Precious Experience

ทัศนะของดร.ศุภมาส ต่อการทำงานวิจัยที่ญี่ปุ่น

“การที่มีโอกาสไปทำงานวิจัย 2 ครั้ง ใน 2 เมืองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ประสบการณ์ทั้ง 2 ครั้งก็ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่บางแง่มุมของคนญี่ปุ่น ส่วนประเทศญี่ปุ่นก็ยังมีสิ่งที่ให้ค้นหา และช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ได้อีกมากมาย” ดร.ศุภมาส ด่านวิทยากุล ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่หลายคนใฝ่ฝันอยากไปเยือนอย่างน้อยสักครั้ง เพราะมีทั้งความเก่าและความใหม่ผสมผสานกันอย่างลงตัวน่าค้นหา บ้านเมืองสะอาด ธรรมชาติสวยงาม อาหารอร่อย การเดินทางสะดวกปลอดภัย คนญี่ปุ่นก็มีระเบียบวินัย มีมารยาท มีอัธยาศัยดี ตรงต่อเวลา และขยันหมั่นเพียร ดร.ศุภมาส นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้รับทุนเพื่อไปทำงานวิจัยที่ญี่ปุ่นถึง 2 ครั้ง ในหัวข้อวิจัยที่ต่างกัน ดร.ศุภมาส (ขวา) และอาจารย์ทะคะฮะชิ ยูกิโกะ (ซ้าย) ที่ปรึกษาในการทำวิจัยทั้ง 2 ครั้ง ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเดินทางทั้ง 2 ครั้งนี้ ทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตหรือการทำงานวิจัย ดร.ศุภมาสได้บันทึกไว้อย่างน่าสนใจ สามารถอ่านได้ที่ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 81 ดร.ศุภมาส ด่านวิทยากุล จบการศึกษาด้านนาโนเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ประเทศไทย มีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวัดไอออนของโลหะหนัก การสังเคราะห์อนุภาคนาโน และการบำบัดน้ำด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ปัจจุบันเป็นนักวิจัย […]

“บทเรียนจากมินามาตะ” ประสบการณ์ล้ำค่าของ ดร.เสมอแข จงธรรมานุรักษ์

อ่าวมินามาตะ เครดิตภาพ: Mr.José Ignacio Martinez Vega “มินามาตะ” เดิมทีเป็นเพียงชื่อเมืองเล็กๆ ในจังหวัดคุมะโมะโตะ แต่หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมซึ่งคนในพื้นที่ล้มป่วยด้วยโรคที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อน และภายหลังมีการยืนยันสาเหตุของโรคว่าเกิดจากการบริโภคสัตว์น้ำที่ปนเปื้อนสารประกอบอินทรีย์ของปรอทจากน้ำเสีย จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่า “โรคมินามาตะ” เดือนธันวาคม 2557 ดร. เสมอแข จงธรรมานุรักษ์ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ร่วมอบรมหัวข้อการสร้างขีดความสามารถในการให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญามินามาตะว่าด้วยสารปรอท (Capacity Building for Ratification of Minamata Convention on Mercury) ที่จังหวัดคุมะโมะโตะ ดร.เสมอแขได้พูดคุยกับผู้ป่วย ฟังบรรยายจากแพทย์และผู้แทนรัฐบาลจังหวัดคุมะโมะโตะ และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในเมืองมินามาตะ รวมทั้งได้รับทราบการดำเนินงานของรัฐบาลในการเยียวยาผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพอ่าวมินามาตะ การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารปรอท และการรณรงค์เรื่องสังคมปลอดสารปรอทของรัฐบาลจังหวัดคุมะโมะโตะ การฟังบรรยายประสบการณ์จากผู้ป่วยโรคมินามาตะ ดร.เสมอแขได้ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านบทความที่เรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ไว้อย่างน่าสนใจ และนำเสนอเรื่องราวในหลายมิติ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการหวังผลจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยขาดความเอาใจใส่ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้ส่งผลร้ายในระยะยาวและเป็นวงกว้าง “การเข้าร่วมหลักสูตรนี้ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพิษของสารเมทิลปรอทที่เกิดจากกิจกรรมอุตสาหกรรมและผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศ สุขภาพของประชาชน และนำไปสู่ผลกระทบในเชิงสังคมศาสตร์ อีกทั้งได้เห็นความร่วมมือร่วมใจในการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้มินามาตะวันนี้มีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และกำลังพัฒนาเชิงรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง” ดร.เสมอแขสรุปทิ้งท้าย ผู้ที่สนใจรายละเอียดสามารถอ่านได้ที่ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 77 และ 79 ดร.เสมอแข จงธรรมานุรักษ์ […]

