Precious Experience

จากงานการตลาดในธุรกิจเกษตรและอาหาร สู่สายสนับสนุนในองค์กรวิจัยตามสไตล์ ชลาลัย ซัตตั้น

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานพัฒนาคุณภาพการเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลย คุณชลาลัย ซัตตั้น ผู้จัดการ งานวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบทางธุรกิจ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาชีวเคมีและสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ตามลำดับ หลังจบการศึกษาได้เข้าทำงานในฝ่ายการตลาดของบริษัทส่งออกผลิตผลสดทางการเกษตร ต่อมาได้ร่วมงานกับบริษัทผู้ผลิตอาหารแปรรูปทางการเกษตร ซึ่งหลังจากทำงานในภาคเอกชนได้กว่า 5 ปี ก็ได้เข้ามาทำงานในสายสนับสนุนที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยเริ่มงานแรกที่สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี หรือ TLO (Technology Licensing Office) เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำงานด้านการอนุญาตสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและบริหารจัดการโครงการ ราว 13 ปี จึงได้ปรับบทบาทไปเป็นรักษาการผู้จัดการในงานพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และปัจจุบันได้มาทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการงานวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบธุรกิจ ของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค บทบาทและหน้าที่รับผิดชอบ คุณชลาลัย เล่าถึงงานที่เริ่มต้นทำใน สวทช. ว่า “ตอนที่เข้ามาทำงานที่ สวทช. ช่วงนั้น TLO กำลังปรับเพิ่มบทบาท ที่เดิมมีพนักงานเฉพาะในกลุ่มคุ้มครองทรัพย์ทรัพย์สินทางปัญญาและด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยปรับเข้าสู่การสร้างทีมที่จะทำงานด้านธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งตนเองได้มีโอกาสเข้าร่วมทีมนี้ โดยช่วงเริ่มต้นนั้น งานด้านธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญามีกำลังคนเพียงสามคนเท่านั้นในดูแลการอนุญาตสิทธิผลงานวิจัยของสวทช. ทำให้ตนเองมีโอกาสได้เข้าไปทำงานและเรียนรู้การผลักดันการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านกระบวนการอนุญาตสิทธิผลงานวิจัยในหลายสาขาเทคโนโลยี รวมถึงได้มีโอกาสในการพัฒนาความสามารถด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบหลักในขณะนั้นคือการอนุญาตสิทธิผลงานวิจัยของเอ็มเทคให้กับเอกชนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เมื่อได้เข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ […]

ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข: ผู้สร้างความเชี่ยวชาญจากการวิเคราะห์ทดสอบ

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานพัฒนาคุณภาพการเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลย “การได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่ไม่จำกัดขอบเขตในการเรียนรู้มาให้คำปรึกษาเชิงเทคนิคแก่กลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อตอบโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับประเทศ คือ สิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจ”  ศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข คุณศุภกาญจน์ กิจอำนาจสุข เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการอาวุโส และรักษาการผู้จัดการ งานวิเคราะห์เชิงฟิสิกส์ ฝ่ายสนับสนุนเทคนิคด้านวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของวัสดุ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจบการศึกษาได้เริ่มทำงานที่กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จากนั้นได้มาทำงานที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จวบจนปัจจุบัน บ่มเพาะความเชี่ยวชาญด้านจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง คุณศุภกาญจน์เริ่มทำงานที่เอ็มเทคเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ มีหน้าที่ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง (Scanning Electron Microscope, SEM) และกล้องจุลทรรศน์แบบแสง (Optical Microscope, OM) แก่นักวิจัยภายในและลูกค้าภายนอก คุณศุภกาญจน์เล่าย้อนว่า “ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ในสมัยที่เรียนปริญญาตรีก็เคยเห็นภาพถ่ายจากกล้อง SEM และ OM มาก่อน แต่ไม่ทราบหลักการทำงาน ดังนั้น เมื่อเข้ามาทำงานที่เอ็มเทคก็เริ่มมาเรียนรู้ใหม่อย่างจริงจัง โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเป็นผู้สอนทั้งการใช้งานเครื่องและหลักการทำงาน ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก” ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 […]

ความสุขในการเป็นนักวิจัยของ ดร.โชติรส ดอกขัน

“ชีวิตมีทางเลือกเสมอ หากเลือกที่จะสนุกและชอบในสิ่งที่ทำเราก็จะทำสิ่งนั้นได้ดีและสิ่งนั้นย่อมเหมาะกับเรา การได้ออกภาคสนาม ทำงานร่วมกับชาวสวน หรือการได้คิดค้น ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้รู้ว่าการเป็นนักวิจัยเหมาะที่สุดแล้ว”      ดร.โชติรส ดอกขัน สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานพัฒนาคุณภาพการเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลย ดร.โชติรส ดอกขัน หรือ ดร.ปอร์ นักวิจัยจากทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่ กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์พอลิเมอร์ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (The University of Manchester) เส้นทางการศึกษาและโอกาสสู่การเป็นนักวิจัย ดร.โชติรส มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย เช่น เทคโนโลยีน้ำยางและผลิตภัณฑ์ยาง เทคโนโลยีการวัลคาไนซ์น้ำยางด้วยรังสี พอลิเมอร์คอลลอยด์ และเพอรอฟสไกต์โซลาร์เซลล์ (perovskite solar cell) เธอเล่าถึงเส้นทางการศึกษาสู่การเป็นนักวิจัยกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยางว่า  “ตอนเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสตรีทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนมีส่วนสนับสนุนในหลายด้าน เช่น สร้างห้องปฏิบัติการให้นักเรียนสามารถทำการทดลองเองได้ พาไปทัศนศึกษาชมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ฯ หลายครั้ง ด้วยความที่ปอร์ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์อยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้รู้สึกสนุก อยากเรียนรู้ และทำการทดลองจึงเกิดแรงบันดาลใจ […]

บทบาทของ MTEC ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย งานพัฒนาคุณภาพการเผยแพร่เทคโนโลยีวัสดุฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลย การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) บทบาทสำคัญของกิจกรรมนี้คือการทำหน้าที่จัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางระดับประเทศ (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มอก.)  และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางระดับระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization, ISO)   ปัจจุบันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางระดับประเทศยังไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดที่มีการใช้งานในประเทศ จึงต้องเพิ่มการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางให้ครอบคลุมมากขึ้น อีกทั้งยังต้องทำการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางบางชนิดที่ล้าสมัยให้สอดคล้องกับพื้นฐานเทคโนโลยีของประเทศและมาตรฐานสากล เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล จุดเริ่มต้นของการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง ดร.พงษ์ธร แซ่อุย นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบใหม่และมาตรฐาน เล่าถึงที่มาของการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางว่า “สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลเรื่องการมาตรฐานของประเทศ ต้องการทบทวนมาตรฐานเก่าที่ไม่เคยได้รับการปรับปรุงแก้ไข จึงได้ทาบทาม ผศ.ดร.กฤษฎา (สุชีวะ) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการเอ็มเทค และเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น ให้เป็นที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการทบทวนและแก้ไขมาตรฐาน มอก. ฉบับเก่าที่ล้าสมัยและจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา โดยมีคุณชญาภา นิ่มสุวรรณ เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการหลัก ส่วนผมได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานโดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเชิงเทคนิค ซึ่งในปีแรกได้ดำเนินการแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน มอก. รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ และจากนั้น เราก็ได้รับทุนจาก สมอ. ต่อเนื่องอีกประมาณ 3 […]

1 2 3 7