หลักสูตรที่จัดเสร็จแล้ว

การบรรยายหัวข้อ การพยากรณ์และวิเคราะห์ความเสียหายของเครื่องจักร สู่การเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (วันที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 13:30-16:00 น.)

หลักสูตรอบรมการพยากรณ์และวิเคราะห์ความเสียหายของเครื่องจักรสู่การเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมสมัยใหม่(How digitized machine health monitoring integrated with AI analysis and RCM will help Thai industries coping with technology disruption?) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 29 มิถุนายน 2565เวลา 13.30 – 16.00 น.อบรมออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEX Meeting หลักการและเหตุผล Digital Transformation มีความสำคัญอย่างไรกับผู้ประกอบการ ในภาวะเศรษฐกิจที่เราเพิ่งผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทั้งยังปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะสงคราม ปัญหา supply chain ทั้งยังต้นทุนที่ทยอยเพิ่มขึ้นทุกอย่าง คนที่ปรับตัวได้เร็วและถูกทางจะสามารถนำพาธุรกิจให้รอดพ้นวิกฤตและมีศักยภาพในการแข่งขัน สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต สิ่งสำคัญที่ควรจะโฟกัสคือทำอย่างไรให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด ทั้งในส่วนปริมาณและคุณภาพของสินค้า และการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยกรในการผลิตที่มีอยู่ให้ได้สูงสุด โดยทำให้ค่าใช้จ่าย operation cost น้อยที่สุด […]

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยียางพื้นฐาน (วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2565)

หลักสูตรอบรม เทคโนโลยียางพื้นฐาน (Introduction to Rubber Technology) จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:00-16:00 น. จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ ทั้งในรูปแบบอบรมในห้องอบรม (onsite) ไปพร้อมกับ อบรมในรูปแบบ online ท่านผู้สนใจสามารถเลือกรูปแบบการอบรมได้ตามที่ท่านสะดวก รายละเอียดดังนี้ รูปแบบที่1 อบรม onsite ณ ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี รูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting หลักการและเหตุผล อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางของไทยจัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงเพราะประเทศไทยได้เปรียบทั้งในด้านที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบและยังมีค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมากนัก ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องก่อให้เกิดความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยียางจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจึงได้เปิดการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยียางพื้นฐานขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านเทคโนโลยียางให้แก่ผู้ประกอบการ ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านเทคโนโลยียาง โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร […]

การสัมมนาหัวข้อ “ภาพรวมของอุตสาหกรรมมอเตอร์ไฟฟ้าในประเทศไทย” วันที่ 26 กรกฏาคม 2565 (เวลา 8:30-16:00 น.)

การสัมมนาภาพรวมของอุตสาหกรรมมอเตอร์ไฟฟ้าในประเทศไทย(Overview of Electric Motors Industry in Thailand) จัดโดยสมาคมการสึกหรอและการหล่อลื่นไทยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565เวลา 8:30 – 16:00 น.จัดสัมมนาแบบคู่ขนานฟังออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebExหรือร่วมสัมมนาที่ห้อง CC305 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี หลักการและเหตุผล        ประเทศไทยได้ตั้งเป้าให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve ของประเทศ โดยมีการส่งเสริมการลงทุนผลิตยานพาหนะไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่การผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและประกอบยานยนต์สันดาปภายในมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้นการขยับเข้าสู่การผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้านั้นอาจจะทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากชิ้นส่วนสำคัญต่าง ๆ ของยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มอเตอร์ไฟฟ้า นั้นผู้ผลิตจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และประสบการณ์ในการออกแบบ พัฒนา รวมไปถึงการทดสอบชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า         สมาคมการสึกหรอและการหล่อลื่นไทย (TTA) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เล็งเห็นถึงช่องว่างทางด้านเทคโนโลยีและโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย จึงได้ร่วมกันจัดงานซีรีส์สัมมนา […]

