โครงการวิจัยเด่น

ParaFIT (พาราฟิต) น้ำยางพาราข้นชนิดใหม่สำหรับผลิตหมอนและที่นอนยางพารา

ParaFIT (พาราฟิต) น้ำยางพาราข้นชนิดใหม่สำหรับผลิตหมอนและที่นอนยางพารา ที่มา น้ำยางพาราข้นเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา แต่น้ำยางพาราข้นที่ใช้ในปัจจุบันมีส่วนผสมของแอมโมเนีย ซิงก์ออกไซด์ และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ เพื่อป้องกันการบูดเน่าของน้ำยาง อย่างไรก็ดี แอมโมเนียเป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก ทำลายสุขภาพ สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้น้ำยางพาราข้นมีสมบัติไม่คงที่ ส่วนซิงก์ออกไซด์มีโลหะหนัก และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์เป็นสารที่ก่อให้เกิดสารไนโตรซามีน (สารก่อมะเร็ง) นอกจากนี้ การนำน้ำยางพาราข้นดังกล่าวไปผลิตหมอนและที่นอนยางพาราต้องมีขั้นตอนการบ่มและการกำจัดแอมโมเนียให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนด้วย เป้าหมาย วิจัยและพัฒนาน้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ (ParaFIT) ที่เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และลดระยะเวลาการบ่มน้ำยางพาราข้น สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราที่มีคุณภาพดี ทดแทนการใช้น้ำยางพาราข้นทางการค้า ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาสูตรน้ำยาง ParaFIT ให้มีปริมาณแอมโมเนียต่ำที่สุด มีปริมาณซิงก์ออกไซด์ และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์น้อยลง และใช้เวลาในการบ่มที่สั้นลง ก่อนนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ยาง ทดลองผลิตน้ำยาง ParaFIT โดยใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตน้ำยางพาราข้น และทดสอบสมบัติของน้ำยาง ParaFIT ที่ได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 980-2552 และ ISO 2004-2017) ทดลองผลิตหมอนและที่นอนยางพาราจากน้ำยาง ParaFIT โดยใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตหมอนและที่นอนยางพารา และทดสอบสมบัติของหมอนและที่นอนยางพาราที่ได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 2741-2559 และ มอก. […]

มาตรฐานไบโอดีเซล B100 และดีเซล B10

มาตรฐานไบโอดีเซล B100 และดีเซล B10 ที่มา ปัญหาวิกฤตราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำตั้งแต่ปลายปี 2560 ทำให้รัฐบาลเร่งรัดนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล ซึ่งเดิมมีการผสมอยู่ที่สัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7 และในปี 2561 ได้เริ่มมีการใช้น้ำมัน B20 ซึ่งมีไบโอดีเซลผสมในสัดส่วนร้อยละ 20 สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้น้ำมันปาล์มที่ล้นตลาด ทำให้มียอดการใช้ไบโอดีเซลรวมทั้งสิ้นราว 4.3 ล้านลิตร/วัน จากปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล 65.8 ล้านลิตร/วัน อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตไบโอดีเซลรวมทั้งประเทศในปี 2561 อยู่ที่ 7.7 ล้านลิตร/วัน จึงจำเป็นต้องหามาตรการเพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้ไบโอดีเซล กระทรวงพลังงานจึงมีเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลทั่วไปจากร้อยละ 7 เป็น 10 แต่จำเป็นต้องเพิ่มคุณภาพไบโอดีเซลเพื่อให้ได้การยอมรับจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ เป้าหมาย แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 กำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซลที่ 14 ล้านลิตร/วัน ภายในปี 2579 โดยมีเป้าหมายบังคับใช้น้ำมันดีเซลที่ผสมไบโอดีเซลที่ร้อยละ 10 (B10) ในปี 2569 แต่วิกฤตราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำตั้งแต่ปลายปี 2560 ทำให้รัฐบาลต้องปรับแผนการบังคับใช้น้ำมัน B10 ให้เกิดขึ้นเร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม […]

การใช้ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ การออกแบบและวิศวกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้แก่อุตสาหกรรมพลาสติก

การใช้ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ การออกแบบและวิศวกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้แก่อุตสาหกรรมพลาสติก ที่มา อุตสาหกรรมพลาสติกต้องการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน จึงให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนา ทั้งในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้พื้นฐานด้านอุตสาหกรรม การพัฒนากระบวนการผลิต การออกแบบเพื่อลดต้นทุนการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงการพัฒนาวัสดุใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เป้าหมาย เอ็มเทคเป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาให้แก่ภาคอุตสาหกรรมพลาสติกแบบครบวงจร ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยเอ็มเทค วัสดุโพลิเมอร์ : สามารถทำวิศวกรรมย้อนรอย เพื่อพัฒนาวัสดุให้มีสมบัติที่ดีกว่าเดิม โดยที่ต้นทุนคงเดิมหรือลดลง การออกแบบชิ้นส่วนและแม่พิมพ์ : ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ทางวิศวกรรม (CAE) และจำลองสถานการณ์การขึ้นรูป กระบวนการขึ้นรูป : ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูป ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติตามต้องการ ศักยภาพของทีมวิจัย พัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม ให้มีความรู้ ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย พัฒนาวัสดุใหม่หรือปรับปรุงวัสดุเดิม ออกแบบชิ้นส่วนและแม่พิมพ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ พัฒนากระบวนการขึ้นรูปแบบใหม่หรือแก้ไขจุดบกพร่องของกระบวนการที่มีอยู่ มีความพร้อมด้านเครื่องมือ ผลการให้คำปรึกษาแก่อุตสาหกรรม บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมมีความรู้พื้นฐานและทักษะในกระบวนการผลิตดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาโดยการใช้ความรู้อย่างเป็นระบบ การทำงานรวดเร็วขึ้น ของเสียลดลง ต้นทุนลดลง แนวโน้มงานวิจัยในอนาคต ลดต้นทุนในการผลิต นำของเสียจากกระบวนการผลิตมาเพิ่มมูลค่า เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาชิ้นส่วนพลาสติกน้ำหนักเบา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ ติดต่อ สายทิพย์ โสรัตน์ นักวิเคราะห์ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ โทร: 02 564 […]

