env-researchproject Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/env-researchproject/ National Metal and Materials Technology Center Thu, 22 May 2025 07:13:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8.1 https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/03/favicon.ico env-researchproject Archives - MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/category/env-researchproject/ 32 32 ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา https://www.mtec.or.th/biochar-carbon-removal/ Wed, 21 May 2025 04:16:58 +0000 https://www.mtec.or.th/?p=37715 ไบโอชาร์ (biochar) แตกต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายหลักของการใช้ประโยชน์ เนื่องจากถ่านทั่วไปใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบโอชาร์ใช้เพื่อกักเก็บคาร์บอนในระยะยาวด้วยการตรึงคาร์บอนในรูปของแข็งที่มีความเสถียรมากขึ้น

The post ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา

เรียบเรียงโดย
งานสื่อสารและขับเคลื่อนความรู้ ฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุ

ไบโอชาร์ (biochar) แตกต่างจากถ่านทั่วไป (charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายหลักของการใช้ประโยชน์ เนื่องจากถ่านทั่วไปใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบโอชาร์ใช้เพื่อกักเก็บคาร์บอนในระยะยาวด้วยการตรึงคาร์บอนในรูปของแข็งที่มีความเสถียรมากขึ้น แทนที่จะปล่อยให้ชีวมวลอินทรีย์ย่อยสลายไปตามธรรมชาติและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

ไบโอชาร์เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอน (carbon removal) ที่สามารถช่วยให้แต่ละประเทศบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ Net Zero Emissions (NZE) อันสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยีไบโอชาร์จัดเป็นมาตรการสำคัญเพิ่มเติม ตามแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำหนดไว้ใน Nationally Determined Contribution (NDC) ที่ไทยกำหนดภายใต้กรอบข้อตกลงปารีส

ไบโอชาร์ไม่เพียงช่วยการกักเก็บคาร์บอน (carbon sequestration) ลงในดินนานนับร้อยปีเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสารปรับปรุงดิน (soil amendment) โดยไบโอชาร์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน เพิ่มการถ่ายเทอากาศ ช่วยการอุ้มน้ำของดิน ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เพิ่มความสามารถในการกักเก็บสารอาหาร และยังประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพืช และเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อเกษตรกรรมในระยะยาว

นอกจากภาคการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภาคเกษตรกรรมที่นำไบโอชาร์ไปใช้ประโยชน์เพื่อการกักเก็บคาร์บอนและการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์โบโอชาร์ในด้านอื่นๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเนื่องจากไบโอชาร์เป็นฉนวนความร้อนที่ดี จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร ตลอดจนสามารถนำไปผสมกับคอนกรีต เพื่อปรับปรุงความแข็งแรงและความทนทานของคอนกรีตได้อีกด้วย

ไบโอชาร์ยังมีการใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น การบำบัดน้ำเสีย การกรองอากาศ หรือการใช้เป็นวัสดุดูดซับในอุตสาหกรรมต่างๆ

ด้วยคุณประโยชน์มากมาย ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวและใช้ประโยชน์จากไบโอชาร์กันอย่างแพร่หลาย โดยมีมูลค่าการตลาดรวมกันทั้งโลกราวพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ที่สำคัญคือยังคงมีอัตราการเติบโตสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดต่อเนื่อง ตลาดสำคัญของไบโอชาร์อยู่ที่ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเองก็มีสัดส่วนขนาดทางการตลาดที่ใหญ่และเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน

เอ็มเทคและหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ มุ่งมั่นร่วมมือดำเนินการวิจัยและพัฒนา และผลักดันการใช้ประโยชน์ไบโอชาร์ในประเทศไทย ครอบคลุมการภาคการเกษตร การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการผลิต ตลอดจนเร่งจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้ใช้ไบโอชาร์ที่มีคุณภาพอย่างปลอดภัย

ติดต่อสอบถามข้อมูล:
ทีมวิจัยวัสดุและระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
ดร.เปรมฤดี กาญจนปิยะ
โทรศัพท์: 0 2564 6500 ต่อ 4452
อีเมล: premrudk@mtec.or.th

The post ไบโอชาร์ ถ่านที่ไม่ธรรมดา appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพื่อคงคุณค่าของพลาสติกประเภทพีอี https://www.mtec.or.th/research-projects-73591/ Thu, 30 Jan 2025 13:55:25 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=3082 การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพื่อคงคุณค่าของพลาสติกประเภทพีอี บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ (มหาชน) (SCGC) เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกจำพวกพอลิโอเลฟินส์ทั้งพีพีและพีอี SCGC มุ่งหวังจะเป็นผู้นำด้านโซลูชันเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงได้ดำเนินธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ... Read more

