โครงการวิจัยเด่น

ระบบควบคุมคุณภาพ ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกโดยการใช้เทคโนโลยีแมชชีนวิชัน และ เทคโนโลยีการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ

ระบบควบคุมคุณภาพ ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกโดยการใช้เทคโนโลยีแมชชีนวิชัน และ เทคโนโลยีการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ ความถูกต้องในการบรรจุสินค้า เป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงมาตรฐานของโรงงานผลิตและธุรกิจโดยรวม การใช้วิธีสุ่มตรวจไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ 100% เนื่องจากยังอาจมีสินค้าที่ไม่ถูกต้องหลุดรอดออกสู่ตลาด ระบบการตรวจสอบความถูกต้องของการบรรจุสินค้าอัตโนมัติจึงเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า และทำให้เกิดความถูกต้องในระบบบริหารจัดการภายในโรงงานผลิตเอง แนวคิดหลัก > พัฒนากระบวนการผลิตข้อต่อ PVC โดยปรับปรุงการตรวจสอบความถูกต้องของบรรจุภัณฑ์ และจำนวนบรรจุ ด้วยเทคโนโลยีแมชชีนวิชันและระบบการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ > ทีมวิจัยเอ็มเทคพัฒนาระบบดังกล่าวด้วยเทคโนโลยีแมชชีนวิชัน (การมองและแยกแยะใช้ระบบกล้อง และการคำนวณใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติ) และเทคโนโลยีการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ จุดเด่นของผลงานวิจัย > ช่วยควบคุมคุณภาพภายในกระบวนการบรรจุสินค้าให้ถูกต้องแม่นยำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า > ทำงานได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูง ลดการพึ่งพาแรงงานในกระบวนการลงได้ 3 คนต่อวัน และใช้เวลาตรวจสอบสินค้าไม่เกิน 3 วินาที ต่อชิ้น สถานภาพผลงานวิจัย ต้นแบบได้ถูกติดตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2560 และใช้งานในสายการผลิตจริง ณ โรงงานของบริษัท นวพลาสติก อุตสาหกรรม จำกัด ทีมวิจัยและพัฒนา ดร.นิรุตต์ นาคสุข และทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม สนใจข้อมูลเพิ่มเติม รัชนี ม้าทอง โทรศัพท์ 0 2564 6500 […]

กังหันลมแกนตั้งที่หมุนได้ด้วยตัวเองเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า : Darrieus Vertical Axis Wind Turbine

กังหันลมแกนตั้งที่หมุนได้ด้วยตัวเองเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าDarrieus Vertical Axis Wind Turbine กังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียส (Darrieus vertical axis wind turbine) มีศักยภาพที่จะนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับกังหันลมแกนนอนที่ใช้กันโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี กังหันลมชนิดนี้มีข้อด้อยประการหนึ่ง คือ ไม่สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเองหากไม่มีการขับให้หมุนในตอนต้น งานวิจัยนี้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าว แนวคิดหลักพัฒนากังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียสให้สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเองที่ความเร็วลม 3 เมตรต่อวินาที และมีกำลังการผลิต 500 วัตต์ที่ความเร็วลม 8 เมตรต่อวินาที ทีมวิจัยทำอย่างไรการทำให้กังหันเริ่มต้นหมุนเองจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีสองส่วน ได้แก่1. เทคโนโลยีใบพัด ได้ออกแบบรูปร่างของใบพัดขึ้นมาใหม่โดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลข พร้อมกับใช้เทคนิคการพับขึ้นรูปอะลูมิเนียม เพื่อให้ได้ใบพัดที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา2. เทคโนโลยีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบควบคุม ได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ไม่มีแรงต้านการหมุนที่เกิดจากแม่เหล็ก (cogging torque) เพื่อลดแรงต้านการหมุนที่ชุดใบพัดต้องเอาชนะ ในขณะเดียวกันระบบควบคุม จะทำหน้าที่ลดแรงต้านจากโหลดทางไฟฟ้าเพื่อให้กังหันสามารถเร่งตัวได้ดียิ่งขึ้น สถานภาพผลงานวิจัยการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเพิ่มกำลังการผลิตของกังหันสามารถทำได้ในอนาคต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้น ตามนโยบายของรัฐที่ตั้งกำลังการผลิตไว้ที่ 3002 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2579 ทีมวิจัยและพัฒนาดร.ศุภกิจ วรศิลป์ชัยดร.บรรพต ไม้งามดร.พงศ์พิชญ์ วิภาสุรมณฑลเกียรติก้อง สุวรรณกิจเสฏฐวรรธ สุจริตภวัตสกุลดุสิต ตั้งพิสิฐโยธินกฤตธี จินดาวงศ์จิรพงษ์ พงษ์สีทองชัยยันต์ […]