สื่อการเรียนการสอนเครื่องยิงลูกบอลแบบโพรเจคไทล์

สื่อการเรียนการสอนเครื่องยิงลูกบอลแบบโพรเจคไทล์ ต้นแบบเครื่องยิงลูกบอลแบบโพรเจคไทล์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (project- based learning) กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะนำความรู้หลายแขนง เช่น ฟิสิกส์และคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับวิศวกรรมเครื่องกลและไฟฟ้า และไมโครคอนโทรลเลอร์มาผนวกกับการใช้เซ็นเซอร์ต่างๆ มาต่อยอดความคิด โดยนำทฤษฎีมาใช้ร่วมกับการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้นแบบนี้ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ส่วนขับเคลื่อน ประกอบด้วยล้อและมอเตอร์อย่างละ 1 คู่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนลูกบอลให้เคลื่อนที่ในแนววิถีโค้ง 2) ส่วนยิงลูกบอล ประกอบด้วยโซลินอยด์ที่ควบคุมโดยรีเลย์ทำหน้าที่ผลักบอลเข้าสู่ส่วนขับเคลื่อน 3) ส่วนตรวจจับความเร็วประกอบด้วยอินฟาเรดเซ็นเซอร์ 2 ตัว และ 4) ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่ควบคุมการสั่งงานกลไกทั้งหมด ทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้การออกแบบหรือหลักคิดเดิมในการปรับเปลี่ยนความสามารถของต้นแบบหรือเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในวิชาอื่น หรือแม้กระทั่งนำความรู้ในศาสตร์ด้านหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม

หลังคารถกระบะดัดแปลงแบบมีโครงสร้างรองรับแรงกระทำจากการพลิกคว่ำตามมาตรฐาน FMVSS 220

หลังคารถกระบะดัดแปลงแบบมีโครงสร้างรองรับแรงกระทำจากการพลิกคว่ำตามมาตรฐาน FMVSS 220 อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถกระบะดัดแปลงที่ใช้รับส่งนักเรียนมีความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของรถ ดังนี้ (1) การดัดแปลงรถกระบะที่ใช้รับส่งนักเรียนโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย เช่น เสริมเก้าอี้โดยสารออกนอกตัวรถ ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการพลัดหล่นจากรถ และติดตั้งหลังคาเข้ากับตัวรถอย่างไม่มั่นคงแข็งแรง (2) มาตรฐานรถรับส่งนักเรียนที่ประกาศโดยกรมการขนส่งทางบกยังขาดรายละเอียดทางเทคนิคที่ระบุรูปแบบการเชื่อมต่อโครงสร้าง ชนิดและขนาดวัสดุที่ใช้ รวมถึงวิธีการผลิตและติดตั้ง ทำให้ผู้ผลิตไม่มีแนวทางการออกแบบ (design guidelines) เพื่อนำไปปฏิบัติ จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิถนนปลอดภัย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ได้ว่าจ้างทีมวิจัยเอ็มเทคให้เสนอแนวทางการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับโครงสร้างหลังคาของรถรับส่งนักเรียนประเภทรถกระบะดัดแปลง โดยมีเป้าหมายและผลผลิตหลักเป็นแบบเชิงวิศวกรรม (technical drawings) เพื่อใช้เป็นข้อเสนอแนะในการประกาศมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกด้านมาตรฐานรถรับส่งนักเรียน และเป็นแนวทางการออกแบบสำหรับอู่ผู้ผลิตหลังคารถรับส่งนักเรียนทั่วประเทศ ทีมวิจัยออกแบบหลังคาสำหรับรถรับส่งนักเรียนประเภทกระบะดัดแปลง ให้มีความแข็งแรงสอดคล้องตามมาตรฐาน FMVSS 220 (School Bus Rollover Protection) โดยเลือกใช้วัสดุและวิธีการผลิตที่ผู้ประกอบการอู่ต่อหลังคาสามารถดำเนินการได้และต้นทุนต้องไม่สูงกว่าท้องตลาด ร่วมกับจัดวางโครงสร้างที่ทำให้เกิด “ซูเปอร์สตรัคเจอร์ (Superstructure)” ซึ่งเป็นโครงสร้างที่รองรับแรงกระทำที่เกิดขึ้นในกรณีรถพลิกคว่ำ จากนั้นวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEM) เพื่อศึกษาการเลือกวัสดุให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และพิสูจน์ความถูกต้องของการออกแบบ (validation) ด้วยการทดสอบต้นแบบหลังคาแบบเต็มรูปแบบในระดับห้องปฏิบัติการด้วย “แท่นทดสอบการกดหลังคา” ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัย งานวิจัยนี้ทำให้ทราบวิธีการทำนายความแข็งแรงของหลังคารถกระบะได้อย่างแม่นยำ รวมถึงแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับใช้ในการประเมินระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในการประเมินความแข็งแรงหากเกิดการพลิกคว่ำซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในระยะยาว

1 8 9 10 11 12 23