ต้นแบบระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติ
ที่มาของโจทย์วิจัย ชิ้นส่วนวิศวกรรมในระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้ามักเกิดความเสียหายจากการใช้งาน ชิ้นส่วนเหล่านี้จำเป็นต้องซ่อมแซมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลาในการสั่งซื้อ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมอัตโนมัติสำหรับการเชื่อมซ่อม เช่น การเชื่อมเติมเต็มเนื้อวัสดุที่หายไป โดยใช้โลหะชนิดเดียวกับชิ้นส่วนเดิม และการเชื่อมพอกโลหะในกลุ่มที่ทำให้มีผิวการใช้งานที่แข็งขึ้น โดยใช้โลหะอื่นๆ ที่มีสมบัติพิเศษ เป้าหมาย ทีมวิจัยเอ็มเทค นำโดย ดร.นิรุตต์ นาคสุข ร่วมกับฝ่ายโรงงานและอะไหล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติที่สามารถเชื่อมซ่อมชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมตำแหน่งของชิ้นงานและการเคลื่อนที่ของหัวเชื่อม ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมและควบคุมการทำงานผ่านหน้าจอสัมผัสหลัก หรือผ่าน Teach Pendent ได้โดยสะดวก และเลือกดูหรือบันทึกค่าต่างๆ ที่สำคัญในระหว่างการเชื่อม เช่น Heat Input, Arc Voltage และ Arc Current เพื่อนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์คุณภาพงานเชื่อมได้โดยง่าย ระบบเชื่อมยังสามารถทำงานในลักษณะ Edge Following โดยการควบคุมระยะการเชื่อมผ่านการควบคุม Arc Voltage ได้อีกด้วย นอกจากนี้ หัวเชื่อมที่ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นใหม่ภายในประเทศ ยังสามารถรถสอดเข้าไปเชื่อมภายในชิ้นงาน และสามารถงอที่ปลายหัว เพื่อให้ได้มุมการเอียงหัวที่เหมาะสมในระหว่างการเชื่อมอีกด้วย ทีมวิจัยทำอย่างไร สำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบระบบเชิงกลและสร้างแบบสำหรับการผลิต […]