Precious Experience

พัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีอย่างมืออาชีพ – ฐิติพร ทนันไชย

“สิ่งสำคัญในการทำงานคือ ตั้งใจฟัง สอบถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจจนเข้าใจโดยกระจ่าง เพื่อให้จับประเด็นได้อย่างถูกต้อง” เอ็มเทค มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณะ กลไกหลักที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนการทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คุณฐิติพร ทนันไชย เป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ซึ่งกำกับดูแลการให้บริการลูกค้า อีกทั้งยังเป็นช่องทางหลักการสร้างรายได้ให้แก่องค์กรอีกด้วย คุณฐิติพร ทำงานด้านการพัฒนาธุรกิจมานานกว่า 14 ปี โดยเริ่มจากตำแหน่งนักวิเคราะห์ งานประสานอุตสาหกรรม (ชื่อในสมัยนั้น) มีหน้าที่ดูแลและประสานงานกับนักวิจัยและผู้ประกอบการภาคเอกชนทางด้านโลหะ ตลอดระยะเวลาสิบปีแรกปีในตำแหน่งนักวิเคราะห์ เธอมักได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานที่มีความท้าทายอยู่เสมอ เช่น ต้องใช้ทักษะการเจรจาต่อรองแบบมืออาชีพ หรืองานมีรูปแบบการดำเนินงานจำเพาะต่างไปจากงานปกติ “สิ่งสำคัญในการทำงานคือ ตั้งใจฟัง สอบถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจจนเข้าใจโดยกระจ่าง เพื่อให้จับประเด็นได้อย่างถูกต้อง” คุณฐิติพร กล่าวถึงหัวใจของการทำงาน ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้บริหาร นักวิจัย ภาคเอกชน และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จนงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี ในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน คุณฐิติพร ให้ความสำคัญอย่างสูงกับความถูกต้องของรายละเอียดในส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเอกสาร เงื่อนไขในสัญญา กฎหมาย ข้อระเบียบ และตัวเลขต่างๆ เธอจะตรวจสอบอย่างละเอียด และแนะนำการแก้ไขให้ถูกต้อง จนลูกน้องได้มอบฉายาด้วยความรักความสนิทสนมว่า “ตาสอดตาแนม” หลังจากทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการมาได้ 5 ปี […]

ประสบการณ์ของศาสตรจารย์ ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ในการบริหารหน่วยเทคโนโลยีไอออนบีม

ศาสตรจารย์ ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ที่มาของภาพ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (Thailand Center of Excellence in Physics, ThEP) “เรื่อง core technology นี้สำคัญ เราไปเข้าใจว่าเทคโนโลยีมันก้าวกระโดดได้ มันไม่มี มีแต่ย่นเวลาช่วง learning curve เช่น คำพูดที่ว่าไปเสียเวลาสร้างทำไม ซื้อมาก็ได้ คือเขาไม่เข้าใจว่าการที่เรารู้จากการสร้างเองกับไปซื้อมาตั้งใช้ มันผิดกันเยอะ” ในระยะแรกของการดำเนินงาน เอ็มเทคเคยมีกลไกสนับสนุนหน่วยเทคโนโลยีเฉพาะทาง เพื่อให้หน่วยเทคโนโลยีต่างๆ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตกำลังคนและผลงาน เพื่อนำไปใช้ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม หน่วยเทคโนโลยีไอออนบีม สังกัดศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความเข้มแข็งในทางวิชาการ การบริหารจัดการ และมีผลงานเด่นที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ เครื่องไอออนอิมแพลนเตอร์ (ion implanter) ศาสตราจารย์ ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหน่วยเทคโนโลยีนี้ จากนักฟิสิกส์ที่ไม่สนใจอิเล็กทรอนิกส์ แต่จำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง จนสามารถเป็นผู้นำที่ดึงพลังความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ และจัดหางบประมาณมาสร้างเครื่องมือที่ซับซ้อนได้ ท่านเล่าว่าเมื่อครั้งไปเรียนปริญญาโทที่อังกฤษ อาจารย์ที่ปรึกษาสอนว่า “คุณต้องจำไว้ว่าเทคโนโลยีที่คุณทำวันนี้มันจะล้าสมัยภายใน […]