The post การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพื่อคงคุณค่าของพลาสติกประเภทพีอี appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพื่อคงคุณค่าของพลาสติกประเภทพีอี

บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ (มหาชน) (SCGC)

เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกจำพวกพอลิโอเลฟินส์ทั้งพีพีและพีอี SCGC มุ่งหวังจะเป็นผู้นำด้านโซลูชันเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงได้ดำเนินธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 

“ถุงนมกู้โลก” เป็นกิจกรรมที่ SCGC ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เยาวชนใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าและรู้จักแยกขยะ เพื่อเปลี่ยนขยะใกล้ตัวให้มีมูลค่า โดยนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นเก้าอี้พลาสติก อย่างไรก็ดี ถุงนมโรงเรียนผลิตจากพลาสติก LLDPE และ LDPE คุณภาพสูงจึงมีศักยภาพที่จะรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบรอบสองสำหรับผลิตเป็นฟิล์มบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เอื้อต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้ามีการควบคุมคุณภาพของถุงนมที่เก็บกลับคืน

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่

SCGC ร่วมมือกับ SWT, MTEC, QPP และผู้มีส่วนได้เสียตลอดโครงข่ายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ใช้การหมุนเวียนแบบวงรอบปิดของถุงนมโรงเรียน โดยรับฟังความเห็นและ Design inputs จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยหลัก D4R (Design for Recycle) ศึกษาแนวทางการคงคุณค่าวัสดุในสายการผลิตจริงทั้งในแนวทางที่ลดการใช้หมึกพิมพ์และการ De-ink และร่วมพัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน จนสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มที่มีความหนา 30 ไมโครเมตรได้ โดยตัวแทนของเม็ดรีไซเคิลที่ลดปริมาณสีลงทำให้ฟิล์มที่ผลิตได้มีผิวเรียบ มีความหนาสม่ำเสมอ ขึ้นรูปได้อย่างต่อเนื่อง และมีคุณสมบัติเทียบเท่าเดิม ยิ่งไปกว่านั้นพลาสติกยังมีศักยภาพในการนำไปรีไซเคิลในรอบถัดๆ ไปได้ การผลิตเม็ดรีไซเคิลตามแนวทางนี้จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกใหม่สำหรับผลิตเป็นถุงนมได้อีกครั้งถ้ากฎหมายอนุญาต

“สิ่งที่เราจะทำก็คือ เมื่อนำวัสดุกลับมาใช้ในระบบ เราอาจจะต้องพัฒนาคุณภาพของมันให้กลับมามีความแข็งแรงเท่าเดิม มีสีที่ปรับแต่งให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือมีคุณสมบัติด้านอื่นๆ ซึ่งเราจะเติมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวัสดุ แล้วทำการทดสอบทำรีพอร์ตให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าวัสดุเหล่านี้จะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเรามองว่าคือการพัฒนาสิ่งดีๆ คืนให้แก่สังคม”

ไพรฑูร สันติวิสุทธิ์
Application Incubation Manager ศูนย์ i2P
บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่

SCGC ร่วมมือกับ SWT, MTEC, QPP และผู้มีส่วนได้เสียตลอดโครงข่ายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ใช้การหมุนเวียนแบบวงรอบปิดของถุงนมโรงเรียน โดยรับฟังความเห็นและ Design inputs จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยหลัก D4R (Design for Recycle) ศึกษาแนวทางการคงคุณค่าวัสดุในสายการผลิตจริงทั้งในแนวทางที่ลดการใช้หมึกพิมพ์และการ De-ink และร่วมพัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน จนสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มที่มีความหนา 30 ไมโครเมตรได้ โดยตัวแทนของเม็ดรีไซเคิลที่ลดปริมาณสีลงทำให้ฟิล์มที่ผลิตได้มีผิวเรียบ มีความหนาสม่ำเสมอ ขึ้นรูปได้อย่างต่อเนื่อง และมีคุณสมบัติเทียบเท่าเดิม ยิ่งไปกว่านั้นพลาสติกยังมีศักยภาพในการนำไปรีไซเคิลในรอบถัดๆ ไปได้ การผลิตเม็ดรีไซเคิลตามแนวทางนี้จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกใหม่สำหรับผลิตเป็นถุงนมได้อีกครั้งถ้ากฎหมายอนุญาต

