Precious Experience

ชีวิตในสไตล์เบาๆ ของหัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมน้ำหนักเบา ‘ดร.ชินะ เพ็ญชาติ’

ภาพโดย: กฤษณ คูหาจิต “งานวิจัยของเรามีส่วนช่วยประเทศด้านมาตรฐานการพลิกคว่ำ ซึ่งมีผลเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสาร อีกทั้ง ในอนาคตหากผลแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ในการทำนายลักษณะภายใต้เงื่อนไขต่างๆ (SIM) ได้รับการยอมรับก็จะสามารถช่วยผู้ประกอบการให้ทำรถที่แข็งแรงขึ้นกว่าทุกวันนี้ได้ ความสูญเสียจากอุบัติเหตุต่างๆ ก็น่าจะลดลง” ดร.ชินะ เพ็ญชาติ หัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมน้ำหนักเบา กลุ่มวิจัยการออกแบบวิศวกรรมและการผลิตขั้นสูง ใครก็ตามที่สามารถสร้างความสมดุลของชีวิตทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และครอบครัวที่ตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้อย่างลงตัว ย่อมมีความสุข แต่วิธีการสร้างความสมดุลของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปสไตล์ใคร…สไตล์มัน ดร.ชินะ เพ็ญชาติ หัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมน้ำหนักเบา กลุ่มวิจัยการออกแบบวิศวกรรมและการผลิตขั้นสูง มีสไตล์การสร้างความสมดุลของชีวิตด้วยกิจกรรมเบาๆ ที่สวนทางกับภารกิจด้านวิศวกรรมน้ำหนักเบา ที่ความรับผิดชอบไม่ได้เบาไปตามชื่อ ก่อนสู่เส้นทางสายวิจัย ดร.ชินะเล่าว่า “สมัยเด็กไม่ได้รู้สึกว่าชอบสายวิทย์ แต่พอเรียนม.ปลายที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เริ่มรู้สึกสนุกกับวิชาฟิสิกส์ เพราะสามารถอธิบายอะไรๆ ได้ด้วยกฎและสมการต่างๆ หลังจากจบม. 6 ก็ได้รับทุนของเอ็มเทคเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โท สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และปริญญาเอก ด้านไทรโบโลจี (tribology) ที่อังกฤษ ในตอนนั้นผมยังไม่รู้จักไทรโบโลจีจึงปรึกษาคุณพ่อ ซึ่งท่านเป็นอาจารย์สอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้ทราบว่าที่ Imperial College มีห้องปฏิบัติการด้านไทรโบโลจีที่อยู่ในแนวหน้าระดับโลกจึงตัดสินใจเรียนที่นี่ และอีกเหตุผลหนึ่งที่เลือกเรียนที่อังกฤษคือชอบดูฟุตบอลอังกฤษ” ก้าวแรกสู่เส้นทางสายวิจัยและหน้าที่ความรับผิดชอบ ภายหลังจากจบปริญญาเอก ดร.ชินะเข้าทำงานที่เอ็มเทค […]

เฉลิมพล สุขยิ่ง ผู้บุกเบิกงานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ภาพโดย: กฤษณ คูหาจิต “เอ็มเทคเป็นศูนย์ฯ แรกในสวทช.ที่จัดตั้งงานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมขึ้น จึงอยากฝากให้คงความเป็นมาตรฐาน เพราะเราคงไม่อยู่ในระดับนี้ตลอด เราต้องพัฒนามากขึ้นไปเรื่อยๆ เราต้องเป็นแบบอย่างให้คนอื่นและต้องถีบตัวเองขึ้นตลอด” เฉลิมพล สุขยิ่งผู้จัดการงานความปลอดภัยชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม คุณเฉลิมพล สุขยิ่ง เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 หลังจากทำงานที่ สวทช. มาถึง 23 ปี เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในงานด้านความปลอดภัย และเสนอก่อตั้งหน่วยงานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์ฯ แรกของ สวทช. จากแนวคิดที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในทุกเรื่อง จึงสร้างชื่อเสียงให้แก่ศูนย์ฯ ด้วยการคว้ารางวัลด้านความปลอดภัยมาได้มากมาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัยขึ้นในองค์กร บุคคลแรกที่ต้องนึกถึงคือ พี่เฉลิมพล สุขยิ่ง ชายรุ่นใหญ่หัวใจวัยรุ่นที่หลายคนคงคิดไม่ถึงว่าจะเกษียณอายุการทำงานแล้ว เฉลิมพลได้ให้เกียรติมาเล่าประวัติการทำงานและประสบการณ์ให้ฟังว่า “ก่อนมาทำงานที่เอ็มเทค ผมเคยทำงานศูนย์ทดสอบมาตรวิทยา ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มา 7 ปี ต่อมาได้เปลี่ยนมาทำงานเอกชนที่ บริษัท ดีทแฮล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลรับผิดชอบการบริการหลังการขาย และที่บริษัท Inchcape Testing Services (Thailand) Co. Ltd […]

