โครงการวิจัย

เตียงตื่นตัว เตียงกระตุ้นการลุกนั่งของผู้สูงอายุ : JOEY – The active bed

เตียงตื่นตัว เตียงกระตุ้นการลุกนั่งของผู้สูงอายุ JOEY – The active bed ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบนั่นคือการที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากกว่าจำนวนประชากรวัยทำงานจึงเกิดคำถามสำคัญว่าเราจะดูผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีสุขภาพที่ดีให้นานที่สุดได้อย่างไร และมีอุปกรณ์อะไรบ้างที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้บ้าง แนวคิดหลักออกแบบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกจากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆหรือเรียกว่า “Human-centric design” โดยคำนึงถึง ความต้องการขั้นพื้นฐานคือ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการนอนติดเตียงด้วยการกระตุ้นให้ผู้ใช้ลุกนั่งและยืนได้ด้วยตัวเอง ลดภาระการดูแล ใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีความเหมาะสมด้านการยศาสตร์ ราคาไม่สูงมาก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้สูงอายุได้ในวงกว้าง จุดเด่นของผลงานวิจัย> ช่วยกระตุ้นการลุกนั่ง-ยืน-เดินของผู้สูงอายุ> มีกลไกหลักสำหรับการปรับเปลี่ยนจาก “ท่านอน” เป็น “ท่านั่ง” ในลักษณะ“พร้อมลุกยืน” กลไกนี้ได้รับการออกแบบให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานด้วยตนเองได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม> มีสมองกลสำหรับวิเคราะห์ด้านสุขภาวะ ได้แก่ พฤติกรรมการนอน และการลุกจากเตียง อันจะนำไปสู่การป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพและการนอนติดเตียงของผู้สูงอายุ สถานภาพงานวิจัยพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี ทีมวิจัยและพัฒนาดร.สิทธา สุขกสิดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติฝอยฝน ศรีสวัสดิ์ประสิทธิ์ วัฒนวงศ์สกุลณรงค์ พิทักษ์ทรัพย์สิน สนใจข้อมูลเพิ่มเติมรัชนี ม้าทองโทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4313Email : rutchanc@mtec.or.thศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

สารบีเทพ (BeThEPS) สารรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อแปรรูปยางแผ่น : Be Thai Economic Preservative for Rubber Sheet

สารบีเทพ (BeThEPS) สารรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อแปรรูปยางแผ่นBe Thai Economic Preservative for Rubber Sheet การเสียสภาพของน้ำยางสดก่อนนำไปแปรรูปเป็นยางแผ่นเป็นปัญหาที่พบมากในพื้นที่กรีดยางที่อยู่ห่างไกลเดินทางลำบาก ทำให้ต้องใช้เวลานานในการขนส่งน้ำยางสดไปยังจุดแปรรูปยางแผ่น และหากมีน้ำยางสดในแต่ละวันในปริมาณมาก จะทำให้ไม่สามารถแปรรูปเป็นยางแผ่นได้ทันเวลา แนวคิดหลักน้ำยางสดที่กรีดจากต้นยางพาราจะคงสภาพเป็นน้ำยางอยู่ได้ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแบคทีเรีย ทำให้บูดเน่าและมีกลิ่นเหม็น ก่อนนำไปแปรรูปเป็นยางแผ่น เกษตรกรมักแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้แอมโมเนียหรือโซเดียมซัลไฟต์เพื่อช่วยยืดอายุน้ำยางสด แต่แอมโมเนียระเหยง่าย มีกลิ่นฉุน เป็นพิษต่อผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม ส่วนโซเดียมซัลไฟต์ทำให้เกิดฟองในแผ่นยาง ทำให้ยางแผ่นมีคุณภาพต่ำลงและราคาถูก สารบีเทพ (BeThEPS) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ยืดอายุน้ำยางสดทดแทนการใช้แอมโมเนียและโซเดียมซัลไฟต์ จุดเด่นของผลงานวิจัย> ปริมาณการใช้น้อย 2-4 กรัม ต่อน้ำยางสด 1 กิโลกรัม และผสมเข้ากับน้ำยางสดได้ง่ายเนื่องจากเป็นของเหลว> ยืดอายุน้ำยางสดได้นานกว่าเดิม 1-3 วัน> แผ่นยางจับตัวรีดง่าย ขึ้นลายดอกได้ชัดเจน> เพิ่มปริมาณยางแผ่นรมควันคุณภาพดี ลดปริมาณยางตกเกรด นำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตยางล้อ ชิ้นส่วนยานยนต์ สายพานลำเลียง พื้นรองเท้ายางปูพื้น และกาวยาง> ประหยัดค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งน้ำยางสด เพราะลดความถี่ในการขนส่งน้ำยางสดได้ สถานภาพงานวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 4 ราย1. บริษัท เอ็ม.ไอ.อินเตอร์ จำกัด2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด […]

