เทคโนโลยี Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/เทคโนโลยี/ National Metal and Materials Technology Center Thu, 05 Jun 2025 07:06:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico เทคโนโลยี Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/เทคโนโลยี/ 32 32 หลักสูตรอบรม การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ) (วันที่ 6-8 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-corrosion-and-corrosion-protection-technologies-in-industries/ Thu, 22 May 2025 06:09:04 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37745 หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 2 กรกฎาคม 2568) หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ)Corrosion and Corrosion Protection Technologies in ... Read more

The post หลักสูตรอบรม การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ) (วันที่ 6-8 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 2 กรกฎาคม 2568)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ)
Corrosion and Corrosion Protection Technologies in Industries (Principle, Case Studies, and Workshop)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
       การกัดกร่อนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างโลหะที่ใช้งานในสภาวะที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน ซ่อมบำรุง หรือใช้วัสดุที่ต้านทานการกัดกร่อนดีขึ้นของโครงสร้างดังกล่าว นับเป็นต้นทุนการกัดกร่อนที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมและยั่งยืน ต้นทุนการกัดกร่อนทั่วโลกคาดการณ์โดยสมาคม AMPP อยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 3.4% ของ GDP โลก (2013) สำหรับต้นทุนการกัดกร่อนในประเทศไทย (Corrosion Cost Survey in Thailand) นั้น จากการสำรวจ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2554 พบว่ามีมูลค่าราว 466,600 ล้านบาท หรือประมาณ 4.8% ของ GDP ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นทุนการกัดกร่อนตามสัดส่วน GDP นั้นมีมูลค่าสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา (3.1% ของ GDP) ญี่ปุ่น (1.0% ของ GDP)
       ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ด้านการกัดกร่อนของโลหะจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงด้านการกัดกร่อน เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และโครงสร้างเหล็ก ฯลฯ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการเลือกวัสดุที่เหมาะสม การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง การคาดการณ์อัตราการกัดกร่อน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการกัดกร่อน และลดความเสียหายของโครงสร้าง หรือเครื่องมือต่าง ๆ
       หลักสูตรอบรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจการกัดกร่อนรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงเทคนิคการวัด-ติดตามการกัดกร่อน และเรียนรู้เทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนผ่านการบรรยายทางทฤษฎี โดยทีมวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ตรง และร่วมกิจกรรมภาคปฏิบัติในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
 
วัตถุประสงค์ 
  1. เข้าใจความสำคัญของการกัดกร่อน
  2. ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
  3. ทราบถึงกลไก สาเหตุ และเทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ
  4. ทราบถึงเทคนิคการทดสอบการกัดกร่อนและเทคนิคการติดตามการกัดกร่อน
  6. ได้เรียนรู้และทดลองภาคปฏิบัติ ด้วยชิ้นงานตัวอย่าง และเครื่องมือที่เหมาะสม
  8. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานจริง
 
รูปแบบกิจกรรม
       อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
 
กลุ่มเป้าหมาย
       ทุกอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาด้านการกัดกร่อน และต้องการเข้าใจกลไกการกัดกร่อน เพื่อการเลือกวิธีป้องกันอย่างเหมาะสม
 
วิทยากร 
  1. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
  2. ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์; Ph.D. (Metallurgical Engineering)
  4. อ.ปิยะ คำสุข; M. Sc. (Industrial Chemistry)
  5. อ.ปราณปรียา วังจินา; M. Sc. (Materials Science)
  6. อ.เบญจวรรณ มูลศรี; B. Eng. (Materials Science)
 
ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน  
ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.ปิยะ คำสุข
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.ปราณปรียา วังจินา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.เบญจวรรณ มูลศรี
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
 
ผู้ช่วยวิทยากร
  1. อ.นิรุช บุญชู; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
  2. อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน; B. Eng. (Metallurgical Engineering)
  3. อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี; B. Eng. (Mechatronic Engineering) 
 
