หลักสูตรที่จัดเสร็จแล้ว

หลักสูตรอบรม ยางและสารเคมียาง (วันที่ 23-24 มีนาคม 2566)

   หลักสูตรอบรมออนไลน์ ยางและสารเคมียาง(Rubber and Compounding Ingredients) จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันที่ 23-24 มีนาคม 2566 เวลา 9:00-16:00 น.จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบทั้งในรูปแบบอบรมในห้องอบรม (onsite) ไปพร้อมกับ อบรมในรูปแบบ onlineท่านผู้สนใจสามารถเลือกรูปแบบการอบรมได้ตามที่ท่านสะดวก รายละเอียดดังนี้ รูปแบบที่1 อบรม onsite ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีรูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting สามารถดาวโหลดเอกสารประชาสัมพันธ์ในรูปแบบPDF ได้ที่www2.mtec.or.th/eventnstda/Upload/file/Rubber_Com_Ingred.pdf   หลักการและเหตุผล      อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงเพราะประเทศไทยได้เปรียบทั้งในด้านที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบและยังมีค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมากนัก ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยียางจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2566 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ […]

หลักสูตร การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 9-10 มี.ค. 2566)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนด้วยซอฟต์แวร์ Ansys จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 9-10 มีนาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.00 น.อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี         หลักสูตรนี้อยู่ในชุดหลักสูตรสำหรับการพัฒนาทักษะสำหรับวิศวกรการคำนวณ หรือ CAE Engineer ทำให้เข้าใจทักษะการแก้ปัญหางานทางด้านวิศวกรรมด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAE : Computer-Aided Engineering) หลักสูตรนี้เน้นการวิเคราะห์ปัญหาโครงสร้าง (structural problem) และปัญหาการถ่ายเทความร้อน (heat transfer problem) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะได้รับการปูพื้นฐานทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys เพื่อสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง รวมทั้งเทคนิคในการวิเคราะห์ผลจากการคำนวณ จากตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หลังจากผ่านหลักสูตรนี้แล้วผู้เข้าอบรมจะมีองค์ความรู้และทักษะในการไปประยุกต์ใช้กับงานทางวิศวกรรมจริงต่อไป Key Highlights 1. การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนด้วยการประยุกต์ใช้การเทคโนโลยีการคำนวณทางด้านวิศวกรรมด้วย CAE2. การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง3. การพัฒนาทักษะและเทคนิคการวิเคราะห์และอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ รูปแบบการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการสอนแบบบรรยายและการลงมือปฏิบัติโดยใช้ซอฟต์แวร์ Ansys (ศูนย์ฯ จัดคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ติดตั้งอยู่ให้ผู้อบรมใช้งาน) […]

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง (วันที่ 2-3 มีนาคม 2566)

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยีกระบวนการหล่อความดันสูง(High Pressure Die Casting Process Technology) วันที่ 2-3 มีนาคม 2566 เวลา 9:00-16:00 น.ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   หลักการและเหตุผล      กระบวนการหล่อโลหะความดันสูงเป็นกระบวนการที่ผลิตชิ้นงานหล่อที่มีรูปร่างซับซ้อน บาง ด้วยการฉีดโลหะเหลวเข้าสู่แม่พิมพ์ภายใต้ความดันสูงในเวลาที่สั้นมากๆ โดยมีตัวแปรกระบวนการผลิตที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อมากมาย     เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานหล่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ช่างเทคนิค/วิศวกรผู้เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของกระบวนการหล่อความดันสูงในเรื่องของคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อ, ปัญหา NG ที่เกิดขึ้นที่ชิ้นงาน, ความรู้พื้นฐานทางด้านวัสดุ และการอ่านผลจากโปรแกรมจำลองกระบวนการหล่อ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะดังกล่าวมาใช้ใน (1)การกำหนดค่าสภาวะการฉีด (2) การติดตามและควบคุมกระบวนการฉีด และ (3)วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดข้อบกพร่องและการกำหนดแนวทางการแก้ไข ในกระบวนการหล่อความดันสูง   วัตถุประสงค์ 1. สร้างความเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการหล่อความดันสูง2. ระบุถีงตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อและการเกิดปัญหาข้อบกพร่อง3. ปัญหาข้อบกพร่องที่พบในชิ้นงานหล่อ และกลไกการเกิด4. ตัวอย่างกรณีศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในกระบวนการหล่อที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานหล่อ   เนื้อหาในการบรรยาย ประกอบไปด้วย 4 ส่วน […]

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตเนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช (วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตเนื้อสัตว์เทียมจากโปรตีนพืช(Plant-based Meat Manufacturing) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-16.00 น.ห้อง M120 อาคารเอ็มเทคอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรตีนพืช กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากโปรตีนพืช รวมถึงการทดสอบสมบัติเนื้อสัมผัสเนื้อเทียมจากโปรตีนพืช หัวข้อการบรรยาย1. เคมีของโปรตีนพืช2. การเตรียมเนื้อเทียมด้วยวิธี restructuring process3. กระบวนการเอ็กซ์ทรูชันของโปรตีนพืช4. การวิเคราะห์เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์เนื้อเทียม5. การสาธิตกระบวนการผลิตเนื้อเทียมความชื้นต่ำ และความชื้นสูงด้วยเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์6. การสาธิตการทดสอบเนื้อสัมผัสผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมด้วยเทคนิคเชิงกล กำหนดการและหัวข้อบรรยาย วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566   8.30-9.00 น. ลงทะเบียน   9.00-9.30 น. สถานการณ์ผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมในปัจจุบัน โดย ดร.นิสภา ศีตะปันย์ 9.30-10.30 น. เคมีของโปรตีนพืช  โดย ดร.กมลวรรณ อิศราคาร 10.30-10.45 น. พักการบรรยาย 15 นาที […]

การสัมมนาออนไลน์ “การออกแบบระบบทรานส์มิชชันในยานยนต์ไฟฟ้า” (วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2566)

การสัมมนาออนไลน์การออกแบบระบบทรานมิชชันในยานยนต์ไฟฟ้า(EV Transmission Design) จัดโดยสมาคมการสึกหรอและการหล่อลื่นไทยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2566ฟังออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx บรรยายภาษาอังกฤษ หลักการและเหตุผล       ประเทศไทยได้ตั้งเป้าให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve ของประเทศ โดยมีการส่งเสริมการลงทุนผลิตยานพาหนะไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่การผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและประกอบยานยนต์สันดาปภายในมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้นการขยับเข้าสู่การผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้านั้นอาจจะทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากชิ้นส่วนสำคัญต่าง ๆ ของยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มอเตอร์ไฟฟ้า นั้นผู้ผลิตจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และประสบการณ์ในการออกแบบ พัฒนา รวมไปถึงการทดสอบชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า        สมาคมการสึกหรอและการหล่อลื่นไทย (TTA) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เล็งเห็นถึงช่องว่างทางด้านเทคโนโลยีและโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย จึงได้ร่วมกันจัดงานซีรีส์สัมมนา “โอกาสและความท้าทายของมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไทย” ซึ่งจะมีธีมย่อย คือ “การออกแบบระบบทรานมิชชันในยานยนต์ไฟฟ้า (EV Transmission Design)” […]

1 7 8 9 10 11 41