EDCproject

สื่อการเรียนการสอนเครื่องยิงลูกบอลแบบโพรเจคไทล์

สื่อการเรียนการสอนเครื่องยิงลูกบอลแบบโพรเจคไทล์ ต้นแบบเครื่องยิงลูกบอลแบบโพรเจคไทล์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (project- based learning) กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะนำความรู้หลายแขนง เช่น ฟิสิกส์และคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับวิศวกรรมเครื่องกลและไฟฟ้า และไมโครคอนโทรลเลอร์มาผนวกกับการใช้เซ็นเซอร์ต่างๆ มาต่อยอดความคิด โดยนำทฤษฎีมาใช้ร่วมกับการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้นแบบนี้ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ส่วนขับเคลื่อน ประกอบด้วยล้อและมอเตอร์อย่างละ 1 คู่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนลูกบอลให้เคลื่อนที่ในแนววิถีโค้ง 2) ส่วนยิงลูกบอล ประกอบด้วยโซลินอยด์ที่ควบคุมโดยรีเลย์ทำหน้าที่ผลักบอลเข้าสู่ส่วนขับเคลื่อน 3) ส่วนตรวจจับความเร็วประกอบด้วยอินฟาเรดเซ็นเซอร์ 2 ตัว และ 4) ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่ควบคุมการสั่งงานกลไกทั้งหมด ทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้การออกแบบหรือหลักคิดเดิมในการปรับเปลี่ยนความสามารถของต้นแบบหรือเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในวิชาอื่น หรือแม้กระทั่งนำความรู้ในศาสตร์ด้านหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม

หลังคารถกระบะดัดแปลงแบบมีโครงสร้างรองรับแรงกระทำจากการพลิกคว่ำตามมาตรฐาน FMVSS 220

หลังคารถกระบะดัดแปลงแบบมีโครงสร้างรองรับแรงกระทำจากการพลิกคว่ำตามมาตรฐาน FMVSS 220 อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถกระบะดัดแปลงที่ใช้รับส่งนักเรียนมีความถี่และความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของรถ ดังนี้ (1) การดัดแปลงรถกระบะที่ใช้รับส่งนักเรียนโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย เช่น เสริมเก้าอี้โดยสารออกนอกตัวรถ ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการพลัดหล่นจากรถ และติดตั้งหลังคาเข้ากับตัวรถอย่างไม่มั่นคงแข็งแรง (2) มาตรฐานรถรับส่งนักเรียนที่ประกาศโดยกรมการขนส่งทางบกยังขาดรายละเอียดทางเทคนิคที่ระบุรูปแบบการเชื่อมต่อโครงสร้าง ชนิดและขนาดวัสดุที่ใช้ รวมถึงวิธีการผลิตและติดตั้ง ทำให้ผู้ผลิตไม่มีแนวทางการออกแบบ (design guidelines) เพื่อนำไปปฏิบัติ จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิถนนปลอดภัย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ได้ว่าจ้างทีมวิจัยเอ็มเทคให้เสนอแนวทางการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับโครงสร้างหลังคาของรถรับส่งนักเรียนประเภทรถกระบะดัดแปลง โดยมีเป้าหมายและผลผลิตหลักเป็นแบบเชิงวิศวกรรม (technical drawings) เพื่อใช้เป็นข้อเสนอแนะในการประกาศมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกด้านมาตรฐานรถรับส่งนักเรียน และเป็นแนวทางการออกแบบสำหรับอู่ผู้ผลิตหลังคารถรับส่งนักเรียนทั่วประเทศ ทีมวิจัยออกแบบหลังคาสำหรับรถรับส่งนักเรียนประเภทกระบะดัดแปลง ให้มีความแข็งแรงสอดคล้องตามมาตรฐาน FMVSS 220 (School Bus Rollover Protection) โดยเลือกใช้วัสดุและวิธีการผลิตที่ผู้ประกอบการอู่ต่อหลังคาสามารถดำเนินการได้และต้นทุนต้องไม่สูงกว่าท้องตลาด ร่วมกับจัดวางโครงสร้างที่ทำให้เกิด “ซูเปอร์สตรัคเจอร์ (Superstructure)” ซึ่งเป็นโครงสร้างที่รองรับแรงกระทำที่เกิดขึ้นในกรณีรถพลิกคว่ำ จากนั้นวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEM) เพื่อศึกษาการเลือกวัสดุให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และพิสูจน์ความถูกต้องของการออกแบบ (validation) ด้วยการทดสอบต้นแบบหลังคาแบบเต็มรูปแบบในระดับห้องปฏิบัติการด้วย “แท่นทดสอบการกดหลังคา” ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัย งานวิจัยนี้ทำให้ทราบวิธีการทำนายความแข็งแรงของหลังคารถกระบะได้อย่างแม่นยำ รวมถึงแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับใช้ในการประเมินระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในการประเมินความแข็งแรงหากเกิดการพลิกคว่ำซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในระยะยาว

เตียงตื่นตัว เตียงกระตุ้นการลุกนั่งของผู้สูงอายุ : JOEY – The active bed

เตียงตื่นตัว เตียงกระตุ้นการลุกนั่งของผู้สูงอายุ JOEY – The active bed ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบนั่นคือการที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากกว่าจำนวนประชากรวัยทำงานจึงเกิดคำถามสำคัญว่าเราจะดูผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีสุขภาพที่ดีให้นานที่สุดได้อย่างไร และมีอุปกรณ์อะไรบ้างที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้บ้าง แนวคิดหลักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกจากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆหรือเรียกว่า “Human-centric design” โดยคำนึงถึง ความต้องการขั้นพื้นฐานคือ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการนอนติดเตียงด้วยการกระตุ้นให้ผู้ใช้ลุกนั่งและยืนได้ด้วยตัวเอง ลดภาระการดูแล ใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีความเหมาะสมด้านการยศาสตร์ ราคาไม่สูงมาก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้สูงอายุได้ในวงกว้าง จุดเด่นของผลงานวิจัย> ช่วยกระตุ้นการลุกนั่ง-ยืน-เดินของผู้สูงอายุ> มีกลไกหลักสำหรับการปรับเปลี่ยนจาก “ท่านอน” เป็น “ท่านั่ง” ในลักษณะ“พร้อมลุกยืน” กลไกนี้ได้รับการออกแบบให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานด้วยตนเองได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม> มีสมองกลสำหรับวิเคราะห์ด้านสุขภาวะ ได้แก่ พฤติกรรมการนอน และการลุกจากเตียง อันจะนำไปสู่การป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพและการนอนติดเตียงของผู้สูงอายุ สถานภาพงานวิจัยพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี ทีมวิจัยและพัฒนาดร.สิทธา สุขกสิดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติฝอยฝน ศรีสวัสดิ์ประสิทธิ์ วัฒนวงศ์สกุลณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน สนใจข้อมูลเพิ่มเติมรัชนี ม้าทองโทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4313Email : rutchanc@mtec.or.thศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

BEN : อุปกรณ์ช่วยขึ้นลงเตียงแบบปรับนั่งได้

BEN อุปกรณ์ช่วยขึ้นลงเตียงแบบปรับนั่งได้ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยหลังการผ่าตัด มักมีความเสี่ยงสูงที่จะพลัดตกหกล้มในขณะขึ้นลงเตียง ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้แต่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในบางกรณี แนวคิดหลัก นักวิจัยลงพื้นที่สถานพยาบาลเพื่อเก็บข้อมูลและศึกษาปัญหาที่แท้จริงข้อสรุปที่ได้จะนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์โดยยึดตาม “ความต้องการของผู้ใช้” เป็นสำคัญ วิธีการนี้เรียกว่า Human-centric design (ฮิวแมน เซ็นทริก ดีไซน์) จุดเด่นของผลงานวิจัย > ลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ต้องขึ้น-ลงจากเตียงที่มีความสูง เช่น เตียงโรงพยาบาล > กระตุ้นการลุกขึ้นนั่ง ลดการนอนติดเตียง จึงช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยทั่วไปหรือหลังผ่าตัด > ใช้เป็นเก้าอี้สำหรับพยาบาลในการทำหัตถการ และสำหรับญาติที่มาเยี่ยม > ใช้เป็นเครื่องมือช่วยพยาบาลในการทำกายภาพบำบัด สถานภาพงานวิจัย ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยแก่บริษัท อีซี่โคซี่ จำกัด ทีมวิจัยและพัฒนา ดร.สิทธา สุขกสิ ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ ฝอยฝน ศรีสวัสดิ์ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม รัชนี ม้าทอง โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4313 Email : rutchanc@mtec.or.th ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) […]

การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

โรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นในสังคมผู้สูงอายุ ทีมวิจัยจึงพัฒนา AKIKO ผ้าห่มที่มีความอ่อนนุ่มและสวยงาม มีการเย็บพิเศษสำหรับกระตุ้นประสาทสัมผัส เหมาะสำหรับนำไปใช้ได้ทั้งที่บ้าน สถานดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาล

1 2 3 4 5