ยกระดับคุณภาพไบโอดีเซลด้วย H-FAME Technology : Upgrading Biodiesel with H-FAME Technology

ยกระดับคุณภาพไบโอดีเซลด้วย H-FAME TechnologyUpgrading Biodiesel with H-FAME Technology เอ็มเทคร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินโครงการสนับสนุนการเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น โดยนำเทคโนโลยี H-FAME ซึ่งต่อยอดจากโครงการร่วมวิจัย ไทย-ญี่ปุ่น (JST-JICA SATREPS) ที่สามารถผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูงมาขยายผลเพื่อสนับสนุนการใช้ไบโอดีเซลในสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้เทคโนโลยีทางเลือก H-FAME ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 เพื่อช่วยสนับสนุนการใช้น้ำมัน B10 และ B20 ในอนาคต ทีมวิจัยทำอย่างไร> ทีมวิจัยร่วมกับโรงงานผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ที่ได้รับคัดเลือก 2 โรง ทำการขยายกำลังการผลิต H-FAME เพื่อสาธิตเทคโนโลยี H-FAME เชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ เพื่อผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูงออกมาใช้งานได้จริง> ทีมวิจัยทำการตรวจสอบคุณภาพเชื้อเพลิงให้ผ่านตามเกณฑ์สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น (Japan Automobile Manufacturers Association: JAMA) และนำไปผสมเป็น B10 เพื่อทดสอบวิ่งจริงกับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 8 คันเป็นระยะทางกว่า 100,000 กิโลเมตรต่อคัน ตลอดจนการใช้งานจริงในรถยนต์จากส่วนราชการกว่า 80 คัน จุดเด่นของผลงานวิจัย> สนับสนุนให้มีการใช้ไบโอดีเซลในสัดส่วนที่สูงขึ้น […]

แบตเตอรี่ต้นแบบสำหรับรถยนต์นั่งไฟฟ้า Battery Pack for Electric Vehicle

แบตเตอรี่ต้นแบบสำหรับรถยนต์นั่งไฟฟ้าBattery Pack for Electric Vehicle แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานหลักของยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันและอย่างน้อยอีกสิบปีข้างหน้า ประกอบกับราคาส่วนใหญ่ของยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นราคาของแบตเตอรี่เป็นหลัก ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ การพัฒนาแบตเตอรี่จึงมีความสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนไทย แนวคิดหลัก> พัฒนาต้นแบบแพ็กแบตเตอรี่ในประเทศไทยสำหรับการใช้งานในรถยนต์นั่งไฟฟ้าขนาดเล็กแทนที่แพ็กเดิม และสามารถทำงานร่วมกับรถยนต์ต้นแบบให้สามารถขับเคลื่อนได้> เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ รวมถึงระบบและการจัดการแบตเตอรี่ในระดับโมดูลและแพ็กให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ คุณสมบัติของแพ็กแบตเตอรี่– 22P16S 4 โมดูล จำนวนเซลล์ 1408 ก้อน– แรงดันไฟฟ้าระบุ 59.2 V (48-67.2 V)– ความจุไฟฟ้า 228.8 Ah – พลังงาน 13.54 kWh– ระยะทางที่วิ่งได้ (ตาม Driving cycle standard ECE-15) ประมาณ 160 km (12.5 km/1 kWh) จุดเด่นของผลงานวิจัย> วัสดุและชิ้นส่วนในแพ็กแบตเตอรี่ส่วนใหญ่ผลิตในประเทศไทย สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าโดยคนไทย สถานภาพผลงานวิจัยต้นแบบถูกทดสอบและสาธิตใช้งานกับต้นแบบรถยนต์นั่งไฟฟ้าขนาดเล็ก และส่งมอบให้แก่สถาบันยานยนต์ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ร่วมสนับสนุน ทีมวิจัยและพัฒนาดร.พิมพา ลิ้มทองกุลดร.จิราวรรณ มงคลธนทรรศ,ดร.มานพ มาสมทบดร.ธัญญา แพรวพิพัฒน์วิเศษ […]

1 15 16 17 18 19 23