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวิเคราะห์ความเสียหายทางโลหะวิทยา ครั้งที่ 7 (วันที่ 1-5 สิงหาคม 2565)

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวิเคราะห์ความเสียหายทางโลหะวิทยา ครั้งที่ 7The 7th Workshop on Metallurgical Failure Analysis วันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565สถานที่ ห้องฮอลล์ ออฟ เฟม เอ โรงแรมฮาร์ดร็อค โฮเทล พัทยา จ.ชลบุรี (คลิ๊กดูแผนที่) ดาวโหลดไฟล์เอกสารรายละเอียดการอบรมในรูปแบบ PDF ได้ที่นี่ จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติร่วมกับทีมวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและซ่อมบำรุงศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและขนส่งสมัยใหม่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หลักการและเหตุผล ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเครื่องจักรและโครงสร้างทางวิศวกรรมเป็นสิ่งที่มักพบเห็นได้เสมอในชีวิตประจำวันของเรา แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ดีช่วยในการออกแบบ ผลิตหรือประกอบติดตั้ง และมีการใช้เทคนิคในการซ่อมบำรุงที่ทันสมัยเพื่อช่วยในการตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องจักรมากขึ้นก็ตาม แต่สภาวะการทำงานจริงของชิ้นส่วนมักไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ทำให้มีโอกาสที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างหรืออุปกรณ์จะรับภาระกรรมเกินขีดจำกัด ซึ่งนำไปสู่การแตกหักเสียหายหรือเสื่อมสภาพในที่สุด ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลเสียต่อสังคม เศรษฐกิจ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นความสามารถในการวิเคราะห์การเสียหายของวัสดุได้อย่างถูกต้องแม่นยำนั้น ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดอย่างหนึ่งในวิชาชีพวิศวกรรม เนื่องจากข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์และผลการวิเคราะห์ จะเป็นประสบการณ์อันมีค่าที่จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังจะเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบและวิศวกรรมให้สูงขึ้น และจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันและลดการเสียหายของชิ้นส่วนในอนาคต สาเหตุของการเกิดความเสียหายมีหลายประเด็น และการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อหารากของปัญหานั้นมีเทคนิคและขั้นตอนที่หลากหลาย ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงได้เน้นให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาทักษะและความรู้ด้านการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะอย่างเป็นระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานที่ดูแลรับผิดชอบได้โดยตรง ทั้งนี้มีการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติอย่างใกล้ชิดจากทีมวิทยากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 […]

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys (วันที่ 10 – 11 สิงหาคม 2565)

หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ Ansys(Advanced Finite Element Analysis with Ansys) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันที่ 10-11 สิงหาคม 2565ห้อง M120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี หลักสูตรนี้เป็นการสอนการใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys วิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนที่มีความซับซ้อน เช่น ปัญหาการสัมผัส (contact problems), ปัญหาพลศาสตร์ (dynamics problems) เป็นต้น โดยผู้เข้าอบรมจะได้ลงมือใช้ซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง พร้อมสอนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการตีโจทย์และวิเคราะห์ผลการจำลอง นอกจากนั้นจะมีการยกตัวอย่างงานจริงจากประสบการณ์ของวิทยากรมาประกอบด้วย – ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนที่มีความซับซ้อน เช่น ปัญหาการสัมผัส (contact problems), ปัญหาพลศาสตร์ (dynamics problems) เป็นต้น – การใช้งานซอฟต์แวร์ Ansys วิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างและการถ่ายเทความร้อนที่มีความซับซ้อน – กรณีศึกษาการวิเคราะห์งานในอุตสาหกรรม Key Highlights 1.การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโครงสร้างขั้นสูงด้วยการประยุกต์ใช้การเทคโนโลยีการคำนวนทางด้านวิศวกรรมด้วย CAE 2.การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง 3.การพัฒนาทักษะและเทคนิคการวิเคราะห์และอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ […]

1 13 14 15 16 17 41