โครงการวิจัยเด่น

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับกระบวนการเชื่อม

โครงการวิจัยนี้ มุ่งพัฒนาระบบเชื่อมซ่อมชิ้นส่วนที่ใช้ในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ระบบเชื่อมที่พัฒนาขึ้น ที่ใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ เพิมคณภาพของงานเชื่อมซ่อม ลดระยะเวลาการดําเนินงาน ลดปัญหาการขาดแคลนช่างเชื่อม ที่มาของโครงการ การเชื่อมซ่อมเป็นหนึ่งในกระบวนการหลักที่สําคัญและมีความจํา เป็นอย่างยิ่งที่ให้บริการลูกค้าในธุรกิจบํารุงรักษาโรงไฟฟ้าและ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงในระบบการผลิต ไฟฟ้าของประเทศ ดังนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการจึง ต้องมีการพัฒนากระบวนการเชื่อมซ่อมที่มีความทันสมัย เชื่อถือได้ ในคุณภาพงาน และมีประสิทธิภาพสูงแข่งขันได้ รายละเอียดโครงการ ในการพัฒนา ระบบหุ่นยนต์เชื่อมอัตโนมัติแบบทิก (GTAW) ที่มีแกนการเคลื่อนที่ 7 แกนการเคลื่อนที่แบบเซอร์โว พร้อมด้วย ซอฟต์แวร์สําหรับควบคุมการเชื่อมพอก ระบบควบคุมแรงดันอาร์คอัตโนมัติ ระหว่างเชื่อม หรือ Arc Voltage Control (AVC) ซอฟต์แวร์สําหรับสร้างทางเดินแนวเชื่อมอัตโนมัติ ระบบเฝ้าดู กระบวนการที่สามารถแสดงข้อมูลความร้อนที่ให้กับแนวเชื่อม (Heat-input) และอุณหภูมิของชิ้นงาน พร้อมทั้งนําเสนอผลการ วิเคราะห์โครงสร้างแบบมาโคร การตรวจสอบด้วยสารแทรกซึมการตรวจสอบความแข็งของแนวเชื่อม ผลที่เกิดขึ้น จากการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ กฟผ. เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ทําให้ได้ต้นแบบระบบหุ่นยนต์เชื่อมอัตโนมัติ สําหรับการเชื่อมพอก ผิวแข็ง ที่ใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ ผลจากการเชื่อมซ่อม […]

การพัฒนาขนมปังปราศจากกลูเตนจากฟลาวข้าวและฟลาวมันสำปะหลัง

ที่มาของโครงการ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคแพ็กลูเตนสูงถึง 1% ของประชากรโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังมีผู้นิยมบริโภคผลิตภัณฑ์ อาหารปราศจากกลูเตนมากขึ้น ทําให้มูลค่าทางการตลาดของ ผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตนเพิ่มขึ้นทวีคูณ กลูเตนเป็นโปรตีนใน ฟลาวสาลีที่ให้สมบัติวิสโคอิลาสติกแก่แป้งโตของขนมปัง ทําให้ ขนมปังที่อบแล้ว มีลักษณะเหนียวนุ่มและมีปริมาตรจําเพาะสูง ผลิตภัณฑ์ขนมปังปราศจาตกลูเตนจึงมักมีคุณภาพด้อยกว่าขนมปัง จากฟลาวสาลี มีเนื้อสัมผัสที่ร่วน และมีปริมาตรจําเพาะต่ํา เนื่องจาก ขาดโครงสร้างร่างแหของกลูเตนในแป้งโต ดังนั้น กลุ่ม Food Rheology ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จึงนําความ เชี่ยวชาญด้านรีโอโลยีและสมบัติวิสโคอิลาสติกมาประยุกต์เพื่อ ปรับปรุงสมบัติเชิงวิสโตอิลาสติกซองแป้งโตปราศจากกลูเตน ที่มี ฟลาวข้าวเป็นองค์ประกอบหลัก เพื่อใช้ทดแทนฟสาวสาลีที่มีโปรตีน กลูเตนเป็นองค์ประกอบสําคัญ จากนั้นได้ทํางานวิจัยต่อยอดร่วมกับ หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันสําปะหลังและแป้ง ศูนย์พันธุ วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในการนํา ฟลาวมันสําปะหลังมาพัฒนาเป็นขนมปัง ปราศจากกลูเตน โดยทําการปรับคุณสมบัติวิสโติสาสติกของแป้งโต และคุณภาพของชนมปังให้คล้ายคลึงกับตัวอย่างจากฟลาวสาลี รายละเอียดโครงการแป้งโตที่แสดงสมบัติวิสโคอิลาสติก โดยมีพฤติกรรมคล้ายเจลนิ่ม ที่มีค่ามอดุลัสสะสมสูงกว่ามอตุลัสสูญเสียและค่ามอตุลัสทั้งสองชนิดนี้ มีพฤติกรรมแบบ frequency dependent อีกทั้งมี loss tangent […]