กำหนดการ  
วันที่ 6 สิงหาคม 2568
08:30 น. – 09:00 น. ลงทะเบียน และ Pre Test
09:00 น. – 09:30 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                        – หลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
                                        – จลนศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ของการกัดกร่อน
09.30 น. – 10:30 น. รูปแบบการกัดกร่อน(ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์)
                                         – การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion) 
                                         – การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
                                         – การกัดกร่อนภายใต้ฉนวน (Corrosion under insulation)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 
10:45 น. – 12:00 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ต่อ) (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                          – การกัดกร่อนและสึกกร่อน (Erosion corrosion)
                                          – การกัดกร่อนเฉพาะบางเฟส (Dealloying corrosion)
                                          – การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
                                          – การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
                                          – การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
                                          – การกัดกร่อนจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 corrosion)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น. ภาคปฏิบัติ: การศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน  (อ.ปิยะ คำสุข/อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน/อ.นิรุช บุญชู/ น.ส.เบญจวรรณ มูลศรี)
                                    แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้
                                    สถานีที่ 1 การศึกษาชิ้นส่วนส่วนที่เสียหายแบบ galvanic corrosion/ dealloying corrosion
                                    สถานีที่ 2 การศึกษาพฤติกรรมการเสียหายของวัสดุด้วยรูปแบบ pitting corrosion
                                    สถานีที่ 3 การศึกษาการเสียหายของใบพัดด้วยรูปแบบ Intergranular corrosion cracking
                                    สถานีที่ 4 การศึกษาการเสียหายของชิ้นส่วนด้วยรูปแบบ SCC และ MIC
 
วันที่ 7 สิงหาคม 2568
09:00 น. – 10:00 น. การทดสอบการกัดกร่อนด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้า (อ.ปิยะ คำสุข/ อ.ปราณปรียา วังจินา)
                                        – Equipment
                                        – Open circuit potential measurement
                                        – Polarization/ Potentiodynamics test
                                        – Linear polarization test (LPR)
                                        – Electrochemical impedance spectroscopy test (EIS)
10:00 น. – 10:00 น.  การทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งสภาวะ(ดร.วนิดา/ อ.เบญจวรรณ)
10:30 น. – 10:45 น.   พักรับประทานอาหารว่าง 
10:45 น. –  11:15 น.     การทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งสภาวะ (ดร.วนิดา/ อ.เบญจวรรณ)
11:15 น. – 12:00 น.      การทดสอบภาคสนามและการติดตามการกัดกร่อน (ดร.วนิดา)
12:00 น. – 13:00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น.   การทดสอบการกัดกร่อนภาคปฏิบัติ (อ.ปิยะ คำสุข/อ.ปราณปรียา วังจินา/อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี/อ.เบญจวรรณ มูลศรี)
แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษา
                                      สถานีที่ 1 OCP & Polarization test
                                      สถานีที่ 2 EIS
                                      สถานีที่ 3 Galvanic test
                                      สถานีที่ 4 Corrosion sensor
วันที่ 8 สิงหาคม 2568
09:00 น. – 12:00 น. เทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนโดยการเคลือบผิว (ดร.วนิดา)
                                       – Polymer and metallic coating
                                       – Corrosion resistant alloy and Inhibitors
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 น. – 12:00 น. เทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนโดยการเคลือบผิว (ต่อ) (ดร.วนิดา)
                                       – Cathodic protection
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 15:00 น. การป้องกันการกัดกร่อนภาคปฏิบัติ  (ดร.วนิดา/ดร.อำนวยศักดิ์/อ.ปิยะ/อ.ปราณปรียา วังจินา/อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี/อ.เบญจวรรณ มูลศรี)
                                   แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษา
                                    สถานีที่ 1 Corrosion map and coating selection
                                    สถานีที่ 2 Cathodic protection
                                    สถานีที่ 3 Coating resistance comparison
                                    สถานีที่ 4 Corrosion resistant alloy selection
15:00 น. – 16:00 น.  Post test
 
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน Google form: https://forms.gle/Ju9KRjSmyb4wf2Eg6
 
ค่าลงทะเบียน
ราคาสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 12,000 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ราคาสำหรับบุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 12,840 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การชำระค่าลงทะเบียน
 • โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
 • กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ) (วันที่ 6-8 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ (วันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-88846-4-2-2-2/ Tue, 20 May 2025 02:31:59 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37681 หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ (วันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2568) หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ(Powder Metallurgy and Metal Powder 3D ... Read more

