โครงการวิจัย

Para Walk (พาราวอล์ค) ผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นยางพาราเพื่อลดการบาดเจ็บ

ที่มา ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ รวมถึง การบาดเจ็บจากการหกล้มสูง ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2557 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่เสียชีวิตจากการหกล้ม 1,000 คน/ปี นอกจากนี้ ความเสี่ยงในการหกล้มของประชากรทั่วโลกยังเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ โดยพบว่า 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่หกล้มและกระดูกหัก จะไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในระบบบริการผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ การวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นจากยางพาราที่สามารถทำให้ผู้สูงอายุก้าวย่างได้อย่างมั่นคงและลดการเกิดอาการบาดเจ็บ จากความสามารถในการกระจายแรงของผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นจากยางพารา จึงอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ เป้าหมาย พัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นจากยางพาราที่ผลิตได้ในประเทศสำหรับลดหรือบรรเทาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในครัวเรือน โดยเฉพาะ จากการหกล้ม ทีมวิจัยทำอย่างไร ออกแบบสูตรการผสมเคมียางเพื่อให้ได้ยางคงรูปที่มีความแข็งมากกว่า 95 Shore A โดยที่กระบวนการผลิตยังคงทำได้ง่าย หรือ สามารถใช้กระบวนการเตรียมยางคอมพาวด์โดยทั่วไปได้ รวมถึงมีการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางชีวภาพ (bio-based) เป็นองค์ประกอบ ทดลองผลิตแผ่น Para Walk โดยใช้เครื่องจักรโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมยางตามกรรมวิธีที่ได้ออกแบบไว้ พร้อมทั้งทำการทดสอบสมบัติต่าง ๆ ของแผ่นพื้น เช่น ความแข็ง ความสามารถในการกระจายแรง ปริมาณสารระเหยได้โดยรวม การลามไฟ และ ความต้านทานการลื่น […]

เทคโนโลยีการเตรียมสูตรแป้งพิมพ์ผ้าจากสีธรรมชาติ “Magik Color”

ที่มา ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco-friendly products) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงมีการนำสีธรรมชาติมาใช้แทนสีเคมีกันมากขึ้น อย่างไรก็ดีการใช้สีธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นการย้อมเส้นด้ายหรือผ้าโดยชาวบ้านหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในขณะที่การใช้สีธรรมชาติพิมพ์ลงบนผ้ามีค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการที่ขั้นตอนการเตรียมแป้งพิมพ์สีธรรมชาติมีความยุ่งยาก ผู้ประกอบการขาดความรู้ในการทำบล็อกสกรีนหรือถ่ายลาย ทั้งยังขาดอุปกรณ์เครื่องจักรที่จำเป็น เป็นต้น เป้าหมาย พัฒนาเทคโนโลยีการเตรียมสูตรแป้งพิมพ์ผ้าจากสีธรรมชาติ เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการสิ่งทอ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภายในประเทศ และส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีมูลค่าเพิ่ม ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาวิธีการสกัดสีธรรมชาติให้อยู่ในรูปแบบสารละลายเข้มข้นหรือแบบผงจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ในประเทศ แล้วนำมาปั่นผสมกับส่วนประกอบอื่นๆ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อเตรียมเป็นสูตรแป้งพิมพ์สีธรรมชาติในเฉดสีต่างๆ พร้อมกับทดลองนำมาใช้พิมพ์ลงบนผ้าและทดสอบสมบัติที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัติ สามารถนำแป้งพิมพ์สีธรรมชาติมาพิมพ์ลงบนผ้าได้หลากหลายชนิด เช่น ฝ้าย ไหม กัญชง ลินิน โดยใช้แม่พิมพ์ที่เป็นไม้แกะสลักหรือพืชผักผลไม้แกะสลัก (block printing) หรือใช้แม่พิมพ์ที่เตรียมจากกระดาษชุบพาราพิน (stencil printing) หรือใช้แม่พิมพ์ซิลค์สกรีนที่ถ่ายลายสำเร็จรูป (silk screen printing) สามารถผนึกสีหลังการพิมพ์ลงบนผ้าด้วยการอบด้วยไอน้ำ หรือด้วยความร้อนโดยการนำผ้าไปรีดทับด้วยเตารีดหรือเครื่องรีดร้อน (heat press) จึงเหมาะกับกลุ่มผู้ประกอบการสิ่งทอ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สถานภาพงานวิจัย แป้งพิมพ์สีธรรมชาติสำเร็จรูปพร้อมใช้ใน 6 เฉดสี ได้แก่ เฉดสีแดงและสีชมพูจากครั่ง เฉดสีเหลืองและสีน้ำตาลแดงจากดอกดาวเรือง […]

การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงแก๊สไฮโดรเจน

การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อลำเลียงแก๊สไฮโดรเจน ที่มา โรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งตรวจพบรอยร้าวบนผนังท่อเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้ลำเลียงแก๊สที่มีไฮโดรเจนเป็นส่วนผสมหลักหลังจากการติดตั้งและใช้งานมาแล้วประมาณ 21 เดือน ส่งผลให้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนรั่วและเกิดไฟไหม้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้หน่วยกลั่นน้ำมัน 4 หน่วยต้องหยุดทำงานเป็นระยะเวลา 18 วัน ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าเกือบ 800 ล้านบาทต่อปี บริษัทจึงติดต่อทีมวิจัยการวิเคราะห์ความเสียหายและเทคโนโลยีการกัดกร่อนให้ช่วยหาสาเหตุ เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันต้องปรับปรุงความปลอดภัยในระดับสูงเพื่อป้องกันการเกิดเหตุรุนแรงซ้ำ ท่อที่เกิดรอยแตกร้าว บริเวณจุดเริ่มรอยแตกแสดงให้เห็นรอยแตกแบบตามขอบเกรน เป้าหมาย วิเคราะห์ท่อที่ระเบิดด้วยวิธีทางโลหะวิทยาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหา ทีมวิจัยทำอย่างไร ตรวจสอบความเสียหายที่หน้างานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท วิเคราะห์ความเสียหาย เพื่อหาสาเหตุการระเบิดของท่อด้วยการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพ การวัดความหนา การตรวจสอบผิวหน้าแตกหัก การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค การตรวจสอบผลิตภัณฑ์การกัดกร่อน การตรวจสอบส่วนผสมทางเคมี และการศึกษาการแพร่ของไฮโดรเจนด้วยระเบียบวิธีเชิงตัวเลข ผลงานวิจัย การแตกและระเบิดของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมไร้ตะเข็บเกิดจากกลไกการแตกร้าวจากการช่วยของไฮโดรเจน (Hydrogen Assisted Cracking, HAC) เนื่องจากการแพร่ของไฮโดรเจนไปตามแถบการเลื่อน (slip bands) จุดบกพร่องดังกล่าวตรวจพบปริมาณมากในเฟสออสเทนไนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ใต้พื้นผิวผนังด้านนอกของท่อ ในขณะเดียวกันยังมีผลมาจากการรั้ง (restraint) ที่มีความเข้มข้นสูงในบริเวณที่มีการเชื่อมแบบตัวที (T-joint) ทำให้เกิดความเค้นสามแกนที่สูงขึ้นที่ผิวผนังด้านนอกซึ่งเป็นจุดเริ่มของรอยแตก การจำลองเพื่อศึกษาการแพร่ของไฮโดรเจนด้วยระเบียบวิธีเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่ามีความเข้มข้นของไฮโดรเจนอย่างสม่ำเสมอตลอดความหนาของผนังของท่อที่ใช้ระยะเวลามากกว่า 20 เดือน สำหรับการแตกร้าวในขั้นตอนสุดท้ายเกิดจากการรับแรงเกินพิกัดที่มี HAC ที่รุนแรงเป็นปัจจัยเริ่มต้น ซึ่งยืนยันได้จากลักษณะผิวหน้าแตกหักที่ปรากฏให้เห็นเป็นการแตกร้าวตามขอบเกรน (intergranular cracking) […]

งานวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิดโพลิเอทีลีน

งานวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิดโพลิเอทีลีน ที่มา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้นำรูปแบบการจ่ายไฟฟ้ามาใช้อย่างหลากหลาย อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่นำมาใช้กับการเดินสายเคเบิลอากาศ (space aerial cable, SAC) ได้แก่ เคเบิลสเปเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของสายเคเบิลอากาศและจัดตำแหน่งสายเคเบิลอากาศให้ปลอดภัยและเป็นระเบียบ เนื่องจากเคเบิลสเปเซอร์โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (high density polyethylene, HDPE) ที่ กฟภ. จัดซื้อมาใช้งานแตกหักง่าย เสื่อมสภาพจากแสงอาทิตย์ เกิดไฟฟ้าสถิต และลุกติดไฟง่าย ส่งผลให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกิดความไม่เชื่อมั่น และไม่นำเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ไปใช้งาน ทำให้มีชิ้นงานเหลืออยู่ในคลังพัสดุเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการปรับปรุงคุณภาพเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ให้ดีขึ้นก็จะทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ช่วยลดภาระและต้นทุนในการดำเนินงานของ กฟภ. ให้ต่ำลงได้ เป้าหมาย ศึกษาและรวบรวมข้อมูลสมบัติของเคเบิลสเปเซอร์ชนิด HDPE ที่ กฟภ. ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ออกแบบ และจัดทำเคเบิลสเปเซอร์ต้นแบบให้แข็งแรง ทนต่อรังสียูวี มีสมบัติหน่วงการติดไฟ สามารถใช้งานกับสายเคเบิลอากาศในระบบ 22 kV และ 33 kV ได้ และมีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าเคเบิลสเปเซอร์ที่ กฟภ. ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน […]

ต้นแบบระดับอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตโฟมอะลูมิเนียม

ที่มา โฟมอะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่มีโครงสร้างคล้ายโฟมจึงมีสมบัติเด่นหลายประการ ได้แก่ น้ำหนักเบา มีความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง ดูดซับแรงกระแทกและเสียงได้ดี มีพื้นที่ผิวสูง และมีรูปลักษณ์เฉพาะที่ต่างจากวัสดุทั่วไป โฟมอะลูมิเนียมจึงมีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานที่ต้องการสมบัติหลายอย่างร่วมกัน อย่างไรก็ตามวัสดุชนิดนี้ยังมีปัญหาบางประการที่ทำให้การใช้งานยังมีข้อจำกัด เช่น โครงสร้างไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถผลิตให้มีโครงสร้างเฉพาะตามต้องการ และราคาแพง เป้าหมาย พัฒนาโฟมอะลูมิเนียมที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ สามารถออกแบบโครงสร้างเฉพาะได้ตามต้องการ และมีราคาถูก ทีมวิจัยทำอย่างไร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ โดยใช้วัสดุทรงกลมที่ทนอุณหภูมิสูงแต่ละลายน้ำได้เป็นแม่แบบร่างสำหรับทำให้เกิดโพรงในโลหะอะลูมิเนียม โดยเติมโลหะหลอมเหลวเข้าสู่ช่องว่างระหว่างวัสดุทรงกลมด้วยกระบวนการหล่อที่มีแรงสุญญากาศช่วย ในแม่พิมพ์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการผลิตโฟมโลหะ ผลงานวิจัย โฟมอะลูมิเนียมที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ และมีโครงสร้างเฉพาะตามที่ออกแบบ ได้แก่ ขนาดโพรง ความพรุน ลักษณะผิวโพรง การบรรจุวัตถุในโพรง และการจัดเรียงโพรง เป็นต้น โฟมอะลูมิเนียมที่ผลิตได้ยังมีราคาต่ำกว่าโฟมอะลูมิเนียมส่วนใหญ่ที่ผลิตในต่างประเทศ สถานภาพงานวิจัย อยู่ระหว่างทดลองผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัทที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนงานในอนาคต พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้สนใจ สำหรับประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ ทีมวิจัย ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์นางสาว ชลลดา ดำรงค์กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ ติดต่อ ดร.สมพงษ์ ศรีมโนเสาวภาคย์โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4573 […]

1 8 9 10 11 12 26