โครงการวิจัยเด่น

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย

ที่มา ประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเผาไหม้ถ่านหินจะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัตถุพลอยได้แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนัก 20% โดยประมาณ ในการเผาไหม้ถ่านหิน4 หมื่นตัน/วัน จะได้เถ้าถ่านหินประมาณ 1 หมื่นตัน/วัน หรือกว่า 3 ล้านตัน/ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์สูงสุดของวัสดุและการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุพลอยได้จากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหิน จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยเรื่องการเก็บกลับคืนเซโนสเฟียร์ (Cenospheres) จากเถ้าลอย เป้าหมาย วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างฐานเทคโนโลยีองค์ความรู้เรื่องกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย และพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม สถานภาพงานวิจัย • ได้กระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์ที่มีคุณภาพและเป็นระบบได้ต้นแบบกระบวนการและชุดอุปกรณ์คัดแยกแบบเปียกและแบบแห้ง • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเถ้าลอยอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถขยายสเกลการผลิตได้ • เกิดการจ้างงานแก่คนในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทีมวิจัยทำอย่างไร • สร้างฐานข้อมูลเชิงวัสดุที่แสดงปริมาณและคุณภาพของเซโนสเฟียร์ในเถ้าลอย ที่เป็นวัตถุพลอยได้จากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินในโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปาง • สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยอย่างเป็นระบบ อันประกอบด้วยกระบวนการคัดแยกแบบเปียกและแบบแห้ง • พัฒนาต้นแบบกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย ทั้งกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง คุณสมบัติ เซโนสเฟียร์ (Cenospheres) เป็นวัตถุอนินทรีย์ที่ผสมอยู่ในเถ้าลอย มีซิลิกาและอะลูมินาเป็นองค์ประกอบหลัก จัดเป็นวัสดุที่มีมูลค่าสูง มีคุณสมบัติเด่นคือ มีน้ำหนักเบา (ความหนาแน่นน้อยกว่า 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) […]

ต้นแบบระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติ

ที่มาของโจทย์วิจัย ชิ้นส่วนวิศวกรรมในระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้ามักเกิดความเสียหายจากการใช้งาน ชิ้นส่วนเหล่านี้จำเป็นต้องซ่อมแซมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลาในการสั่งซื้อ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมอัตโนมัติสำหรับการเชื่อมซ่อม เช่น การเชื่อมเติมเต็มเนื้อวัสดุที่หายไป โดยใช้โลหะชนิดเดียวกับชิ้นส่วนเดิม และการเชื่อมพอกโลหะในกลุ่มที่ทำให้มีผิวการใช้งานที่แข็งขึ้น โดยใช้โลหะอื่นๆ ที่มีสมบัติพิเศษ เป้าหมาย ทีมวิจัยเอ็มเทค นำโดย ดร.นิรุตต์ นาคสุข ร่วมกับฝ่ายโรงงานและอะไหล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติที่สามารถเชื่อมซ่อมชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมตำแหน่งของชิ้นงานและการเคลื่อนที่ของหัวเชื่อม ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมและควบคุมการทำงานผ่านหน้าจอสัมผัสหลัก หรือผ่าน Teach Pendent ได้โดยสะดวก และเลือกดูหรือบันทึกค่าต่างๆ ที่สำคัญในระหว่างการเชื่อม เช่น Heat Input, Arc Voltage และ Arc Current เพื่อนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์คุณภาพงานเชื่อมได้โดยง่าย ระบบเชื่อมยังสามารถทำงานในลักษณะ Edge Following โดยการควบคุมระยะการเชื่อมผ่านการควบคุม Arc Voltage ได้อีกด้วย นอกจากนี้ หัวเชื่อมที่ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นใหม่ภายในประเทศ ยังสามารถรถสอดเข้าไปเชื่อมภายในชิ้นงาน และสามารถงอที่ปลายหัว เพื่อให้ได้มุมการเอียงหัวที่เหมาะสมในระหว่างการเชื่อมอีกด้วย ทีมวิจัยทำอย่างไร สำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบระบบเชิงกลและสร้างแบบสำหรับการผลิต […]

น้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมากสำหรับทำผลิตภัณฑ์ PARA AC ในอุตสาหกรรมก่อสร้างถนน

