biochar Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/biochar/ National Metal and Materials Technology Center Thu, 19 Jun 2025 07:33:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico biochar Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/biochar/ 32 32 ไบโอชาร์กับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง https://www.mtec.or.th/biochar-std/ Thu, 19 Jun 2025 02:15:09 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38586 มาตรฐานเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของไบโอชาร์ มาตรฐานช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอชาร์ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและระดับสากล

The post ไบโอชาร์กับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ไบโอชาร์กับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

มาตรฐานเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของไบโอชาร์ มาตรฐานช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอชาร์ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและระดับสากล นอกจากนี้ยังเป็นการผลักดันให้ไบโอชาร์สามารถเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย

ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับไบโอชาร์ และพัฒนาระเบียบวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไบโอชาร์ การจัดทำได้ศึกษามาตรฐานและระเบียบวิธีการของต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย ทั้งนี้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับไบโอชาร์ที่ใช้ในระดับสากล เช่น European Biochar Certificate (EBC) ของยุโรป, International Biochar Initiative (IBI) ของสหรัฐอเมริกา, หรือในเอเชีย เช่น Singapore Standard (SGS) มาตรฐานเหล่านี้เป็นมาตรฐานสมัครใจ เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติพื้นฐาน การจัดหาและความยั่งยืนของวัสดุชีวมวล ซึ่งครอบคลุมชนิดและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาใช้ มีข้อกำหนดองค์ประกอบทางเคมีของไบโอชาร์ และจำกัดสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ มาตรฐานยังครอบคลุมกระบวนการผลิตและเตาผลิตไบโอชาร์ ซึ่งประกอบด้วยแนวทางการควบคุมกระบวนการไพโรไลซิส เพื่อให้โบโอชาร์ที่ผลิตได้มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอน

สำหรับความพร้อมระเบียบวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของโบโอชาร์ในประเทศ ปัจจุบันไทยมีกลไก T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเปิดให้มีการขึ้นทะเบียน และรับรอง ‘คาร์บอนเครดิต’ ซึ่งได้แก่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้ ทั้งนี้คาร์บอนเครดิตสามารถนำไปใช้รายงาน เพื่อใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กรและจากการผลิตผลิตภัณฑ์ได้

การพัฒนาระเบียบวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไบโอชาร์อ้างอิงมาตรฐานวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไบโอชาร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น Puro Earth, Carbon Standards International (CSI), Verra (VCS VM0044) และ Gold Standard

ทั้งนี้ระเบียบวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนจะครอบคลุมหัวข้อขอบเขตการประเมิน การประเมินเสถียรภาพของคาร์บอน ระยะเวลาการกักเก็บ วิธีการคำนวณคาร์บอนที่กักเก็บ และการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม การนำมาตรฐานสากลมาใช้ในประเทศไทยยังต้องเผชิญความท้าทาย ทั้งจากความหลากหลายของวัตถุดิบชีวมวลเอง ความขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานและห้องปฏิบัติการทดสอบในประเทศ ความซับซ้อนของกระบวนการรับรอง ตลอดจนต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนามาตรฐานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจของประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ไบโอชาร์ไทยสามารถเติบโตและแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน

ติดต่อสอบถามข้อมูล:
ทีมวิจัยวัสดุและระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ดร. เปรมฤดี กาญจนปิยะ
โทรศัพท์ 0-2564-6500 ต่อ 4452
เว็บไซต์:  https://www.mtec.or.th/env-research-group-sma-team/

The post ไบโอชาร์กับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์ https://www.mtec.or.th/public-consultation-220825/ Wed, 21 May 2025 04:37:22 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37716 งานประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์ เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ลิงก์ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์ การผลิตและการนำไบโอชาร์ที่มาจากเศษชีวมวลเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นการช่วยลดปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้แบบเปิดหรือไฟป่า นอกจากนี้การใช้งานไบโอชาร์โดยนำไปผสมลงในดินหรือผสมในผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างหรืออื่นๆที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน กำลังได้รับความสนใจในการผลิตและใช้งานมากขึ้น เนื่องจากส่วนประกอบของคาร์บอนที่มีความคงตัวสูงในไบโอชาร์สามารถถูกกักเก็บได้เป็นเวลาหลายร้อยปี จะช่วยลด CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศได้ จากคู่มือการประเมินบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจกของ IPCC ... Read more

