ข่าวสารประชาสัมพันธ์

เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี พัฒนาหลักสูตรสร้างเยาวชนไทยตอบโจทย์ยุค AI

9 ตุลาคม 2563 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาทักษะด้านหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ระหว่างศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งขาติ (สวทช.) และโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

เอ็มเทคจัดนิทรรศการต้อนรับคณะผู้ประกอบการกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดนิทรรศการเพื่อต้อนรับการเยี่ยมชมจากคณะผู้ประกอบการในโครงการ Smart Innovation Entrepreneur In Medical Engineering Industry มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี ดร. จินตมัย สุวรรณประทีป ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ กล่าวต้อนรับ และให้ข้อมูลผลงานวิจัยของกลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ

เอ็มเทค ร่วมกับ สมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย “ทางรอดของอุตสาหกรรมช่วง-หลังโควิด-19”

เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ สมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย ร่วมจัดการสัมมนาหัวข้อ ทางรอดของอุตสาหกรรมช่วง-หลังโควิด-19 ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี งานสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และ ดร. บัญชา ชุณหสวัสดิกุล ประธานคณะกรรมการกลุ่มสาขายาง สมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย และประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดงาน

เอ็มเทคจัดแสดงผลงานวิจัยในงานแถลงนโยบายด้านเกษตรต่างประเทศแก่คณะทูตานุทูตประจำประเทศไทย

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จัดแสดงผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมยางธรรมชาติ ในงาน แถลงนโยบายด้านเกษตรต่างประเทศแก่คณะทูตานุทูตประจำประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “ความปลอดภัยของอาหาร ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และความยั่งยืนของภาคการเกษตร” – Safety, Security & Sustainability for Resilience Agriculture พร้อมจับมือนานาประเทศ ผ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างเข้มแข็งและมั่นคง โดยมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว สุนทรพจน์

สรุปประเด็นปาฐกถาพิเศษในงานเปิดตัวภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไทย (Thailand Energy Storage Technology Alliance, TESTA)

นับเป็นนิมิตหมายอันดีของภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไทยที่ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.เอ็ม สแตนลีย์ วิตติงแฮม (Prof.Dr. M. Stanley Whittingham) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี ค.ศ. 2019 จากผลงานการพัฒนา “แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน” ท่านได้แสดงปาฐกถาพิเศษในงานเปิดตัวภาคีเครือข่ายฯ โดยกล่าวถึงการค้นพบปรากฎการณ์การแทรกสอดของลิเทียม (Li intercalation) ในวัสดุไทเทเนียมซัลไฟด์ (LiTiS2) ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1973 ขณะที่ปฏิบัติการวิจัยอยู่ที่บริษัท ESSO (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น EXXON) ทำให้ท่านเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี ค.ศ. 2019 การค้นพบนี้ได้นำมาประยุกต์ใช้กับวัสดุได้อย่างหลากหลายจนพัฒนามาเป็นแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในปัจจุบัน

1 22 23 24 25 26 57