“สิ่งที่เราจะทำก็คือ เมื่อนำวัสดุกลับมาใช้ในระบบ เราอาจจะต้องพัฒนาคุณภาพของมันให้กลับมามีความแข็งแรงเท่าเดิม มีสีที่ปรับแต่งให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือมีคุณสมบัติด้านอื่นๆ ซึ่งเราจะเติมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวัสดุ แล้วทำการทดสอบทำรีพอร์ตให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าวัสดุเหล่านี้จะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเรามองว่าคือการพัฒนาสิ่งดีๆ คืนให้แก่สังคม”

ไพรฑูร สันติวิสุทธิ์
Application Incubation Manager ศูนย์ i2P
บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)

The post การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพื่อคงคุณค่าของพลาสติกประเภทพีอี appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพิ่ม Recyclability ด้วยเทคโนโลยี “De-ink” https://www.mtec.or.th/research-projects-73550/ Wed, 29 Jan 2025 13:55:39 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=3130 การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพิ่ม Recyclability ด้วยเทคโนโลยี “De-ink” บริษัท ซิกเวอร์ค (ประเทศไทย) จำกัด (SWT) เป็นผู้ผลิตหมึกพิมพ์และสารเคลือบสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม SWT ... Read more

The post การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพิ่ม Recyclability ด้วยเทคโนโลยี “De-ink” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพิ่ม Recyclability ด้วยเทคโนโลยี "De-ink"

บริษัท ซิกเวอร์ค (ประเทศไทย) จำกัด (SWT)

เป็นผู้ผลิตหมึกพิมพ์และสารเคลือบสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อม SWT ได้พัฒนาหมึกพิมพ์ที่ปราศจากสารโทลูอีน ทั้งยังพัฒนาเทคโนโลยี “De-ink” ทำให้โรงงานรีไซเคิลสามารถผลิตวัสดุรอบสองที่ปราศจากการปนเปื้อนจากหมึกพิมพ์และมีคุณภาพทัดเทียมวัสดุรอบแรกได้ แต่การจะพัฒนาระบบการรีไซเคิลพลาสติกคุณภาพสูงให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติยังต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียตลอดโครงข่ายคุณค่าของผลิตภัณฑ์

กรณีศึกษาถุงนมโรงเรียน แต่ละปีจะมีเศษถุงนมเกิดขึ้นกว่า 1,000 ล้านชิ้น ถุงนมเหล่านี้ผลิตจากพลาสติก LLDPE และ LDPE คุณภาพสูงสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบที่ดีได้ เนื่องจากมีคุณลักษณะและหน้าตาที่เป็นมาตรฐาน มีปริมาณที่ต่อเนื่อง มีปริมาตรไม่มาก อีกทั้งมีระบบโลจิสติกที่แน่นอนสามารถรับถุงนมกลับได้ แต่บนถุงนมมีการพิมพ์ลวดลายด้วยหมึกเต็มทั่วพื้นที่ ดังนั้นการนำถุงนมมารีไซเคิลเป็นวัสดุรอบสองที่มีคุณภาพสูงจึงทำได้ยาก 

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่

SCGC ร่วมมือกับ SWT, MTEC, QPP และผู้มีส่วนได้เสียตลอดโครงข่ายคุณค่าของผลิตภัณฑ์ใช้การหมุนเวียนแบบวงรอบปิดของถุงนมโรงเรียน โดยรับฟังความเห็นและ Design inputs จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยหลัก D4R (Design for Recycle) ศึกษาแนวทางการคงคุณค่าวัสดุในสายการผลิตจริงทั้งในแนวทางที่ลดการใช้หมึกพิมพ์และการ De-ink และร่วมพัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน จนสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มที่มีความหนา 30 ไมโครเมตรได้ โดยตัวแทนของเม็ดรีไซเคิลที่ลดปริมาณสีลงทำให้ฟิล์มที่ผลิตได้มีผิวเรียบ มีความหนาสม่ำเสมอ ขึ้นรูปได้อย่างต่อเนื่อง และมีคุณสมบัติเทียบเท่าเดิม ยิ่งไปกว่านั้นพลาสติกยังมีศักยภาพในการนำไปรีไซเคิลในรอบถัดๆ ไปได้ การผลิตเม็ดรีไซเคิลตามแนวทางนี้จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกใหม่สำหรับผลิตเป็นถุงนมได้อีกครั้งถ้ากฎหมายอนุญาต

การที่ SWT ออกแบบให้หมึกพิมพ์ลอกออกง่าย ช่วยให้โรงพิมพ์ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องเพิ่มชั้นไพร์เมอร์ (deinking primer) ก่อนจะพิมพ์หมึก อีกทั้งมีความปลอดภัยสูงทำให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ได้สามารถนำกลับมาผลิตถุงนมในรอบต่อไปได้ถ้ากฎหมายอนุญาตยิ่งไปกว่านั้นยังมีศักยภาพในการนำไปรีไซเคิลในรอบถัดๆ ไปด้วย