The post งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

งานประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์

การผลิตและการนำไบโอชาร์ที่มาจากเศษชีวมวลเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นการช่วยลดปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้แบบเปิดหรือไฟป่า นอกจากนี้การใช้งานไบโอชาร์โดยนำไปผสมลงในดินหรือผสมในผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างหรืออื่นๆที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน กำลังได้รับความสนใจในการผลิตและใช้งานมากขึ้น เนื่องจากส่วนประกอบของคาร์บอนที่มีความคงตัวสูงในไบโอชาร์สามารถถูกกักเก็บได้เป็นเวลาหลายร้อยปี จะช่วยลด CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศได้ จากคู่มือการประเมินบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจกของ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ที่จัดทำขึ้นในปี 2019 ได้ระบุว่าคาร์บอนในไบโอชาร์มีโครงสร้างทางเคมีและฟิสิกส์ที่มีความเสถียรสูง ทนต่อการย่อยสลายทางชีวภาพและการออกซิเดชัน ทำให้คาร์บอนถูกกักเก็บในดินได้ยาวนานขึ้น จากคุณสมบัติของไบโอชาร์ตามที่ได้กล่าวไปนี้ ทำให้การใช้งานไบโอชาร์เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการทำโครงการด้านคาร์บอนเครดิตในระดับสากล ซึ่งมีมาตรฐานสากลด้านคาร์บอนเครดิตระดับสากลหลายแห่งที่ได้จัดทำขึ้นแล้วเพื่อรองรับการผลิตและใช้ไบโอชาร์ในการลดก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ไบโอชาร์ที่ถูกนำไปผสมในดินยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินสำหรับการเกษตรให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มการเก็บกักน้ำ เพิ่มเสถียรภาพในการเก็บธาตุอาหาร ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ในภาคอุตสาหกรรม ไบโอชาร์สามารถนำไปใช้เป็นวัสดุดูดซับมลพิษในระบบกรองน้ำ สารเติมแต่งในวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไบโอชาร์ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียชีวมวลจากการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและลดของเสียที่ต้องกำจัด

องค์การมาตรฐานคาร์บอนระดับสากล ได้มีการจัดทำมาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ไบโอชาร์ระดับสากล เพื่อรับรองคุณภาพ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต คุณสมบัติและการใช้ของไบโอชาร์ ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไบโอชาร์มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผลิตไบโอชาร์ที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งจะช่วยลด CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศและส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานสากลที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้โดยตรงกับประเทศไทย เนื่องจากปัจจัยหลายประการที่เป็นลักษณะเฉพาะของประเทศและจำเป็นต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับบริบทในประเทศ เช่น ประเภทของชีวมวลที่แตกต่างกัน ซึ่งประเทศไทยมีเศษชีวมวลที่หลากหลายประเภทและชีวมวลแต่ละประเภทอาจให้ผลการผลิตไบโอชาร์ที่ต่างกัน ทั้งในด้านคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไบโอชาร์และความพร้อมของอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ทำให้มาตรฐานสากลอาจไม่สามารถนำมาใช้ได้ตรง ๆ กับการผลิตในประเทศไทย ตลาดไบโอชาร์ในประเทศไทยอาจแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นกับลักษณะเฉพาะของระบบเศรษฐกิจและนโยบายการพัฒนาและลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย และเกณฑ์ข้อกำหนดด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมของไทยอาจมีเงื่อนไขที่เฉพาะต่อการกำหนดคุณสมบัติของไบโอชาร์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศ เป็นต้น

ในการนี้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้เห็นความสำคัญที่ผู้ผลิตแลผู้ใช้ไบโอชาร์ ควรมีแนวทางปฏิบัติด้านการผลิตและคุณภาพไบโอชาร์ที่สอดคล้องกันและนำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดการผลิต การใช้งาน และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไบโอชาร์ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงได้ร่วมกันจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์ ที่อ้างอิงกับมาตรฐานการรับรองไบโอชาร์ในระดับสากลขึ้น โดยมีเป้าหมายนำไปประกาศเผยแพร่และใช้อ้างอิงเป็น มอก. เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตไบโอชาร์สามารถกำหนดคุณลักษณะและคุณภาพที่ชัดเจนในการผลิต ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ไบโอชาร์ที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอน

คณะทำงานด้านเทคนิค ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และคณะกรรมการวิชาการด้านมาตรฐานไบโอชาร์สำหรับอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ได้ให้ความเห็นชอบให้นำ (ร่าง) มาตรฐานฯ จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ (Online) ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2568 และจัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ ในวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.00 – 16.15 น.

ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นฯ ผ่านแบบสำรวจด้านล่าง ภายในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2568

เอกสารและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

  • (ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์
  • แบบสำรวจความคิดเห็น
  • กำหนดการงานรับฟังความคิดเห็น
  • ลิงก์ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชาพิจารณ์ 22 สิงหาคม 2568 (Webex) คลิ๊กที่นี่

The post งานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง)มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไบโอชาร์ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา https://www.mtec.or.th/biochar-carbon-removal/ Wed, 21 May 2025 04:16:58 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37715 ไบโอชาร์ (biochar) แตกต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายหลักของการใช้ประโยชน์ เนื่องจากถ่านทั่วไปใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบโอชาร์ใช้เพื่อกักเก็บคาร์บอนในระยะยาวด้วยการตรึงคาร์บอนในรูปของแข็งที่มีความเสถียรมากขึ้น

The post ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

ไบโอชาร์ (biochar) แตกต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายหลักของการใช้ประโยชน์ เนื่องจากถ่านทั่วไปใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบโอชาร์ใช้เพื่อกักเก็บคาร์บอนในระยะยาวด้วยการตรึงคาร์บอนในรูปของแข็งที่มีความเสถียรมากขึ้น แทนที่จะปล่อยให้ชีวมวลอินทรีย์ย่อยสลายไปตามธรรมชาติและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

ไบโอชาร์เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอน (carbon removal) ที่สามารถช่วยให้แต่ละประเทศบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ Net Zero Emissions (NZE) อันสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยีไบโอชาร์จัดเป็นมาตรการสำคัญเพิ่มเติม ตามแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำหนดไว้ใน Nationally Determined Contribution (NDC) ที่ไทยกำหนดภายใต้กรอบข้อตกลงปารีส

ไบโอชาร์ไม่เพียงช่วยการกักเก็บคาร์บอน (carbon sequestration) ลงในดินนานนับร้อยปีเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสารปรับปรุงดิน (soil amendment) โดยไบโอชาร์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน เพิ่มการถ่ายเทอากาศ ช่วยการอุ้มน้ำของดิน ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เพิ่มความสามารถในการกักเก็บสารอาหาร และยังประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพืช และเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อเกษตรกรรมในระยะยาว

นอกจากภาคการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภาคเกษตรกรรมที่นำไบโอชาร์ไปใช้ประโยชน์เพื่อการกักเก็บคาร์บอนและการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์โบโอชาร์ในด้านอื่นๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเนื่องจากไบโอชาร์เป็นฉนวนความร้อนที่ดี จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร ตลอดจนสามารถนำไปผสมกับคอนกรีต เพื่อปรับปรุงความแข็งแรงและความทนทานของคอนกรีตได้อีกด้วย

ไบโอชาร์ยังมีการใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น การบำบัดน้ำเสีย การกรองอากาศ หรือการใช้เป็นวัสดุดูดซับในอุตสาหกรรมต่างๆ

ด้วยคุณประโยชน์มากมาย ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวและใช้ประโยชน์จากไบโอชาร์กันอย่างแพร่หลาย โดยมีมูลค่าการตลาดรวมกันทั้งโลกราวพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ที่สำคัญคือยังคงมีอัตราการเติบโตสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดต่อเนื่อง ตลาดสำคัญของไบโอชาร์อยู่ที่ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเองก็มีสัดส่วนขนาดทางการตลาดที่ใหญ่และเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน

เอ็มเทคและหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ มุ่งมั่นร่วมมือดำเนินการวิจัยและพัฒนา และผลักดันการใช้ประโยชน์ไบโอชาร์ในประเทศไทย ครอบคลุมการภาคการเกษตร การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการผลิต ตลอดจนเร่งจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้ใช้ไบโอชาร์ที่มีคุณภาพอย่างปลอดภัย

ติดต่อสอบถามข้อมูล:
ทีมวิจัยวัสดุและระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
ดร.เปรมฤดี กาญจนปิยะ
โทรศัพท์: 0 2564 6500 ต่อ 4452
อีเมล: premrudk@mtec.or.th

The post ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>