หลักสูตรที่กำลังเปิดรับสมัคร

หลักสูตรอบรม การจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณด้วยซอฟต์แวร์ Ansys Fluent (วันที่ 6-7 มิถุนายน 2567)

หลักสูตรอบรมการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณด้วยซอฟต์แวร์ Ansys Fluent(Computational Fluid Dynamics Simulations with Ansys Fluent) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 6-7 มิถุนายน 2567 เวลา 9.00-16.00 น.ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี        หลักสูตรนี้เป็นการสอนการใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys Fluent วิเคราะห์ปัญหาพลศาสตร์ของไหลด้วยการลงมือใช้ซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง พร้อมสอนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการตีโจทย์และวิเคราะห์ผลการจำลอง นอกจากนั้นจะมีการยกตัวอย่างงานจริงจากประสบการณ์ของวิทยากรมาประกอบด้วย– การใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys Fluent– ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพลศาสตร์ของไหล– การใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys Fluent วิเคราะห์ปัญหาพลศาสตร์ของไหลอย่างง่าย– การใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys Fluent วิเคราะห์ปัญหาพลศาสตร์ของไหลที่มีความซับซ้อน– กรณีศึกษาการวิเคราะห์งานในอุตสาหกรรม Key Highlights1. การปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับปัญหาการไหล2. การพัฒนาทักษะและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาการไหลและการถ่ายเทความร้อนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม3. การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง4. การพัฒนาทักษะและเทคนิคการวิเคราะห์และอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ รูปแบบการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการสอนแบบบรรยายและการลงมือปฏิบัติโดยใช้ซอฟต์แวร์ Ansys (ศูนย์ฯ จัดคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ติดตั้งอยู่ให้ผู้อบรมใช้งาน) […]

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิก (วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2567)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิก(Cathodic Protection) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 9.00-16.00 น.ส่วนปฏิบัติการระบบท่อในทะเลและสถานีชายฝั่ง ศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี หลักการและเหตุผล       การป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) เป็นวิธีป้องกันการกัดกร่อนโดยทำให้โครงสร้างที่ต้องการป้องกันมีสถานะเป็นขั้วแคโทด การป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิกสามารถทำได้สองแนวทาง หลักอันได้แก่ การใช้วัสดุกันกร่อน (Sacrificial anode) ที่มีศักย์ไฟฟ้ากัดกร่อนต่ำกว่ามาต่อกับโครงสร้างหลักและอาศัยหลักการการกัดกร่อนแบบกัลวานิกทำให้วัสดุกันกร่อนถูกกัดกร่อนแทน อีกแนวทางหนึ่งคือการป้อนกระแสบังคับแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Impressed current) ให้โครงสร้างที่ต้องการป้องกันมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าศักย์ไฟฟ้ากัดกร่อน ทั้งสองกรณีควรใช้ควบคู่ไปกับการเคลือบผิว เพื่อป้องกันเฉพาะจุดบกพร่องของผิวเคลือบเท่านั้น วิธีดังกล่าวเป็นที่นิยมใช้ในการป้องกันการกัดกร่อนท่อฝังดิน เรือเดินทะเล โครงสร้างแนวชายฝั่งและกลางทะเล รวมถึงในถังบรรจุน้ำหรือสารเคมี เป็นต้น        การติดตั้งและบำรุงรักษาระบบการป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิกจำเป็นต้องอาศัยวิศวกรเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง หลักสูตรนี้รวบรวมความรู้พื้นฐาน หลักการ และการใช้งาน ทั้งระบบการป้องกันการกัดกร่อนแบบแคโทดิกควบคู่กับเทคโนโลยีการเคลือบผิวโลหะ […]

1 2