การพัฒนาต้นแบบยางธรรมชาติแดมปิ้งสูง

ที่มาของโครงการ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติให้มีสมบัติ แดมปิ้งสูง (สมบัติการดูดซับและกระจายพลังงานออกจากระบบ) เพื่อใช้วัสดุดังกล่าวเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการสมรรถนะ ด้านการควบคุมการสั่นสะเทือน เช่น แบริ่งยางสําหรับใช้กับ สิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร สะพาน และทางยกระดับเพื่อป้องกัน การสั่นสะเทือนจากการสัญจรของยานพาหนะ และแผ่นดินไหว จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เริ่มศึกษาและพัฒนายางธรรมชาติ ให้มีสมบัติแดมปิ้งสูง ซึ่งจุดเด่นของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การพัฒนา เทคนิคการเตรียมยางธรรมชาติเกรดพิเศษขึ้นมาจากน้ํายางสด โดยใช้กระบวนการเฉพาะที่พัฒนาขึ้นชื่อว่า rosin gelation ซึ่งวิธี การดังกล่าวเป็นเทคนิคใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในวงการ อุตสาหกรรมการผลิตยางธรรมชาติ และยางคอมพาวด์ที่พัฒนา ขึ้นจากยางธรรมชาติเกรดพิเศษดังกล่าวก็ได้รับการพิสูจน์ในระดับ ห้องปฏิบัติการแล้วว่ามีสมบัติเชิงกล และสมบัติแดมปิ้งที่ไม่ด้อย ไปกว่ายางธรรมชาติแดมปิ้งสูงที่มีการผลิตและใช้งานในวงการแบริ่ง ยางป้องกันผลกระทบจากแผ่นดินไหวในระดับสากล รายละเอียดโครงการ โครงการนี้ได้ทําการดัดแปลงวัตถุดิบยางธรรมชาติซึ่งเป็นยาง ที่มีสมบัติแดมปิ้งต่ําให้มีสมบัติแดมปิ้งสูง โดยยังคงรักษาความ แข็งแรงเชิงกลแลยังคงรักษาสภาพเฉื่อย (inert) ของสมบัติเชิงพลวัต ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิไว้ได้ วัตถุดิบยางธรรมชาติแดมปิ้ง สูงที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า Dampaprene มีความง่ายต่อการนําไปใช้งาน สามารถนําไปคอมพาวด์โดยใช้แทนที่ยางธรรมชาติแบบปกติได้เลย จากการทดสอบสมบัติเชิงวิศวกรรมของยางตามมาตรฐาน ISO 22762 Part I พบว่าที่ระดับโมดูลัสแบบเฉือนในระดับเดียวกัน ยางคอมพาวด์ Dampaprene […]

ศึกษาการใช้ไคโตซานในการย้อมสีธรรมชาติ
และเพิ่มสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบนผ้าฝ้ายและไหม

ที่มาของโครงการ ปัจจุบันมีความสนใจนําสีธรรมชาติมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น แต่สีที่ได้จากการย้อมหรือพิมพ์ด้วยสีธรรมชาติ มีความเข้มและความคงทนของสีน้อยกว่าสีเคมี ในงานวิจัยนี้ได้ทําการศึกษาการเตรียมผ้าฝ้ายและไหมด้วย ไคโตซานมวลโมเลกุลต่ําในช่วง 20,000-40,000 ดาลตัน โดยกระบวนการจุ่มอัด-อบแห้ง-ผนึก ก่อนการย้อมสีธรรมชาติ 5 ชนิด ได้แก่ ครั้ง ดอกดาวเรือง เปลือกต้นมะพูด ใบชา และเปลือกต้นสะเดา โดยทำการวัดค่าความเข้มของสี (K/S values) และค่าสี CIELAB L*a*b* ของตัวอย่างผ้าที่ย้อมได้ ทดสอบสมบัติความคงทนของสีต่อการชักต่อแสง ต่อการขัดถู ตามมาตรฐาน ISO 105C-01.ISO 105-B02, AATCC Test Method 8 ตามลําดับ ทดสอบความกระด้างของผ้าและความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus- aureus ตามมาตรฐาน ASTM Dl388-96 และ AATCC Test Method 100 ตามลําดับ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการทํามอร์แดนท์ด้วยสารส้ม การตกแต่งผ้าหลังย้อมด้วยสาร Crosslinking agent และ Binder […]

การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม
ด้วยแสงแดดที่เร็วและมีประสิทธิภาพสูง

การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มด้วยแสงแดดที่เร็วและมีประสิทธิภาพสูง ที่มาของโครงการ การขาดแคลนน้ํำสะอาดสําหรับบริโภคนับเป็นปัญหาที่มีความสําคัญอันส่งผลกระทบต่อประชากร 678 ล้านคนทั่วโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคท้องร่วงกว่า 1,800,000 คน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนน้ํำสะอาด และสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม ในจํานวนนี้มีเด็กที่มีอายุต่ํ่ากว่าห้าขวบเป็นจํานวนกว่า 760,000 คน ประชากรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ประมาณ 83% อาศัยอยู่ในพื้นที่ธุระกันดาร ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่จะต้องมีวิธีการบําบัดน้ําดื่มที่จุดใช้งาน (point-of-use water treatment) ที่ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคดี และเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ธุระกันดาร ผลที่เกิดขึ้น อุปกรณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทําลายเชื้อโรคในน้ํำของวิธีการ SODIS ได้เป็นอย่างมาก และใช้สามารถใช้เวลาได้น้อยลงเปลือเพียง 1 ใน 3 ของวิธีการปกติ นอกจากนี้อุปกรณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นยังสามารถผลิตได้ง่าย ต้นทุนต่ํา ขนส่งสะดวก และ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน เหมาะสําหรับผู้ขาดแคลนน้ําดื่มสะอาดในที่ยากไร้ ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัล Best paper award จากงานการประชุมวิชาการการออกแบบระดับนานาชาติ 8″ International Symposium on Environmentally Conscious Design and Inverse […]

1 20 21 22 23