โครงการวิจัย

BICBOK เเผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป

ที่มา ยางมะตอยเป็นวัสดุที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ปิดผิวพื้นถนนและทางเดินต่างๆ เนื่องจากมีความคงทนและยืดหยุ่นสูง แต่มักมีข้อจำกัดต่อการนำมาใช้เพราะต้องอาศัยเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำงาน จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” พร้อมใช้งาน โดยบริษัท บิทูเมนต์ อินโนเวชั่น จำกัด ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วิจัยและพัฒนาต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ “Bicbok : แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” พร้อมใช้งาน ที่สามารถนำไปใช้ปูปิดทับพื้นผิวที่หลากหลายได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรและพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ สามารถใช้งานได้กับพื้นที่ทุกขนาดและยังคงคุณลักษณะที่โดดเด่นของยางมะตอย เป้าหมาย เพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” ในระดับอุตสาหกรรม ที่ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว โดยยังคงคุณสมบัติที่ดีและสามารถนำไปใช้ในงานที่หลากหลายได้ ทีมวิจัยทำอย่างไร ได้ร่วมกับภาคเอกชนในการออกแบบและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต รวมทั้งพัฒนาต่อยอดสมบัติด้านอื่นๆของแผ่นพื้นโดยเพิ่มสารผสมอื่นๆที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการนำเอามาใช้ประโยชน์ให้ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบแผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป คุณสมบัติ ใช้งานง่ายสะดวกและติดตั้งได้รวดเร็ว มีความนุ่มนวลสบายเท้าเวลาเดินช่วยลดแรงกระแทก เมื่อมีน้ำขังจะไม่เกิดการลื่นไหลเหมือนในงานพื้นคอนกรีตทั่วไป ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ๆมีผู้สูงอายุอาศัยและทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ แผ่นพื้นยังมีความคงทนแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักกดได้สูงเทียบเท่ากับแผ่นปูพื้นปกติทั่วไป สถานภาพงานวิจัย ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตต้นแบบแผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปในระดับอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการสนับสนุนเร่งการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Research Gap Fund) แผนงานในอนาคต การพัฒนาต่อยอดสมบัติด้านอื่นๆเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การเติมวัสดุที่มีความพรุนตัวสูง มีสมบัติน้ำซึมผ่านได้ดี ช่วยพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นแผ่นพื้นยางมะตอยน้ำซึมผ่านได้ การใช้วัสดุสะท้อนแสงเพิ่มลงไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการมองเห็นในเวลากลางคืนเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ […]

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
ที่ปรับเนื้อสัมผัสให้บดเคี้ยวและกลืนง่าย

