โครงการวิจัย

ParaFIT (พาราฟิต) น้ำยางพาราข้นสำหรับการผลิตหมอนและที่นอนยางพารา

เทคโนโลยีที่ใช้ • การยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพในน้ำยางพารา • การรักษาเสถียรภาพเชิงกลของน้ำยางพารา • การทำโฟมยางด้วยกระบวนการดันลอป (Dunlop process) ที่มาหรือความสำคัญของการวิจัย น้ำยางพาราข้นเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา แต่น้ำยางพาราข้นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีส่วนผสมของแอมโมเนีย ซิงก์ออกไซด์ และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยางพาราข้นเกิดการบูดเน่า แต่แอมโมเนียเป็นสารเคมีที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก ทำลายสุขภาพ สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และน้ำยางพาราข้นมีสมบัติไม่คงที่ ซิงก์ออกไซด์มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะหนัก เตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์เป็นสารที่ก่อให้เกิดสารไนโตรซามีน (สารก่อมะเร็ง) และยังต้องมีขั้นตอนการบ่มน้ำยางพาราข้นและต้องมีขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราข้นให้อยู่ในระดับเหมาะสมก่อนนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพารา การนำไปใช้ / ถ่ายทอดเทคโนโลยี • มีปริมาณแอมโมเนียต่ำกว่า 0.20% โดยน้ำหนักน้ำยาง (น้ำยางพาราข้นทางการค้ามีปริมาณแอมโมเนีย 0.3-0.7% โดยน้ำหนักน้ำยาง) จึงไม่ต้องมีขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราข้นก่อนนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพารา ซึ่งเป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม • มีปริมาณซิงก์ออกไซด์ (ZnO) และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ (TMTD) น้อยกว่า น้ำยางพาราข้นทางการค้า (ชนิด LA และ MA) 30% โดยน้ำหนักน้ำยาง จึงช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตน้ำยางพาราข้น • นำไปใช้งานได้ทันทีภายใน 1-3 วันหลังจากวันผลิต (ไม่ต้องบ่มน้ำยางในถังพักไว้ 21 […]

Lookie Waste แอปเพื่อการบริโภคที่ชาญฉลาด

Lookie Waste แอปเพื่อการบริโภคที่ชาญฉลาด ที่มาขยะอาหาร เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก “Lookie Waste” เป็นแอปพลิเคชั่นบนมือถือที่มุ่งเน้นตรวจสอบปริมาณขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน แอปพลิเคชั่นนี้ใช้แนวความคิดการวิเคราะห์ตลอดวัฏจักรชีวิตเพื่อประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะอาหารและจากบรรจุภัณฑ์ และแปลงเป็นกิโลแคลอรี่ของขยะอาหารที่เหลือทิ้ง เทียบกับปริมาณอาหารที่เด็กต้องการ แสดงให้เห็นว่าปริมาณขยะอาหารสามารถเป็นอาหารให้กับเด็กที่ขาดอาหารได้กี่คน อีกทั้งผลกระทบทางการเงินที่ผู้บริโภคต้องสูญเสียจากขยะอาหาร โดยการสื่อสารมุ่งเน้นสนับสนุนให้ผู้บริโภคลดปริมาณการสร้างขยะอาหารและสร้างความตระหนักต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเกิดขยะอาหาร เป้าหมายใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของขยะอาหาร และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทีมวิจัยทำอย่างไร“Lookie Waste” พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โครงการพัฒนาตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ UN Environment “The Resource Efficiency through Application of Life Cycle Thinking” (REAL) โดยได้รับทุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission: EC) และเป็นโครงการนำร่องในแนวความคิดตลอดวัฏจักรชีวิต (Life cycle thinking) ของเอเชียและแปซิฟิกในโครงการ SWITCH-Asia ที่เชื่อมโยงกับหัวข้อ “การบริโภคที่ชาญฉลาด (ในครัวเรือนและสาธารณะ)” คุณสมบัติแอปพลิเคชั่นบนมือถือที่มุ่งเน้นตรวจสอบปริมาณของขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารจากการบริโภคในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความตระหนักและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการลดของเสียจากอาหารในชีวิตประจำวัน สถานภาพงานวิจัยแอปพลิเคชั่นสามารถใช้งานได้บนมือถือระบบปฏิบัติการ iOS และ Android version […]

วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม

วัสดุก่อสร้างจีโอโพลิเมอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม ที่มา จีโอโพลีเมอร์ (Geopolymer) ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีสมบัติคล้ายกับเซรามิกทั่วไป แต่การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้องโดยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน จึงใช้พลังงานในการผลิตต่ำกว่าการผลิตเซรามิกโดยทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบได้อีกด้วย เป้าหมาย ทีมวิจัยเอ็มเทคนำโดย ดร.อนุชา วรรณก้อน ได้วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์จากวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนเซรามิก ทีมวิจัยทำอย่างไร • วิเคราะห์องค์ประกอบของของเสียจากอุตสาหกรรม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตจีโอโพลิเมอร์ • พัฒนาสูตรและศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตจีโอโพลิเมอร์ให้มีสมบัติตามต้องการ • พัฒนาจีโอโพลีเมอร์เป็นผลิตภัณฑ์ • ทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม สถานภาพงานวิจัย ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กระเบื้องจีโอโพลิเมอร์ตกแต่งจากเศษแก้ว อิฐจีโอโพลิเมอร์ลายหิน และอิฐมวลเบาคอมโพสิตจากจีโอโพลิเมอร์ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลการทดสอบ • การขึ้นรูปสามารถทำได้ที่อุณหภูมิห้อง • กระบวนการขึ้นรูปไม่ซับซ้อน • ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายทั้งสมบัติและรูปแบบ แผนงานในอนาคต วิจัยและพัฒนาจีโอโพลิเมอร์ใน 3 แนวทาง ได้แก่ • พัฒนาจีโอโพลิเมอร์เนื้อแน่น (dense geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง • พัฒนาจีโอโพลิเมอร์พรุน (porous geopolymer) สำหรับใช้เป็นวัสดุฉนวนกันความร้อน • […]

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย

ที่มา ประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเผาไหม้ถ่านหินจะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัตถุพลอยได้แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนัก 20% โดยประมาณ ในการเผาไหม้ถ่านหิน4 หมื่นตัน/วัน จะได้เถ้าถ่านหินประมาณ 1 หมื่นตัน/วัน หรือกว่า 3 ล้านตัน/ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์สูงสุดของวัสดุและการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุพลอยได้จากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหิน จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยเรื่องการเก็บกลับคืนเซโนสเฟียร์ (Cenospheres) จากเถ้าลอย เป้าหมาย วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างฐานเทคโนโลยีองค์ความรู้เรื่องกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย และพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม สถานภาพงานวิจัย • ได้กระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์ที่มีคุณภาพและเป็นระบบได้ต้นแบบกระบวนการและชุดอุปกรณ์คัดแยกแบบเปียกและแบบแห้ง • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเถ้าลอยอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถขยายสเกลการผลิตได้ • เกิดการจ้างงานแก่คนในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทีมวิจัยทำอย่างไร • สร้างฐานข้อมูลเชิงวัสดุที่แสดงปริมาณและคุณภาพของเซโนสเฟียร์ในเถ้าลอย ที่เป็นวัตถุพลอยได้จากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินในโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปาง • สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยอย่างเป็นระบบ อันประกอบด้วยกระบวนการคัดแยกแบบเปียกและแบบแห้ง • พัฒนาต้นแบบกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย ทั้งกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง คุณสมบัติ เซโนสเฟียร์ (Cenospheres) เป็นวัตถุอนินทรีย์ที่ผสมอยู่ในเถ้าลอย มีซิลิกาและอะลูมินาเป็นองค์ประกอบหลัก จัดเป็นวัสดุที่มีมูลค่าสูง มีคุณสมบัติเด่นคือ มีน้ำหนักเบา (ความหนาแน่นน้อยกว่า 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) […]

ต้นแบบระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติ

ที่มาของโจทย์วิจัย ชิ้นส่วนวิศวกรรมในระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้ามักเกิดความเสียหายจากการใช้งาน ชิ้นส่วนเหล่านี้จำเป็นต้องซ่อมแซมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลาในการสั่งซื้อ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมอัตโนมัติสำหรับการเชื่อมซ่อม เช่น การเชื่อมเติมเต็มเนื้อวัสดุที่หายไป โดยใช้โลหะชนิดเดียวกับชิ้นส่วนเดิม และการเชื่อมพอกโลหะในกลุ่มที่ทำให้มีผิวการใช้งานที่แข็งขึ้น โดยใช้โลหะอื่นๆ ที่มีสมบัติพิเศษ เป้าหมาย ทีมวิจัยเอ็มเทค นำโดย ดร.นิรุตต์ นาคสุข ร่วมกับฝ่ายโรงงานและอะไหล่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบเชื่อมพอกอัตโนมัติที่สามารถเชื่อมซ่อมชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมตำแหน่งของชิ้นงานและการเคลื่อนที่ของหัวเชื่อม ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมและควบคุมการทำงานผ่านหน้าจอสัมผัสหลัก หรือผ่าน Teach Pendent ได้โดยสะดวก และเลือกดูหรือบันทึกค่าต่างๆ ที่สำคัญในระหว่างการเชื่อม เช่น Heat Input, Arc Voltage และ Arc Current เพื่อนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์คุณภาพงานเชื่อมได้โดยง่าย ระบบเชื่อมยังสามารถทำงานในลักษณะ Edge Following โดยการควบคุมระยะการเชื่อมผ่านการควบคุม Arc Voltage ได้อีกด้วย นอกจากนี้ หัวเชื่อมที่ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นใหม่ภายในประเทศ ยังสามารถรถสอดเข้าไปเชื่อมภายในชิ้นงาน และสามารถงอที่ปลายหัว เพื่อให้ได้มุมการเอียงหัวที่เหมาะสมในระหว่างการเชื่อมอีกด้วย ทีมวิจัยทำอย่างไร สำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบระบบเชิงกลและสร้างแบบสำหรับการผลิต […]

1 13 14 15 16 17 26