โครงการวิจัยเด่น

การออกแบบพัฒนาต้นแบบกระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียม

การออกแบบพัฒนาต้นแบบกระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียม ที่มา อุตสาหกรรมการหล่ออะลูมิเนียมใช้การเติมฟลักซ์เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกออกจากอะลูมิเนียมหลอมเหลว ทำให้มีสกิมหรือดรอสร้อน (hot dross) เกิดขึ้น เมื่อนำดรอสร้อนไปแยกอะลูมิเมียมออกก็จะได้กากตะกรัน (salt slag) ที่มีเกลือในปริมาณสูง ทั้งนี้โรงงานแต่ละแห่งมักใช้วิธีกำจัดด้วยการฝังกลบ แต่ระหว่างการจัดเก็บถ้ากากตะกรันสัมผัสกับน้ำและหรือความชื้นในอากาศ ก็จะเกิดแก๊สแอมโมเนียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย พัฒนากระบวนการปรับสภาพดรอสอะลูมิเนียมที่ใช้งานได้จริงในการผลิต กระบวนการดังกล่าวได้ผลลัพธ์ดังนี้ ลดปริมาณคลอไรด์ไอออน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมซีเมนต์ และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิตซีเมนต์ ลดปริมาณแก๊สแอมโมเนียที่เกิดขึ้น เพื่อให้จัดเก็บได้ง่ายขึ้น ทีมวิจัยทำอย่างไร ศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยในต่างประเทศ วิเคราะห์ตัวอย่างกากตะกรัน ทบทวนกระบวนการจัดการแบบเดิม เลือกกระบวนการที่เหมาะสมกับประเทศไทย ออกแบบกระบวนการและเพิ่มประสิทธิภาพ ออกแบบเครื่องมือและเครื่องจักร ผลการทดสอบ เพิ่มมูลค่ากากตะกรันโดยใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมซีเมนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก และอุตสาหกรรมเซรามิก ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดกากตะกรันด้วยการฝังกลบ จัดเก็บกากตะกรันได้ง่ายขึ้น ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สถานภาพงานวิจัย อยู่ระหว่างการขยายขนาดระบบการปรับสภาพกากตะกรันให้รองรับกำลังการผลิตจริงในโรงงาน ร่วมมือกับหน่วยวิจัยเซรามิกส์พัฒนาคุณภาพและนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม แผนงานในอนาคต พัฒนาระบบจัดเก็บและฐานข้อมูลพารามิเตอร์การหล่ออะลูมิเนียม รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดเก็บและควบคุมทางสถิติสำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมหล่ออะลูมิเนียม ทีมวิจัย เอ็มเทค : นายอมรศักดิ์ เร่งสมบูรณ์ และคณะ ติดต่อ พวงพร พันธุมคุปต์ นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ โทรศัพท์: 02 […]

ชุดแบตเตอรี่สำหรับการใช้งานด้านความมั่นคง

ชุดแบตเตอรี่ สำหรับการใช้งานด้านความมั่นคง ที่มา การทำงานของยุทโธปกรณ์อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก แต่ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่มาพร้อมกับยุทโธปกรณ์ดังกล่าวชำรุดเนื่องจากใช้งานมานาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดซื้อมาทดแทนได้ ทั้งยังมีราคาสูง เป้าหมาย พัฒนาชุดแบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติดังนี้ สามารถทดแทนแบตเตอรี่ชุดเดิมที่ชำรุด มีขนาดและน้ำหนักที่ใกล้เคียงเดิม มีอายุการใช้งานต่อการชาร์จ 1 ครั้งเพิ่มขึ้น มีความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า มีความแข็งแรงทนต่อแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนเหมาะสำหรับงานภาคสนาม มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการทำงานและแสดงผลบนหน้าจอ มีราคาถูก ทีมวิจัยทำอย่างไร สำรวจข้อมูลความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบชุดแบตเตอรี่ให้มีคุณสมบัติตามที่ตั้งเป้าไว้ ทดสอบตามมาตรฐานของแบตเตอรี่ รวมถึงมาตรฐานทางการทหาร ทดสอบการใช้งานในภาคสนาม ผลการทดสอบ สามารถใช้งานแทนแบตเตอรี่ชุดเดิมที่ชำรุดได้ มีความจุเพิ่มขึ้น 3 เท่าทำให้มีอายุการใช้งานต่อการชาร์จ 1 ครั้งเพิ่มขึ้นจาก 1 วันเป็น 3 วัน ผ่านมาตรฐานการทดสอบคุณสมบัติ และความปลอดภัยของแบตเตอรี่ รวมถึงมาตรฐานทางการทหาร มีราคาลดลงประมาณ 4 เท่า สถานภาพงานวิจัย ส่งมอบผลงาน รวมถึงทดสอบภาคสนามเรียบร้อยแล้ว และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนงานในอนาคต พัฒนาชุดแบตเตอรี่สำหรับใช้ในยุทโธปกรณ์ชนิดอื่น เป็นที่ปรึกษาด้านระบบกักเก็บพลังงานให้แก่ภาคเอกชนที่สนใจ ทีมวิจัย เอ็มเทค : ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล และคณะ เนคเทค […]

