โครงการวิจัยเด่น

ผลงานสูตรเคลือบเซรามิกไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ

ที่มาของโครงการ โรงงานเซรามิกที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์เป็นสโตนแวร์ ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของประดับหรือของที่ระลึกต่างๆ เผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,150-1250 °C แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขัน และตันทุนพลังงาน ที่สูง ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ และสร้างความแตกต่างกับคู่แข่งขัน จึงมีความสนใจในการนําเคลือบ อุณหภูมิต้าไปใช้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงานและสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้กับโรงงาน รายละเอียดโครงการ โครงการได้รับทุนวิจัยจาก สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อดําเนินการพัฒนาเคลือบเอฟเฟค ไร้สารตะกัวสําหรับเผาเคลือบเซรามิกที่อุณหภูมิต่ำ โดยมีการพัฒนา เคลือบใส ให้สามารถเผาสุกตัวได้ที่อุณหภูมิ 1100 °C และเผา เพื่อทําให้เกิดผลึกในอุณหภูมิช่วง 980-1080 °C จํานวน 4 สูตร จากการสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย และทีมงานวิจัยได้มีโอกาสไป เยี่ยมชมโรงงานในกลุ่มจังหวัดลําปาง ได้มีโรงงานไทยสิราซัพพลาย โรงงานกิตติโรจน์เซรามิกส์ และโรงงานนันท์เซรามิค ที่มีความ สนใจในการทําเคลือบที่อุณหภูมิต่ํา และได้ขอความอนุเคราะห์ในการ ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสูตรเคลือบไร้สารตะกั่วอุณหภูมิต่ำ เพื่อนําไปทดลองใช้ในโรงงาน เพื่อเป็นการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้มีความหลากหลาย และผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่โรงงานนันท์เซรามิกและผลิตภัณฑ์ที่ได้ Technology transfer to Nanth […]

ผลงานสูตรเนื้อดินเซรามิกอุณหภูมิต่ำ

ผู้รับเทคโนโลยี1) โรงงานมีศิลป์เซรามิค 2) โรงงานนันท์เซรามิค ที่มาของโครงการโรงงานเซรามิกที่มีขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดลําปาง ส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์เป็นสโตนแวร์ ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของประดับหรือของที่ระลึกต่างๆ เผาที่อุณหภูมิประมาณ 1150-1250 °C แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขันและต้นทุน พลังงานที่สูง ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีเอกลักษณ์ และสร้างความแตกต่างกับคู่แข่งขัน จึงมีความสนใจ ในการนําเนื้อดินอุณหภูมิต่ําไปใช้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงาน และสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้กับโรงงาน รายละเอียดโครงการโครงการได้รับทุนวิจัยจากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อดําเนินพัฒนาเนื้อดินเซรามิก สําหรับเผาที่อุณหภูมิต่ํา โดยมีการพัฒนาเนื้อดินสโตนแวร์ให้ สามารถเผาสุกตัวได้ที่อุณหภูมิ 1050-1100°C จํานวน 4 สูตร จากการสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย และทีมงานวิจัยได้มีโอกาส ไปเยี่ยมชมโรงงานในกลุ่มจังหวัดลําปาง โรงงานไทยสิราซัพพลาย โรงงานกิตติโรจน์เซรามิกส์ และโรงงานนันท์เซรามิค มีความสนใจ ในการผลิตเซรามิกที่อุณหภูมิต่ํา จึงได้ขอความอนุเคราะห์ในการ ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสูตรเนื้อดินและเคลือบเพื่อนําไป ทดลองใช้ในโรงงานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับปรุงเนื้อดิน ของโรงงานให้สามารถใช้ร่วมกับเคลือบอุณหภูมิต่ําได้ แต่เนื่องจาก โรงงานไทยสิราซัพพลายและโรงงานกิตติโรจน์เซรามิกส์ใช้น้ําดิน ที่ผลิตจากโรงงานมีศิลป์เซรามิค ดังนั้น โรงงานมีศิลป์เซรามิค จึงเป็นผู้รับการถ่ายทอดสูตรเนื้อดินอุณหภูมิต่ําจากทางห้องปฏิบัติการ และทําการผลิตน้ําดินเพื่อส่งต่อให้โรงงานไทยสิราซัพพลายและโรงงาน กิตติโรจน์เซรามิกส์ไปใช้ในกระบวนการผลิต สําหรับโรงงานนันท์ เซรามิคได้ดําเนินการทดลองผลิตโดยความช่วยเหลือการใช้เครื่องมือ จากศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก […]