วิศวกรผู้รักการประดิษฐ์

e-Logbook เป็นระบบที่คิดขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารและจัดการการเข้าใช้เครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบ และสะท้อนภาระงานของเครื่องมือวิทยาศาสตร์นั้นได้ตลอดอายุการใช้งาน และพร้อมขยายผลการนำไปใช้ในสำนักงานเพิ่มมากขึ้น คุณกฤษฎากร มานะกล้า เป็นวิศวกรที่มีผลงานโดดเด่นในแง่ซ่อมและสร้างเครื่องมือต่างๆ ใน MTEC ระหว่างการทำงานมานานกว่า 11 ปี ตัวอย่างผลงานที่เขามีส่วนร่วม เช่น – ระบบป้องการการเกิดเหตุไฟไหม้ ในห้อง UPS โดยแจ้งผลผ่าน Line กลุ่มคนผู้รับผิดชอบให้สามารถตรวจสอบสถานะความปลอดภัยของห้องควบคุม UPS ได้ตลอดเวลา – กล่องควบคุมเตาเผาและแสดงผลสถานะของเตาเผาผ่านเว็บไซด์ ช่วยให้ติดตามการทำงานของเตาเผา ได้ง่ายแม้ไม่ได้อยู่ที่หน้างานจริง – เครื่องมือที่ช่วยงานวิจัยอย่างเช่น เครื่องวัดแรงกด หลอดไฟส่องสว่างในห้องผ่าตัด ซึ่งต้องทำให้เกิดเงาน้อยที่สุดในห้องผ่าตัด ร่วมกับ ดร.ธีระพนธ์ แย้มวงษ์ นักวิจัยMTEC – เครื่องวัดน้ำหนักชิ้นงาน ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตร ร่วมกับทีมงานห้องปฏิบัติการทดสอบสมบัติทางกล ( ชื่อในสมัยนั้น ) – ประดิษฐ์เครื่องกวนสาร ให้กับ ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์ นักวิจัยMTEC โดยเครื่องนี้สามารถวัดรอบการกวนสาร ควบคุมมอเตอร์ และเก็บบันทึกผล ต่อมาเขาได้คิดระบบ e-Logbook ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ภายในสำนักงานและแสดงผลการทำงานภายในสำนักงานเท่านั้น […]

ปรับตัวอย่างไร…หากต้องทำงานในญี่ปุ่น?”

“คนญี่ปุ่นจะทุ่มเทให้กับองค์กรอย่างเต็มที่ เพราะความก้าวหน้าขององค์กรก็คือความก้าวหน้าของตนด้วย” ดร.จุรีรัตน์ ประสาร การทำงานในญี่ปุ่นโดยเฉพาะกับบริษัทเอกชนมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ความละเอียดรอบคอบ ความมีมาตรฐานสูง แต่อาจนำมาซึ่งความเครียด การเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงาน แนวความคิด รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมกับคนญี่ปุ่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ดั่งสำนวน เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม การนั่งชมสวนเซน (Zen garden) ที่วัดเรียวอันจิ ในเกียวโต ดร.จุรีรัตน์ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการสิ่งทอ หน่วยวิจัยโพลิเมอร์ ผู้เคยสัมผัสการทำงานในศูนย์วิจัยของบริษัทเอกชนสัญชาติญี่ปุ่นมาแล้ว ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ และทัศนะไว้ในบทความ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ หรือมีโอกาสร่วมงานกับคนญี่ปุ่น ดร.จุรีรัตน์ ได้แสดงความคิดเห็นไว้ตอนหนึ่งว่า “หากชาวต่างชาติปฏิบัติตามวิถีชีวิต และความคิดของตนโดยไม่มีการปรับตัวเข้าหาก็อาจทำให้เกิดการแปลกแยกขึ้นได้ง่ายในสังคมญี่ปุ่นซึ่งมีรูปแบบแผนเดียว และอาจนำไปสู่กำแพงวัฒนธรรมที่สูงขึ้นไปอีก แต่ถ้าหากเริ่มแรกมีการปรับตัวเข้าหาให้กลมกลืนในระดับหนึ่ง (ไม่ได้แปลว่าจะต้องกลายเป็นชาวญี่ปุ่นไป) ก็จะช่วยให้เกิดการยอมรับให้เข้าไปเรียนรู้สังคมที่แท้จริงของคนญี่ปุ่นได้ง่าย และเมื่อเกิดการยอมรับแล้ว ความแตกต่างทางแนวคิด และวัฒนธรรมที่ชาวต่างชาติมีอยู่นี้ก็จะกลายเป็นส่วนเด่นที่ดึงดูดให้คนญี่ปุ่นเข้ามาทำความรู้จักมากขึ้นในภายหลัง” ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 49 ดร.จุรีรัตน์ ประสาร ดร.จุรีรัตน์ ประสาร จบการศึกษาปริญญาเอก ด้านวิทยาศาสตร์โพลิเมอร์และเส้นใย (Fiber and Polymer Science) จาก North Carolina State […]

เรื่องเล่าจากการเข้าร่วม Global Young Scientists Summit 2014

“สำหรับผมแล้ว GYSS@one-north คือ การได้ไปฟัง The best science on this planet ในสถานที่ที่เป็น The best-managed city in the world โดย Nobel laureates และ Field medalists ทั้งหลายนั้นค่อนข้างถ่อมตัว และมีความหลงใหลในงานที่ทำ หลายๆ ท่านพูดในทำนองว่าการค้นพบที่นำมาซึ่งรางวัลของท่านเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ แต่ผลการทดลองที่เหนือความคาดหมายนั้นอยู่ที่ว่า ‘สายตา’ ของผู้สังเกตมองเห็นหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ต้องใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่งในการมอง” ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ การประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์โลก (Global Young Scientists Summit: GYSS) 2014 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิทยาศาสตร์อาวุโสกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ โดยเชิญนักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้ได้รับรางวัลสำคัญระดับสากล ได้แก่ รางวัลโนเบล (Nobel Prize), Fields Medal , Millennium Technology Prize และ IEEE Medal […]

1 4 5 6 7