ที่มา ผู้ที่มีปัญหาในการบริโภค เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่กำลังจัดฟัน และผู้มีปัญหาด้านสุขภาพฟัน มักหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสเหนียวและแข็งกระด้าง อย่างไรก็ตาม เนื้อสัตว์เป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนั้น อาหารประเภทเนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการบริโภค จึงมักอยู่ในลักษณะบดหรือปั่นละเอียด แต่อาหารที่มีรูปลักษณ์ภายนอกแบบนี้ มักทำให้ความพึงพอใจ และความอยากรับประทานอาหารลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทุพโภชนาการได้ ทีมวิจัยเอ็มเทคจึงใช้เทคโนโลยีกระบวนการปรับโครงสร้างอาหารร่วมกับการใช้ตัวปรับเนื้อสัมผัส เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม สามารถบดเคี้ยวง่ายด้วยฟัน และ/หรือเหงือก อีกทั้งยังกลืนง่าย มีความฉ่ำน้ำสูง และยังคงรูปร่างได้ จึงสามารถหั่นหรือตัดเป็นชิ้นได้ เป้าหมาย ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูนุ่มบดเคี้ยวง่ายสำหรับผู้มีปัญหาการบริโภค ซึ่งมีความแข็งในระดับที่ใช้ฟันและเหงือกกดให้แตกได้ มีความฉ่ำน้ำ แต่คงรูปร่างได้เหมือนชิ้นเนื้อสัตว์ และนำไปประกอบเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายได้ ทีมวิจัยทำอย่างไร ใช้กระบวนการปรับโครงสร้างและเนื้อสัมผัสที่เหนี่ยวนำให้เกิดสมดุลของช่องว่าง และโครงสร้างสามมิติของโปรตีนเนื้อหมู ร่วมกับการใช้ตัวปรับเนื้อสัมผัสที่เป็นสารก่อเจลอาหารเพื่อช่วยในการกักเก็บน้ำในผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาปัจจัยต่างๆ อาทิ ปริมาณเนื้อหมู ชนิดและปริมาณของสารก่อเจลอาหาร ชนิดและปริมาณของตัวเติมอาหารที่เพิ่มค่าความเป็นกรดเบส ปริมาณน้ำมันพืช ชนิดและปริมาณของโปรตีนจากแหล่งอื่น รวมถึงขนาดของอนุภาคเนื้อหมูที่ผ่านกระบวนการบดหรือสับ และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำให้สุก ที่ส่งผลต่อเนื้อสัมผัสของเนื้อหมู ค่าการสูญเสียระหว่างการหุงต้ม ปริมาณความชื้นและลักษณะปรากฏ เพื่อให้สามารถออกแบบสูตรให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และมีเนื้อสัมผัสตามต้องการได้ ผลงานวิจัย เนื้อหมูนุ่มที่ผ่านกระบวนการปรับเนื้อสัมผัสให้บดเคี้ยวและกลืนง่ายนี้สามารถปรับระดับความแข็งด้วยปริมาณเนื้อหมูที่ใช้ โดยพบว่าเมื่อนำไปต้มให้สุกและวิเคราะห์ความแข็งตามมาตรฐาน Universal Design Food […]

Executive Talk the Series ใน Session Update Technology MTEC

พบกับเวทีโอกาสสร้างความร่วมมือ ที่ห้ามพลาด!! Executive Talk the SeriesExclusive เฉพาะประชาคมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ร่วมรับฟังทิศทางการวิจัย เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมอง พร้อมโอกาสสร้างความร่วมมือต่อยอดผลงานวิจัย สวทช. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและคลัสเตอร์นวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย E-mail : bcd@nstda.or.th , โทร. 085 289 2669 (คุณยุภา ทรัพย์มรรค) วันที่ 24 มิถุนายน 2563 ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และ ดร.กฤษดา ประภากร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) บรรยาย Update Technology MTEC ทิศทางการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ ต่อยอดธุรกิจด้วยนวัตกรรม ในกิจกรรม Executive Talk the Series ณ ห้อง Innovation Room ชั้น 1 […]

การวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างรถโดยสารตัวถังอะลูมิเนียม