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ (วันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ (วันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2568)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
เทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ
(Powder Metallurgy and Metal Powder 3D Printing)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ร่วมกับ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

วันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง A08-506 ชั้น 5 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ

วัตถุประสงค์
       เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรได้เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนโลหะผงด้วยกระบวนการขึ้นรูปในแบบต่างๆ ทั้งกระบวนการอัดขึ้นรูป กระบวนการฉีดขึ้นรูป และกระบวนการทางความร้อนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อ (additive manufacturing, AM, 3D printing) และมีโอกาสทดลองใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติประเภท laser powder bed fusion (L-PBF) 
 
กำหนดการ
วันที่ 31 กรกฎาคม 2568
09.00–9.45 น.  รู้จักเทคโนโลยีโลหะผงแบบดั้งเดิม โดย คุณภาณุ เวทยนุกูล
                               • เทคโนโลยีโลหะผง และ เทคโนโลยีโลหะผงแบบดั้งเดิม คืออะไร
                               • รู้จักจุดเด่น จุดด้อย ของเทคโนโลยี
                               • ชิ้นงานในอุตสาหกรรมแบบใดบ้างที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีนี้
09.45–10.45 น.  รู้จักเทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อ (additive manufacturing, AM)  โดย ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์
                               • เทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อ คืออะไร
                               • รู้จักจุดเด่น จุดด้อย ของเทคโนโลยี
                               • ชิ้นงานในอุตสาหกรรมแบบใดบ้างที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีนี้
10.45–11.00 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
11.00–12.00 น.  ผงโลหะ มาจากไหน โดย คุณภาณุ เวทยนุกูล
                               • รู้จักกระบวนการผลิตผงโลหะ
                               • ประเภทของผงโลหะ
                               • การใช้งานผงโลหะให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิต
12.00–13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00–14.15 น.  การขึ้นรูปผงโลหะแบบดั้งเดิม โดย คุณภาณุ เวทยนุกูล
                               • รู้จักกระบวนการขึ้นรูปผงโลหะให้เป็นชิ้นงาน การอัดขึ้นรูป การฉีดขึ้นรูป
                               • การเผาไล่ตัวประสาน การเผาประสาน (การอัดขึ้นรูป การฉีดขึ้นรูป)
                               • การอบชุบ (Heat treatment)
                               • การอบอ่อน (Annealing)
14.15–14.30 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
14.30–15.15 น.  ประเภทของกระบวนการผลิตแบบ AM โดย ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์
                                • เทคโนโลยีการผลิตแบบ AM สำหรับวัสดุประเภทพอลิเมอร์
                                • เทคโนโลยีการผลิตแบบ AM สำหรับวัสดุประเภทโลหะ
15.15–16.00 น.  กรณีศึกษา: ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้เทคโนโลยีโลหะผงและการผลิตแบบ AM ในปัจจุบัน  โดย ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์ และ คุณภาณุ เวทยนุกูล
 
วันที่ 1 สิงหาคม 2568  
09.00–10.15 น.  เสวนาพิเศษเรื่อง อนาคตของเทคโนโลยีการผลิตแบบ AM ในประเทศไทย 
                              โดย ผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมการผลิตแบบแอดดิทีฟไทย (Thai Additive Manufacturing Association)
                                      อ.ภาณุ เวทยนุกูล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
                                      ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
10.15–10.30 น.   พักรับประทานอาหารว่าง
10.30–12.00 น.  การตั้งค่าตัวแปรในการผลิตแบบ AM และการควบคุมคุณภาพการผลิต  โดย รศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์
12.00–13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00–15.45 น.   การเตรียมไฟล์ด้วยโปรแกรม Materialize / การเตรียมการขึ้นรูปสำหรับเครื่อง laser powder bed fusion (L-PBF) (ภาคปฏิบัติ)
15.45-16.00 น.    Q & A
วิทยากร
 

อ.ภาณุ เวทยนุกูล
ทีมวิจัยเทคโนโลยีกระบวนการผลิตวัสดุผง
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์
ทีมวิจัยวัสดุเฉพาะทางสำหรับการประยุกต์ใช้ทางวิศวกรรม 
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
รศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน Google form: https://forms.gle/wG46n3BPnU72s1e96
 
