การวิเคราะห์ Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/การวิเคราะห์/ National Metal and Materials Technology Center Mon, 23 Jun 2025 07:31:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico การวิเคราะห์ Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/การวิเคราะห์/ 32 32 หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/matlab_for_engineers/ Tue, 27 May 2025 09:15:33 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37872 หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) หลักสูตรอบรมMATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน ... Read more

The post หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเริ่มต้นใช้งาน MATLAB ได้อย่างมั่นใจ
• เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MATLAB อย่างเป็นระบบ
• พัฒนาโปรแกรมและกระบวนการวิเคราะห์ให้เป็นแบบอัตโนมัติ (Automation)
• สร้าง Application ใช้งานได้จริงบน Desktop และ Mobile โดยใช้ GUI ของ MATLAB

กลุ่มเป้าหมาย
• วิศวกร นักวิเคราะห์ข้อมูล และนักพัฒนาโปรแกรมในภาคอุตสาหกรรม
• นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม

Course Highlights
• ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม
• Workshop เน้นปฏิบัติจริงจากโจทย์ที่ใช้ในชีวิตจริง/อุตสาหกรรม
• เรียนรู้การใช้งาน MATLAB ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงการพัฒนาแอปพลิเคชัน
• เสริมทักษะการคิดเชิงตรรกะและการออกแบบโครงสร้างโปรแกรม
• คู่มือและโค้ดตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ต่อได้ทันที

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
• ไฟล์สไลด์และชุดตัวอย่างโค้ดทั้งหมด
• ใบประกาศนียบัตรการเข้าร่วมหลักสูตรอบรม

กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 26 สิงหาคม 2568 – พื้นฐานสู่การวิเคราะห์ข้อมูล
8.30-9.00 น.     ลงทะเบียน
9.00-12.00 น.   พื้นฐานการใช้งาน MATLAB และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
                             • แนะนำ Interface ของ MATLAB
                             • ตัวแปร และการทำงานกับข้อมูล (Matrix, Table, Cell)
                             • การเขียน Script และ Function
                             • การควบคุมการทำงาน: if, for, while
                             • ตัวอย่างการประยุกต์เบื้องต้นในวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
12.00-13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.   การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MATLAB
                             • การนำเข้าข้อมูลจาก CSV, Excel, Sensor
                             • การใช้งาน MATLAB ในรูปแบบ Object-oriented
                             • การทำ Visualization
                             • การวิเคราะห์สถิติพื้นฐานและการใช้ Toolbox ที่เกี่ยวข้อง เช่น Statistics and Machine Learning Toolbox
                             • Workshop: วิเคราะห์ข้อมูลจริงและสรุปผล

วันที่ 27 สิงหาคม 2568 – การทำงานอัตโนมัติและการสร้างแอปพลิเคชัน
9.00-12.00 น.        Automation – ทำให้การวิเคราะห์เป็นระบบอัตโนมัติ
                               • การสร้าง Script อัตโนมัติ และ Batch Processing
                               • การใช้งาน Loop กับข้อมูลจำนวนมาก
                               • การสร้างรายงานอัตโนมัติ ผ่าน LaTeX
                               • Workshop: เขียน Script อัตโนมัติสำหรับงานวิเคราะห์ซ้ำ ๆ
12.00-13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.   Application Development – การสร้าง GUI และแอปพลิเคชัน
                                • แนะนำ App Designer
                                • การออกแบบ GUI เบื้องต้น
                                • การเชื่อมต่อ GUI กับฟังก์ชันการประมวลผล
                                • การ Export แอปไปใช้งานในรูปแบบ Desktop หรือ Web App
                                • Workshop: สร้างแอปง่าย ๆ ที่ใช้งานได้จริง

วิทยากร


ดร.ธนรรค อุทกะพันธ์
นักวิจัยทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน
ข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 7,500 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
บุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 8,025 บาท (รวม Vat7%)

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่ https://forms.gle/1Rii8LnFbF6ddqoL7
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**

หมายเหตุ
• ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
• สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
• กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
• กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-88846-4-2/ Tue, 13 May 2025 07:45:30 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37549 หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 2 กรกฎาคม 2568) หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการMATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย ... Read more

The post หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 2 กรกฎาคม 2568)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
   •เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเริ่มต้นใช้งาน MATLAB ได้อย่างมั่นใจ
   •เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MATLAB อย่างเป็นระบบ
   •พัฒนาโปรแกรมและกระบวนการวิเคราะห์ให้เป็นแบบอัตโนมัติ (Automation)
   •สร้าง Application ใช้งานได้จริงบน Desktop และ Mobile โดยใช้ GUI ของ MATLAB
กลุ่มเป้าหมาย:
   •วิศวกร นักวิเคราะห์ข้อมูล และนักพัฒนาโปรแกรมในภาคอุตสาหกรรม
   •นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
Course Highlights
   •ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรม
   •Workshop เน้นปฏิบัติจริงจากโจทย์ที่ใช้ในชีวิตจริง/อุตสาหกรรม
   •เรียนรู้การใช้งาน MATLAB ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงการพัฒนาแอปพลิเคชัน
   •เสริมทักษะการคิดเชิงตรรกะและการออกแบบโครงสร้างโปรแกรม
   •คู่มือและโค้ดตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ต่อได้ทันที

สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
   •ไฟล์สไลด์และชุดตัวอย่างโค้ดทั้งหมด
   •ใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
วันที่ 26 สิงหาคม 2568     พื้นฐานสู่การวิเคราะห์ข้อมูล
 8.30-9.00 น.    ลงทะเบียน
9.00-12.00 น.    พื้นฐานการใช้งาน MATLAB และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
                             •แนะนำ Interface ของ MATLAB
                             •ตัวแปร และการทำงานกับข้อมูล (Matrix, Table, Cell)
                             •การเขียน Script และ Function
                             •การควบคุมการทำงาน: if, for, while
                             •ตัวอย่างการประยุกต์เบื้องต้นในวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
12.00-13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.   การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MATLAB
                             •การนำเข้าข้อมูลจาก CSV, Excel, Sensor
                             •การจัดการข้อมูลเบื้องต้น: Cleaning, Transforming, Aggregating
                             •การวิเคราะห์สถิติพื้นฐานและการทำ Visualization
                             •การใช้ Toolbox ที่เกี่ยวข้อง เช่น Statistics and Machine Learning Toolbox
                             •Workshop: วิเคราะห์ข้อมูลจริงและสรุปผล

วันที่ 27 สิงหาคม 2568     การทำงานอัตโนมัติและการสร้างแอปพลิเคชัน
9.00-12.00 น.    Automation – ทำให้การวิเคราะห์เป็นระบบอัตโนมัติ
                            •การสร้าง Script อัตโนมัติ และ Batch Processing
                            •การใช้งาน Loop กับข้อมูลจำนวนมาก
                            •การสร้างรายงานอัตโนมัติ (MATLAB Report Generator, Live Script)
                            •Workshop: เขียน Script อัตโนมัติสำหรับงานวิเคราะห์ซ้ำ ๆ
12.00-13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.   Application Development – การสร้าง GUI และแอปพลิเคชัน
                            •แนะนำ App Designer
                            •การออกแบบ GUI เบื้องต้น
                            •การเชื่อมต่อ GUI กับฟังก์ชันการประมวลผล
                            •การ Export แอปไปใช้งานในรูปแบบ Desktop หรือ Web App
                            •Workshop: สร้างแอปง่าย ๆ ที่ใช้งานได้จริง

วิทยากร

ดร.ธนรรค อุทกะพันธ์
นักวิจัยทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google form: https://forms.gle/dy8Q31aarrLb8Y2s5

ค่าลงทะเบียน
ข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 7,500 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
บุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 8,025 บาท (รวม Vat7%)

การชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 080-0-00001-0
สาขาอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
(กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อที่สมัครมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)

หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
– กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม MATLAB: จากมือใหม่สู่มืออาชีพ : การใช้งาน MATLAB สำหรับวิศวกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูล (วันที่ 26-27 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-77489-2/ Tue, 07 Jan 2025 04:47:15 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=33894 หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) หลักสูตรอบรมการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน(Corrosion Failure Analysis Workshop) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันที่ 13-14 มีนาคม 2568 ... Read more

The post หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
(Corrosion Failure Analysis Workshop)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันที่ 13-14 มีนาคม 2568 เวลา 9.00-16.45 น.
สถานที่ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
     ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า ต้นทุนความเสียหายจากการกัดกร่อนทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.4% ของ GDP โลก (ปี 2013) ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา การสำรวจในปี ค.ศ. 2002 พบว่าความเสียหายจากการกัดกร่อนมีมูลค่าประมาณ 3.1% ของ GNP หรือประมาณ 276 พันล้านเหรียญสหรัฐ
     สำหรับประเทศไทย การสำรวจต้นทุนการกัดกร่อนครั้งแรกอย่างเป็นระบบ (Corrosion Cost Survey in Thailand) ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2554 พบว่ามูลค่าความเสียหายจากการกัดกร่อนอยู่ที่ประมาณ 466,600 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.8% ของ GDP ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเสียหายจากการกัดกร่อนมีต้นทุนที่สูงมาก
     ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านการกัดกร่อนของโลหะ เพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้วัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลังงาน โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมกระดาษ เป็นต้น ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
   •การเลือกวัสดุที่เหมาะสม
   •การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง
   •การวิเคราะห์หาสาเหตุของความเสียหาย
     การดำเนินการเหล่านี้จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
     หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการกัดกร่อน โดยมีการบรรยายจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมากกว่า 25 ปี พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
วัตถุประสงค์ 
   1. เข้าใจความสำคัญของการกัดกร่อนที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม
   2. ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
   3. ทราบถึงกลไก สาเหตุ และการป้องกันการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ
   4. ทราบถึงเทคนิคการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
   5. ทราบเทคนิคและเครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมการกัดกร่อน
   6. ได้เรียนรู้การเสียหายจากการกัดกร่อนด้วยรูปแบบต่างๆ ผ่านกรณีการวิเคราะห์ความเสียหาย
   7. ได้เห็นและสังเกตลักษณะความเสียหายจากการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานจริง
   8. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
 
