หลักสูตรอบรม วิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ยาง (วันที่ 2 กรกฎาคม 2568)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ
การกัดกร่อนและเทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนในอุตสาหกรรม (หลักการ กรณีศึกษา และภาคปฏิบัติ)
Corrosion and Corrosion Protection Technologies in Industries (Principle, Case Studies, and Workshop)

จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น.
ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล
       การกัดกร่อนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างโลหะที่ใช้งานในสภาวะที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน ซ่อมบำรุง หรือใช้วัสดุที่ต้านทานการกัดกร่อนดีขึ้นของโครงสร้างดังกล่าว นับเป็นต้นทุนการกัดกร่อนที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมและยั่งยืน ต้นทุนการกัดกร่อนทั่วโลกคาดการณ์โดยสมาคม AMPP อยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับ 3.4% ของ GDP โลก (2013) สำหรับต้นทุนการกัดกร่อนในประเทศไทย (Corrosion Cost Survey in Thailand) นั้น จากการสำรวจ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2554 พบว่ามีมูลค่าราว 466,600 ล้านบาท หรือประมาณ 4.8% ของ GDP ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นทุนการกัดกร่อนตามสัดส่วน GDP นั้นมีมูลค่าสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา (3.1% ของ GDP) ญี่ปุ่น (1.0% ของ GDP)
       ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ด้านการกัดกร่อนของโลหะจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงด้านการกัดกร่อน เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และโครงสร้างเหล็ก ฯลฯ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการเลือกวัสดุที่เหมาะสม การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง การคาดการณ์อัตราการกัดกร่อน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการกัดกร่อน และลดความเสียหายของโครงสร้าง หรือเครื่องมือต่าง ๆ
       หลักสูตรอบรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจการกัดกร่อนรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงเทคนิคการวัด-ติดตามการกัดกร่อน และเรียนรู้เทคโนโลยีการป้องกันการกัดกร่อนผ่านการบรรยายทางทฤษฎี โดยทีมวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ตรง และร่วมกิจกรรมภาคปฏิบัติในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
 
วัตถุประสงค์ 
  1. เข้าใจความสำคัญของการกัดกร่อน
  2. ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
  3. ทราบถึงกลไก สาเหตุ และเทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ
  4. ทราบถึงเทคนิคการทดสอบการกัดกร่อนและเทคนิคการติดตามการกัดกร่อน
  6. ได้เรียนรู้และทดลองภาคปฏิบัติ ด้วยชิ้นงานตัวอย่าง และเครื่องมือที่เหมาะสม
  8. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานจริง
 
รูปแบบกิจกรรม
       อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
 
กลุ่มเป้าหมาย
       ทุกอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาด้านการกัดกร่อน และต้องการเข้าใจกลไกการกัดกร่อน เพื่อการเลือกวิธีป้องกันอย่างเหมาะสม
 
วิทยากร 
  1. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
  2. ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์; Ph.D. (Metallurgical Engineering)
  4. อ.ปิยะ คำสุข; M. Sc. (Industrial Chemistry)
  5. อ.ปราณปรียา วังจินา; M. Sc. (Materials Science)
  6. อ.เบญจวรรณ มูลศรี; B. Eng. (Materials Science)
 
ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน  
ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.ปิยะ คำสุข
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.ปราณปรียา วังจินา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
อ.เบญจวรรณ มูลศรี
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการกัดกร่อน
 
ผู้ช่วยวิทยากร
  1. อ.นิรุช บุญชู; M. Eng. (Metallurgical Engineering)
  2. อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน; B. Eng. (Metallurgical Engineering)
  3. อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี; B. Eng. (Mechatronic Engineering) 
 