ค่าลงทะเบียน
ราคาสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 7,500 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ราคาสำหรับบุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 8,025 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
 

หมายเหตุ
  • อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
  • กรณีที่ท่านสมัครแล้วแต่ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ ต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกมายังผู้จัดทาง email: boonrkk@mtec.or.th ก่อนการอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บค่าเตรียมการสำรองที่นั่งจากท่าน 50% ของค่าลงทะเบียน
  • กรณีการยกเลิกหลักสูตร ผู้จัดงานฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการจัดหลักสูตร โดยจะติดต่อแจ้งให้ผู้สมัครอบรมทราบ (ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม)

การชำระค่าลงทะเบียน
 • โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
 • กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีโลหะผงและการพิมพ์สามมิติ (วันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ (วันที่ 10-11 มิถุนายน 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-74404-3-2/ Tue, 25 Mar 2025 02:52:17 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=35940 หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ (วันที่ 10-11 มิถุนายน 2568) หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ (Gravity and Low pressure Die ... Read more

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ (วันที่ 10-11 มิถุนายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ
(วันที่ 10-11 มิถุนายน 2568)

หลักสูตรอบรม

เทคโนโลยีกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ

(Gravity and Low pressure Die Casting Process Technology)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
 
วันที่ 10-11 มิถุนายน 2569 เวลา 9:00-16:00 น.
ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
 
หลักการและเหตุผล
       กระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง (Gravity Die Casting, GDC) อาศัยแรงโน้มถ่วงทำให้โลหะเหลวไหลไปเติมเต็มแม่พิมพ์ ส่วนการหล่อแบบความดันต่ำ (Low Pressure Die Casting, LPDC) อาศัยแรงดันประมาณ 30-100 kPa ดันให้โลหะเหลวไหลสู่แม่พิมพ์จากด้านล่าง (bottom filling) อย่างช้าๆ
       ความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ ทั้งทางด้านของคุณลักษณะของกระบวนการหล่อ ความรู้พื้นฐานทางด้านวัสดุ การอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ และปัญหา NG ที่เกิดขึ้นที่ชิ้นงาน เป็นส่วนสำคัญสำหรับการทำงาน และวิเคราะห์ปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นในชิ้นงานหล่อ เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป
 
วัตถุประสงค์
1. สร้างความเข้าใจในภาพรวมของกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และ การหล่อความดันต่ำ
2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอลูมิเนียมผสม และโลหะวิทยาอลูมิเนียมผสมซิลิกอน
3. ความเข้าใจพื้นฐานการอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ (simulation)
4. ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ (Quality) ของชิ้นงานหล่อ
 
หัวข้อบรรยาย
เนื้อหาในการบรรยายประกอบไปด้วยสี่ส่วนได้แก่
   1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และ การหล่อความดันต่ำ
   2. พื้นฐานเกี่ยวกับอะลูมิเนียมผสมที่ใช้ในงานหล่อ
   3. การอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ (Simulation)
   4. พื้นฐานเกี่ยวกับของเสีย (NG) ในงานหล่อ
 
โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. คุณลักษณะของกระบวนการหล่อ GDC / LPDC
  1.1. คุณลักษณะของกระบวนการหล่อแบบ GDC (Gravity Die Casting Process’s Characteristics)
     1.1.1. การควบคุมการไหลของโลหะเหลวแบบ Bottom fill และ การเอียงเท
     1.1.2. การใช้แผ่นกรองในการหล่อ
     1.1.3. ตำแหน่งและขนาดของ Riser และการควบคุมทิศทางการแข็งตัว
  1.2. คุณลักษณะของกระบวนการหล่อแบบ LPDC (Low Pressure Die Casting Process’s Characteristics)
     1.2.1. การควบคุมการไหลโดยใช้ความดัน
     1.2.2. ความสัมพันธ์ของทิศทางการแข็งตัวของโลหะเหลว การเกิดโพรงหดตัวและสมบัติเชิงกลของชิ้นงานหล่อในกระบวนการหล่อความดันต่ำ
 
