โครงการวิจัย

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

ผงสีและผิวเคลือบสะท้อนรังสีอาทิตย์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ที่มา ปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารและที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศคิดเป็นร้อยละ 50 จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง 1ºC จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ดังนั้น วิธีที่ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศลงได้คือการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ผงสีและผิวเคลือบที่สามารถสะท้อนรังสีอาทิตย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสีอินฟราเรดใกล้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและที่อยู่อาศัยลดลงได้อย่างยั่งยืน ผงสีฟ้า ผงสีส้ม ผงสีแดง เป้าหมาย พัฒนาผงสีที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอาทิตย์ได้ดี เพื่อนำผงสีที่ได้ไปผลิตสี (paint) และเคลือบเซรามิก (glaze) สำหรับใช้เป็นวัสดุเปลือกอาคาร เช่น ผนัง และหลังคา สังเคราะห์ผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่ากับผิวเคลือบที่ใช้ผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาผงสีสะท้อนรังสีอาทิตย์ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาสถานะของแข็ง (solid-state reaction) โดยศึกษาตัวแปรต่างๆ ได้แก่ องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น การเติมสารเจือ และสภาวะการเผา เพื่อให้ได้ค่าสีตามที่ต้องการ และได้ค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง พัฒนาสีและเคลือบเซรามิกโดยศึกษาตัวแปรต่างๆ เช่น องค์ประกอบของวัตถุดิบตั้งต้น ปริมาณของผงสีที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้ได้ผิวเคลือบที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูง ผลงานวิจัย ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตผงสีแดง ส้ม และน้ำเงินที่มีค่าสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้เทียบเท่าหรือสูงกว่าผงสีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิตสีและเคลือบเซรามิกที่มีสมบัติสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ อนุสิทธิบัตรการผลิตผงสีส้มสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ สถานภาพงานวิจัย […]

เตียงตื่นตัว เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน (Joey Active Bed)

“เตียงตื่นตัว” เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยผู้สูงอายุในการลุกนั่งและลุกขึ้นยืน ที่มา เตียงสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัดที่มีจำหน่ายในประเทศมีจุดด้อยหลายประการ เช่น ใช้งานยาก เพราะไม่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบไม่เอื้ออำนวยต่อการขึ้นลงจากเตียงด้วยตัวเอง ลักษณะเตียงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโรงพยาบาล อีกทั้งยังมีราคาสูง (200,000 บาทขึ้นไป) เพราะนำเข้าจากต่างประเทศ เป้าหมาย ออกแบบและพัฒนาต้นแบบโครงสร้างเตียงแบบปรับนั่งได้สำหรับใช้งานที่บ้าน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง รวมไปถึงผู้สูงอายุที่แม้จะยังแข็งแรง แต่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นหลังการรักษาหรือผ่าตัด ทีมวิจัยทำอย่างไร ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ ออกแบบ “เตียงตื่นตัว” จากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า “Human-centric design” โดยคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ เช่น ช่วยในการเคลื่อนไหว ใช้งานได้ด้วยตนเอง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ มีราคาเหมาะสม รวมไปถึงบริบทและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ คุณสมบัติ ต้นแบบโครงสร้างเตียงสามารถปรับนั่งและหมุนฐานรองรับฟูกได้ 90 องศา ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการลุกยืนและนั่งหันออกทางด้านข้างเตียง และสามารถช่วยดันตัวผู้ใช้ขึ้นเพื่อช่วยในขั้นตอนการลุกขึ้นยืน พร้อมทั้งรีโมทสำหรับควบคุมที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย ส่งผลดีต่อสภาพจิตใจเนื่องจากสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวได้โดยไม่นอนติดเตียง สถานภาพงานวิจัย ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยแก่ บริษัท เอสบี ดีไซนด์สแควร์ จํากัด เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้ว แผนงานวิจัยในอนาคต เพิ่มกลไกเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ […]

เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ

ต้นแบบระดับอุตสาหกรรมเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติสำหรับสาธิต เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ที่มา ในการฝึกอบรมการช่วยชีวิต จะมีการใช้เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED Trainer) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในการช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เป้าหมาย พัฒนาเครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติซึ่งมีการใช้งานที่สอดคล้องกับการฝึกอบรมจริงตามคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต ผลิตใช้ได้ในประเทศทดแทนการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง อีกทั้งพัฒนาแผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิตซึ่งออกแบบโดยใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศอีก ทีมวิจัยทำอย่างไร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ด้วยการสนับสนุนจากคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิตซึ่งก่อตั้งโดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พัฒนาเครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในนามของเครือข่ายนวัตกรรมยางพาราที่สอดคล้องกับการใช้งาน และพัฒนาแผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิตจากยางพาราซึ่งทำให้มีราคาถูกและได้ใช้วัตถุดิบในประเทศ คุณสมบัติ เครื่องช่วยสาธิตการช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติที่ได้พัฒนาขึ้นทำงานได้ตรงตามขั้นตอนการฝึกอบรมจริง ใช้งานง่าย สามารถผลิตใช้ได้ในประเทศและมีราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด แผ่นอิเล็กโทรดสำหรับสาธิตสามารถออกแบบโดยใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ ยึดติดได้ดีบนหุ่นสำหรับฝึกหัดการช่วยชีวิตโดยเฉพาะหุ่นที่ผลิตจากยางพาราโดยไม่ทิ้งคราบกาวบนหุ่น และสามารถติดซ้ำได้หลายครั้ง แผนงานในอนาคต พัฒนาวัสดุที่ใช้สำหรับตัวเครื่อง และปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้มีความหลายหลายยิ่งขึ้น ทีมวิจัย ดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง และคณะ ติดต่อ ทิพย์จักร ณ ลำปาง (นักวิจัย)กลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง (IRM)โทรศัพท์: 02 564 6500 ต่อ 4036อีเมล์: thipjak.nal@mtec.or.th

