โครงการวิจัยเด่น

ยกระดับแก้วกาแฟใช้แล้ว สู่กล่องของขวัญที่ทรงคุณค่าด้วยหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์  เป็นองค์การสาธารณกุศลที่ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้แก่ชาวไทยภูเขาควบคู่ไปกับการพัฒนาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นโครงการหลัก คาเฟ่ดอยตุงเป็นธุรกิจเพื่อสังคมประเภทหนึ่งภายใต้โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในแต่ละปีร้านคาเฟ่ดอยตุงบนพื้นที่ดอยตุงจะมีแก้วกาแฟกระดาษที่ใช้แล้วมากถึง 1.5 ตัน การนำวัสดุเหลือทิ้งไปใช้ประโยชน์จะช่วยลดภาระในการจัดการขยะ สร้างความตระหนัก รวมถึงสร้างงานและรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้เพื่อคงคุณค่าของเยื่อกระดาษจากแก้วกาแฟและลดการใช้ทรัพยากร  การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงคุณสมบัติเพื่อยืดอายุการใช้งาน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้พัฒนากระบวนการผลิตกล่องของขวัญที่คงรูปทรงและไม่เปื่อยยุ่ยง่ายจากการผสมเยื่อปอสาเข้ากับเยื่อกระดาษจากแก้วกาแฟ โดยคำนึงถึงการคงคุณค่าและความ ปลอดภัยจากสารเคมีตลอดวงจรชีวิตตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้งาน และการนำไปผลิตในรอบถัดๆ ไป ซึ่งในการพัฒนาต้องอาศัยความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ในการเลือกใช้สารเติมแต่งที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพื่อจะได้ไม่ขัดขวางการนำมารีไซเคิลสำหรับใช้งานในรอบถัดไป ในส่วนของการขึ้นรูปได้มีการค้นคว้าและเสนอเทคนิค Molded Pulp Method ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย นอกจากนี้ ยังนำการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรตลอดวงจรชีวิตมาประกอบการออกแบบโซลูชันเพื่อให้สามารถประเมินผลกระทบของแนวทางที่เลือกใช้ตั้งแต่ช่วงต้นของการพัฒนา ในช่วงการพิสูจน์แนวคิดนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้เรียนรู้กระบวนการและแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในการคง/เพิ่มคุณค่าของเยื่อกระดาษ และลดการใช้ทรัพยากร ซึ่งหากต่อยอดแนวคิดไปสู่การผลิตจริงได้สำเร็จ ก็จะสามารถพัฒนากล่องของขวัญที่สวยงามและมีฟังก์ชันที่เอื้อต่อการใช้งานซ้ำหรือนำไปใช้ประโยชน์แบบอื่นต่อได้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนต่อไป  โบรชัวร์ [pdf file]​ Website : www.doitung.com Tel : 0 5376 7015-7 Fax: 0 […]

การพัฒนาเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพสูง

บริษัท บีเอช พลาสติก (BH Plastic) เป็นโรงงานรีไซเคิลขนาดย่อมในกลุ่มของหจก. พี เอส เอ็ม พลาสิเท็ค กรุ๊ปที่มีประสบการณ์นานกว่า 30 ปี BH Plastic สามารถผลิตเม็ดคอมพาวนด์จากพลาสติกรีไซเคิลตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งเม็ดรีไซเคิลที่ผลิตได้มีสมบัติเทียบเคียงกับเม็ดพลาสติกที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน  จากกระแสรักษ์โลกที่ต้องการให้มีสัดส่วนของพลาสติกรีไซเคิลโดยเฉพาะแบบ PCR (Post-Consumer Recycled Plastics) ในผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ PCR ที่มาจากพลาสติกที่ผ่านการใช้งานเป็นที่ต้องการมากขึ้น อีกทั้งประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานที่มีปีละเกือบ 2 ล้านตันมารีไซเคิล ส่งผลให้ BH Plastic มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสูตรคอมพาวนด์จาก PCR เหล่านี้        การเลือกใช้วัตถุดิบทดแทนจากการรีไซเคิล เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบหมุนเวียนและสร้างมูลค่าเพิ่ม BH Plastic จึงมุ่งไปที่การพัฒนาคอมพาวนด์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงสำหรับใช้ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมรรถนะสูงจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทพีพี (polypropylene) ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยออกแบบกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกแบบ PCR ที่รักษาคุณค่าเชิงฟังก์ชันของวัสดุในการพัฒนาพลาสติกรอบสอง รวมถึงเตรียมความพร้อมที่จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะนำกลับมาเวียนใช้ในรอบถัดๆ ไป BH Plastic ยังสร้างกลไกเพื่อให้เกิดความร่วมมือในโซ่อุปทานเพื่อร่วมกันกำหนดคุณลักษณะของวัตถุดิบที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังนำความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาพัฒนาสูตรที่ใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบที่มีให้คุ้มค่าและคงคุณค่าให้มากที่สุด  […]

