Home Project

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ที่มา ปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารและที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศคิดเป็นร้อยละ 50 จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง 1ºC จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ดังนั้น วิธีที่ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศลงได้คือการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ผงสีและผิวเคลือบที่สามารถสะท้อนรังสีอาทิตย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสีอินฟราเรดใกล้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและที่อยู่อาศัยลดลงได้อย่างยั่งยืน ผงสีฟ้า ผงสีส้ม ผงสีแดง เป้าหมาย พัฒนาผงสีที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอาทิตย์ได้ดี เพื่อนำผงสีที่ได้ไปผลิตสี (paint) และเคลือบเซรามิก (glaze) สำหรับใช้เป็นวัสดุเปลือกอาคาร เช่น ผนัง และหลังคา สังเคราะห์ผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผิวเคลือบที่ใช้ผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาผงสีสะท้อนรังสีอาทิตย์ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาสถานะของแข็ง (solid-state reaction) โดยศึกษาตัวแปรต่างๆ ได้แก่ องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น การเติมสารเจือ และสภาวะการเผา เพื่อให้ได้ค่าสีตามที่ต้องการ และได้ค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกโดยศึกษาตัวแปรต่างๆ เช่น องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น ปริมาณของผงสีที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้ได้ผิวเคลือบที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง ผลงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่าหรือสูงกว่าผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตสีและเคลือบเซรามิกที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ อนุสิทธิบัตรการผลิตผงสีส้มสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ สถานภาพงานวิจัย […]

ต้นแบบระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติ

ที่มาของโจทย์วิจัย ชิ้นส่วนวิศวกรรมในระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้ามักเกิดความเสียหายจากการใช้งาน ชิ้นส่วนเหล่านี้จำเป็นต้องซ่อมแซมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลาในการสั่งซื้อ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมอัตโนมัติสำหรับการเชื่อมซ่อม เช่น การเชื่อมเติมเต็มเนื้อวัสดุที่หายไป โดยใช้โลหะชนิดเดียวกับชิ้นส่วนเดิม และการเชื่อมพอกโลหะในกลุ่มที่ทำให้มีผิวการใช้งานที่แข็งขึ้น โดยใช้โลหะอื่นๆ ที่มีสมบัติพิเศษ เป้าหมาย ทีมวิจัยเอ็มเทค นำโดย ดร.นิรุตต์ นาคสุข ร่วมกับฝ่ายโรงงานและอะไหล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติที่สามารถเชื่อมซ่อมชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมตำแหน่งของชิ้นงานและการเคลื่อนที่ของหัวเชื่อม ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมและควบคุมการทำงานผ่านหน้าจอสัมผัสหลัก หรือผ่าน Teach Pendent ได้โดยสะดวก และเลือกดูหรือบันทึกค่าต่างๆ ที่สำคัญในระหว่างการเชื่อม เช่น Heat Input, Arc Voltage และ Arc Current เพื่อนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์คุณภาพงานเชื่อมได้โดยง่าย ระบบเชื่อมยังสามารถทำงานในลักษณะ Edge Following โดยการควบคุมระยะการเชื่อมผ่านการควบคุม Arc Voltage ได้อีกด้วย นอกจากนี้ หัวเชื่อมที่ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นใหม่ภายในประเทศ ยังสามารถรถสอดเข้าไปเชื่อมภายในชิ้นงาน และสามารถงอที่ปลายหัว เพื่อให้ได้มุมการเอียงหัวที่เหมาะสมในระหว่างการเชื่อมอีกด้วย ทีมวิจัยทำอย่างไร สำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบระบบเชิงกลและสร้างแบบสำหรับการผลิต […]

น้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมากสำหรับทำผลิตภัณฑ์ PARA AC ในอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน

ที่มาของโจทย์วิจัย การใช้น้ำยางพาราข้นเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์พาราเอซี (PARA AC) ที่อุณหภูมิ 140-160 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดปัญหาไอระเหยของแอมโมเนีย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และเกิดปัญหาการอุดตันของน้ำยางพาราข้นในท่อนำส่ง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลงทุนติดตั้งเครื่องจักรสำหรับดูดไอระเหยของแอมโมเนียโดยเฉพาะ และสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติม แต่ทว่าการดำเนินการเช่นนี้ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย ทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำยางจากเอ็มเทคประกอบด้วยนายสุริยกมล มณฑา นางสาวปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล และนางฉวีวรรณ คงแก้ว ได้พัฒนาน้ำยางพาราข้นเกรดพิเศษ ชื่อว่า น้ำยาง ULA (Ultra-Low Ammonia latex) ซึ่งมีปริมาณแอมโมเนียต่ำมากและมีเสถียรภาพด้านความร้อนสูง ทำให้มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับผสมกับแอสฟัลต์ โดยบริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบน้ำยาง ULA ให้แก่บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิต ULA-PARA AC สำหรับทำถนน ขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การสร้างถนนจริง ทีมวิจัยทำอย่างไร น้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมาก (Ultra-low ammonia latex) หรือ น้ำยาง ULA จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนน้ำยางพาราข้นทางการค้า โดยในขั้นตอนการปรับสภาพน้ำยางพาราข้นที่ออกมาจากเครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วสูงจะใช้สารเคมีสำหรับน้ำยาง ULA […]

บรรจุภัณฑ์ยืดอายุผลิตผลสดอัตราการหายใจสูง ActivePAK Ultra

Background Information In the past, the Royal Project Foundation had frequently experienced oversupply of fresh shiitake mushroom. Due to its short shelf-life, of just 2-3 days,this mushroom cannot survive the logistics condition from highland farm to market in Bangkok. Consequently, the market expansion of such high value fresh mushroom is hindered. With the proper use […]

1 2