“ซิกเวอร์คช่วยทำให้คุณภาพของพลาสติกที่อยู่ใน Loop นี้สามารถกลับไปเป็นบรรจุภัณฑ์เดิมซึ่งตอบโจทย์ Circular มากขึ้น คือเมื่อก่อนเป็นการ Down Grade วัสดุรีไซเคิล แต่ตอนนี้เป็น Circular จริงๆ ที่พลาสติกสามารถวนกลับมาเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารได้อีกครั้งหนึ่ง การวนไปได้เรื่อยๆ แบบนี้หมายถึงจะไม่มี Waste หรือขยะเกิดขึ้น”

ดวงดี อังศมาพร
Head of Brand Owner Collaboration, Circular Economy and Marketing, SEA บริษัท ซิกเวอร์ค (ประเทศไทย) จำกัด

The post การหมุนเวียนถุงนมโรงเรียนแบบวงรอบปิด (Closing the Loop) เพิ่ม Recyclability ด้วยเทคโนโลยี “De-ink” appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิตผักกาดดอง https://www.mtec.or.th/research-projects-73535/ Tue, 28 Jan 2025 13:57:32 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=3176 การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิตผักกาดดอง บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด (PCC) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องสำเร็จรูปตรานกพิราบ โดยมีผักกาดดองเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลัก PCC ได้นำระบบควบคุมคุณภาพ และเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการพัฒนาคนและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผ่านการลงพื้นที่ในการส่งเสริมการเกษตร และถ่ายทอดแนวปฏิบัติให้สามารถผลิตผลิตผลที่ตรงกับมาตรฐานของโรงงานแปรรูป เพื่อลดต้นทุนและความสูญเสีย ... Read more

The post การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิตผักกาดดอง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิตผักกาดดอง

บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด (PCC)

เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องสำเร็จรูปตรานกพิราบ โดยมีผักกาดดองเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลัก PCC ได้นำระบบควบคุมคุณภาพ และเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการพัฒนาคนและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผ่านการลงพื้นที่ในการส่งเสริมการเกษตร และถ่ายทอดแนวปฏิบัติให้สามารถผลิตผลิตผลที่ตรงกับมาตรฐานของโรงงานแปรรูป เพื่อลดต้นทุนและความสูญเสีย นอกจากนี้ PCC ยังเก็บข้อมูลเพื่อติดตามคุณภาพในทุกขั้นตอน และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ระหว่างหน่วยงานภายในเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

การผลิตผักกาดดองมักประสบปัญหาเรื่องความหลากหลายของคุณภาพผลิตผล เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพดินฟ้าอากาศ พฤติกรรมการปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการผลิตผลปริมาณมากในระยะเวลาที่จำกัด แม้จะมีการสุ่มตรวจคุณภาพและเก็บข้อมูลในขั้นตอนต่างๆ ก็ยังไม่สามารถคาดการณ์ว่าผักกาดดองสุกที่ได้จะมีคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อไปเป็นผลิตภัณฑ์ในแบบใดบ้าง

การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย และนำผลพลอยได้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม

ด้วยแนวคิดที่จะใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตผักกาดดองอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด PCC จึงประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ระหว่างทรัพยากรขาเข้า กระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอน กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจำหน่าย ไปวางแผนการส่งเสริมการปลูกผักกาดเขียวปลี การผลิตผักกาดดอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 

การดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยให้ PCC สามารถลดวัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่กระบวนการผลิต อีกทั้งคาดการณ์คุณภาพของผักกาดดองสุกได้ ในส่วนของกระบวนการผลิต PCC สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับวัตถุดิบและแผนการจำหน่ายเพื่อลดปริมาณผักดองที่ต้องเก็บรักษา การปรับปรุงกระบวนการตัดแต่ง และการนำผลพลอยได้มาใช้ประโยชน์ก็ช่วยให้เกิดของเสียน้อยลง ส่งผลดีต่อบริษัทในแง่ของการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่ลดลง ส่วนเกษตรกรก็มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ทุกกระบวนการ มีของดีที่ใช้ได้ ของเสียที่ไม่ได้ใช้เเละใช้ไม่ได้
เราต้องหาวิธีการใหม่ให้ได้ของดีมากที่สุด ดีกว่าเเก้ไขปัญหาของเสียเหล่านั้น และคุณค่าที่ได้จะเเตกต่างกันมาก”

วิสุทธิ์ รัชตสวรรค์
กรรมการบริหาร บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958)