ยุวนุช พจน์ประสาท หนึ่งในผู้วางรากฐานให้กับเอ็มเทค

ภาพโดย: กฤษณ คูหาจิต “ในแต่ละวันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว เราต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ต้องทำงานที่มีคุณค่า เพราะผลงานจะเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวเรา” ยุวนุช พจน์ประสาท ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารงานทั่วไป คอลัมน์ Precious Experience ครั้งนี้ ขอแนะนำคุณยุวนุช พจน์ประสาท พนักงานรุ่นบุกเบิก (รหัสพนักงานในลำดับ 000002) ผู้เป็นกำลังสำคัญของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มายาวนานเกือบ 37 ปี ได้เห็นพัฒนาการของเอ็มเทคมาตั้งแต่มีบุคลากรเพียงไม่ถึง 10 คน ทำงานบนพื้นเพียงไม่กี่ตารางเมตร จวบจนปัจจุบันที่มีบุคลากรเกือบ 500 คน บนพื้นที่กว่า 16,000 ตารางเมตร ก่อนมาทำงานที่เอ็มเทค หลังจากที่คุณยุวนุชจบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาบัญชี ได้สอบเข้าทำงานที่โรงพยาบาลศิริราช ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี และได้เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณยุวนุชเล่าว่า “หลังเรียนจบ ปวช. ได้สอบคัดเลือกเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ที่โรงพยาบาลศิริราช ในตอนนั้นสอบได้ลำดับที่ 8 แต่ไม่ได้ถูกเรียกเข้าทำงานที่โรงพยาบาลฯ หลังจากนั้น ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ […]

จากวันวานถึงวันเกษียณ สุปรียา กฤษณานุวัตร์ พนักงานลำดับที่ 1 แห่ง สวทช.

ภาพโดย: กฤษณ คูหาจิต “เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากเป็นที่สุดในเรื่องอะไร เราจะรู้ว่าเราต้องทำงานอย่างไรจึงจะไปถึงเป้าหมายของเรา ในระหว่างการเดินทางไปสู่เป้าหมาย อาจจะมีอะไรมาทำให้เราเบี่ยงเบนไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร เราลองทำได้ แต่ก็ต้องทบทวนและประเมินตัวเองอยู่เสมอว่า เราอยู่บนเส้นทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ที่สำคัญเราต้องหมั่นเรียนรู้ฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ” สุปรียา กฤษณานุวัตร์ คุณสุปรียา กฤษณานุวัตร์ เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 หลังจากทำงานที่ สวทช. มานานถึง 37 ปี เป็นบุคลากรรุ่นบุกเบิกที่ได้เริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. คุณสุปรียามีโอกาสได้ทำงานที่หลากหลาย บางงานได้ทำเพียงครั้งเดียว เช่น การเป็นผู้ช่วยประสานงานขอที่ดินสำหรับสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย หรือ การติดต่อกับหมวดโหรพราหมณ์เพื่อทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในการสร้างอาคารโยธี ซึ่งเป็นตึกที่ถือว่าเป็นบ้านแห่งแรกของเอ็มเทค นอกเหนือจากงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อร่างสร้างสถานที่สำหรับทำงานแล้ว คุณสุปรียายังเป็นหนึ่งในบุคลากรที่ได้ร่วมกันวางรากฐานระบบการบริหารงานบุคคลของ สวทช. ด้วย โดยมีประจักษ์พยานจากรหัสประจำตัวพนักงานหมายเลข 000001 (เริ่มมีการสร้างระบบหมายเลขประจำตัวพนักงานของ สวทช. ทั้งหมดเมื่อ ปี พ.ศ. 2551 โดยการเรียงลำดับตามวันและเวลาที่เข้ามาทำงานที่ สวทช. เพื่อให้ทราบจำนวนพนักงานทั้งหมด อีกทั้งช่วยบ่งบอกถึงระยะเวลาในการทำงานที่ สวทช. ได้อีกทางหนึ่ง) […]