2. โลหะวิทยาและเทคโนโลยีการหลอมอะลูมิเนียมสำหรับกระบวนการหล่อ GDC / LPDC
  2.1. มาตรฐานและข้อกำหนดเฉพาะ (Specification) ของชิ้นงานหล่อโลหะผสมอะลูมิเนียมผสมที่ใช้ในกระบวนการหล่อ GDC /LPDC
  2.2. โลหะวิทยาสำหรับอลูมิเนียมผสมซิลิกอน ที่ใช้ในกระบวนการหล่อ  GDC /LPDC
  2.3. กลุ่มของอลูมิเนียมผสม Al-Si สำหรับงานหล่อและโครงสร้างทางโลหะวิทยา
  2.4. แผนภูมิสมดุลระบบ 2 ธาตุของ Al – Si (Phase diagram)
  2.5. การเตรียมอะลูมิเนียมเหลวเหลวที่ใช้ในกระบวนการหล่อ GDC / LPDC
     2.5.1. วัตถุดิบที่ใช้ในการหลอม ประเภทของ  ingot  และ คุณสมบัติที่ดีของ ingot
     2.5.2. ปัญหาก๊าซไฮโดรเจนในโลหะเหลว
     2.5.3. ปัญหาของการเกิดออกซิเดชัน และอลูมิเนียมออกไซด์
     2.5.4. ปัญหาของสิ่งแปลกปลอมอื่นๆในโลหะเหลว
  2.6. การบำบัดโลหะเหลว ( Melt treatment)
  2.7. การตรวจสอบคุณภาพของโลหะเหลวอลูมิเนียม
     2.7.1. การตรวจสอบปริมาณแก๊สผสมในโลหะเหลว (Gas content)
     2.7.2. ความสะอาดของน้ำโลหะ (Liquid metal cleanliness)
 
3. การประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองการหล่อในกระบวนการหล่อ GDC / LPDC 
  3.1. ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปแกรมจำลองการหล่อ
  3.2. การประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองการหล่อในการวิเคราะห์สาเหตุปัญหาข้อบกพร่องในกระบวนการหล่อ  GDC
  3.3. การประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองการหล่อในการวิเคราะห์สาเหตุปัญหาข้อบกพร่องในกระบวนการหล่อ  LPDC
 
4. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ(Quality)ของชิ้นงานหล่อ
  4.1. คุณภาพ(Quality)ของชิ้นงานหล่อ
  4.2. ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพและความผันแปรของคุณภาพชิ้นงานหล่อที่ผลิต
  4.3. รูปแบบการไหลของโลหะเหลวอลูมิเนียมกับคุณภาพชิ้นงานหล่อ
     4.3.1. ระบบทางเดินโลหะเหลว(Gating System) กับลักษณะการไหลของโลหะเหลว
     4.3.2. ผลกระทบของ การไหลแบบ Turbulence และการเกิดการปนเปื้อนของออกไซด์ฟิลม์
     4.3.3. อิทธิพลของลักษณะการไหลของโลหะเหลวต่อความสม่ำเสมอของคุณภาพชิ้นงานหล่อ
     4.3.4. การควบคุมการไหลของโลหะเหลว
     4.3.5. Theoretically melt’s front speed for non – turbulence filling
  4.4. ตัวอย่างข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อ, สาเหตุ และแนวทางการแก้ไข
 
กำหนดการอบรม
วันที่ 10 มิถุนายน 2568
  8.30 น. – 9.00    ลงทะเบียน
 9.00 น. – 10.30   Introduction เกี่ยวกับกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ
10.30น. – 10.45   พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00  คุณลักษณะของกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ
12.00 น. – 13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30  โลหะวิทยาและเทคโนโลยีการหลอมอะลูมิเนียมสำหรับกระบวนการหล่อ GDC / LPDC
14.30 น. – 14.45  พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.00  โลหะวิทยาและเทคโนโลยีการหลอมอะลูมิเนียมสำหรับกระบวนการหล่อ GDC / LPDC (ต่อ)
 
วันที่ 11 มิถุนายน 2568
  9.00 น. – 10.30  การประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองการหล่อในกระบวนการหล่อ GDC / LPDC
10.30 น. – 10.45  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00  การประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองการหล่อในกระบวนการหล่อ GDC / LPDC (ต่อ)
12.00 น. – 13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30  ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ (Quality) ของชิ้นงานหล่อ
14.30 น. – 14.45  พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.00  ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ (Quality) ของชิ้นงานหล่อ (ต่อ)
 