เอ็มเทค…บ้านหลังที่ 2 แห่งสุดท้าย

“เอ็มเทคเป็นสถานที่ที่อยู่แล้วสบายใจ และมีความสุข” สุรพล ยิ้มพยัคฆ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป หากเปรียบสถานที่ทำงานคือบ้านหลังที่ 2 เอ็มเทคก็คือบ้านหลังที่ 2 แห่งสุดท้ายของคุณสุรพล ยิ้มพยัคฆ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ผู้ซึ่งเข้าทำงานที่เอ็มเทคเป็นพนักงานลำดับที่ 3 และเป็นกำลังหลักขององค์กรมายาวนานกว่า 30 ปี คุณสุรพลเล่าว่าก่อนมาอยู่ที่เอ็มเทคเคยทำงานหลากหลายอาชีพ ทั้งรายได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ไกลบ้านบ้าง มีความเสี่ยงสูงบ้าง สภาพแวดล้อมไม่ดีบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อได้รับโอกาสมาทำงานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ (สังกัดงานกองคลังสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์) รับผิดชอบด้านซ่อมบำรุงและดูแลความสะอาด ก็ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ คุณสุรพลยังใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมด้วยการเรียนวิชาชีพภาคค่ำสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นจนได้ใบประกาศนียบัตร ทำให้ใช้ปรับตำแหน่งจากนักการเป็นพนักงานช่างได้ คุณสุรพลเลือกสังกัดที่เอ็มเทค โดยขณะนั้นเป็นเพียงโครงการหนึ่งของกระทรวงวิทยาศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่ยึดถือเป็นแนวทางมาโดยตลอดคือ ความตั้งใจในการทำงาน และต้องการให้งานที่รับผิดชอบบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ “ผมจะพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ แม้ (บางครั้ง) จะต้องทำเพียงลำพังก็ตาม เพราะหากงานไม่สำเร็จก็อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานและองค์กรได้” คุณสุรพลกล่าว คุณสุรพลเคยให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2557 ว่าการทำงานที่เอ็มเทคเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง และตั้งใจที่จะทำงานที่นี่ต่อไปจนเกษียณ เพราะเอ็มเทคเป็นสถานที่ที่อยู่แล้วสบายใจ และมีความสุข ผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามเรื่องราวฉบับเต็มได้ที่ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 72

การพัฒนาตนเองเป็นมืออาชีพ
ตามแบบฉบับของ ศ.ดร.สุภาพรรณ เสราภิณ

“การพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพ เสมือนการเดินทางที่ใช้เวลายาวนาน สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มต้นจากการค้นหาตัวเองให้พบว่าสนใจอะไร มีแววเรื่องใด และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา” ศ.ดร.สุภาพรรณ เสราภิณผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สวทช. ศ.ดร.สุภาพรรณ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สวทช. ก้าวเข้าสู่เส้นทางสายวิทยาศาสตร์ เพราะได้ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนสนุกจึงเกิดความชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก และมุ่งมั่นเรียนสายนี้จนกระทั่งถึงระดับปริญญาเอก หลังจบการศึกษาชีวิตก็พลิกผันต้องไปทำงานถึงต่างแดน โดยเป็นอาจารย์ที่ University of Arizona เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกาการทำงานที่นี่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด อาจารย์สุภาพรรณขณะบรรยายในห้องเรียนและสอนการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เส้นทางชีวิตของ ดร.สุภาพรรณ ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย บางครั้งถึงกับท้อ แต่ไม่เคยถอย! ด้วยหลักคิดว่า “เมื่อถึงทางตัน หยุดพักเพื่อใคร่ครวญปัญหา หาความรู้จากภายนอกมาแก้ไข ด้วยมุมมองหรือวิธีการใหม่ๆ” จากอดีตจวบจนปัจจุบัน ประสบการณ์ชีวิตของท่านไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาตนเอง การดำเนินชีวิต หรือการเรียนรู้วัฒนธรรมจากต่างแดน ล้วนทรงคุณค่ายิ่ง ผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามเรื่องราวฉบับเต็มได้ที่ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 86

นักวิจัยควรเรียนรู้เรื่องธุรกิจ

โฟมโลหะ (metal foam) เป็นวัสดุที่มีสมบัติพิเศษ เนื้อที่พรุนทำให้มีน้ำหนักเบา สามารถยุบตัวรับแรงกระแทก ทั้งยังอาจใช้ดูดซับเสียงได้ด้วย แม้ในต่างประเทศจะมีการใช้งานมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การเปิดตลาดในประเทศยังมีโอกาสอยู่ไม่น้อย เส้นทางวิจัย ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์ ได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโฟมโลหะมาราว 10 ปีแล้ว โลหะที่ใช้คืออะลูมิเนียมผสม ในระยะแรกได้เลือกวิธีพ่นแก๊ส เนื่องจากกระบวนการมีต้นทุนต่ำ และได้รับสิทธิบัตรการพัฒนาหัวพ่นแก๊สที่สามารถผลิตฟองขนาดเล็กจำนวนมาก ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์ กับชิ้นงานโฟมโลหะ ต่อมาจึงได้พัฒนาวิธีวัสดุแทนที่โพรง (space holder) โดยใช้เม็ดเกลือโซเดียมคลอไรด์เป็นวัสดุแทนที่โพรง เนื่องจากเกลือมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอะลูมิเนียม ด้วยวิธีนี้น้ำอะลูมิเนียมจะแทรกตัวไปตามช่องว่างระหว่างเม็ดเกลือ เมื่ออะลูมิเนียมแข็งตัว ก็จะใช้น้ำชะเพื่อละลายเกลือ ผลก็คือได้เนื้ออะลูมิเนียมมีช่องว่างเชื่อมถึงกันตลอด เรียกว่า โครงสร้างแบบเซลล์เปิด (open cell structure) โครงสร้างแบบเซลล์เปิด (open cell structure) แม้ว่าการใช้เม็ดเกลือเป็นวัสดุแทนที่โพรงจะไม่ใช่วิธีใหม่ แต่เมื่อได้ลงมือด้วยตนเองก็พบอุปสรรคทางเทคนิคหลายอย่าง เช่น ต้องให้ความร้อนกับเม็ดเกลือก่อนเทอะลูมิเนียม เพื่อไล่ความชื้น และยังทำให้น้ำอะลูมิเนียมไหลไปตามช่องว่างระหว่างเม็ดเกลือได้อย่างทั่วถึงโดยไม่แข็งตัวเร็วเกินไป เม็ดเกลือ หรือ template ball ขนาดต่างๆ ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น เครดิตภาพ: ศิลป์ชัย สุขโชติ […]

1 5 6 7