ 2.2 (จัดใหม่) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
สวทช. ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกกำลังพันธมิตร ดัน “อะลูมิเนียมดรอส” สู่การสิ้นสุดความเป็นของเสียอย่างยั่งยืน https://www.mtec.or.th/mtec-aluminum-dross/ Wed, 11 Jun 2025 01:49:52 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38348 วันที่ 10 มิถุนายน 2568 อุทยานวิทยาศาสตร์ปรเทศไทย จ.ปทุมธานี            ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ ... Read more

The post สวทช. ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกกำลังพันธมิตร ดัน “อะลูมิเนียมดรอส” สู่การสิ้นสุดความเป็นของเสียอย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วันที่ 10 มิถุนายน 2568

อุทยานวิทยาศาสตร์ปรเทศไทย จ.ปทุมธานี

 

           ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ และกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. พร้อมด้วยคณะจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม นำโดย คุณเอกบุตร อุตมพงศ์ นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน รวมถึงผู้แทนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม และสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ได้เข้าเยี่ยมชม บริษัท แคป โกลบอล อลูมิเนียม จำกัด

 

          การเยี่ยมชมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในโครงการ “แนวทางการปรับสภาพและการนำอะลูมิเนียมดรอสกลับมาใช้ประโยชน์ และผลักดันสู่การสิ้นสุดความเป็นของเสีย (End-of-Waste) อย่างยั่งยืน” โดยบริษัท แคป โกลบอล อลูมิเนียม จำกัด ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ที่สำคัญภายใต้โครงการดังกล่าว

          นอกจากนี้ คณะผู้เข้าเยี่ยมชมยังได้เข้าชมห้องปฏิบัติการวิจัยของเอ็มเทค และนาโนเทค ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนงานวิจัยด้านการนำของเสียมาใช้ประโยชน์ (Waste Utilization) และการสิ้นสุดความเป็นของเสีย (End of Wastes) อาทิ กระบวนการปรับสภาพดรอสระดับ Pilot scale ของเอ็มเทค, กระบวนการ Spray Dry สำหรับผลิตผงซักฟอก (Detergent) จากไบโอโซเดียมซิลิเกต, ห้องปฏิบัติการเซรามิกคะตะลิสต์และคาร์บอน รวมถึงห้องปฏิบัติการนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

           ทั้งนี้ สวทช. มีข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการผลักดันการเพิ่มมูลค่ากากอุตสาหกรรมให้เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End of Waste) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยกิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญในการร่วมกันผลักดันแนวคิด End of Waste ให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม

The post สวทช. ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกกำลังพันธมิตร ดัน “อะลูมิเนียมดรอส” สู่การสิ้นสุดความเป็นของเสียอย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
เอ็มเทค สวทช. พัฒนาเรือช้อนตักขยะต้นแบบ แก้ปัญหาวัชพืชในคลองพื้นที่บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม https://www.mtec.or.th/mtec-nstdasamut-songkhram/ Mon, 09 Jun 2025 04:05:51 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38225 วันที่ 6 มิถุนายน 2568พื้นที่ตำบลบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม        ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ... Read more

The post เอ็มเทค สวทช. พัฒนาเรือช้อนตักขยะต้นแบบ แก้ปัญหาวัชพืชในคลองพื้นที่บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

วันที่ 6 มิถุนายน 2568
พื้นที่ตำบลบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

       ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ดำเนินการพัฒนาต้นแบบเรือช้อนตักขยะและกำจัดวัชพืชในคลองซอย เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหาการสะสมของวัชพืชในคลองซอย ภายในพื้นที่ตำบลบางคนที อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

        การลงพื้นที่ในครั้งนี้นำโดย ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ รองผู้อำนวยการเอ็มเทค พร้อมคณะนักวิจัย โดยได้รับการต้อนรับจาก นางสาวเรณู เล็กนิมิตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที และคณะ พร้อมร่วมหารือถึงการแก้ไขปัญหาที่ทาง อบต. บางคนที ได้ประสบปัญหาวัชพืชสะสมและกีดขวางทางระบายน้ำและการสัญจรในคลองซอยและทางน้ำสายย่อยซึ่งเชื่อมจากแม่น้ำแม่กลอง อีกทั้งยังก่อให้เกิดการเน่าเสียของน้ำในระยะยาว

          ในโอกาสนี้ เอ็มเทค โดยทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ได้พัฒนาผลงานต้นแบบเรือช้อนตักขยะและกำจัดวัชพืชในคลองซอย ที่มีจุดเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล ความต้องการของผู้ใช้ เพื่อการออกแบบที่เหมาะสมในเชิงวิศวกรรม การใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่เกิดประโยชน์และสร้างผลกระทบในเชิงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ด้วยงบประมาณวิจัยภายใต้โครงการ สร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          การดำเนินงานดังกล่าว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดย อบต. บางคนที ประสานไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขอความอนุเคราะห์เรือช้อนตักขยะและกำจัดวัชพืชในคลองซอย มุ่งหวังให้เป็นเครื่องทุนแรงในกิจกรรมลงแขกลงคลอง ซึ่งเป็นการระดมแรงงานชาวบ้านในพื้นที่เพื่อการจัดการเปิดทางน้ำ จัดเก็บวัชพืชที่กัดขวาง และพัฒนาปรับปรุงส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่คลองซอยให้รองรับการทำหน้าที่ระบายน้ำ และช่องทางสัญจรหลักของชุมชนที่ยังอยู่ในวิถีครัวเรือนที่ใช้ชีวิตร่วมกับแหล่งน้ำ ที่มรกิจกรรมการเกษตร และการสัญจรทางเรือ เป็นหลัก ซึ่งเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 ทีมวิจัยได้ส่งมอบผลงานต้นแบบเรือช้อนตักขยะและกำจัดวัชพืชในคลองซอย ให้แก่ อบต. บางคนที พร้อมติดตามการใช้งานเพื่อประเมินและรวบรวมข้อมูลด้านเทคนิคสำหรับการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติม โดยการติดตามการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ผลงานต้นแบบเรือช้อนตักขยะและกำจัดวัชพืชในคลองซอย สามารถใช้งานได้ดี และใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผลงาน

         จากความสำเร็จในกิจกรรมดังกล่าว ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จะยังคงเดินหน้าในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเครื่องจักรกลต้นแบบที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ต่อไป

The post เอ็มเทค สวทช. พัฒนาเรือช้อนตักขยะต้นแบบ แก้ปัญหาวัชพืชในคลองพื้นที่บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>