หลักสูตรที่จัดเสร็จแล้ว

การสัมมนาหัวข้อ ติดอาวุธนวัตกรรมสีเขียว “เพื่อการจัดการและเพิ่มมูลค่ากากของเสียอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน”

“ติดอาวุธนวัตกรรมสีเขียว เพื่อการจัดการและเพิ่มมูลค่ากากของเสียอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน” จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องสโรชา ชั้น 3 โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพ ฯ (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย) งานสัมมนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในการบริการจัดการและเพิ่มมูลค่ากากของเสียในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม ทั้งในเชิงนโยบายที่สำคัญ เครื่องมือที่จำเป็น นวัตกรรมที่น่าสนใจ และประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแบบ Zero Waste เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความสามารถในการแข่งขันแบบยั่งยืน เวลา กำหนดการ8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน9.00 -9.15 น. กล่าวเปิดงานโดย ดร.กฤษดา ประภากร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)9.15 – 10.15 น. สถานการณ์ปัจจุบัน และนโยบายด้านการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม โดย ดร.ปัทมวรรณ […]

การสัมมนาและเสวนาวิชาการ “ความพร้อมของประเทศไทยในงานพัฒนาเครื่องจักรกล ในยุคไทยแลนด์ 4.0” (วันที่ 23 มีนาคม 2560)

การสัมมนาและเสวนาวิชาการ เรื่อง “ความพร้อมของประเทศไทยในงานพัฒนาเครื่องจักรกล ในยุคไทยแลนด์ 4.0” ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่าและสมาคมเครื่องจักรกลไทย วันที่ 23 มีนาคม 2560ห้องบอลรูน โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท แผนที่ หลักการและเหตุผล เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่องานด้านวิศวกรรมของไทยเป็นที่ยอมรับถึงการพัฒนาเพื่อที่ตามหลักอารยประเทศอย่างญี่ปุ่นและชาติตะวันตกมาตลอด นับตั้งแต่ประเทศไทยมีทิศทางการพัฒนาประเทศที่กลายสภาพจากประเทศเกษตรกรรมมาสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการพัฒนาสร้างเครื่องมือกล เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ทุ่นแรงในภาคการเกษตร การผลิตและสังคมล้วนมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาและงานวิจัยพัฒนาด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมในสถาบันการศึกษา หน่วยงานพัฒนาวิจัยที่มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานในเชิงวิศวกรรม และกิจกรรมสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านการออกแบบและผลิตเครื่องมือเครื่องจักร ล้วนมีการปรับปรุงและจัดตั้งเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในโครงการที่เกิดขึ้นและดำเนินมามากกว่า 10 ปี คือโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า หรือในชื่อโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย และมีการเปลี่ยนชื่อในภายหลัก โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งหน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ซึ่งมีการจัดตั้งขึ้นเมื่อไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา แต่มีการพัฒนาผลงานและโครงสร้างหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งขึ้นอย่างมากและพร้อมสนับสนุนกิจกรรมของโครงการด้านวิศวกรรมต่าง ๆ ภายใน สวทช. และให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการครบรอบ 12 ปีที่สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ริเริ่มโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบ และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติมีอายุครบ 30 ปี โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ในความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงานทั้ง 2 และหน่วยงานพันธมิตร จึงจัดกิจกรรมการสัมมนาและเสวนาเชิงเทคนิคในหัวข้อ ความพร้อมของประเทศไทยในงานพัฒนาเครื่องจักรกล ในยุคไทยแลนด์ […]

1 39 40 41