กำหนดการ  
วันที่ 6 สิงหาคม 2568
08:30 น. – 09:00 น. ลงทะเบียน และ Pre Test
09:00 น. – 09:30 น. การกัดกร่อนและการป้องกัน(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                        – หลักการเบื้องต้นของการกัดกร่อน
                                        – จลนศาสตร์และอุณหพลศาสตร์ของการกัดกร่อน
09.30 น. – 10:30 น. รูปแบบการกัดกร่อน(ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์)
                                         – การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
                                         – การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion) 
                                         – การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
                                         – การกัดกร่อนภายใต้ฉนวน (Corrosion under insulation)
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 
10:45 น. – 12:00 น. รูปแบบการกัดกร่อน (ต่อ) (ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)
                                          – การกัดกร่อนและสึกกร่อน (Erosion corrosion)
                                          – การกัดกร่อนเฉพาะบางเฟส (Dealloying corrosion)
                                          – การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
                                          – การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
                                          – การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
                                          – การกัดกร่อนจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 corrosion)
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น. ภาคปฏิบัติ: การศึกษารูปแบบการเสียหายของชิ้นส่วนจากการกัดกร่อน  (อ.ปิยะ คำสุข/อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน/อ.นิรุช บุญชู/ น.ส.เบญจวรรณ มูลศรี)
                                    แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษารูปแบบการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนที่กำหนดให้
                                    สถานีที่ 1 การศึกษาชิ้นส่วนส่วนที่เสียหายแบบ galvanic corrosion/ dealloying corrosion
                                    สถานีที่ 2 การศึกษาพฤติกรรมการเสียหายของวัสดุด้วยรูปแบบ pitting corrosion
                                    สถานีที่ 3 การศึกษาการเสียหายของใบพัดด้วยรูปแบบ Intergranular corrosion cracking
                                    สถานีที่ 4 การศึกษาการเสียหายของชิ้นส่วนด้วยรูปแบบ SCC และ MIC
 
วันที่ 7 สิงหาคม 2568
09:00 น. – 10:00 น. การทดสอบการกัดกร่อนด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้า (อ.ปิยะ คำสุข/ อ.ปราณปรียา วังจินา)
                                        – Equipment
                                        – Open circuit potential measurement
                                        – Polarization/ Potentiodynamics test
                                        – Linear polarization test (LPR)
                                        – Electrochemical impedance spectroscopy test (EIS)
10:00 น. – 10:00 น.  การทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งสภาวะ(ดร.วนิดา/ อ.เบญจวรรณ)
10:30 น. – 10:45 น.   พักรับประทานอาหารว่าง 
10:45 น. –  11:15 น.     การทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งสภาวะ (ดร.วนิดา/ อ.เบญจวรรณ)
11:15 น. – 12:00 น.      การทดสอบภาคสนามและการติดตามการกัดกร่อน (ดร.วนิดา)
12:00 น. – 13:00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 16:00 น.   การทดสอบการกัดกร่อนภาคปฏิบัติ (อ.ปิยะ คำสุข/อ.ปราณปรียา วังจินา/อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี/อ.เบญจวรรณ มูลศรี)
แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการศึกษา
                                      สถานีที่ 1 OCP & Polarization test
                                      สถานีที่ 2 EIS
                                      สถานีที่ 3 Galvanic test
                                      สถานีที่ 4 Corrosion sensor
วันที่ 8 สิงหาคม 2568
09:00 น. – 12:00 น. เทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนโดยการเคลือบผิว (ดร.วนิดา)
                                       – Polymer and metallic coating
                                       – Corrosion resistant alloy and Inhibitors
10:30 น. – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 น. – 12:00 น. เทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนโดยการเคลือบผิว (ต่อ) (ดร.วนิดา)
                                       – Cathodic protection
12:00 น. – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. – 15:00 น. การป้องกันการกัดกร่อนภาคปฏิบัติ  (ดร.วนิดา/ดร.อำนวยศักดิ์/อ.ปิยะ/อ.ปราณปรียา วังจินา/อ.วรุตม์ บุศย์รัศมี/อ.เบญจวรรณ มูลศรี)
                                   แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษา
                                    สถานีที่ 1 Corrosion map and coating selection
                                    สถานีที่ 2 Cathodic protection
                                    สถานีที่ 3 Coating resistance comparison
                                    สถานีที่ 4 Corrosion resistant alloy selection
15:00 น. – 16:00 น.  Post test
 
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน Google form: https://forms.gle/Ju9KRjSmyb4wf2Eg6
 
ค่าลงทะเบียน
ราคาสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ 12,000 บาท/ท่าน (ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ราคาสำหรับบุคคลทั่วไปและภาคเอกชน 12,840 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

หมายเหตุ
– อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%

การชำระค่าลงทะเบียน
 • โอนเงิน/ เช็ค สั่งจ่าย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์ สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-000001-0
 • กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อมาที่อีเมล boonrkk@mtec.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีวัสดุ (บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์)
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4675
E-mail : boonrkk@mtec.or.th