“พอเรามาทำโครงการนี้ เราก็มีมุมมองใหม่มีการปรับแนวคิดใหม่ว่า สิ่งที่เราเรียกว่า Waste จริงๆ มันจะต้องเป็น Resource และเพราะว่า Resource คือ ทำยังไงให้เราคงคุณค่า”

ประจญ ศรีไสว 
ผู้จัดการโรงงาน บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด

The post การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิตผักกาดดอง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
การพัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพสูง https://www.mtec.or.th/research-projects-73461/ Mon, 27 Jan 2025 04:36:03 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=6455 การพัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพสูง บริษัท บีเอช พลาสติก (BH Plastic) เป็นโรงงานรีไซเคิลขนาดย่อมในกลุ่ม ของหจก. พี เอส เอ็ม พลาสิเท็ค กรุ๊ปที่มีประสบการณ์นานกว่า 30 ... Read more

The post การพัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพสูง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การพัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพสูง

บริษัท บีเอช พลาสติก (BH Plastic)

เป็นโรงงานรีไซเคิลขนาดย่อมในกลุ่ม ของหจก. พี เอส เอ็ม พลาสิเท็ค กรุ๊ปที่มีประสบการณ์นานกว่า 30 ปี BH Plastic สามารถผลิตเม็ดคอมพาวนด์จากพลาสติกรีไซเคิลตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งเม็ดรีไซเคิลที่ผลิตได้มีสมบัติเทียบเคียงกับเม็ดพลาสติกที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน

จากกระแสรักษ์โลกที่ต้องการให้มีสัดส่วนของพลาสติกรีไซเคิลโดยเฉพาะแบบ PCR (Post-Consumer Recycled Plastics) ในผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ PCR ที่มาจากพลาสติกที่ผ่านการใช้งานเป็นที่ต้องการมากขึ้น อีกทั้งประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีการ นำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานที่มีปีละเกือบ 2 ล้านตันมารีไซเคิล ส่งผลให้ BH Plastic มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสูตรคอมพาวนด์จาก PCR เหล่านี้

การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงคุณสมบัติเพื่อยืดอายุการใช้งาน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้พัฒนากระบวนการผลิตกล่องของขวัญที่คงรูปทรงและไม่เปื่อยยุ่ยง่ายจากการผสมเยื่อปอสาเข้ากับเยื่อกระดาษจากแก้วกาแฟ โดยคำนึงถึงการคงคุณค่าและความ ปลอดภัยจากสารเคมีตลอดวงจรชีวิตตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้งาน และการนำไปผลิตในรอบถัดๆ ไป ซึ่งในการพัฒนาต้องอาศัยความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ในการเลือกใช้สารเติมแต่งที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพื่อจะได้ไม่ขัดขวางการนำมารีไซเคิลสำหรับใช้งานในรอบถัดไป ในส่วนของการขึ้นรูปได้มีการค้นคว้าและเสนอเทคนิค Molded Pulp Method ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย นอกจากนี้ ยังนำการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรตลอดวงจรชีวิตมาประกอบการออกแบบโซลูชันเพื่อให้สามารถประเมินผลกระทบของแนวทางที่เลือกใช้ตั้งแต่ช่วงต้นของการพัฒนา

การเลือกใช้วัตถุดิบทดแทนจากการรีไซเคิล เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบหมุนเวียนและสร้างมูลค่าเพิ่ม
BH Plastic จึงมุ่งไปที่การพัฒนาคอมพาวนด์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงสำหรับใช้ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมรรถนะสูงจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทพีพี (polypropylene) ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยออกแบบกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกแบบ PCR ที่รักษาคุณค่าเชิงฟังก์ชันของวัสดุในการพัฒนาพลาสติกรอบสอง รวมถึงเตรียมความพร้อมที่จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะนำกลับมาเวียนใช้ในรอบถัดๆ ไป BH Plastic ยังสร้างกลไกเพื่อให้เกิดความร่วมมือในโซ่อุปทานเพื่อร่วมกันกำหนดคุณลักษณะของวัตถุดิบที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังนำความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาพัฒนาสูตรที่ใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบที่มีให้คุ้มค่าและคงคุณค่าให้มากที่สุด

นอกจาก BH Plastic จะมีส่วนช่วยในการลดปริมาณขยะในประเทศที่คาดว่าจะสามารถนำมารีไซเคิลได้ประมาณ 1,200 ตันต่อปีแล้ว คอมพาวนด์พลาสติกรีไซเคิลที่พัฒนาขึ้นก็มีสมบัติเทียบเคียงกับคอมพาวนด์เกรดทนแรงกระแทก และสามารถนำไปขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีส่วนผสมรีไซเคิลสูงกว่าร้อยละ 65 BH Plastic คาดการณ์ว่าหากจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ทดแทนเม็ดพลาสติกรอบแรกได้จะสามารถลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนสมรรถนะสูงได้ถึง 0.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และลดก๊าซเรือนกระจกได้ 0.8 ล้าน kgCO2eq.