วิทยากร
ดร.พงษ์ศักดิ์ ดุลยประพันธ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
อดีตนักวิจัยด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
 
คุณเอกชัย กิติแก้วทวีเสริฐ
วิศวกร
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
 
ค่าลงทะเบียน
แบ่งตามประเภทผู้เข้าอบรม ดังนี้
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคาจ่ายสุทธิรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 7,490 บาท/ท่าน
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรของรัฐ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จ่ายสุทธิ 7,000 บาท/ท่าน
** รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**
 
 
หมายเหตุ
– ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน
– มีเอกสารประกอบการอบรมให้กับผู้เข้ารับการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
 
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านลิงค์ Google form >>> https://forms.gle/M8gUr7oXGiLG6jF48
การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th
 
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อแบบแรงโน้มถ่วง และการหล่อความดันต่ำ (วันที่ 10-11 มิถุนายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม “เทคโนโลยีน้ำยางพื้นฐาน” (วันที่ 9 เมษายน 2568) https://www.mtec.or.th/general-training-courses-77489-2-2-2/ Thu, 09 Jan 2025 02:29:41 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=34037 หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2566) หลักสูตรอบรมเทคโนโลยีน้ำยางพื้นฐาน จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันที่ 9 เมษายน 2568 เวลา ... Read more

The post หลักสูตรอบรม “เทคโนโลยีน้ำยางพื้นฐาน” (วันที่ 9 เมษายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม “การวิเคราะห์ความเสียหายจากการกัดกร่อน” (วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2566)

หลักสูตรอบรม
เทคโนโลยีน้ำยางพื้นฐาน

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

วันที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ
รูปแบบที่1 อบรม onsite ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
รูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting

กำหนดการ
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-10.30 น. ความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีน้ำยาง
                            -ประเภทของน้ำยาง สมบัติของน้ำยาง ความเสถียรของน้ำยาง
                            -การสูญเสียความเสถียรและการจับตัวของน้ำยาง
                            -สมบัติการไหลของน้ำยาง สมบัติการเปียกผิวของน้ำยาง
10.30-10.45 น. พักการบรรยาย 15 นาที
10.45-12.00 น. การคอมพาวนด์น้ำยาง
                           -สารเคมีและการเตรียมสารเคมีเพื่อใช้ในการผลิตน้ำยางคอมพาวด์
                           -วิธีการคอมพาวนด์น้ำยาง
12.00-13.00 น. พักการบรรยาย 1 ชั่วโมง
13.00-14.30 น. การวัลคาไนซ์น้ำยาง
                           -เทคโนโลยีการวัลคาไนซ์น้ำยาง
                           -น้ำยางพรีวัลคาไนซ์
14.30-14.45 น. พักการบรรยาย 15 นาที
14.45-16.00 น. การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง
                           -การผลิตผลิตภัณฑ์แบบจุ่ม (ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ลูกโป่ง)
                           -การผลิตผลิตภัณฑ์แบบเอ๊กซทรูด (เส้นด้ายยาง)
                           -การผลิตยางฟองน้ำ (หมอน ที่นอน)
                         สมบัติของผลิตภัณฑ์น้ำยาง
                           -การทดสอบสมบัติของผลิตภัณฑ์

วิทยากร


ดร.พร้อมศักดิ์ สงวนธำมรงค์
นักวิจัยทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป/ ภาคเอกชน 3,745 บาท/ท่าน (รวม Vat7%)
ข้าราชการ-พนักงานองค์กรรัฐ 3,500 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
**On-site รับสมัครจำนวน 20 ท่าน เท่านั้น**

หมายเหตุ
– ค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบการอบรม
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่าน Google Form >>> https://forms.gle/ucQMvu7JSKBLTRpq8
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**

การชำระค่าลงทะเบียน
• โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
• กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม “เทคโนโลยีน้ำยางพื้นฐาน” (วันที่ 9 เมษายน 2568) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (High Pressure Die Casting Process Technology) https://www.mtec.or.th/high-pressure-die-casting/ Mon, 06 Jan 2025 04:43:28 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=33721 หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (วันที่ 4-5 มีนาคม 2568) หลักสูตรอบรมเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง(High Pressure Die Casting Process Technology) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ... Read more