รูปแบบกิจกรรม
     อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
 
กลุ่มเป้าหมาย
     ทุกอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาด้านการกัดกร่อน และต้องการหาสาเหตุรวมไปถึงวิธีป้องกันอย่างถูกวิธี

ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
Ph.D. (Materials Science and Engineering)

อ.สยาม แก้วคำไสย์
M. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว
M. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.นิรุช บุญชู
M. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน
B. Eng. (Metallurgical Engineering)

อ.วิษณุพงษ์ คนแรง
B. Eng. (Materials Engineering and Production Technology)

วิทยากร 
   1. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
   2. อ.สยาม แก้วคำไสย์; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
   3. อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
   4. อ.นิรุช บุญชู; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
   5. อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน; B. Eng. (Metallurgical Engineering)
   6. อ.วิษณุพงษ์ คนแรง; B. Eng. (Materials Engineering and Production Technology)
 
ผู้ช่วยวิทยากร
   1.นายวราพงศ์ ถองกระโถก
   2.นางสาวดวงรดา ยุทธกำธร
   3.นายปิยะ คำสุข
   4.นางสาวปราณปรียา วังจินา
   5.นางสาวเบญจวรรณ มูลศรี
 
กำหนดการ  
วันที่ 13 มีนาคม 2568
08:30 น. – 09:00 น. ลงทะเบียน
09:00 น. – 09:30 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                         – หลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
                                         – จลนศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ของการกัดกร่อน
09.30 น. – 10:30 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                         – การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion) 
                                         – การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
                                         – การสึกกร่อน-กัดกร่อน (Erosion-corrosion)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 น. – 12:00 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ต่อ) 
                                        – การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
                                        – การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
                                        – การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 14:30 น. การวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะที่เกิดจากการกัดกร่อน (อ.นิรุช บุญชู)
                                       – ขั้นตอนการวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่เสียหายจากการกัดกร่อน
                                       – เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน
14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.30 น. ภาคปฏิบัติ: การศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน (อ.สยาม แก้วคำไสย์ และทีมงาน)
                                 แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้ และหมุนเวียนจนครบทั้งหมด
16:30 น. – 16:45 น. สรุปภาคปฏิบัติการศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน
 
วันที่ 14 มีนาคม 2568
09:00 น. – 10:30 น. ความสำคัญของการวิเคราะห์ความเสียหาย (อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
                                    กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม 
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงสารเคมี (Erosion และ Cavitation) 
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนเฮดเดอร์ (Hydrogen Induced Cracking)
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงน้ำอ่อน (Crevice และ MIC)
                                        – การวิเคราะห์ความเสียหายของใบพัด (SCC และ CFC)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 น. – 12:00 น. กรณีศึกษาการกัดกร่อนของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม (อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
                                       – การวิเคราะห์หาสาเหตุการแตกร้าวของท่อลำเลียงสารเคมี (Intergranular Corrosion)
                                       – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงสารเคมี (CUI, Pitting และ SCC)
                                       – การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงน้ำมัน (CO2 Corrosion)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 13:30 น. ภาคปฏิบัติ: แบ่งกลุ่มเพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกัน (อ.สยาม แก้วคำไสย์ และทีมงาน)
13:30 น. – 15:00 น. ภาคปฏิบัติ: แต่ละกลุ่มทำการการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน 
15:00 น. – 15:15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15:15 น. – 16:30 น. นำเสนอผลการวิเคราะห์ความเสียหายเป็นรายกลุ่ม
16:30 น. – 16:45 น. มอบใบประกาศนียบัตรและถ่ายรูป 
 
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google Form >>> https://forms.gle/hHbqwMQtQ4mzpb3RA
 
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/เอกชน 8,453 บาท /ท่าน 
ข้าราชการ/พนักงานองค์การของรัฐ 7,900 บาท /ท่าน 
หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– รับจำนวนจำกัดเพียง 25 ท่านเท่านั้น
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม (คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675 E-mail : boonrkk@mtec.or.th  

The post หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 13-14 มีนาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>