BEN : อุปกรณ์ช่วยขึ้นลงเตียงแบบปรับนั่งได้

BEN อุปกรณ์ช่วยขึ้นลงเตียงแบบปรับนั่งได้ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยหลังการผ่าตัด มักมีความเสี่ยงสูงที่จะพลัดตกหกล้มในขณะขึ้นลงเตียง ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้แต่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในบางกรณี แนวคิดหลัก นักวิจัยลงพื้นที่สถานพยาบาลเพื่อเก็บข้อมูลและศึกษาปัญหาที่แท้จริงข้อสรุปที่ได้จะนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์โดยยึดตาม “ความต้องการของผู้ใช้” เป็นสำคัญ วิธีการนี้เรียกว่า Human-centric design (ฮิวแมน เซ็นทริก ดีไซน์) จุดเด่นของผลงานวิจัย > ลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ต้องขึ้น-ลงจากเตียงที่มีความสูง เช่น เตียงโรงพยาบาล > กระตุ้นการลุกขึ้นนั่ง ลดการนอนติดเตียง จึงช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยทั่วไปหรือหลังผ่าตัด > ใช้เป็นเก้าอี้สำหรับพยาบาลในการทำหัตถการ และสำหรับญาติที่มาเยี่ยม > ใช้เป็นเครื่องมือช่วยพยาบาลในการทำกายภาพบำบัด สถานภาพงานวิจัย ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยแก่บริษัท อีซี่โคซี่ จำกัด ทีมวิจัยและพัฒนา ดร.สิทธา สุขกสิ ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ ฝอยฝน ศรีสวัสดิ์ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม รัชนี ม้าทอง โทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4313 Email : rutchanc@mtec.or.th ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) […]

การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

โรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นในสังคมผู้สูงอายุ ทีมวิจัยจึงพัฒนา AKIKO ผ้าห่มที่มีความอ่อนนุ่มและสวยงาม มีการเย็บพิเศษสำหรับกระตุ้นประสาทสัมผัส เหมาะสำหรับนำไปใช้ได้ทั้งที่บ้าน สถานดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาล

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม

วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียตามโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมวัสดุชนิดนี้สังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น เถ้าลอย ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งดินภายในประเทศที่มีมูลค่าต่ำ การใช้วัสดุนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียและวัตถุดิบในประเทศ และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมการผลิต แนวคิดหลักพัฒนาวัสดุพรุนตัวซีโอไลต์จากของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม มีสมรรถนะการใช้งานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถนำไปผลิตเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคภายในประเทศ  จุดเด่นของผลงานวิจัย> วัสดุพรุนตัวซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้จากแหล่งดินและเถ้าลอย มีความพรุนตัวสูงมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ สามารถทนต่อสภาวะที่มีความชื้นและความร้อนได้ดี> วัสดุนี้สามารถประยุกต์ใช้หลากหลายด้าน เช่น ใช้เป็นวัสดุเมมเบรน หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสแบบรวดเร็วของกากชีวมวล เพื่อช่วยลดปริมาณออกซิเจนในน้ำมันชีวภาพ ทำให้น้ำมันชีวภาพมีสมบัติใกล้เคียงน้ำมันปิโตรเลียมยิ่งขึ้น สถานภาพงานวิจัยบริษัท เหมืองขุนฝาง จำกัด รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในส่วนการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากแหล่งแร่ โดยเช่าพื้นที่ในอาคาร INC 2 เพื่อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ซีโอไลต์ร่วมกับเอ็มเทค ทีมวิจัยและพัฒนาดร.ศุภวรรณ วิชพันธุ์ดร.ดวงเดือน อาจองค์ดร.คณิต สูงประสิทธิ์คุณปัญจลักษณ์ สิรินวรานนท์ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดร.ศุภวรรณ วิชพันธโทรศัพท์ 0 2564 6500 ต่อ 4202Email : supawank@mtec.or.thศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.

1 15 16 17 18 19 26