Precious Experience

ณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังความปลอดภัยในยานยนต์

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานพัฒนาคุณภาพการเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลย คุณณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจำลองการฉีดขึ้นรูปพลาสติกโดยใช้โปรแกรม Moldflow ขณะทำวิทยานิพนธ์มีโอกาสได้ทำงานในบริษัท SME แห่งหนึ่งประมาณ 6 เดือน จึงทำให้ได้เรียนรู้พื้นฐานการออกแบบ การกัดแม่พิมพ์ การออกแบบแม่พิมพ์ และการกำหนดไกด์ไลน์ (guideline) ในการฉีดพลาสติก หลังจบการศึกษาได้เข้าทำงานที่เอ็มเทคและทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอด 21 ปี คุณณรงค์มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรม การวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ การออกแบบพัฒนาต้นแบบสำหรับการผลิต การออกแบบกระบวนการทดสอบและการประเมินสมรรถนะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล และการพัฒนาแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับกระบวนการผลิต เริ่มต้นชีวิตการทำงาน คุณณรงค์เริ่มงานที่เอ็มเทคในตำแหน่งวิศวกรด้านการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CAD (Computer Aided Design) และกรรมวิธีการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CAM (Computer Aided Manufacturing) เขาเล่าว่า “ตอนที่สมัครงานเอ็มเทคเป็นตำแหน่งวิศวกร เพื่อมาทำงานด้านคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม หรือ CAE (Computer Aided Engineering) […]

ปริญญา จันทร์หุณีย์ จากครูเทคนิค…สู่นักพัฒนาอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานพัฒนาคุณภาพการเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลย คุณปริญญา จันทร์หุณีย์ วิศวกรอาวุโส ทีมวิจัยชีวกลศาสตร์ กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการเขียนแบบ ออกแบบ และการใช้ซอฟต์แวร์ (Software) ต่างๆ ในการเขียนและออกแบบ และสามารถนำความรู้มาต่อยอดในการคิดค้นและพัฒนาผลงานเด่นสำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยทางการแพทย์หลากหลายผลงาน ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการแพทย์และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์เหล่านี้จากต่างประเทศในราคาแพง  จุดเริ่มต้นของการศึกษาด้านการออกแบบ คุณปริญญาเล่าว่า “ผมจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นคณะและสาขาที่ปั้นนักศึกษาให้มาเป็นครูเทคนิคนั่นเอง” “ในเทอมสุดท้ายก่อนจบการศึกษาได้เลือกเรียนวิชาการออกแบบ 3 มิติ เป็นวิชาเลือกเสรี ถือเป็นโชคชะตาก็ว่าได้ เพราะเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครเลือกเรียนเลย ซึ่งจริงๆ แล้วชอบเรียนวิชาเขียนแบบ ออกแบบมาตั้งแต่สมัยเรียน ปวช. แล้ว โดยเรียนจบ ปวช. ในสาขาช่างยนต์ที่นครศรีธรรมราช” “การมีความชอบส่วนตัวเป็นพื้นฐานทำให้การเรียนราบรื่นไม่มีอุปสรรคเลย หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีก็ได้มีประสบการณ์ไปเป็นครูสอนความรู้ด้านช่างให้กับนักศึกษาสาขาช่างกล ที่วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี” ประสบการณ์การทำงานในภาคเอกชน  หลังจากเป็นครูได้สักพัก คุณปริญญาก็ลาออกไปทำงานกับบริษัทขายซอฟต์แวร์ออกแบบสำหรับงานด้านวิศวกรรม (Solidworks) ในแผนก application engineering โดยมีหน้าที่สาธิตและแนะนำการใช้งานซอฟต์แวร์ รวมถึงรับทราบและแก้ไขปัญหาของลูกค้า เช่น บริษัทผลิตล้อแม็ก  คุณปริญญาเล่าประสบการณ์ว่า  “ถ้าพบปัญหาล้อพังก็จะแก้ปัญหาโดยเอาโมลเก่าไปเซาะร่องให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้แข็งแรงขึ้น ถือว่าแก้ปัญหาได้ทันที […]

ปิยพงศ์ เปรมวรานนท์ จากวิศวกรไฟฟ้า….สู่การทำงานด้านวิศวกรรมน้ำหนักเบา

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานพัฒนาคุณภาพการเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุถ่ายภาพโดย เมธยา สุดใจฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี คุณปิยพงศ์ เปรมวรานนท์ วิศวกรอาวุโส ทีมวิจัยวิศวกรรมน้ำหนักเบา กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มีความรู้และความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบทางแสง และการใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในการออกแบบทางวิศวกรรม และได้ต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานมากมายในด้านการออกแบบทางแสง ยานยนต์ไฟฟ้า และวิศวกรรมน้ำหนักเบา รวมถึงการมีแนวความคิดและแรงบันดาลใจในการทำงานที่ดีเยี่ยมและนำไปสู่ผลที่ได้รับทั้งความสนุกและผลงานเด่น ภายใต้วลีเด็ดที่ชื่นชอบว่า “ฝันใกล้ๆ แล้วไปให้ถึง” จุดเริ่มต้นของการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า “จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยในช่วงระหว่างทำโครงงานเพื่อจบการศึกษา ทางอาจารย์ที่ปรึกษาได้แนะนำให้ทราบว่าจะมีอุทยานวิทยาศาสตร์มาเปิดใกล้ๆ และบอกว่าน่าสนใจนะ ถ้าเรียนจบแล้วไม่อยากทำงานเป็นวิศวกรในสายโรงงานหรือบริษัทต่างๆ สนใจจะมาทำงานเป็นอาจารย์หรือทำวิจัยอะไรแบบนี้ไหม อาจารย์คงเห็นว่าเราเหมาะที่จะทำงานทางด้านนี้ หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จึงได้สมัครสอบขอรับทุน ก.พ. (ทุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ที่จบแล้วกลับมาทำงานที่เอ็มเทค) ไปศึกษาต่อปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัย University of Southern California ประเทศสหรัฐอเมริกา” ก้าวแรกสู่เส้นทางสายวิจัยและการนำความรู้มาใช้ในการทำงานที่เอ็มเทค “หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโทได้ขอกลับมาทำงานที่เอ็มเทคก่อน โดยเริ่มต้นเข้าทำงานในทีมของอาจารย์ปราโมทย์ เดชะอำไพ โดยงานแรกๆ ที่เริ่มทำด้านไฟไนต์เอลิเมนต์ จะเป็นการวิเคราะห์ด้านความร้อนและการถ่ายเทความร้อน ซึ่งมีสมการใกล้เคียงกับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความรู้เดิมอยู่แล้ว จากนั้นก็ขยับไปทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความแข็งแรง […]