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (High Pressure Die Casting Process Technology) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (วันที่ 4-5 มีนาคม 2568)

หลักสูตรอบรม
เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
(High Pressure Die Casting Process Technology)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

วันที่ 4-5 มีนาคม 2568 เวลา 9:00-16:00 น.
ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

  หลักการและเหตุผล

กระบวนการหล่อโลหะความดันสูงเป็นกระบวนการที่ผลิตชิ้นงานหล่อที่มีรูปร่างซับซ้อน บาง ด้วยการฉีดโลหะเหลวเข้าสู่แม่พิมพ์ภายใต้ความดันสูงในเวลาที่สั้นมากๆ โดยมีตัวแปรกระบวนการผลิตที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อมากมาย เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานหล่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ช่างเทคนิค/วิศวกรผู้เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของกระบวนการหล่อความดันสูงในเรื่องของคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อ, ปัญหา NG ที่เกิดขึ้นที่ชิ้นงาน, ความรู้พื้นฐานทางด้านวัสดุ และการอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะดังกล่าวมาใช้ใน (1)การกำหนดค่าสภาวะการฉีด (2) การติดตามและควบคุมกระบวนการฉีด และ (3)วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดข้อบกพร่องและการกำหนดแนวทางการแก้ไข ในกระบวนการหล่อความดันสูง

 วัตถุประสงค์

1. สร้างความเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง
2. ระบุถีงตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อและการเกิดปัญหาข้อบกพร่อง
3. ปัญหาข้อบกพร่องที่พบในชิ้นงานหล่อ และกลไกการเกิด
4. ตัวอย่างกรณีศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในกระบวนการหล่อที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ

  เนื้อหาในการบรรยาย ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่

1. คุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง
2. พื้นฐานเกี่ยวกับอะลูมิเนียมผสมที่ใช้ในงานหล่อ
3. การใช้ประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อในกระบวนการหล่อความดันสูง
4. คุณภาพของชิ้นงานหล่อและปัญหาข้อบกพร่องที่พบในชิ้นงานหล่อกระบวนการหล่อความดันสูง

  รายละเอียดของเนื้อหาแต่ละส่วน

วันที่ 4 มีนาคม 2568

เช้า (9.00-12.00 น.)
1. คุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง
1.1. ลักษณะของชิ้นงานหล่อที่ฉีดขึ้นรูปโดยใช้กระบวนการหล่อความดันสูง
1.2. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง/คุณภาพ/ปัญหาข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อกับลักษณะการไหลของอลูมิเนียมเหลวในขั้นตอนการฉีด
1.3. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง/คุณภาพ/ปัญหาข้อบกพร่องของชิ้นงานหล่อ กับลักษณะการแข็งตัวของอลูมิเนียมเหลวในกระบวนการหล่อความดันสูง
1.4. ขอบเขตความสามารถและข้อจำกัดของกระบวนการหล่อความดันสูง
1.5. หลัการทำงานของเครื่องฉีด / แม่พิมพ์ ในกระบวนการหล่อความดันสูง
1.6. ขั้นตอนการทำงานใน 1 รอบการฉีดของกระบวนการหล่อความดันสูง
1.7. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในแต่ละขั้นตอนการทำงานใน 1 รอบการฉีด
1.7.1. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการฉีด
1.7.2. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการแข็งตัว
1.7.3. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์
1.7.4. ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อในขั้นตอนการทำความสะอาดแม่พิมพ์

