โครงการวิจัย

การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Identification of Emerging Pollutants & Solutions

• SMARTest ช่วยชี้นำการวางแผนนโยบาย (การจัดการสารพิษ) บนพื้นฐานข้อมูล • การพัฒนาวิธีการสำหรับการแยกแยะวัสดุที่ปนเปื้อนสารมลพิษอุบัติใหม่ ในผลิตภัณฑ์กลุ่ม สี น้ำมัน (ใช้แล้ว) และพลาสติกเนื้อนิ่ม เพื่อนำไปสู่ข้อมูลสารอันตรายจากขยะและของเหลือใช้จากครัวเรือนและเกษตรกรรมในอนาคต (Future Waste) • การพัฒนาวิธีการทดสอบสารปนเปื้อน (NonCl-POPs) ในแหล่งน้ำ โดยการพัฒนาอิเล็กโทรดวัสดุไฮบริด เพื่อการตรวจคัดกรองเบื้องต้นของการมีอยู่ของสารปนเปื้อน (non-Cl POPs) ในน้ำ • การวิเคราะห์ขั้วไฟฟ้าสำหรับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสารกำจัดแมลง เพื่อให้การควบคุมปริมาณสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพตามกำหนดของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิเคราะห์ทดสอบสำหรับการวิเคราะห์สารปนเปื้อนในสินค้า

• การจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารปนเปื้อนในวัสดุ (Trace Element Analysis Laboratory, TEA-Lab) เมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ปริมาณสารปนเปื้อนในวัสดุตามระเบียบ RoHS และเป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบในการนำไปสู่การขยายผลในการเพิ่มปริมาณห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณสารปนเปื้อนในวัสดุที่ได้มาตรฐานในประเทศไทย รวมทั้งการเป็นแหล่งสนับสนุนข้อมูลเทคนิค เพื่อการพัฒนาแนวทางในการวิเคราะห์ทดสอบ

การสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในระบบ “ChemSHERPA” ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมในไทย

• chemSHERPA เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการและการสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาโดยกระทรวง Ministry of Economy, Trade and Industry ของประเทศญี่ปุ่น กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงาน Joint Article Management Promotion-consortium (JAMP), Japan Environmental Management Association Industry (JEMAI) และ the Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS) ได้นำระบบการบริหารจัดการและสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิต (supply chain) ของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการปนเปื้อนของสารอันตราย และพัฒนาเครือข่าย Green Supply Chain ในประเทศ

การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม

• การจัดตั้งเครือข่ายสมัครใจ ThaiRoHS ในปี พ.ศ. 2547 และการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยในเครือข่ายสมัครใจ ThaiRoHS ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กับกลุ่มผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ Joint Article Management Promotion-consortium (JAMP) และ Japan Environmental Management Association for Industry (JEMAI) เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสารเคมีในผลิตภัณฑ์ และการสื่อสารข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในสายโซ่การผลิตผ่านทางเครื่องมือและกลไกต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสำแดงความสอดคล้องของสินค้า และตอบสนองต่อข้อกำหนดภายใต้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับส่วนผสมของสารอันตรายบางชนิดในสินค้า เช่น REACH-SVHC ได้ • การพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการไทย โดยการจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้า พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบที่เกี่ยวข้อง ในการรองรับการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามระเบียบ RoHS โดยได้รับแหล่งเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย เครือข่าย ThaiRoHS คู่มือการปรับตัว

การจัดทำทำเนียบสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs Inventory) ของประเทศ ฉบับที่ 2

การจัดทำทำเนียบสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs Inventory) ของประเทศ ฉบับที่ 2 และ (ร่าง) แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ฉบับที่ 2 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ดำเนินการหลักผ่านการดำเนินโครงการ “Enabling Activities to Review and Update the National Implementation Plan for the Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants (POPs) in Thailand” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) การจัดทำทำเนียบสาร POPs ทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกันดำเนินการ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ (NGO) ในประเทศ เพื่อพัฒนาแผนการจัดการสาร POPs ของประเทศ โดยได้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสาร POPs การเสริมสร้างความตระหนักถึงสภาพปัญหาและสถานะการจัดการของประเทศ การประเมินขีดความสามารถและการจัดลำดับความสำคัญในการจัดการสาร […]

1 4 5 6 7 8 26