ที่มา บริษัท สกุลฎ์ซี จำกัด มีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นรถโดยสารขนาดเล็ก ตัวถังอะลูมิเนียม ให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย แทนเหล็กรูปพรรณแบบเดิมที่ใช้ผลิตกันในประเทศไทย และต้องการประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังที่ทางบริษัทฯ ได้ออกแบบมาในเบื้องต้นด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมเพื่อเป็นการประหยัดเวลาจากกระบวนการลองผิดลองถูกสำหรับการปรับแบบโครงสร้างให้เหมาะสม รวมถึงการสร้างต้นแบบและการทดสอบต่าง ๆ ก่อนขั้นตอนการผลิตจริง เป้าหมาย วิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารอะลูมิเนียมภายใต้เงื่อนไขการรับแรงแบบสถิต (static) ด้วยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering; CAE) เพื่อประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนนำไปผลิตจริง ทีมวิจัยทำอย่างไร ดำเนินการวิเคราะห์ทำนายความสามารถในการรับแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่ทำจากอะลูมิเนียมทั้งหมดสามแบบ โดยให้ขอบเขตการวิเคราะห์ครอบคลุมไปถึงช่วงการเสียรูปแบบถาวร จำลองการรับแรงเมื่อมีแรงกระทำในทิศตามแนวยาว (longitudinal) แนวขวาง (lateral) และเมื่อถูกบิดตามแนวยาวของตัวรถ (torsional load) ผลการวิเคราะห์ที่ได้ประกอบด้วยค่าลักษณะแนวโน้มการกระจายค่าความเค้นที่กระจายอยู่ตามชิ้นส่วนโครงสร้างต่าง ๆ และค่าการเสียรูป คุณสมบัติ ผลการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่าโครงสร้างตัวถังอะลูมิเนียมทั้งสามแบบที่ทางบริษัทได้ออกแบบมามีความแข็งแรงเพียงพอและปลอดภัยในการนำไปใช้งานโดยทั่วไปในกรณีการรับแรงแบบแนวขวาง และแนวยาว ในขณะที่ค่าการต้านแรงจากการบิด (torsional stiffness) ของแบบโครงที่ศึกษาอยู่ในช่วงเดียวกับค่าของโครงสร้างรถโดยสารเชิงพาณิชย์ของที่อื่น ๆ ที่ใช้วัสดุเหล็กโครงสร้างในการผลิต และผลการลดเนื้อวัสดุบางส่วนในหน้าตัดด้านข้างของชิ้นส่วนโครงสร้างเพื่อลดนำ้หนักสามารถดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็งแรงโดยรวมของโครงสร้าง สถานภาพงานวิจัย ภายหลังจากการปรับแบบชิ้นส่วนโครงสร้างโดยอ้างอิงจากผลการวิเคราะห์ ทีมวิจัยและบริษัทร่วมดำเนินการทดสอบความแข็งแรงเชิงกลและการทดสอบพลิกคว่ำตามมาตรฐาน UN R66 กับกรมการขนส่งทางบก และอยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ชุดแรกเพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้า แผนงานในอนาคต ร่วมวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังภายใต้เงื่อนไขการรับแรงแบบ explicit/dynamic จากการพลิกคว่ำตามมาตรฐาน […]

Magik Growth: นอนวูฟเวนเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร Magik Growth

ที่มา ประเทศไทยมีศักยภาพทางด้านเกษตรกรรมเนื่องจากมีความได้เปรียบทางสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ แต่ระบบการปลูกพืชส่วนใหญ่ยังคงอาศัยสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ และภูมิอากาศ เป็นปัจจัยหลัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความต้องการของผู้บริโภคมีเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่การเพาะปลูกลดลง ทำให้เทคโนโลยีด้านการเกษตรจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ถุงปลูกพืช ถุงห่อผลไม้ และวัสดุคลุมดิน นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะกับพืช ผักและผลไม้ที่มีมูลค่าสูง ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรดังกล่าวที่ผลิตและจำหน่ายภายในประเทศส่วนใหญ่ทำจากวัสดุพลาสติก ที่ไม่มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งแม้จะมีราคาถูกแต่ไม่ได้ส่งเสริมคุณภาพผลผลิต เนื่องจากการถ่ายเทของอากาศและความชื้นภายในถุงมีน้อย ทำให้รากพืชขดงอแผ่ขยายไม่เต็มที่ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชไม่ดีเท่าที่ควร เป้าหมาย พัฒนาวัสดุทางเลือกเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ถุงปลูก ถุงห่อผลไม้ และวัสดุคลุมดิน ทีมวิจัยทำอย่างไร ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร Magik growth ที่ตอบโจทย์ความต้องการของการเกษตรสมัยใหม่ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ทำจากวัสดุผ้าไม่ถักทอ หรือนอนวูฟเวน (nonwoven) ซึ่งมีโครงสร้าง (เช่น ความเป็นรูพรุน ความหนา) ที่เหมาะสมต่อการผ่านของน้ำและอากาศ ทำให้รากพืชมีการเติบโตสมบูรณ์และแผ่กระจายได้ดี อีกทั้งมีการกำหนดช่วงคลื่นแสงที่เหมาะสมตามที่พืชต้องการ ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลิตผลที่สูงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลากหลายประเภท เช่น ถุงเพาะปลูก ถุงห่อผลไม้ และวัสดุคลุมดิน เป็นต้น […]

1 6 7 8 9 10 26