โครงการวิจัย

การพัฒนาเครื่องมือด้าน IT เพื่อสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

การพัฒนาเครื่องมือด้าน IT เพื่อสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ที่มา การที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จะต้องเปลี่ยนวิธีการผลิต การบริโภคสินค้า และการใช้ทรัพยากร ดังนั้นการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการสร้างของเสียจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป้าหมาย พัฒนาเครื่องมือด้าน IT ที่ใช้งานง่ายและสื่อสารข้อมูลที่นำไปสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ทีมวิจัยทำอย่างไร สร้างข้อมูลพื้นฐานจากการดำเนินการในสภาวะปกติ คำนวณและประเมินตามหลักวิทยาศาสตร์และสากล แปลผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญ นำไปสู่การปรับปรุงการผลิตและการบริโภค ตัวอย่างเครื่องมือ MFA Pro – Material Flow Analysis: โปรแกรมประเมินการไหลของปาล์มตั้งแต่เข้าโรงงานผ่านกระบวนการผลิตจนได้น้ำมันปาล์ม รวมถึงประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย อุตสาหกรรมสามารถนำข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น โดยได้นำไปใช้ในภาคธุรกิจและบริการแล้ว Lookie Waste: แอปพลิเคชันสำหรับมือถือที่ช่วยสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคให้บริโภคแบบพอดี เพื่อลดของเสียจากเศษอาหาร โดยได้นำไปใช้ในภาคธุรกิจและบริการแล้ว WELA: เว็บแอปพลิเคชันที่ใช้ในการประเมินวัฏจักรชีวิต โดยนำไปใช้งานในช่วงปลายปี 2561 ผลการทดสอบ มีความเฉพาะเจาะจงกับการใช้งาน เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ง่าย ใช้งานสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และช่วยลดข้อผิดพลาดของการทำงาน สื่อสารข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภค ผลกระทบ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกได้รับประโยชน์ ข้อมูลที่ได้จาก MFA Pro ช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต […]

น้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมากสำหรับทำผลิตภัณฑ์ Para AC ในอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน

น้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมากสำหรับทำผลิตภัณฑ์ Para AC ในอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน ที่มา การใช้น้ำยางพาราข้นเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ PARA AC ที่อุณหภูมิ 140-160 ºC มักเกิดปัญหาไอระเหยของแอมโมเนียทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเกิดการอุดตันของน้ำยางพาราข้นในท่อนำส่ง แม้ว่าผู้ประกอบการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรสำหรับดูดไอระเหยของแอมโมเนีย และสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติมแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย พัฒนาน้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมาก (ultra-low ammonia latex, ULA) น้ำยาง ULA นี้มีเสถียรภาพต่อความร้อนสูง จึงเหมาะกับการใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ PARA AC สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตน้ำยาง ULA ระดับห้องปฏิบัติการ โดยใช้สารเคมีชนิดอื่นทดแทนแอมโมเนีย ร่วมกับ บริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด ผลิตน้ำยาง ULA ระดับอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำยาง ULA อ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 980-2552 (น้ำยางข้นธรรมชาติ) ร่วมกับ บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) นำน้ำยาง ULA […]

ต้นแบบระบบหุ่นยนต์เชื่อมพอกอัตโนมัติ

ต้นแบบระบบหุ่นยนต์เชื่อมพอกอัตโนมัติ ที่มา การซ่อมชิ้นส่วนวิศวกรรมของโรงผลิตไฟฟ้าที่สึกหรอมักใช้ช่างเชื่อมที่มีความเชี่ยวชาญสูงในการเชื่อมพอกเติมเนื้อและเชื่อมพอกผิวแข็ง แต่ช่างเชื่อมเหล่านี้เริ่มหายาก มีอายุมาก มีอัตราค่าจ้างสูง และอาจใช้เวลาเชื่อมนาน นอกจากนี้คุณภาพของรอยเชื่อมอาจไม่สม่ำเสมอขึ้นกับความเหนื่อยล้าของช่างเชื่อม เกิดปัญหาต้องกลับมาซ่อมใหม่ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงเสียโอกาสในการผลิตไฟฟ้า เป้าหมาย พัฒนาระบบหุ่นยนต์เชื่อมพอกอัตโนมัติที่มีระบบสั่งการผ่านซอฟต์แวร์ มีการออกแบบให้หัวเชื่อมยาว หักมุมได้ และควบคุมระยะห่างจากชิ้นงานได้อัตโนมัติ เพื่อให้สามารถเชื่อมชิ้นงานที่มีความลึกหรือชิ้นงานขนาดใหญ่ เช่น ระบบท่อ วาล์ว และเพลาได้ โดยที่หัวเชื่อมไม่ชนกับชิ้นงาน ทีมวิจัยทำอย่างไร สำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบระบบเชิงกล ออกแบบระบบไฟฟ้าและมอเตอร์ พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ ทดสอบการใช้งาน อบรมการใช้งานให้แก่ผู้ใช้ ผลการทดสอบ ช่างเชื่อมทำงานได้สะดวก ขั้นตอนการทำงานลดลง งานมีคุณภาพดี เวลาในการซ่อมบำรุงลดลงจาก 7 วัน เหลือ 2 วัน ต้นทุนลดลงร้อยละ 40 โอกาสในการผลิตไฟฟ้าได้เร็วขึ้น สถานภาพงานวิจัย ต้นแบบระบบหุ่นยนต์เชื่อมพอกอัตโนมัติเป็นโครงการรับจ้างวิจัยที่ได้รับทุนจาก กฟผ. และเริ่มใช้งานจริง ณ ศูนย์ซ่อมและผลิตอะไหล่โรงไฟฟ้า (สำนักงานหนองจอก) ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 แผนงานในอนาคต พัฒนาหุ่นยนต์เชื่อมซ่อมภายนอก (โครงการแรก) ให้ดีขึ้น […]