การออกแบบโครงสร้างอาหาร

การออกแบบโครงสร้างอาหาร ปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่มีสารอาหาร (nutritious food products) เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาหารดังกล่าวจึงมักรวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากธรรมชาติ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร มีโปรตีนสูง มีไขมันต่ำ รวมถึงมีสารอาหารรอง (micronutrients) [1] และ สารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compounds) [2] เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาหารดังกล่าวมักมีข้อด้อยเรื่องรสชาติ เนื้อสัมผัส (texture) และความเสถียรของผลิตภัณฑ์เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารดั้งเดิม (อาหารปกติ) ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค การออกแบบโครงสร้างอาหาร (food structure design) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างและควบคุมเนื้อสัมผัส ลักษณะปรากฏแก่อาหารเพื่อสุขภาพให้ใกล้เคียงอาหารดั้งเดิม อีกทั้งยังสามารถให้กลิ่น และรสชาติที่ดีอีกด้วย การนำเทคโนโลยีออกแบบโครงสร้างอาหารมาใช้พัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพจำเป็นต้องบูรณาการความรู้หลายด้าน โดยเฉพาะความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ และวิศวกรรมวัสดุ [3] เนื่องจากอาหารเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่มีหลายองค์ประกอบ และมีโครงสร้างซับซ้อน การออกแบบโครงสร้างอาหารจึงมักเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้องค์ประกอบที่เป็นวัตถุดิบอาหาร และกระบวนการเตรียมหรือขึ้นรูปอาหาร (food processing) ที่ส่งผลต่อการเกิดโครงสร้างอาหาร อันนำไปสู่ความสามารถในการควบคุมเนื้อสัมผัสของอาหาร อาหารเพื่อสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างเพื่อปรับเนื้อสัมผัสที่ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค ได้วิจัยและพัฒนา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารไขมันต่ำ [4] […]

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าของไทย สำหรับการฝึกอบรมช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาที่ใช้วิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจและสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจให้บีบตัวเป็นจังหวะ หรือช็อกกล้ามเนื้อหัวใจที่สั่นพลิ้วให้หยุดสั่นแล้วกลับมาทำงานเป็นปกติอีกครั้ง AED Trainer เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต (Automated External Defibrillator Trainer) เป็นเครื่องมือสำหรับสอนการใช้ AED อย่างถูกต้องและปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ รวมทั้งสอนขั้นตอนการกระตุกหัวใจที่ถูกต้อง อย่างไรก็ดีเครื่อง AED Trainer ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและมีขายในประเทศเป็นเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาที่หลากหลายขึ้นกับยี่ห้อและประสิทธิภาพในการทำงาน คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต (Thai Resuscitation Council หรือ TRC) ซึ่งก่อตั้งโดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการสอนการช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน ได้เสนอให้ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) พัฒนาเครื่อง AED Trainer ในนามของเครือข่ายนวัตกรรมยางพารา เพื่อให้สามารถผลิตใช้ได้ในประเทศ มีราคาถูก และทดแทนการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต MTEC ได้พัฒนาเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต และแผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิต โดยได้รับการแนะนำขั้นตอนการใช้งาน AED จากคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต เพื่อใช้ในการฝึกอบรมจริงในหลักสูตรการช่วยชีวิต ติดต่อ ดร. […]

1 10 11 12 13 14 23