โครงการวิจัย

ระบบทำความสะอาดเถ้าสะสมผนังเตาด้วยระบบฉีดน้ำแรงดันสูง

ที่มา เถ้าที่เหลือจากการเผาถ่านหินที่เกาะสะสมบนผนังภายในหม้อน้ำของโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ส่งผลโดยตรงต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะถ่านหินลิกไนต์ที่ขุดจากเหมืองแม่เมาะซึ่งมีปริมาณเถ้าแคลเซียมออกไซด์ (CaO) หลังจากการเผาไหม้สูง และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ดังนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงสนใจที่จะพัฒนาระบบทำความสะอาดเถ้าสะสมผนังเตาโรงไฟฟ้าแม่เมาะด้วยระบบฉีดน้ำแรงดันสูงและระบบที่เกี่ยวข้อง เป้าหมาย พัฒนาเทคโนโลยีในการทำความสะอาดผนังเตาแบบออนไลน์อัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาระบบหุ่นยนต์ 2 แกนสําหรับฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อกําจัดเถ้าสะสมที่เกาะบนผนังเตา รวมถึงซอฟต์แวร์ในการประมวลผลอุณหภูมิที่อ่านได้จากผนังเตา เพื่อประเมินปริมาณการสะสมตัวของเถ้าบนผนังเตา และใช้ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ให้ทำความสะอาดผนังเตาในตำแหน่งที่มีเถ้าสะสมสูง (focus cleaning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานวิจัย ระบบทำความสะอาดเถ้าสะสมผนังเตาด้วยระบบฉีดน้ำแรงดันสูง สามารถรองรับปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณแคลเซียมออกไซด์ในถ่านหินในอนาคต ระบบนี้สามารถปรับการทำงานได้ตามต้องการ มีประสิทธิภาพในการกำจัดเถ้าสะสมได้ตรงจุด ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านเทคโนโลยีและค่าซ่อมบำรุงลงได้ การพัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นมาใช้เองในประเทศยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานขององค์กรด้วยการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สถานภาพการวิจัย อยู่ระหว่างการทดสอบระบบในระยะที่ 2 ร่วมกับหน่วยผลิตไฟฟ้าที่ 11 โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แผนงานวิจัยในอนาคต บูรณาการความรู้และทักษะที่ใช้ในการออกแบบและสร้างระบบทำความสะอาดฯ ร่วมกับพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อจำลองสนามการไหล (flow field simulation) ของการถ่ายเทความร้อนและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) รายชื่อทีมวิจัย ดร.นิรุตต์ นาคสุข, จิรเดช นาคเงินทอง, ฉัตรชัย สุขศรีเมือง, ชัยยันต์ สกุลเพชรอร่าม, ณรงค์กร ภัทรมาศ, อนุสรณ์ […]

สูตรดอกยางล้อตันประหยัดพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา ยางรถฟอร์คลิฟท์เป็นผลิตภัณฑ์ยางตันขนาดใหญ่ซึ่งใช้กับรถยกของตามโรงงานต่าง ๆ เนื่องจากรถฟอร์คลิฟท์ต้องรับน้ำหนักสูงและอาจถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ยางรถโฟล์คลิฟท์จึงต้องมีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี และมีความร้อนสะสมที่เกิดจากการใช้งานต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการระเบิดที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะที่ใช้งานหนักและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ยางรถฟอร์คลิฟท์จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องผลิตจากยางธรรมชาติเพราะยางธรรมชาติมีสมบัติเชิงกลดีเยี่ยม มีความยืดหยุ่นสูง และมีความร้อนสะสมต่ำ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ส่งผลทําให้ยางรถโฟล์คลิฟท์ของแต่ละบริษัทมีต้นทุนและคุณภาพที่แตกต่างกัน บริษัทสยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จํากัด เป็นบริษัทฯ ผู้ผลิตยางล้อตันสําหรับใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ภายใต้เครื่องหมายการค้า PIO-TYRE, BIG-TYRES และ JR-TYRES ที่เริ่มทําการผลิตและจําหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ จากกระแสความห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงว่าจ้างทีมวิจัยเอ็มเทควิจัยและพัฒนายางล้อตันให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น เป้าหมาย เพื่อผลิตต้นแบบดอกยางล้อตันประหยัดพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทีมวิจัยทำอย่างไร คณะวิจัยดำเนินการปรับปรุงสูตรดอกยางล้อรถฟอร์คลิฟท์ด้วยการลดปริมาณซิงก์ออกไซด์ที่มีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมลงร้อยละ 40 ปรับเปลี่ยนชนิดของน้ำมันที่ใช้เป็นสารช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตจากน้ำมัน DAE (distillate aromatic extract) ที่มีความเป็นพิษสูงเป็นน้ำมัน TDAE (treated distillate aromatic extract) ที่มีความเป็นพิษต่ำ รวมทั้งนำเทคโนโลยีการใช้สารตัวเติมผสม (hybrid filler technology) มาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานของยางล้อตัน ต้นแบบยางล้อตันรุ่น PIO-TYRES […]