บ่าย (13.00-16.00 น.)
1.8. การอ่านค่าตัวแปรการฉีด ทั้งsetup และ Actual จากเครื่องฉีด
1.9. การคำนวณหาแรงปิดแม่พิมพ์และการเลือกขนาดเครื่องฉีดให้เหมาะสมกับชิ้นงานหล่อ
2. พื้นฐานเกี่ยวกับอะลูมิเนียมผสมที่ใช้ในงานหล่อ
2.1. มาตราฐานอลูมิเนียมที่ใช้ฉีดขึ้นรูปในกระบวนการหล่อความดันสูง
2.2. เกรดอลูมิเนียมที่มีผลต่อการกำหนดค่าตัวแปรและคุณภาพชิ้นงานหล่อ
2.3. การคำนวณสัดส่วน Ingot กับ Scrap ที่ใช้ในการหลอมอลูมิเนียมเหลว
2.4. อิทธิพลของโลหะเหลวที่มีผลต่อคุณภาพและการเกิดข้อบกพร่องในชิ้นงานหล่อ

วันที่ 5 มีนาคม 2568

เช้า (9.00-12.00 น.)
3. การอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ (simulation)
3.1. ความเข้าใจเกียวกับโปรแกรมจำลองการหล่อ
3.2. การประยุกต์ใช้โปรแกรมจำลองการหล่อในกระบวนการหล่อไดคาสติ้ง
3.3. วิธีการอ่านผลการคำนวณที่ได้จากโปรแกรมจำลองการหล่อ
3.4. การใช้ผลการคำนวณจากโปรแกรมจำลองการหล่อในการประเมินอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพและการเกิดปัญหาข้อบกพร่องในชิ้นงานหล่อ

บ่าย (13.00-16.00 น.)
4. ปัญหาข้อบกพร่องที่พบในกระบวนการหล่อความดันสูง
4.1. ปัญหาข้อบกพร่องในกระบวนการหล่อความดันสูงจำแนกตามตำแหน่งที่พบในชิ้นงานหล่อ
4.2. กลไกการเกิดปัญหาข้อบกพร่องแต่ละชนิดในกระบวนการหล่อความดันสูง
4.3. ตัวแปรที่มีผลต่อการเกิดปัญหาข้อบกพร่อง
4.4. ตัวอย่างกรณีศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในกระบวนการหล่อที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ

 กำหนดการอบรม

8.30 – 9.00 น.    ลงทะเบียน
9.00 – 10.30 น.  เวลาในการอบรม
10.30 – 10.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น.  เวลาในการอบรม
12.00 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น.  เวลาในการอบรม
14.30 – 14.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.00 น.  เวลาในการอบรม

 วิทยากร

ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
ทางด้านงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงงานให้บริการทางด้านเทคนิค
การให้คำปรึกษา ทางด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ
จำนวนหลายโครงการในหลายบริษัทฯ

 

ดร.พงษ์ศักดิ์ ดุลยประพันธ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง
อดีตนักวิจัยด้านเทคโนโลยีการหล่อโลหะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

คุณเอกชัย กิติแก้วทวีเสริฐ
วิศวกรทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอะลูมิเนียม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

 รายละเอียดการลงทะเบียน

ราคาค่าลงทะเบียนแบ่งตามประเภทผู้เข้าอบรม ดังนี้
บุคคลทั่วไป/เอกชน ราคาจ่ายสุทธิรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 7,490 บาท/ท่าน
ข้าราชการ/พนักงานองค์กรของรัฐ ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จ่ายสุทธิ 7,000 บาท/ท่าน

 ลงทะเบียนผ่าน Google form ที่  https://forms.gle/dAVyNeWvr6DhjBJR9

หมายเหตุ
– ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
– มีเอกสารประกอบการอบรม อาหารว่างและอาหารกลางวัน ให้กับผู้เข้ารับการอบรม
– รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น
กรณีที่ทางศูนย์ฯ ขอยกเลิกการจัดอบรม
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจัดอบรม อันเนื่องจากมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าอบรมจำนวนน้อยเกินไปหรือมีเหตุฉุกเฉินอื่นที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้สมัครในทุกกรณี  อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับค่าอบรมที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้า

**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
**โปรดดำเนินการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 หากท่านไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ศูนย์ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสำรองที่นั่งอบรมของท่าน**

การชำระค่าลงทะเบียน
ทำเช็คสั่งจ่าย/ โอนเงินเข้าบัญชี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
(กรุณาส่งหลักฐานการฝากเช็ค/ โอนเงินเข้าบัญชีมาทางอีเมล boonrkk@mtec.or.th)

 สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม
(คุณบุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th

The post หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (High Pressure Die Casting Process Technology) appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>