โครงการวิจัย

การออกแบบโครงสร้างอาหาร

การออกแบบโครงสร้างอาหาร ปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่มีสารอาหาร (nutritious food products) เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาหารดังกล่าวจึงมักรวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากธรรมชาติ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร มีโปรตีนสูง มีไขมันต่ำ รวมถึงมีสารอาหารรอง (micronutrients) [1] และ สารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compounds) [2] เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาหารดังกล่าวมักมีข้อด้อยเรื่องรสชาติ เนื้อสัมผัส (texture) และความเสถียรของผลิตภัณฑ์เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารดั้งเดิม (อาหารปกติ) ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค การออกแบบโครงสร้างอาหาร (food structure design) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างและควบคุมเนื้อสัมผัส ลักษณะปรากฏแก่อาหารเพื่อสุขภาพให้ใกล้เคียงอาหารดั้งเดิม อีกทั้งยังสามารถให้กลิ่น และรสชาติที่ดีอีกด้วย การนำเทคโนโลยีออกแบบโครงสร้างอาหารมาใช้พัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพจำเป็นต้องบูรณาการความรู้หลายด้าน โดยเฉพาะความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ และวิศวกรรมวัสดุ [3] เนื่องจากอาหารเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่มีหลายองค์ประกอบ และมีโครงสร้างซับซ้อน การออกแบบโครงสร้างอาหารจึงมักเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้องค์ประกอบที่เป็นวัตถุดิบอาหาร และกระบวนการเตรียมหรือขึ้นรูปอาหาร (food processing) ที่ส่งผลต่อการเกิดโครงสร้างอาหาร อันนำไปสู่ความสามารถในการควบคุมเนื้อสัมผัสของอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างเพื่อปรับเนื้อสัมผัสที่ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค ได้วิจัยและพัฒนา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารไขมันต่ำ [4] […]

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าของไทย สำหรับการฝึกอบรมช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาที่ใช้วิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจและสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจให้บีบตัวเป็นจังหวะ หรือช็อกกล้ามเนื้อหัวใจที่สั่นพลิ้วให้หยุดสั่นแล้วกลับมาทำงานเป็นปกติอีกครั้ง AED Trainer เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต (Automated External Defibrillator Trainer) เป็นเครื่องมือสำหรับสอนการใช้ AED อย่างถูกต้องและปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ รวมทั้งสอนขั้นตอนการกระตุกหัวใจที่ถูกต้อง อย่างไรก็ดีเครื่อง AED Trainer ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและมีขายในประเทศเป็นเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาที่หลากหลายขึ้นกับยี่ห้อและประสิทธิภาพในการทำงาน คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต (Thai Resuscitation Council หรือ TRC) ซึ่งก่อตั้งโดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการสอนการช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน ได้เสนอให้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) พัฒนาเครื่อง AED Trainer ในนามของเครือข่ายนวัตกรรมยางพารา เพื่อให้สามารถผลิตใช้ได้ในประเทศ มีราคาถูก และทดแทนการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต MTEC ได้พัฒนาเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต และแผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิต โดยได้รับการแนะนำขั้นตอนการใช้งาน AED จากคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต เพื่อใช้ในการฝึกอบรมจริงในหลักสูตรการช่วยชีวิต ติดต่อ ดร. […]

1 12 13 14 15 16 26