การศึกษาและติดตามปัญหาการเกิดรอยพ่นคล้ายกับรอยที่เกิดจากความชื้น (Silver Streaks) ในชิ้นงานฉีดสไตรีน-อะคริโลไนทริล (AS) ด้วยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริก (TGA)

ที่มา แผ่นพลาสติก (cover plate) ที่ขึ้นรูปด้วยสไตรีน-อะคริโลไนทริล (AS) จากล็อตการผลิตต่างๆ ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เกิดรอยพ่นคล้ายกับรอยที่เกิดจากความชื้น หรือ ซิลเวอร์สตรีก (silver streaks) ในตำแหน่งต่างๆ บนชิ้นงาน ปัญหาดังกล่าวนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เรซินมีปริมาณความชื้นหลงเหลือมากเกินไป มีโมโนเมอร์ที่เหลือจากปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชัน หรือสารเติมแต่ง (additives) ต่างๆ ที่ผสมลงในเรซิน จึงจำเป็นต้องศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาการปฏิเสธชิ้นงานได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดซิลเวอร์สตรีก และนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ทีมวิจัยทำอย่างไร ใช้องค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ทดสอบอัตราการสลายตัวทางความร้อนของโพลิเมอร์ด้วยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริก (Thermogravimetric Analysis, TGA) ใช้องค์ความรู้ด้านการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดร่วมกับการจำลองสถานการณ์การฉีดเข้าแบบ (injection molding simulation) ทดลองฉีดขึ้นรูปชิ้นงานแผ่นพลาสติก ผลงานวิจัย ซิลเวอร์สตรีกในชิ้นงานแผ่นพลาสติกเป็นประเภทแอร์สตรีก (air streaks) เกิดจากการออกแบบชิ้นงานที่ไม่เหมาะสมและแม่พิมพ์ไม่มีช่องระบายอากาศทำให้อากาศถูกกัก และความรุนแรงของปัญหาจะเพิ่มสูงขึ้นหากฉีดชิ้นงานด้วย AS เกรดที่สลายตัวทางความร้อนได้ง่ายกว่า ชิ้นงาน cover plate ที่มีตำแหน่งของ gate อยู่ตรงกรอบสี่เหลี่ยมหนา […]

การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

• เม็ดหินเบา (Lightweight aggregate) ใช้แทนหินธรรมชาติในงานก่อสร้างที่ต้องการให้เบา หรือใช้เป็นหินประดับในตู้ปลา ไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ • วัสดุรูพรุนจากเถ้าแกลบ หรือไบโอฟิลเตอร์มีเดีย ใช้สำหรับการบำบัดน้ำทางชีวภาพ • วัสดุเพาะปลูกเอ็มเทค (MTEC Hortimedia) ใช้สำหรับปลูกพืชทั้งแบบไม่ใช้ดิน หรือใช้ผสมกับวัสดุปลูกชนิดอื่น

1 3 4 5 6 7 26