คอนกรีตมวลเบาประเภทเซลลูล่า

ที่มาของโครงการ บริษัท ที เอส พี ทูลส์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีในการ จัดสร้างเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตคอนกรีตมวลเบาชนิดเซลลูล่า (Cellular Lightweight Concrete) ด้วยการหล่อแบบ มีความสนใจในการพัฒนาสูตรและส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆ เพื่อให้ได้ คอนกรีตมวลเบาที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่อ การใช้งาน รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานดังกล่าว ในการต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาชนิดเซลลูล่า ในรูปแบบอื่นๆ ตามความต้องการของตลาด รายละเอียดโครงการ คณะผู้วิจัยฯได้มีการศึกษาชนิดและสัดส่วนของวัตถุดิบประเภท ต่างๆในท้องตลาด ที่เหมาะสมต่อการนํามาประยุกต์ใช้ในการผลิต คอนกรีตมวลเบาชนิดเซลลูล่า โดยเฉพาะน้ํายาสร้างฟอง (Foaming agent) โดยการศึกษาถึงโครงสร้างของช่องว่างอากาศในเนื้อวัสดุ ซึ่งเป็นตัวกําหนดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เช่น ความหนาแน่น ความแข็งแรง ความเป็นฉนวนอากาศและการดูดซึมน้ํา เป็นต้น ผลที่เกิดขึ้น ผลจากการดําเนินงานของโครงการสามารถพัฒนาคอนกรีต มวลเบาชนิดเซลลูล่าที่สมบัติด้านความหนาแน่น ความแข็งแรง และการดูดซึมน้ํา เท่ากับ 900-1050 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 2.50 -3.15 เมกกะปาสคาลและ 11.5 – 15.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ ซึ่งมีสมบัติตามมาตรฐานของมอก. เลขที่ 2601-2556 […]

เครื่องทดสอบประสิทธิภาพและอายุการใช้งานตีนตะขาบยาง

ที่มาของโครงการ ตีนตะขาบยางได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ทดแทน ตีนตะขาบเหล็กที่ก่อให้เกิดเสียงดังและเกิดรอยทับบนพื้นถนน ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนําเข้าตีนตะขาบยางจํานวนมากเพื่อใช้ใน อุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการเกษตร ห้าดาว แทรค จํากัด เป็นบริษัทแห่งเดียวของคนไทยที่ผลิตและ จําหน่ายตีนตะขาบยาง อย่างไรก็ตามการพัฒนาตีนตะขาบยาง ของบริษัทฯ ต้องรอข้อมูลที่ได้จากการใช้งานจริงของผู้ใช้ ซึ่งเป็น การเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นระบบ ควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้ยาก เสียเวลา และค่าใช้จ่ายมาก รายละเอียดความร่วมมือ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์วิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมยางไทย มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท ห้า ดาว แทรค จํากัด ได้ร่วมวิจัยเพื่อทําการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบ ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานตีนตะขาบยางขึ้น เพื่อใช้ในการ ทดสอบสมบัติต่าง ๆ ที่จําเป็นและอายุการใช้งานของตีนตะขาบยาง แทนการรอข้อมูลจากการใช้งานจริง ผลที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือดังกล่าวทําให้ได้เครื่องทดสอบประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานตีนตะขาบยางที่จําลองแบบมาจากสภาวะ การใช้งานจริง สามารถทําการทดสอบตีนตะขาบยางได้พร้อมกัน 2 เส้น เพื่อหาลักษณะการยึดตัว อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นระหว่างการ ใช้งาน การฉีกขาดเมื่อวิ่งชนสิ่งกีดขวาง และอายุการใช้งานของ ตีนตะขาบยาง ทําให้การเก็บข้อมูลเป็นระบบมากขึ้น สามารถ ควบคุมปัจจัยต่าง […]

ห้องโดยสารรถพยาบาลแบบมีโครงสร้างรองรับการพลิกคว่ำ

ที่มาของโครงการ จากสถิติด้านอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถพยาบาลฉุกเฉิน (CMS) จากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยพบว่ามีบุคลากรในรถพยาบาล ได้แก่ แพทย์ พยาบาล พนักงานขับรถ ผู้ป่วยรวมถึงญาติ เสียชีวิตเนื่องจาก อุบัติเหตุรถพลิกคว่า หรือที่เรียกว่า “Rollover” สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง หนึ่งในสาเหตุหลัก คือ การที่รถพยาบาลที่มีอยู่ในหลายประเทศ ไม่ได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างตัวถังรถที่แข็งแรงเพียงพอ รองรับการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการผลักดัน ให้มีการพัฒนาโครงสร้างของตัวถังและห้องโดยสารของรถพยาบาล ให้มีความแข็งแรง หรือที่เรียกว่าโครงสร้างแบบ “Superstructure” ซึ่งจัดได้อยู่ในหมวดอุปกรณ์ “Passive Safety” หรืออุปกรณ์ช่วยลด ความรุนแรงของอุบัติเหตุจากหนักเป็นเบา ให้สามารถปกป้องชีวิตของผู้โดยสารระหว่างเหตุการณ์พลิกคว่าของตัวรถได้ ต้นแบบห้องโดยสารรถพยาบาลที่มีโครงสร้างรองรับการพลิกคว่ำ (Design and Development of Ambulance Superstructure) รายละเอียดโครงการ คณะวิจัยได้ดําเนินโครงการวิจัยนี้ ร่วมกับแผนกวิจัยและพัฒนา ของ บริษัท สุพรีร่า อินโนเวชั่น จํากัด ทําการออกแบบและพัฒนา ห้องโดยสารรถพยาบาลให้ได้โครงสร้างความแข็งแรงเพียงพอที่จะ รองรับแรงกระทําที่เกิดขึ้นกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่า หรือ ที่เรียกว่า “Rollover” โดยใช้เกณฑ์ในการออกแบบตามมาตรฐาน UN […]

1 19 20 21 22 23