Thermoplastic starch จากกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่

1,878 Views

ที่มา

ยางรถฟอร์คลิฟท์เป็นผลิตภัณฑ์ยางตันขนาดใหญ่ซึ่งใช้กับรถยกของตามโรงงานต่าง ๆ เนื่องจากรถฟอร์คลิฟท์ต้องรับน้ำหนักสูงและอาจถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ยางรถโฟล์คลิฟท์จึงต้องมีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี และมีความร้อนสะสมที่เกิดจากการใช้งานต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการระเบิดที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะที่ใช้งานหนักและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ยางรถฟอร์คลิฟท์จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องผลิตจากยางธรรมชาติเพราะยางธรรมชาติมีสมบัติเชิงกลดีเยี่ยม มีความยืดหยุ่นสูง และมีความร้อนสะสมต่ำ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ส่งผลทําให้ยางรถโฟล์คลิฟท์ของแต่ละบริษัทมีต้นทุนและคุณภาพที่แตกต่างกัน  บริษัทสยามไพโอเนียร์รับเบอร์ จํากัด เป็นบริษัทฯ ผู้ผลิตยางล้อตันสําหรับใช้กับรถฟอร์คลิฟท์ภายใต้เครื่องหมายการค้า PIO-TYRE, BIG-TYRES และ JR-TYRES ที่เริ่มทําการผลิตและจําหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ จากกระแสความห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงว่าจ้างทีมวิจัยเอ็มเทควิจัยและพัฒนายางล้อตันให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น 

เป้าหมาย

(1) องค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและต้นแบบเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม 

(2) คอมพาวด์หรือพลาสติกผสมระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับโพลิเมอร์ย่อยสลายได้ที่พร้อมนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้

ทีมวิจัยทำอย่างไร

ทีมวิจัยใช้องค์ความรู้ด้านกระบวนการอัดรีดแบบสกรูคู่ โดยออกแบบสกรู รวมถึงกระบวนการหลอมผสมและควบคุมระบบสุญญากาศในการดึงน้ำออก เพื่อแปรเปลี่ยนวัตถุดิบแป้งมันสำปะหลังให้เป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช รวมถึงกระบวนการเตรียมพลาสติกผสมหรือคอมพาวด์ที่พร้อมใช้งาน โดยในขั้นตอนสุดท้าย ทีมวิจัยได้สาธิตการเตรียมผลิตภัณฑ์ฟิล์มบางด้วยกระบวนการเป่า (blown film process)

แป้งมันสำปะหลัง
ฟิล์มเป่าขึ้นรูปจากวัตถุดิบคอมพาวด์ระหว่าง TPS
กับวัตถุดิบพอลิเมอร์ย่อยสลายได้

ผลงานวิจัย

  • สร้างองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและต้นแบบเม็ดพลาสติกเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช
  •  
  • สามารถผลิตต้นแบบเม็ดพลาสติกผสมหรือคอมพาวด์ระหว่างเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชกับโพลิเมอร์ย่อยสลายได้
  • ผลิตต้นแบบฟิล์มเป่าขึ้นรูปที่สามารถย่อยสลายได้ เนื่องจากมีองค์ประกอบของแป้งในปริมาณสูง

สถานภาพการวิจัย

เสร็จสมบูรณ์

แผนงานวิจัยในอนาคต

นำเทคนิคและองค์ความรู้ไปต่อยอดพัฒนาสูตรหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป

รายชื่อทีมวิจัย

ดร.นพดล เกิดดอนแฝก, ดร.ศุภณัฐ ภัทรธีรา และ นายปราโมทย์ คุ้มสังข์

ติดต่อ

ชนิต วานิกานุกูล 
งานประสานธุรกิจและอุตสาหกรรม ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 
โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4788
อีเมล chanitw@mtec.or.th