“เราจะทำอย่างไรให้พวกวัสดุพลาสติกรีไซเคิล ยังคงรักษามูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือว่าทางเศรษฐศาสตร์ไว้ให้ได้มากที่สุด แทนที่มันจะถูกฝังกลบไปโดยไม่มีมูลค่า หรือถูกเผาทำลายโดยทำลายสิ่งแวดล้อม แล้วก็ไม่ได้เกิดมูลค่าอะไร”

ฐิติพันธ์ วาณิชธนศรี
ผู้บริหาร บริษัท บี เอช พลาสติก จำกัด

The post การพัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพสูง appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
การออกแบบที่ใส่ใจ ตลอดเส้นทาง….เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก อย่างยั่งยืน https://www.mtec.or.th/research-projects-73253/ Sun, 26 Jan 2025 04:37:04 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=6488 การออกแบบที่ใส่ใจ ตลอดเส้นทาง….เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก อย่างยั่งยืน บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด เป็นบริษัทออกแบบและผลิตสินค้าประเภทไม้ โดยเน้นการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนคือ ใช้วัสดุให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ไม้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า ลดของเสียด้วยการนำมาใช้ประโยชน์ตามลำดับขั้น และคงคุณค่าให้ยาวนานที่สุดด้วยโมดูลาร์ดีไซน์ และเทคนิคการประกอบแบบไม่ใช้กาว เพื่อลดการสูญเสีย เมื่อนำไม้มาใช้งานในรอบต่อๆ ไป ... Read more

The post การออกแบบที่ใส่ใจ ตลอดเส้นทาง….เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก อย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การออกแบบที่ใส่ใจ ตลอดเส้นทาง....เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก อย่างยั่งยืน

บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด

เป็นบริษัทออกแบบและผลิตสินค้าประเภทไม้ โดยเน้นการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนคือ ใช้วัสดุให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ไม้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า ลดของเสียด้วยการนำมาใช้ประโยชน์ตามลำดับขั้น และคงคุณค่าให้ยาวนานที่สุดด้วยโมดูลาร์ดีไซน์ และเทคนิคการประกอบแบบไม่ใช้กาว เพื่อลดการสูญเสีย เมื่อนำไม้มาใช้งานในรอบต่อๆ ไป

เฟอร์นิเจอร์ไม้สักเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งความสวยงาม ความแข็งแรง ความคงทน และมีมูลค่าสูง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านราคาอาจไม่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้บางรายที่ต้องการปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์บ่อยๆ หรือหากต้องซ่อมแซมเมื่อมีชิ้นส่วนไม้เสียหาย อาจต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเพราะการยึดกาวทำให้แยกชิ้นส่วนได้ยาก และเมื่อเลิกใช้งาน การนำไม้สักเดิมไปใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์หรือผลิตภัณฑ์อื่นทำได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากต้องตัดไม้ส่วนที่ติดกาวออกทำให้ขนาดของชิ้นไม้เล็กลง จนอาจไม่เหมาะกับการใช้งานเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อรองรับน้ำหนัก อย่างไรก็ดี สามารถใช้เป็นไม้พื้นหรือไม้ปาร์เกต์ได้ แต่ไม้จะมีมูลค่าลดลงและนำไปหมุนเวียนในรอบต่อไปได้ยาก ทำให้ไม่สามารถคงคุณค่าของวัสดุไว้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

การประยุกต์ใช้โมดูลาร์ดีไซน์-เพื่อคงคุณค่าเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

บริษัทจึงออกแบบชุดโต๊ะและม้านั่งปิกนิกใหม่ให้ประกอบด้วยโมดูล (module) ที่สามารถถอดและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้แทนการเปลี่ยนทั้งชุด อีกทั้งยังใช้วิธีการประกอบชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์โดยไม่ใช้กาว และไม่ใช้สารเคมีในการเคลือบหรือตกแต่งพื้นผิว ทำให้สามารถคงคุณค่าของเฟอร์นิเจอร์และไม้สักได้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งจะคงคุณค่าของผลิตภัณฑ์และวัสดุได้ตลอดช่วงการใช้งาน รวมถึงการจัดการหลังการใช้ และการหมุนเวียนสู่การใช้งานในรอบต่อๆ ไปด้วย

“การเอาเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ มาใช้ใหม่ มันเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้ดีไซน์มาแก้ไขปัญหา ทำไมเราไม่คิดว่า จะแก้ไขปัญหาโดยการออกแบบหรือทำยังไง ที่ไม่ให้เกิดขยะในอนาคต”

จิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์
กรรมการผู้จัดการ/ฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด (DEESAWAT)

The post การออกแบบที่ใส่ใจ ตลอดเส้นทาง….เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก อย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน https://www.mtec.or.th/research-projects-73496/ Sat, 25 Jan 2025 04:39:56 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=6423 ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นองค์การสาธารณกุศลที่ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้แก่ชาวไทยภูเขาควบคู่ไปกับการพัฒนาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นโครงการหลัก คาเฟ่ดอยตุงเป็นธุรกิจเพื่อสังคมประเภทหนึ่งภายใต้โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในแต่ละปีร้านคาเฟ่ดอยตุงบนพื้นที่ดอยตุงจะมีแก้วกาแฟกระดาษที่ใช้แล้วมากถึง 1.5 ... Read more

The post ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

เป็นองค์การสาธารณกุศลที่ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้แก่ชาวไทยภูเขาควบคู่ไปกับการพัฒนาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นโครงการหลัก

คาเฟ่ดอยตุงเป็นธุรกิจเพื่อสังคมประเภทหนึ่งภายใต้โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในแต่ละปีร้านคาเฟ่ดอยตุงบนพื้นที่ดอยตุงจะมีแก้วกาแฟกระดาษที่ใช้แล้วมากถึง 1.5 ตัน การนำวัสดุเหลือทิ้งไปใช้ประโยชน์จะช่วยลดภาระในการจัดการขยะ สร้างความตระหนัก รวมถึงสร้างงานและรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้เพื่อคงคุณค่าของเยื่อกระดาษจากแก้วกาแฟและลดการใช้ทรัพยากร

การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงคุณสมบัติเพื่อยืดอายุการใช้งาน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้พัฒนากระบวนการผลิตกล่องของขวัญที่คงรูปทรงและไม่เปื่อยยุ่ยง่ายจากการผสมเยื่อปอสาเข้ากับเยื่อกระดาษจากแก้วกาแฟ โดยคำนึงถึงการคงคุณค่าและความ ปลอดภัยจากสารเคมีตลอดวงจรชีวิตตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้งาน และการนำไปผลิตในรอบถัดๆ ไป ซึ่งในการพัฒนาต้องอาศัยความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ในการเลือกใช้สารเติมแต่งที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพื่อจะได้ไม่ขัดขวางการนำมารีไซเคิลสำหรับใช้งานในรอบถัดไป ในส่วนของการขึ้นรูปได้มีการค้นคว้าและเสนอเทคนิค Molded Pulp Method ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย นอกจากนี้ ยังนำการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรตลอดวงจรชีวิตมาประกอบการออกแบบโซลูชันเพื่อให้สามารถประเมินผลกระทบของแนวทางที่เลือกใช้ตั้งแต่ช่วงต้นของการพัฒนา

ในช่วงการพิสูจน์แนวคิดนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้เรียนรู้กระบวนการและแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ในการคง/เพิ่มคุณค่าของเยื่อกระดาษ และลดการใช้ทรัพยากร ซึ่งหากต่อยอดแนวคิดไปสู่การผลิตจริงได้ สำเร็จ ก็จะสามารถพัฒนากล่องของขวัญที่สวยงามและมีฟังก์ชันที่เอื้อต่อการใช้งานซ้ำหรือนำไปใช้ประโยชน์แบบอื่นต่อได้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนต่อไป

The post ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน https://www.mtec.or.th/research-projects-72085/ Fri, 24 Jan 2025 07:11:51 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=6560 โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด รักษาคุณค่าของทรัพยากรในระบบและหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด และลดการปลดปล่อยของเสียออกจากระบบให้น้อยที่สุด เพื่อบรรลุการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม ... Read more

The post โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด รักษาคุณค่าของทรัพยากรในระบบและหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด และลดการปลดปล่อยของเสียออกจากระบบให้น้อยที่สุด เพื่อบรรลุการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

การจะขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้นั้น หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ “การออกแบบตั้งแต่ต้นทาง” ที่ครอบคลุมการออกแบบผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบรรจุภัณฑ์) กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน (รวมถึงการซ่อมแซมและยืดอายุการใช้งาน) และการจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว (การนำกลับมาใช้ซ้ำ การรีไซเคิล และการจัดการเศษซากผลิตภัณฑ์)