การออกแบบพัฒนาต้นแบบกระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียม

การออกแบบพัฒนาต้นแบบกระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียม ที่มา อุตสาหกรรมการหล่ออะลูมิเนียมใช้การเติมฟลักซ์เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกออกจากอะลูมิเนียมหลอมเหลว ทำให้มีสกิมหรือดรอสร้อน (hot dross) เกิดขึ้น เมื่อนำดรอสร้อนไปแยกอะลูมิเมียมออกก็จะได้กากตะกรัน (salt slag) ที่มีเกลือในปริมาณสูง ทั้งนี้โรงงานแต่ละแห่งมักใช้วิธีกำจัดด้วยการฝังกลบ แต่ระหว่างการจัดเก็บถ้ากากตะกรันสัมผัสกับน้ำและหรือความชื้นในอากาศ ก็จะเกิดแก๊สแอมโมเนียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย พัฒนากระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียมที่ใช้งานได้จริงในการผลิต กระบวนการดังกล่าวได้ผลลัพธ์ดังนี้ ลดปริมาณคลอไรด์ไอออน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมซีเมนต์ และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิตซีเมนต์ ลดปริมาณแก๊สแอมโมเนียที่เกิดขึ้น เพื่อให้จัดเก็บได้ง่ายขึ้น ทีมวิจัยทำอย่างไร ศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยในต่างประเทศ วิเคราะห์ตัวอย่างกากตะกรัน ทบทวนกระบวนการจัดการแบบเดิม เลือกกระบวนการที่เหมาะสมกับประเทศไทย ออกแบบกระบวนการและเพิ่มประสิทธิภาพ ออกแบบเครื่องมือและเครื่องจักร ผลการทดสอบ เพิ่มมูลค่ากากตะกรันโดยใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมซีเมนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก และอุตสาหกรรมเซรามิก ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดกากตะกรันด้วยการฝังกลบ จัดเก็บกากตะกรันได้ง่ายขึ้น ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สถานภาพงานวิจัย อยู่ระหว่างการขยายขนาดระบบการปรับสภาพกากตะกรันให้รองรับกำลังการผลิตจริงในโรงงาน ร่วมมือกับหน่วยวิจัยเซรามิกส์พัฒนาคุณภาพและนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม แผนงานในอนาคต พัฒนาระบบจัดเก็บและฐานข้อมูลพารามิเตอร์การหล่ออะลูมิเนียม รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดเก็บและควบคุมทางสถิติสำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมหล่ออะลูมิเนียม ทีมวิจัย เอ็มเทค : นายอมรศักดิ์ เร่งสมบูรณ์ และคณะ ติดต่อ พวงพร พันธุมคุปต์ นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ โทรศัพท์: 02 […]

ชุดแบตเตอรี่สำหรับการใช้งานด้านความมั่นคง

ชุดแบตเตอรี่ สำหรับการใช้งานด้านความมั่นคง ที่มา การทำงานของยุทโธปกรณ์อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก แต่ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่มาพร้อมกับยุทโธปกรณ์ดังกล่าวชำรุดเนื่องจากใช้งานมานาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดซื้อมาทดแทนได้ ทั้งยังมีราคาสูง เป้าหมาย พัฒนาชุดแบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติดังนี้ สามารถทดแทนแบตเตอรี่ชุดเดิมที่ชำรุด มีขนาดและน้ำหนักที่ใกล้เคียงเดิม มีอายุการใช้งานต่อการชาร์จ 1 ครั้งเพิ่มขึ้น มีความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า มีความแข็งแรงทนต่อแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนเหมาะสำหรับงานภาคสนาม มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการทำงานและแสดงผลบนหน้าจอ มีราคาถูก ทีมวิจัยทำอย่างไร สำรวจข้อมูลความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบชุดแบตเตอรี่ให้มีคุณสมบัติตามที่ตั้งเป้าไว้ ทดสอบตามมาตรฐานของแบตเตอรี่ รวมถึงมาตรฐานทางการทหาร ทดสอบการใช้งานในภาคสนาม ผลการทดสอบ สามารถใช้งานแทนแบตเตอรี่ชุดเดิมที่ชำรุดได้ มีความจุเพิ่มขึ้น 3 เท่าทำให้มีอายุการใช้งานต่อการชาร์จ 1 ครั้งเพิ่มขึ้นจาก 1 วันเป็น 3 วัน ผ่านมาตรฐานการทดสอบคุณสมบัติ และความปลอดภัยของแบตเตอรี่ รวมถึงมาตรฐานทางการทหาร มีราคาลดลงประมาณ 4 เท่า สถานภาพงานวิจัย ส่งมอบผลงาน รวมถึงทดสอบภาคสนามเรียบร้อยแล้ว และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนงานในอนาคต พัฒนาชุดแบตเตอรี่สำหรับใช้ในยุทโธปกรณ์ชนิดอื่น เป็นที่ปรึกษาด้านระบบกักเก็บพลังงานให้แก่ภาคเอกชนที่สนใจ ทีมวิจัย เอ็มเทค : ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล และคณะ เนคเทค […]

1 11 12 13 14 15 26