เทคโนอัพเดท

Ve-Chick: เนื้อไก่จากถั่วเหลืองทางเลือกสำหรับผู้ใส่ใจสุขภาพ

ดร.กมลวรรณ อิศราคาร และคณะ ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) พัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นี้มีโปรตีน เส้นใยอาหาร ไขมันจากพืชจึงไม่มีคอเลสเตอรอล สามารถปรุงสุกในลักษณะเดียวกับเนื้อไก่โดยให้กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัสที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย

สร้างความมั่นใจในการจำแนก/วิเคราะห์เครื่องดื่มและอาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ด้วยเครื่อง Flow Tester และ Fork Tester

ดร.ชัยวุฒิ กมลพิลาส และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับอาจารย์วรัญญา เตชะสุขถาวร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาเครื่องทดสอบเครื่องดื่มและอาหารสำหรับผู้มีปัญหาภาวะกลืนลำบาก อุปกรณ์นี้ใช้ตรวจสอบความข้นหนืดของเครื่องดื่มและเนื้อสัมผัสของอาหารว่าเป็นไปตามมาตรฐาน IDDSI ระดับใด เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกเครื่องดื่มและอาหารที่เหมาะสมกับความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยในการบริโภคอย่างปลอดภัย

เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและความปลอดภัย ด้วยระบบผู้ช่วยดูแล Well-Living Systems

สุขภาพและการแพทย์ เป็นหนึ่งในสี่สาขายุทธศาสตร์ของโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) โมเดลนี้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดดและเป็นวาระแห่งชาติปี พ.ศ. 2564-2569 กอปรกับการเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (aged society) ของประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งยังคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (super-aged society) อีกด้วย ดังนั้นเพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ไฮพีท (HI-PETE) เต็นท์ความดันลบสำหรับแยกผู้ป่วยติดเชื้อและกักตัวที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์แนวปฏิบัติใหม่

ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) พัฒนานวัตกรรมเต็นท์ไฮพีท (HI-PETE: patient isolation chamber for home isolation) หรือ เต็นท์ความดันลบสำหรับแยกผู้ป่วยที่ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ สามารถติดตั้งและรื้อถอนได้ง่าย มีรูปแบบและขนาดที่หลากหลาย จึงเหมาะที่จะใช้ได้ทั้งที่บ้านและสถานพยาบาล

เครื่องเคลือบฟิล์มบางโลหะ-เซรามิก (PVD-Sputtering) และการประยุกต์ใช้ฟิล์มบางในหลายรูปแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์

วิทวัช วงศ์พิศาล และคณะ ทีมวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้สั่งสมองค์ความรู้ทางด้านการเคลือบผิวฟิล์มบางโลหะ-เซรามิกด้วยเทคนิคการตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพแบบ
สปัตเตอริง ทีมวิจัยมีความเชี่ยวชาญด้านการเคลือบผิว การวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะต่างๆ ของผิวเคลือบ การจัดคอร์สให้ความรู้ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแก่ผู้สนใจทั้งจากภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม

1 4 5 6 7 8