ที่มาของโจทย์วิจัย การใช้น้ำยางพาราข้นเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์พาราเอซี (PARA AC) ที่อุณหภูมิ 140-160 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดปัญหาไอระเหยของแอมโมเนีย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และเกิดปัญหาการอุดตันของน้ำยางพาราข้นในท่อนำส่ง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลงทุนติดตั้งเครื่องจักรสำหรับดูดไอระเหยของแอมโมเนียโดยเฉพาะ และสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติม แต่ทว่าการดำเนินการเช่นนี้ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย ทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำยางจากเอ็มเทคประกอบด้วยนายสุริยกมล มณฑา นางสาวปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล และนางฉวีวรรณ คงแก้ว ได้พัฒนาน้ำยางพาราข้นเกรดพิเศษ ชื่อว่า น้ำยาง ULA (Ultra-Low Ammonia latex) ซึ่งมีปริมาณแอมโมเนียต่ำมากและมีเสถียรภาพด้านความร้อนสูง ทำให้มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับผสมกับแอสฟัลต์ โดยบริษัท ไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบน้ำยาง ULA ให้แก่บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิต ULA-PARA AC สำหรับทำถนน ขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การสร้างถนนจริง ทีมวิจัยทำอย่างไร น้ำยางพาราข้นชนิดแอมโมเนียต่ำมาก (Ultra-low ammonia latex) หรือ น้ำยาง ULA จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนน้ำยางพาราข้นทางการค้า โดยในขั้นตอนการปรับสภาพน้ำยางพาราข้นที่ออกมาจากเครื่องหมุนเหวี่ยงความเร็วสูงจะใช้สารเคมีสำหรับน้ำยาง ULA […]

การพัฒนาเครื่องมือด้าน IT เพื่อสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน : IT Tools for Sustainable Consumption and Production

การพัฒนาเครื่องมือด้าน IT เพื่อสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนIT Tools for Sustainable Consumption and Production แนวคิดหลัก> การพัฒนาเครื่องมือทาง IT ที่สะดวกและสามารถสื่อสารข้อมูลที่ช่วยนำไปสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production) หลักการทำงาน> สร้างข้อมูลพื้นฐานจากการดำเนินการในสภาวะปกติ (Base Line)> คำนวณและประเมินตามหลักวิทยาศาสตร์และสากล> แปลผลในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญ นำไปสู่การปรับปรุงการผลิตและการบริโภค จุดเด่นของผลงาน> มีความเฉพาะเจาะจงกับการใช้งาน> เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ง่าย> รวดเร็ว ถูกต้อง ใช้งานสะดวก ช่วยลดข้อผิดพลาดของการทำงาน> สื่อสารข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภค ตัวอย่างผลงาน> MFA Pro – Material Flow Analysis> Lookie Waste – Mobile Application> WELA – Web Application for Life Cycle Assessment […]

ต้นแบบอาหารพลังงานสูงสำหรับพกพา : Power Bars & Energy Gels

ต้นแบบอาหารพลังงานสูงสำหรับพกพาPower Bars & Energy Gels เสบียงอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติภารกิจของกำลังพล โดยหน่วยทหารจะเตรียมอาหารสำเร็จรูป หรืออาหาร MRE (Meals, Readyto-Eat) สำหรับทหารจากกรมพลาธิการทหารบก พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ ติดตัวไปด้วย ทำให้สัมภาระมีน้ำหนักมากและมีพื้นที่หรือน้ำหนักเหลือให้พกอุปกรณ์อื่นๆ ได้น้อยลง การลดน้ำหนักของเสบียงอาหารจะช่วยเพิ่มพื้นที่สัมภาระสำหรับอุปกรณ์อื่นๆ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ แนวคิดหลักสร้างต้นแบบอาหารซึ่งจะช่วยลดน้ำหนักของเสบียงอาหาร มีทั้งอาหารที่ให้พลังงานสูงสำหรับการเดินทางในแต่ละวัน และอาหารที่ให้พลังงานอย่างรวดเร็วสำหรับการปฏิบัติการเฉพาะ หรือการเดินทางขึ้นที่สูงซึ่งต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ จุดเด่นของผลงานวิจัยต้นแบบอาหารพลังงานสูงสำหรับพกพา มีน้ำหนักเบากว่าอาหาร MRE พกพาที่ทหารใช้อยู่ในปัจจุบัน ช่วยลดน้ำหนักสัมภาระจากอาหารลง 35%หรือราว 3.2 กิโลกรัมต่อสัมภาระอาหารใน 1 สัปดาห์ สถานภาพผลงานวิจัยต้นแบบผลงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการ ทีมวิจัยและพัฒนาดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิโทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4283Email : sirikarn.wis@mtec.or.thศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

1 12 13 14 15 16 23