ParaFIT (พาราฟิต) น้ำยางพาราข้นชนิดใหม่สำหรับผลิตหมอนและที่นอนยางพารา

ParaFIT (พาราฟิต) น้ำยางพาราข้นชนิดใหม่สำหรับผลิตหมอนและที่นอนยางพารา ที่มา น้ำยางพาราข้นเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา แต่น้ำยางพาราข้นที่ใช้ในปัจจุบันมีส่วนผสมของแอมโมเนีย ซิงก์ออกไซด์ และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ เพื่อป้องกันการบูดเน่าของน้ำยาง อย่างไรก็ดี แอมโมเนียเป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก ทำลายสุขภาพ สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้น้ำยางพาราข้นมีสมบัติไม่คงที่ ส่วนซิงก์ออกไซด์มีโลหะหนัก และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์เป็นสารที่ก่อให้เกิดสารไนโตรซามีน (สารก่อมะเร็ง) นอกจากนี้ การนำน้ำยางพาราข้นดังกล่าวไปผลิตหมอนและที่นอนยางพาราต้องมีขั้นตอนการบ่มและการกำจัดแอมโมเนียให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนด้วย เป้าหมาย วิจัยและพัฒนาน้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ (ParaFIT) ที่เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และลดระยะเวลาการบ่มน้ำยางพาราข้น สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราที่มีคุณภาพดี ทดแทนการใช้น้ำยางพาราข้นทางการค้า ทีมวิจัยทำอย่างไร พัฒนาสูตรน้ำยาง ParaFIT ให้มีปริมาณแอมโมเนียต่ำที่สุด มีปริมาณซิงก์ออกไซด์ และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์น้อยลง และใช้เวลาในการบ่มที่สั้นลง ก่อนนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ยาง ทดลองผลิตน้ำยาง ParaFIT โดยใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตน้ำยางพาราข้น และทดสอบสมบัติของน้ำยาง ParaFIT ที่ได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 980-2552 และ ISO 2004-2017) ทดลองผลิตหมอนและที่นอนยางพาราจากน้ำยาง ParaFIT โดยใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตหมอนและที่นอนยางพารา และทดสอบสมบัติของหมอนและที่นอนยางพาราที่ได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 2741-2559 และ มอก. […]

มาตรฐานไบโอดีเซล B100 และดีเซล B10

มาตรฐานไบโอดีเซล B100 และดีเซล B10 ที่มา ปัญหาวิกฤตราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำตั้งแต่ปลายปี 2560 ทำให้รัฐบาลเร่งรัดนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล ซึ่งเดิมมีการผสมอยู่ที่สัดส่วนไม่เกินร้อยละ 7 และในปี 2561 ได้เริ่มมีการใช้น้ำมัน B20 ซึ่งมีไบโอดีเซลผสมในสัดส่วนร้อยละ 20 สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้น้ำมันปาล์มที่ล้นตลาด ทำให้มียอดการใช้ไบโอดีเซลรวมทั้งสิ้นราว 4.3 ล้านลิตร/วัน จากปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล 65.8 ล้านลิตร/วัน อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตไบโอดีเซลรวมทั้งประเทศในปี 2561 อยู่ที่ 7.7 ล้านลิตร/วัน จึงจำเป็นต้องหามาตรการเพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้ไบโอดีเซล กระทรวงพลังงานจึงมีเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลทั่วไปจากร้อยละ 7 เป็น 10 แต่จำเป็นต้องเพิ่มคุณภาพไบโอดีเซลเพื่อให้ได้การยอมรับจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ เป้าหมาย แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 กำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซลที่ 14 ล้านลิตร/วัน ภายในปี 2579 โดยมีเป้าหมายบังคับใช้น้ำมันดีเซลที่ผสมไบโอดีเซลที่ร้อยละ 10 (B10) ในปี 2569 แต่วิกฤตราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำตั้งแต่ปลายปี 2560 ทำให้รัฐบาลต้องปรับแผนการบังคับใช้น้ำมัน B10 ให้เกิดขึ้นเร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม […]

1 9 10 11 12 13 26