ประสบการณ์จากงานหลากหลาย…สไตล์บุญรักษ์

  “การจัดคอร์สอบรมจะต้องมีการวางแผนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการประสานงานกับวิทยากร เพราะวิทยากรบางคนจะมีรายละเอียดเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการทำงานก็ต้องสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อจะได้จัดคอร์สได้ตรงกับความต้องการที่สุด” บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์ ผู้ประสานงานอาวุโส งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์ หรือโต๋ว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบันเป็นผู้ประสานงานอาวุโส งานพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีวัสดุเพื่ออุตสาหกรรม ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ก้าวแรกสู่ชีวิตการทำงาน หลังจากเรียนจบปริญญาตรี คุณบุญรักษ์ได้เริ่มงานในโรงอุตสาหกรรมฟอกย้อมหนังสัตว์แห่งหนึ่ง คุณบุญรักษ์เล่าว่า “ในช่วงแรกเป็นการทดลองงานจึงต้องไปเรียนรู้งานต่าง ๆ ภายในโรงงาน ต้องไปทำงานคลุกคลีกับคนงานอื่น ๆ เหมือนเป็นคนงานทั่วไป งานที่ทำตอนนั้นคือการเอาหนังสัตว์ใส่เข้าเครื่องแล้วใช้สารเคมีเพื่อฟอกย้อม ถือว่าต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด เพราะความรู้ที่ใช้ในการฟอกย้อมหนังสัตว์เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่แตกต่างจากความรู้ที่เคยเรียนในสถาบันการศึกษา แต่ผมทำงานที่นี่ในระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1 เดือน เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น โรงงานตั้งอยู่ห่างไกลจากที่พัก ทำให้ใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนาน และลักษณะงานที่ยังไม่ตรงตามที่คาดหวัง” ก้าวสู่รั้วเอ็มเทค “ในช่วงที่กำลังหางานใหม่อยู่นั้น ผมแวะมาหาเพื่อนที่จบรุ่นเดียวกันที่ทำงานที่เอ็มเทค ก็ทำให้พบกับ ดร.อนุชา เอื้อเพิ่มเกียรติ ซึ่งท่านเป็นอาจารย์พิเศษที่ลาดกระบังและเคยสอนผมวิชาหนึ่ง ในช่วงหนึ่งของการสนทนา อาจารย์ถามว่าทำงานที่ไหน ผมจึงเรียนให้ท่านทราบว่ากำลังหางาน […]

ทิพวรรณ ตั้งจิตพิบูล จากงานนโยบายสู่แนวปฏิบัติ กับงานกิจการยุทธศาสตร์

ทิพวรรณ ตั้งจิตพิบูล จากงานนโยบายสู่แนวปฏิบัติ กับงานกิจการยุทธศาสตร์ คุณทิพวรรณ ตั้งจิตพิบูล หรือเอ็มมี่ จบการศึกษาในระดับปริญญาโท ในปี พ.ศ. 2542 และเริ่มต้นงานที่ สวทช. ในฝ่ายวิจัยนโยบายของสำนักงานกลาง (สก.) โดยต่อมามีการปรับโครงสร้างให้หน่วยงานที่ทำงานด้านวิจัยนโยบายแยกออกไปจัดตั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) หรือ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในปัจจุบัน หลังจากที่เอ็มมี่ออกไปทำงานที่ สวทน. ได้ระยะหนึ่งก็กลับมาทำงานที่ สวทช. อีกครั้งในฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย หรือ CPMO สก. โดย ศ.ดร. มรกต ตันติเจริญ ได้ชักชวนให้มาช่วยงาน Delivery Mechanism ซึ่งเป็นการออกแบบกลไกการผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ จากนั้นได้ย้ายไปอยู่งานกลยุทธ์ สก. และย้ายมาทำงานสังกัดงานกิจการยุทธศาสตร์ เอ็มเทค ในปัจจุบัน การกลับมาริเริ่ม สร้างสรรค์งาน เอ็มมี่ เล่าประสบการณ์ช่วงที่ได้มีโอกาสกลับเข้ามาทำงานที่ สวทช. อีกครั้งว่า “จากที่ได้ทำงานนโยบายระดับชาติมาโดยตลอด พอได้กลับมาทำงานกับ สวทช. ในครั้งที่ […]

1 2 3 4 7