กัดกร่อน Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/กัดกร่อน/ National Metal and Materials Technology Center Mon, 31 Mar 2025 08:43:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico กัดกร่อน Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/กัดกร่อน/ 32 32 หลักสูตรอบรม “การเสียหายที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน: : กรณีศึกษาและการเลือกใช้วัสดุ” (วันที่ 19-20 มิถุนายน 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-77489-2-2-3/ Tue, 25 Mar 2025 04:37:19 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35938 หลักสูตรอบรม “การเสียหายที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน: กรณีศึกษาและการเลือกใช้วัสดุ” (วันที่ 19-20 มิถุนายน 2568) หลักสูตรอบรม การเสียหายที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน: กรณีศึกษาและการเลือกใช้วัสดุ (High-Temperature Failure in Petrochemical and ... Read more

The post หลักสูตรอบรม “การเสียหายที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน: : กรณีศึกษาและการเลือกใช้วัสดุ” (วันที่ 19-20 มิถุนายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม “การเสียหายที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน: กรณีศึกษาและการเลือกใช้วัสดุ” (วันที่ 19-20 มิถุนายน 2568)

หลักสูตรอบรม 
การเสียหายที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน: กรณีศึกษาและการเลือกใช้วัสดุ
(High-Temperature Failure in Petrochemical and Energy Industries: Case Studies and Material Selection)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ร่วมกับ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2568 เวลา 9:00-16:45 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
     อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินการภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูง การเสื่อมสภาพของวัสดุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ การสัมผัสกับสภาพแวดล้อมซึ่งเต็มไปด้วยก๊าซ ของแข็ง (เช่น เถ้าและตะกรันเกลือ) หรือของเหลว (เช่น โลหะที่หลอมละลายและเกลือที่หลอมละลาย) ทำให้โลหะผสมที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดการกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูง ซึ่งนำไปสู่การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนโลหะ และสามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานโดยรวมอย่างรุนแรง
     การเสื่อมสภาพจากการกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูงสามารถเกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ เช่น ออกซิเดชัน, คาร์บูไรเซชัน, ฝุ่นโลหะ, ไนไตรเดชัน, คาร์บอนไนไตรเดชัน, ซัลฟิเดชัน และคลอริเดชัน ทำให้ประสิทธิภาพของวัสดุลดลงและชิ้นส่วนโลหะเกิดความเสียหายอย่างรวดเร็ว ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ปิโตรเคมี, ผลิตไฟฟ้า, กลั่นน้ำมัน, การบินและอวกาศ, การแปรรูปโลหะ, ยานยนต์ และการเผาขยะ ปัญหาการกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูงมีความสำคัญมาก เพราะอาจนำไปสู่การล้มเหลวของระบบ, ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูงขึ้น และการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต
     อุตสาหกรรมในประเทศไทยพบว่า การกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูงเกิดขึ้นได้หลากหลายสภาพแวดล้อมและได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ เช่น อุณหภูมิ, ความเค้น, ความหลากหลายของโลหะผสมและชั้นเคลือบ, เวลาในการใช้งาน, และองค์ประกอบของบรรยากาศ รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม การเข้าใจและจัดการกับปัญหานี้อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ, สังคม และสิ่งแวดล้อม
     หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการนี้จึงถูกพัฒนา เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาการกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูงอย่างครอบคลุมและเป็นระบบ ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการกัดกร่อนในอุณหภูมิสูง และเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหาย รวมทั้งได้เรียนรู้กรณีศึกษาความเสียหายของชิ้นส่วนในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
1. เข้าใจความสำคัญของความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
2. ทราบถึงหลักการ กลไก และสาเหตุความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
3. ทราบรูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
4. ทราบถึงเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการในการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
5. สามารถเลือกใช้โลหะและวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
6. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง

กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 19 มิถุนายน 2568
08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 น. – 10.30 น.  ความรู้เบื้องต้น รู้จักโลหะที่ใช้ในอุณหภูมิสูง
                                   นิยามของความเสียหายที่อุณหภูมิสูง รูปแบบของความเสียหายที่อุณหภูมิสูง (Creep, Thermal Fatigue, Thermal-Mechanical Fatigue, Creep-Fatigue Interactions)
                                   โดย ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
10.30 น. – 10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น.  รูปแบบของความเสียหายที่อุณหภูมิสูง (Oxidation, High Temperature Corrosion)
                                  โดย ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
12.00 น. – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.15 น.  เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูง
                                 โดย อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
14.15 น. – 14.30 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
14.30 น. – 16.45 น.  ภาคปฏิบัติ:การประยุกต์ใช้เทคนิคทางโลหะวิทยาในการตรวจสอบความเสียหายที่อุณหภูมิสูง (แบ่งเป็น 5 กลุ่ม) โดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุง
                                            1.อ.สยาม แก้วคำไสย์                 2.อ.นิรุช บุญชู
                                            3.อ.วิษณุพงษ์ คนแรง                4.อ.วราพงศ์ ถองกระโทก
                                            5.อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว               6.อ.ดวงรดา ยุทธกำธร
                                            7.อ.เบญจวรรณ ทองชื่นตระกูล  8.อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
                                        สถานีที่ 1. เทคนิคการตรวจสอบผลิตภัณฑ์การกัดกร่อนและคราบออกไซด์ด้วย SEM/EDS, EDXRF และ XRD
                                        สถานีที่ 2. เทคนิคการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคเพื่อตรวจสอบการตกตะกอนของคาร์ไบด์ตามขอบเกรนของ SS304H และการเสียหายด้วยรูปแบบคาร์บูไรเซชั่นของ HP steel
                                        สถานีที่ 3. เทคนิคการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคด้วย SEM เพื่อตรวจสอบการเกิด Creep, Thermal fatigue และการแตกร้าวตามขอบเกรนของวัสดุทนความร้อนสูง รวมทั้งเทคนิค SEM Mapping และ Line canning
                                        สถานีที่ 4. เทคนิคการตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีของวัสดุที่เสื่อมสภาพจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
                                        สถานีที่ 5. เทคนิคการลอกลายเพื่อตรวจสอบช่องว่างจากการคืบ (Creep voids) ของ โลหะผสมทนความร้อนสูง

วันที่ 20 มิถุนายน 2568
09.00 น. – 10.30 น.  การเลือกใช้วัสดุเพื่อป้องกันความเสียหายที่อุณหภูมิสูง
                                   โดย ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
10.30 น. – 10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น.  อัพเดตเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุสำหรับอุณหภูมิสูง
                                    – วัสดุใหม่สำหรับอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี
                                    – แนวโน้มการพัฒนา Superalloys และเซรามิกขั้นสูง
                                    – เทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุที่อุณหภูมิสูง
                                   โดย ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
12.00 น. – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น.  กรณีศึกษาความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและการขึ้นรูปวัสดุที่อุณหภูมิสูง
                                  โดย อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
14.30 น. – 14.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
14.45. น. – 16.30 น.  กรณีศึกษาความเสียหายของโลหะที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงาน
                                  โดย อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
16.30. น. – 16.45 น.  ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ทีมวิทยากร


ดร. เอกรัตน์ ไวยนิตย์
ผู้อำนวยการ
กลุ่มวิจัยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (RMT)

ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ


อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน (CTT)
1. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
2. อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน

ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและวิศวกรรมการเชื่อถือ (FARE)
1.อ.สยาม แก้วคำไสย์
2.อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
3.อ.นิรุช บุญชู
4.อ.วิษณุพงษ์ คนแรง
5.อ.วราพงศ์ ถองกระโทก
6.อ.ดวงรดา ยุทธกำธร

ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน 8,453 บาท/ท่าน
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรรัฐ 7,900 บาท/ท่าน
**รับสมัครจำนวน 25 ท่าน เท่านั้น**

หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google Form: https://forms.gle/trobEqPYEMYdQjcH6

**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม “การเสียหายที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน: : กรณีศึกษาและการเลือกใช้วัสดุ” (วันที่ 19-20 มิถุนายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-77489-2/ Tue, 07 Jan 2025 04:47:15 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=33894 หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) หลักสูตรอบรมการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน(Corrosion Failure Analysis Workshop) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันที่ 13-14 มีนาคม 2568 ... Read more

The post หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
(Corrosion Failure Analysis Workshop)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันที่ 13-14 มีนาคม 2568 เวลา 9.00-16.45 น.
สถานที่ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
     ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า ต้นทุนความเสียหายจากการกัดกร่อนทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.4% ของ GDP โลก (ปี 2013) ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา การสำรวจในปี ค.ศ. 2002 พบว่าความเสียหายจากการกัดกร่อนมีมูลค่าประมาณ 3.1% ของ GNP หรือประมาณ 276 พันล้านเหรียญสหรัฐ
     สำหรับประเทศไทย การสำรวจต้นทุนการกัดกร่อนครั้งแรกอย่างเป็นระบบ (Corrosion Cost Survey in Thailand) ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2554 พบว่ามูลค่าความเสียหายจากการกัดกร่อนอยู่ที่ประมาณ 466,600 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.8% ของ GDP ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเสียหายจากการกัดกร่อนมีต้นทุนที่สูงมาก
     ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านการกัดกร่อนของโลหะ เพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้วัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลังงาน โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมกระดาษ เป็นต้น ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
   •การเลือกวัสดุที่เหมาะสม
   •การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง
   •การวิเคราะห์หาสาเหตุของความเสียหาย
     การดำเนินการเหล่านี้จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
     หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการกัดกร่อน โดยมีการบรรยายจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมากกว่า 25 ปี พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
วัตถุประสงค์ 
   1. เข้าใจความสำคัญของการกัดกร่อนที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม
   2. ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
   3. ทราบถึงกลไก สาเหตุ และการป้องกันการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ
   4. ทราบถึงเทคนิคการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
   5. ทราบเทคนิคและเครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมการกัดกร่อน
   6. ได้เรียนรู้การเสียหายจากการกัดกร่อนด้วยรูปแบบต่างๆ ผ่านกรณีการวิเคราะห์ความเสียหาย
   7. ได้เห็นและสังเกตลักษณะความเสียหายจากการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานจริง
   8. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
 
