Failure Analysis Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/failure-analysis/ National Metal and Materials Technology Center Thu, 23 Jan 2025 09:47:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico Failure Analysis Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/failure-analysis/ 32 32 บรรลัยวิทยา – การวิเคราะห์ความเสียหาย https://www.mtec.or.th/failure-analysis/ Thu, 23 Jan 2025 08:19:59 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=34459 “สืบจากศพ” หลายท่านอาจจะคุ้นกับคำนี้ ซึ่งเป็นคำง่ายๆ ที่หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการระบุลักษณะและสาเหตุของการเสียชีวิต

The post บรรลัยวิทยา – การวิเคราะห์ความเสียหาย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

บรรลัยวิทยา - การวิเคราะห์ความเสียหาย

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

“สืบจากศพ” หลายท่านอาจจะคุ้นกับคำนี้ ซึ่งเป็นคำง่ายๆ ที่หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการระบุลักษณะและสาเหตุของการเสียชีวิต เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียชีวิต สำหรับเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนทางวิศวกรรรมที่เกิดความเสียหายก่อนเวลาอันควร เราก็สามารถ “สืบจากสนิมและรอยแตก” ได้เช่นเดียวกัน โดยกระบวนการที่เรียกว่า “การวิเคราะห์ความเสียหาย (failure analysis)”

การวิเคราะห์ความเสียหาย เป็นกระบวนการวิเคราะห์ในเชิงวิศวกรรมอย่างเป็นระบบและใช้เทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อหาข้อสรุปว่า เหตุใดเครื่องจักรหรือวัสดุทางวิศวกรรมจึงเกิดความเสียหาย หรือไม่ทำงานตามที่ออกแบบไว้

ในกรณีที่เกิดการแตกหัก สิ่งแรกที่วิศวกรต้องทำคือ การหาจุดเริ่มต้นของรอยแตก (crack origin) กระบวนการนี้อาศัยรูปแบบที่พบบนรอยแตกหักของเครื่องจักร ซึ่งอาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น ร่องรอยคล้ายแม่น้ำ (river mark) ซึ่งบริเวณ ‘ลำธารเล็กๆ’ ที่ต้นแม่น้ำจะชี้ไปที่จุดเริ่มต้นรอยแตก หรือหากพบลักษณะคล้ายสันทรายบนชายหาด (beach mark) ก็บ่งชี้ถึงการแตกหักเนื่องจากความล้า (fatigue) ซึ่งเกิดจากชิ้นส่วนทางวิซศวกรรมได้รับแรงกระทำที่เป็นวัฏจักร (cyclic load) โดยกึ่งกลางสันทรายคือตำแหน่งเริ่มต้นของการแตก

ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นการจากกัดกร่อน (corrosion) ก็สามารถวิเคราะห์ได้เช่นเดียวกัน เช่น สนิมสีดำบนเนื้อเหล็กมักเกิดจากชิ้นงานนั้นผ่านการใช้งานที่อุณหภูมิสูงจนเกิดเป็นสนิมชนิด FeO หรือ Fe3O4 หรือหากพบสนิมสีแดง-ส้ม ก็อาจเกิดจากชิ้นงานสัมผัสกับความชื้นสูงจนเกิดเป็นสนิมชนิด FeOOH หรือ หากเหล็กสัมผัสหรือปนเปื้อนคลอไรด์จากน้ำทะเลเมื่อเราตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่กำลังขยายสูง เราก็อาจเห็นสัณฐานของสนิมคล้ายกับดอกฝ้าย

เมื่อทราบจุดเริ่มต้นและสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้สามารถหาวิธีป้องกันและแก้ไขความเสียหายที่เคยเกิดขึ้น อันจะนำไปสู่การลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่ไม่คาดคิดที่อาจส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้

การวิเคราะห์ความเสียหายจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาคุณภาพชีวิต และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ขอบคุณข้อมูลจาก

บทความ “บรรลัยวิทยา” โดย โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว วิศวกรอาวุโส ทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและวิศวกรรมการเชื่อถือ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

The post บรรลัยวิทยา – การวิเคราะห์ความเสียหาย appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>