โครงการวิจัยเด่น

การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

โรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นในสังคมผู้สูงอายุ ทีมวิจัยจึงพัฒนา AKIKO ผ้าห่มที่มีความอ่อนนุ่มและสวยงาม มีการเย็บพิเศษสำหรับกระตุ้นประสาทสัมผัส เหมาะสำหรับนำไปใช้ได้ทั้งที่บ้าน สถานดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาล

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมวัสดุชนิดนี้สังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น เถ้าลอย ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งดินภายในประเทศที่มีมูลค่าต่ำ การใช้วัสดุนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียและวัตถุดิบในประเทศ และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมการผลิต แนวคิดหลักพัฒนาวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม มีสมรรถนะการใช้งานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถนำไปผลิตเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคภายในประเทศ  จุดเด่นของผลงานวิจัย> วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้จากแหล่งดินและเถ้าลอย มีความพรุนตัวสูงมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ สามารถทนต่อสภาวะที่มีความชื้นและความร้อนได้ดี> วัสดุนี้สามารถประยุกต์ใช้หลากหลายด้าน เช่น ใช้เป็นวัสดุเมมเบรน หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสแบบรวดเร็วของกากชีวมวล เพื่อช่วยลดปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ ทำให้น้ำมันชีวภาพมีสมบัติใกล้เคียงน้ำมันปิโตรเลียมยิ่งขึ้น สถานภาพงานวิจัยบริษัท เหมืองขุนฝาง จำกัด รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในส่วนการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากแหล่งแร่ โดยเช่าพื้นที่ในอาคาร INC 2 เพื่อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ซีโอไลต์ร่วมกับเอ็มเทค ทีมวิจัยและพัฒนาดร.ศุภวรรณ วิชพันธุ์ดร.ดวงเดือน อาจองค์ดร.คณิต สูงประสิทธิ์คุณปัญจลักษณ์ สิรินวรานนท์ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดร.ศุภวรรณ วิชพันธโทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4202Email : supawank@mtec.or.thศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม : Effect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิมEffect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel บริษัท Standard Unit Supply (Thailand) จำกัด ต้องการพัฒนากระบวนการอัดและเผาซินเทอร์ เพื่อปรับปรุงความต้านทานการกัดกร่อนของผลิตภัณฑ์ ก่อนร่วมงานกับเอ็มเทค บริษัทเคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป้าหมายปรับปรุงกระบวนการเผาซินเทอร์เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยไม่กระทบต่อสมบัติอื่นๆ ของชิ้นงาน ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา จากการวิเคราะห์ชิ้นงานและกระบวนการพบว่าปัญหาเกิดจากบรรยากาศการเผาและกระบวนการขัดผิวไม่เหมาะสม2. ออกแบบกระบวนการผลิต จำนวน 21 รูปแบบ และทดลองระดับห้องปฏิบัติการที่เอ็มเทค เพื่อหากระบวนการที่เหมาะสม3. ทดสอบกระบวนการผลิตในระดับประลองและต่อเนื่องในระดับอุตสาหกรรมที่บริษัท โดยทีมวิจัยของเอ็มเทคให้คำปรึกษาตลอดการทดสอบ (1 ส.ค. – 31 ต.ค. 2559) สถานภาพผลงานวิจัยบริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงยอดขายเพิ่มขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการผลิตปรับปรุงใหม่ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียเมื่อมองทั้งกระบวนการพบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 140 ล้านบาทต่อปี ทีมวิจัยและพัฒนาดร.อัญชลี มโนนุกุล (เอ็มเทค)นายพงศ์พร มูลเจริญพร (เอ็มเทค)นายสุกฤษฏิ์ สงเกื้อ (เอ็มเทค)นายจามร กลั่นผล (บริษัท […]

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม : Effect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม Effect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel บริษัท Standard Unit Supply (Thailand) จำกัด ต้องการพัฒนากระบวนการอัดและเผาซินเทอร์ เพื่อปรับปรุงความต้านทานการกัดกร่อนของผลิตภัณฑ์ ก่อนร่วมงานกับเอ็มเทค บริษัทเคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป้าหมาย ปรับปรุงกระบวนการเผาซินเทอร์เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยไม่กระทบต่อสมบัติอื่นๆ ของชิ้นงาน ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา จากการวิเคราะห์ชิ้นงานและกระบวนการพบว่าปัญหาเกิดจากบรรยากาศการเผาและกระบวนการขัดผิวไม่เหมาะสม 2. ออกแบบกระบวนการผลิต จำนวน 21 รูปแบบ และทดลองระดับห้องปฏิบัติการที่เอ็มเทค เพื่อหากระบวนการที่เหมาะสม 3. ทดสอบกระบวนการผลิตในระดับประลองและต่อเนื่องในระดับอุตสาหกรรมที่บริษัท โดยทีมวิจัยของเอ็มเทคให้คำปรึกษาตลอดการทดสอบ (1 ส.ค. – 31 ต.ค. 2559) สถานภาพผลงานวิจัย บริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงยอดขายเพิ่มขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการผลิตปรับปรุงใหม่ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียเมื่อมองทั้งกระบวนการพบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 140 ล้านบาทต่อปี ทีมวิจัยและพัฒนา ดร.อัญชลี มโนนุกุล (เอ็มเทค) […]

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย : Cenospheres Separation from Fly Ash

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยCenospheres Separation from Fly Ash การใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า จะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัสดุพลอยได้กว่า 3.5 ล้านตัน/ปี แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนักประมาณ 20% การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัสดุพลอยได้จึงเป็นที่มาของการพัฒนากระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย แนวคิดหลัก เซโนสเฟียร (Cenospheres) เป็นอนภุาคโครงสร้างกลม กลวง มี องค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกับเถ้าลอยคือมีซิลิกาและอะลูมินาเป็นองค์ประกอบหลักเซโนสเฟียร์ มีน้ำหนักเบา มีความหนาแน่นต่ำ เป็นฉนวนกันความร้อน ทนต่อสารเคมี ทนต่อแรงอัดที่สูง ดูดซึมน้ำน้อย และไหลร่วนตัวดีจึงใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, พลาสติกน้ำหนักเบา, วัสดุกันเสียง, วัสดุกันลามไฟ, ซีเมนต์, สีและสารเคลือบผิว เป็นต้น จุดเด่นของผลงานวิจัย> องค์ความรู้เรื่องกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยที่เป็นระบบทั้งกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง> ฐานข้อมูลเชิงวัสดุและคุณภาพของเซโนสเฟียร์ที่ได้จากเถ้าลอยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ> ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเถ้าลอยอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทางหนึ่ง สถานภาพผลงานวิจัย– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบเปียกระดับขยายสเกลที่สามารถคัดแยกเซโนสเฟียร์ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบแห้งภาคสนามที่มีประสิทธิภาพการคัดแยกเถ้าลอยได้หลายชนิดและมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ติดตั้ง ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปางแล้ว– มีการจ้างงานคนในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทีมวิจัยและพัฒนาดร. ศรชล โยริยะน.ส. อังคณา ชุมภูน.ส. ภัทรธิชา […]

1 14 15 16 17 18 23