การออกแบบที่ใส่ใจ ตลอดเส้นทาง… เพื่อคงคุณค่าของไม้สัก อย่างยั่งยืน

บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด  เป็นบริษัทออกแบบและผลิตสินค้าประเภทไม้ โดยเน้นการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนคือ ใช้วัสดุให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ไม้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า ลดของเสียด้วยการนำมาใช้ประโยชน์ตามลำดับขั้น และคงคุณค่าให้ยาวนานที่สุดด้วยโมดูลาร์ดีไซน์ และเทคนิคการประกอบแบบไม่ใช้กาว เพื่อลดการสูญเสีย เมื่อนำไม้มาใช้งานในรอบต่อๆ ไป  เฟอร์นิเจอร์ไม้สักเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งความสวยงาม ความแข็งแรง ความคงทน และมีมูลค่าสูง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านราคาอาจไม่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้บางรายที่ต้องการปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์บ่อยๆ หรือหากต้องซ่อมแซมเมื่อมีชิ้นส่วนไม้เสียหาย  อาจต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเพราะการยึดกาวทำให้แยกชิ้นส่วนได้ยาก และเมื่อเลิกใช้งาน การนำไม้สักเดิมไปใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์หรือผลิตภัณฑ์อื่นทำได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากต้องตัดไม้ส่วนที่ติดกาวออกทำให้ขนาดของชิ้นไม้เล็กลง จนอาจไม่เหมาะกับการใช้งานเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อรองรับน้ำหนัก อย่างไรก็ดี สามารถใช้เป็นไม้พื้นหรือไม้ปาร์เกต์ได้ แต่ไม้จะมีมูลค่าลดลงและนำไปหมุนเวียนในรอบต่อไปได้ยาก ทำให้ไม่สามารถคงคุณค่าของวัสดุไว้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้โมดูลาร์ดีไซน์-เพื่อคงคุณค่าเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก บริษัทจึงออกแบบชุดโต๊ะและม้านั่งปิกนิกใหม่ให้ประกอบด้วยโมดูล (module) ที่สามารถถอดและปรับเปลี่ยนรูปแบบได้แทนการเปลี่ยนทั้งชุด อีกทั้งยังใช้วิธีการประกอบชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์โดยไม่ใช้กาว และไม่ใช้สารเคมีในการเคลือบหรือตกแต่งพื้นผิว ทำให้สามารถคงคุณค่าของเฟอร์นิเจอร์และไม้สักได้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งจะคงคุณค่าของผลิตภัณฑ์และวัสดุได้ตลอดช่วงการใช้งาน รวมถึงการจัดการหลังการใช้ และการหมุนเวียนสู่การใช้งานในรอบต่อๆ ไปด้วย “การเอาเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ มาใช้ใหม่ มันเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้ดีไซน์มาแก้ไขปัญหา ทำไมเราไม่คิดว่า จะแก้ไขปัญหาโดยการออกแบบหรือทำยังไง ที่ไม่ให้เกิดขยะในอนาคต” จิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์กรรมการผู้จัดการ/ฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด (DEESAWAT)   โบรชัวร์ [pdf file]​ Website […]

คู่มือการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจไทย (ฉบับผู้ปฏิบัติ)

ที่มา คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำหนดให้ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีของรัฐวิสาหกิจ โดยใช้แนวทางในการประเมินภายใต้กรอบ ISO 14045 Eco-efficiency assessment of product systems-Principles, requirements and guidelines พิจารณาควบคู่กับการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Asessment, LCA) จึงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) พัฒนาคู่มือการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจไทย (ฉบับผู้ปฏิบัติ) เป้าหมาย เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจนำไปใช้ประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจขององค์กร รวมถึงจัดทำตัวชี้วัดในการประเมินองค์กรที่ตอบโจทย์ของ สคร. เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงองค์กรให้มุ่งสู่ความยั่งยืนต่อไป ทีมวิจัยทำอย่างไร ร่วมกับคณะกรรมการเทคนิคด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินวัฏจักรชีวิตและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในการพัฒนาคู่มือฯ โดยทุกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลบัญชีรายการสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต (LCI database) ที่ TIIS พัฒนาขึ้นในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อให้มีมาตรฐานการใช้ข้อมูลในระดับเดียวกัน ผลงานวิจัย คู่มือฯ ได้แนะนำขั้นตอนการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สำหรับรัฐวิสาหกิจตามมาตรฐาน ISO 14045 ดังนี้ นอกจากนี้ในคู่มือฯ ยังได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาองค์กรที่ดำเนินการด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจแยกตามประเภทของธุรกิจอีกด้วย สถานภาพการวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจแล้ว โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (http://www.sepo.go.th/content/321) ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF […]

โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด รักษาคุณค่าของทรัพยากรในระบบและหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด และลดการปลดปล่อยของเสียออกจากระบบให้น้อยที่สุด เพื่อบรรลุการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การจะขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้นั้น หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ “การออกแบบตั้งแต่ต้นทาง” ที่ครอบคลุมการออกแบบผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบรรจุภัณฑ์) กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน (รวมถึงการซ่อมแซมและยืดอายุการใช้งาน) และการจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว (การนำกลับมาใช้ซ้ำ การรีไซเคิล และการจัดการเศษซากผลิตภัณฑ์) เพื่อให้การขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้การสนับสนุนจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนิน “โครงการส่งเสริมการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Design for Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้สามารถประยุกต์หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการออกแบบ การดำเนินโครงการได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รับสมัครและคัดเลือกสถานประกอบการ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบรรจุภัณฑ์) กระบวนการผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบ การใช้งาน และการจัดการเมื่อสิ้นอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้ว รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตต้นแบบที่ได้ออกแบบตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ประกอบการนำไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้แนวทางการออกแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ สถานประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในซีซัน (season) นี้ ได้แก่ 1. […]

1 2 3 4 5 6 23