ยุพิน โชคชัยภูมิ: สุดยอดคุณแม่บ้านนักจัดการ

ภาพโดย: กฤษณ คูหาจิต “สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้ในการทำงานแม่บ้านคือ การเรียนรู้อุปนิสัยของคนที่ต้องให้บริการ…บางคนชอบให้จัดโต๊ะให้เรียบร้อย แต่บางคนก็ไม่ต้องการให้เคลื่อนย้ายสิ่งของบนโต๊ะ” ยุพิน โชคชัยภูมิ แม่บ้าน ประจำชั้น 3 ห้องผู้บริหาร งานสำคัญๆ ที่จัดขึ้นที่ตึกเอ็มเทค ไม่ว่าจะเป็นงานทำบุญปีใหม่ งานวันสงกรานต์ งานวันเกิดเอ็มเทค หรือการประชุมต่างๆ จะมีบุคคลหนึ่งที่เป็นหัวเรือสำคัญในการจัดการคือ คุณยุพิน โชคชัยภูมิ หรือที่หลายคนเรียก “ป้ากิ๊บ” แม่บ้านประจำชั้น 3 ห้องผู้บริหารนั่นเอง ป้ากิ๊บเล่าให้ฟังว่าเดิมทีชื่อเล่นเธอไม่ได้ชื่อกิ๊บ แต่ชื่อ “เล็ก” เนื่องจากเธอเป็นลูกสาวคนเล็กในบรรดาพี่น้อง 5 คน ส่วนชื่อกิ๊บนี้เป็นชื่อที่เพื่อนร่วมงานเรียกกันเนื่องจากชอบติดกิ๊บ ป้ากิ๊บพื้นเพเป็นคนคลองสอง จังหวัดปทุมธานี เธอมาทำงานที่เอ็มเทคจากการชักชวนของอดีตหัวหน้าแม่บ้านที่อาศัยในละแวกบ้านเดียวกัน ป้ากิ๊บเล่าว่า “ก่อนที่จะมาเป็นแม่บ้านที่ดูแลประจำที่ห้องผู้บริหาร เคยเป็นแม่บ้านประจำชั้น 2 ที่ตึกเอ็มเทคไพล็อตแพลนต์ ในสมัยนั้นนอกจากหน้าที่ที่ต้องทำความสะอาดพื้นที่ทำงานแล้ว ยังต้องให้บริการด้วย เช่น เสิร์ฟชาและกาแฟที่โต๊ะทำงานแก่เจ้าหน้าที่ แต่ต่อมาก็ได้ยกเลิกงานบริการในลักษณะนี้ไป” สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้ในการทำงานแม่บ้านคือ “การเรียนรู้อุปนิสัยของคนที่ต้องให้บริการ ตอนเริ่มทำงานใหม่ๆ รุ่นพี่ก็ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าใครมีอุปนิสัยเป็นอย่างไร และสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการทำงาน เช่น การทำความสะอาดโต๊ะทำงานส่วนบุคคล บางคนชอบให้จัดโต๊ะให้เรียบร้อย แต่บางคนก็ไม่ต้องการให้เคลื่อนย้ายสิ่งของบนโต๊ะ […]

1 2 3 4 5 6 7