truck can Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/truck-can/ National Metal and Materials Technology Center Mon, 16 Jun 2025 02:14:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico truck can Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/tag/truck-can/ 32 32 จาก ‘กระป๋องเครื่องดื่มใช้แล้ว’…สู่ ‘อุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะการชนท้าย’ https://www.mtec.or.th/tma/ Fri, 13 Jun 2025 03:24:40 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=38496 การชนท้ายเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากยานพาหนะคู่กรณีมีความแข็งเกร็ง (rigid) และน้ำหนักต่างกันมาก

The post จาก ‘กระป๋องเครื่องดื่มใช้แล้ว’…สู่ ‘อุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะการชนท้าย’ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

จาก ‘กระป๋องเครื่องดื่มใช้แล้ว’...สู่ ‘อุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะการชนท้าย’

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

การชนท้ายเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากยานพาหนะคู่กรณีมีความแข็งเกร็ง (rigid) และน้ำหนักต่างกันมาก เช่น พาหนะขนาดเล็ก อย่างมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ ชนกับรถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือรถปฏิบัติงานที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ เช่น ซ่อมบำรุงไฟฟ้า ดูดฝุ่น และตีเส้นจราจร โดยเฉพาะบนทางด่วนและทางหลวง

กรณีรถปฏิบัติงาน แม้ว่าจะมีมาตรฐานการปฏิบัติงานก็ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุการชนท้ายได้ ซึ่งมักมีผู้เสียชีวิตตามมา วิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุคือ การติดอุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะ (Truck Mounted Attenuator, TMA) บริเวณท้ายรถปฏิบัติงาน หรือ ‘รถคุ้มกัน’

อย่างไรก็ดี การติด TMA ก็มีข้อจำกัด 2 เรื่องหลัก ได้แก่ ราคานำเข้าที่สูง และพื้นที่ติดตั้งซึ่งหากยาวเกินไปจะเป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ นอกจากนี้เมื่อ TMA เกิดความเสียหายแล้ว ก็จะไม่สามารถนำมาใช้งานได้อีก ส่งผลให้มีจำนวนอุปกรณ์ไม่เพียงพอในภาพรวม

ทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรพัฒนา TMA โดยทีมวิจัยเอ็มเทคได้ออกแบบและเลือกใช้วัสดุเพื่อลดข้อจำกัดที่กล่าวมาแล้ว

ทีมวิจัยเลือกวัสดุที่มีโครงสร้างผนังบางรูปทรงท่ออย่างกระป๋องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วเนื่องจากมีราคาถูก และมีพื้นที่ในการยุบตัวมากสามารถดูดซับพลังงานได้ดี โดยออกแบบเป็น TMA แบบติดตั้งถาวรที่พับเก็บได้ และรองรับการชนที่ระดับความเร็วสูงสุด 100 กม./ชม. สำหรับติดตั้งกับรถปฏิบัติงานบนทางด่วน

ปัจจัยหลักที่ใช้ในการออกแบบ ได้แก่ ความเร็วในการชน มวลของรถ และขีดจำกัดการหน่วงความเร็ว ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการบาดเจ็บของมนุษย์ ทีมวิจัยจึงนำปัจจัยหลักเหล่านี้มาใช้ในการออกแบบ TMA ให้มีขนาดความยาวพอที่จะดูดซับพลังงานจากแรงปะทะ และมีแรงปะทะที่ไม่เกินค่าสูงสุดที่ยอมรับได้ โดยใช้วัสดุเสริมแรง ได้แก่ โฟมโพลิยูรีเทน ช่วยดูดซับแรงปะทะ

ทีมวิจัยยังต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้โดยประยุกต์กับงานอื่น เช่น ตัวดูดซับบริเวณแยกตัววาย หรือจุดสิ้นสุดราวกั้น ซึ่งหากมีการใช้งานจริงก็จะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนน ยกระดับความปลอดภัย ทั้งเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อหมุนเวียนใช้ซ้ำก่อนนำกลับมารีไซเคิลใหม่

ปัจจุบันงานวิจัยนี้ได้ผลิตเป็นต้นแบบแล้ว ส่วนการขยายผลในอนาคตจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในการสนับสนุนวัสดุและค่าใช้จ่ายในการผลิต ผลิต ติดตั้ง เพื่อใช้งานเชิงสาธารณะประโยชน์

ติดต่อสอบถามข้อมูล:
ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์
โทรศัพท์: 0 2564 6500 ต่อ 4573
อีเมล: sompongs@mtec.or.th

The post จาก ‘กระป๋องเครื่องดื่มใช้แล้ว’…สู่ ‘อุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะการชนท้าย’ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>