เพื่อให้การขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้การสนับสนุนจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนิน “โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้สามารถประยุกต์หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการออกแบบ

การดำเนินโครงการได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รับสมัครและคัดเลือกสถานประกอบการ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบรรจุภัณฑ์) กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน และการจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตต้นแบบที่ได้ออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ประกอบการนำไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้แนวทางการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ

สถานประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในซีซัน (season) นี้ ได้แก่

1. บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด
2. บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด
3. มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
4. บริษัท ซิกเวอร์ค (ประเทศไทย) จำกัด
5. บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC)
6. บริษัท บี เอช พลาสติก

การออกแบบที่ใส่ใจ
ตลอดเส้นทาง…
เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก
อย่างยั่งยืน
บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด

การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิต
ผักกาดดอง
บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด (PCC)

ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว
สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

การออกแบบที่ใส่ใจ
ตลอดเส้นทาง…
เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก
อย่างยั่งยืน
บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด

การคงคุณค่าของทรัพยากรตลอดเส้นทางการผลิต
ผักกาดดอง
บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด (PCC)

ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว
สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

The post โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ https://www.mtec.or.th/research-projects-53108/ Thu, 23 Jan 2025 06:09:05 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=8162 การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ • เม็ดหินเบา (Lightweight aggregate) ใช้แทนหินธรรมชาติในงานก่อสร้างที่ต้องการให้เบา หรือใช้เป็นหินประดับในตู้ปลา ไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ • วัสดุรูพรุนจากเถ้าแกลบ หรือไบโอฟิลเตอร์มีเดีย ใช้สำหรับการบำบัดน้ำทางชีวภาพ • วัสดุเพาะปลูกเอ็มเทค ... Read more

The post การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

• เม็ดหินเบา (Lightweight aggregate) ใช้แทนหินธรรมชาติในงานก่อสร้างที่ต้องการให้เบา หรือใช้เป็นหินประดับในตู้ปลา ไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ
• วัสดุรูพรุนจากเถ้าแกลบ หรือไบโอฟิลเตอร์มีเดีย ใช้สำหรับการบำบัดน้ำทางชีวภาพ
• วัสดุเพาะปลูกเอ็มเทค (MTEC Hortimedia) ใช้สำหรับปลูกพืชทั้งแบบไม่ใช้ดิน หรือใช้ผสมกับวัสดุปลูกชนิดอื่น

The post การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>
การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Identification of Emerging Pollutants & Solutions https://www.mtec.or.th/research-projects-53102/ Wed, 22 Jan 2025 06:15:02 +0000 http://10.228.23.44:38014/?p=8173 การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Identification of Emerging Pollutants & Solutions • SMARTest ช่วยชี้นำการวางแผนนโยบาย (การจัดการสารพิษ) บนพื้นฐานข้อมูล • การพัฒนาวิธีการสำหรับการแยกแยะวัสดุที่ปนเปื้อนสารมลพิษอุบัติใหม่ ในผลิตภัณฑ์กลุ่ม ... Read more

The post การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Identification of Emerging Pollutants & Solutions appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>

การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Identification of Emerging Pollutants & Solutions

• SMARTest ช่วยชี้นำการวางแผนนโยบาย (การจัดการสารพิษ) บนพื้นฐานข้อมูล
• การพัฒนาวิธีการสำหรับการแยกแยะวัสดุที่ปนเปื้อนสารมลพิษอุบัติใหม่ ในผลิตภัณฑ์กลุ่ม สี น้ำมัน (ใช้แล้ว) และพลาสติกเนื้อนิ่ม เพื่อนำไปสู่ข้อมูลสารอันตรายจากขยะและของเหลือใช้จากครัวเรือนและเกษตรกรรมในอนาคต (Future Waste)
• การพัฒนาวิธีการทดสอบสารปนเปื้อน (NonCl-POPs) ในแหล่งน้ำ โดยการพัฒนาอิเล็กโทรดวัสดุไฮบริด เพื่อการตรวจคัดกรองเบื้องต้นของการมีอยู่ของสารปนเปื้อน (non-Cl POPs) ในน้ำ
• การวิเคราะห์ขั้วไฟฟ้าสำหรับเซ็นเซอร์ตรวจวัดสารกำจัดแมลง เพื่อให้การควบคุมปริมาณสารเคมีกำจัดแมลงตกค้างเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพตามกำหนดของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

The post การพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Identification of Emerging Pollutants & Solutions appeared first on MTEC ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

]]>