แปลและเรียบเรียง โดย อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

แผ่นปิดแผลฉลาดประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) ส่วนปิดแผล (ขวา) ที่มีเซ็นเซอร์และตัวนำส่งยาปฏิชีวนะ และ 2) ไมโครโพรเซสเซอร์ (ซ้าย) สำหรับประมวลค่าที่ได้จากเซ็นเซอร์และกระตุ้นการนำส่งยา
ทีมวิจัยจาก Tufts University พัฒนาต้นแบบแผ่นปิดแผลที่สามารถตรวจติดตามอาการของแผลเรื้อรังและนำส่งยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาแผลให้ดีขึ้น
ทีมวิจัยจาก Tufts University พัฒนาต้นแบบแผ่นปิดแผลที่สามารถตรวจติดตามอาการของแผลเรื้อรังและนำส่งยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาแผลให้ดีขึ้น
แผลเรื้อรังที่เกิดจากไฟไหม้ โรคเบาหวาน หรือความเจ็บป่วยอื่นๆ สามารถทำลายความสามารถในการฟื้นฟูของผิวหนังและบ่อยครั้งที่นำไปสู่การติดเชื้อ การอักเสบ และการตัดอวัยวะ เนื่องจากสภาวะของแผลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น การช่วยให้อัตราการรักษาเร็วขึ้นทำได้ด้วยการรักษาให้ถูกเวลา
พารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับติดตามสภาวะของแผลคือ ค่าพีเอช โดยค่าพีเอชของแผลปกติจะอยู่ในช่วง 5.5-6.5 ขณะที่แผลติดเชื้อจะสูงกว่า 6.5 ส่วนอุณหภูมิสามารถบ่งชี้สภาวะการอักเสบหรือติดเชื้อบริเวณแผลและรอบๆ แผลได้
ทีมวิจัยจาก Tufts University ออกแบบแผ่นปิดแผลให้ฉลาดโดยติดตั้งเซ็นเซอร์สำหรับวัดค่าพีเอชและอุณหภูมิลงบนแผ่นปิดแผลที่ยืดหยุ่นได้เพื่อติดตามสภาวะของแผลตามเวลาจริง นอกจากนี้ ยังติดตั้งไมโครโพรเซสเซอร์สำหรับประมวลผลค่าที่วัดได้จากเซ็นเซอร์และปลดปล่อยตัวนำส่งยาปฏิชีวนะโดยการให้ความร้อนแก่เจลได้อย่างเหมาะสม

โครงสร้างทั้งหมดนี้ติดอยู่บนเทปกาวโปร่งใสที่ใช้สำหรับงานด้านการแพทย์ทำให้มีความหนาน้อยกว่า 3 มิลลิเมตรและยืดหยุ่น การเลือกองค์ประกอบเช่นนี้ทำให้มีราคาถูก สามารถใช้แล้วทิ้งได้ ยกเว้นไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้ซ้ำได้
แผ่นปิดแผลฉลาดประสบความสำเร็จในการทดสอบสภาวะนอกกาย (in vitro) แล้ว และกำลังทดสอบพรีคลินิกกับในกาย (in vivo) โดยเปรียบเทียบกับการใช้แผ่นปิดแผลแบบเดิมและผลิตภัณฑ์รักษาแผล
สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่
- https://now.tufts.edu/news-releases/smart-bandages-designed-monitor-and-tailor-treatment-chronic-wounds
- https://techxplore.com/news/2018-07-material-windows-power-home-temperature.html