จากนักเคมี….สู่นักวัสดุด้านยางธรรมชาติ
ภาพโดย: กฤษณ คูหาจิต “แม้ผลงานจะมีจุดเด่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำไปใช้ได้จริงเสมอไป เพราะสิ่งที่เราคิดว่าเด่นก็อาจไม่ใช่สิ่งที่อุตสาหกรรมต้องการก็ได้ เราต้องไปคุยกับอุตสาหกรรมเพื่อรับทราบปัญหาที่แท้จริงและเสนอสิ่งที่เขาต้องการ” ปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยวัสดุยางและการขึ้นรูปขั้นสูง กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง สมัยนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่ใครสักคนจะทำงานในสายอาชีพที่ไม่ตรงกับวุฒิการศึกษา แต่ก็ยังประสบความสำเร็จในอาชีพนั้นๆ ได้ คุณปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยวัสดุยางและการขึ้นรูปขั้นสูง กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง จบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านเคมีวิเคราะห์ แต่ได้ผันตัวมาทำวิจัยด้านยางธรรมชาติ ผลงานของเธอและทีมวิจัยถือว่าไม่ธรรมดา เพราะรับประกันด้วยรางวัลอันทรงคุณค่ามากมาย ทั้งยังติดอันดับผลงานเด่นของเอ็มเทคอีกด้วย การรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2561 รางวัลระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จากนักเคมีวิเคราะห์….สู่นักวัสดุด้านยางธรรมชาติ คุณปิยะดาเล่าว่า “ตอนมาสมัครงานที่เอ็มเทค ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการยาง หน่วยวิจัยโพลิเมอร์ ต้องการให้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acid: VFA) ในน้ำยางแทนวิธีการเดิมที่ใช้การกลั่นแยกและนำไปไตเตรท โดยวิธีที่พัฒนาขึ้นจะต้องถูกต้อง รวดเร็ว และพกพาได้ แต่เนื่องจากติดปัญหาในการวิเคราะห์น้ำยางด้วยเครื่องมือราคาแพงที่ยังวัดได้ค่อนข้างยาก จึงไม่ได้พัฒนาต่อ และเริ่มเปลี่ยนมาศึกษาน้ำยางธรรมชาติแทน” แม้ไม่ได้จบสาขาโพลิเมอร์โดยตรง แต่ตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา 11 […]