รูปแบบกิจกรรม
     อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
 
กลุ่มเป้าหมาย
     ทุกอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาด้านการกัดกร่อน และต้องการหาสาเหตุรวมไปถึงวิธีป้องกันอย่างถูกวิธี

ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
Ph.D. (Materials Science and Engineering)

อ.สยาม แก้วคำไสย์
M. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
M. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.นิรุช บุญชู
M. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
B. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.วิษณุพงษ์ คนแรง
B. Eng. (Materials Engineering and Production Technology)

วิทยากร 
   1. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
   2. อ.สยาม แก้วคำไสย์; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
   3. อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
   4. อ.นิรุช บุญชู; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
   5. อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน; B. Eng. (Metallurgical Engineering)
   6. อ.วิษณุพงษ์ คนแรง; B. Eng. (Materials Engineering and Production Technology)
 
ผู้ช่วยวิทยากร
   1.นายวราพงศ์ ถองกระโถก
   2.นางสาวดวงรดา ยุทธกำธร
   3.นายปิยะ คำสุข
   4.นางสาวปราณปรียา วังจินา
   5.นางสาวเบญจวรรณ มูลศรี
 
กำหนดการ  
วันที่ 13 มีนาคม 2568
08:30 น. – 09:00 น. ลงทะเบียน
09:00 น. – 09:30 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                         – หลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
                                         – จลนศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ของการกัดกร่อน
09.30 น. – 10:30 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                         – การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion) 
                                         – การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
                                         – การสึกกร่อน-กัดกร่อน (Erosion-corrosion)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 น. – 12:00 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ต่อ) 
                                        – การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
                                        – การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
                                        – การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14:30 น. การวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะที่เกิดจากการกัดกร่อน (อ.นิรุช บุญชู)
                                       – ขั้นตอนการวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่เสียหายจากการกัดกร่อน
                                       – เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.30 น. ภาคปฏิบัติ: การศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน (อ.สยาม แก้วคำไสย์ และทีมงาน)
                                 แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้ และหมุนเวียนจนครบทั้งหมด
16:30 น. – 16:45 น. สรุปภาคปฏิบัติการศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน
 
วันที่ 14 มีนาคม 2568
09:00 น. – 10:30 น. ความสำคัญของการวิเคราะห์ความเสียหาย (อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
                                    กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม 
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงสารเคมี (Erosion และ Cavitation) 
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนเฮดเดอร์ (Hydrogen Induced Cracking)
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงน้ำอ่อน (Crevice และ MIC)
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของใบพัด (SCC และ CFC)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 น. – 12:00 น. กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม (อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
                                       – การวิเคราะห์หาสาเหตุการแตกร้าวของท่อลำเลียงสารเคมี (Intergranular Corrosion)
                                       – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงสารเคมี (CUI, Pitting และ SCC)
                                       – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงน้ำมัน (CO2 Corrosion)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 13:30 น. ภาคปฏิบัติ: แบ่งกลุ่มเพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกัน (อ.สยาม แก้วคำไสย์ และทีมงาน)
13:30 น. – 15:00 น. ภาคปฏิบัติ: แต่ละกลุ่มทำการการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน 
15:00 น. – 15:15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15:15 น. – 16:30 น. นำเสนอผลการวิเคราะห์ความเสียหายเป็นรายกลุ่ม
16:30 น. – 16:45 น. มอบใบประกาศนียบัตรและถ่ายรูป 
 
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google Form >>> https://forms.gle/hHbqwMQtQ4mzpb3RA
 
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน 8,453 บาท /ท่าน 
ข้าราชการ/พนักงานองค์การของรัฐ 7,900 บาท /ท่าน 
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– รับจำนวนจำกัดเพียง 25 ท่านเท่านั้น
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675 E-mail : boonrkk@mtec.or.th  

The post หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>