โครงการวิจัย

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม : Effect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิมEffect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel บริษัท Standard Unit Supply (Thailand) จำกัด ต้องการพัฒนากระบวนการอัดและเผาซินเทอร์ เพื่อปรับปรุงความต้านทานการกัดกร่อนของผลิตภัณฑ์ ก่อนร่วมงานกับเอ็มเทค บริษัทเคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป้าหมายปรับปรุงกระบวนการเผาซินเทอร์เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยไม่กระทบต่อสมบัติอื่นๆ ของชิ้นงาน ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา จากการวิเคราะห์ชิ้นงานและกระบวนการพบว่าปัญหาเกิดจากบรรยากาศการเผาและกระบวนการขัดผิวไม่เหมาะสม2. ออกแบบกระบวนการผลิต จำนวน 21 รูปแบบ และทดลองระดับห้องปฏิบัติการที่เอ็มเทค เพื่อหากระบวนการที่เหมาะสม3. ทดสอบกระบวนการผลิตในระดับประลองและต่อเนื่องในระดับอุตสาหกรรมที่บริษัท โดยทีมวิจัยของเอ็มเทคให้คำปรึกษาตลอดการทดสอบ (1 ส.ค. – 31 ต.ค. 2559) สถานภาพผลงานวิจัยบริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงยอดขายเพิ่มขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการผลิตปรับปรุงใหม่ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียเมื่อมองทั้งกระบวนการพบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 140 ล้านบาทต่อปี ทีมวิจัยและพัฒนาดร.อัญชลี มโนนุกุล (เอ็มเทค)นายพงศ์พร มูลเจริญพร (เอ็มเทค)นายสุกฤษฏิ์ สงเกื้อ (เอ็มเทค)นายจามร กลั่นผล (บริษัท […]

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม : Effect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel

ผลกระทบของบรรยากาศการเผาซินเทอร์ต่อสมบัติของชิ้นงานเหล็กกล้าไร้สนิม Effect of Sintering Atmosphere on Properties of Stainless Steel บริษัท Standard Unit Supply (Thailand) จำกัด ต้องการพัฒนากระบวนการอัดและเผาซินเทอร์ เพื่อปรับปรุงความต้านทานการกัดกร่อนของผลิตภัณฑ์ ก่อนร่วมงานกับเอ็มเทค บริษัทเคยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป้าหมาย ปรับปรุงกระบวนการเผาซินเทอร์เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยไม่กระทบต่อสมบัติอื่นๆ ของชิ้นงาน ทีมวิจัยทำอย่างไร 1. ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา จากการวิเคราะห์ชิ้นงานและกระบวนการพบว่าปัญหาเกิดจากบรรยากาศการเผาและกระบวนการขัดผิวไม่เหมาะสม 2. ออกแบบกระบวนการผลิต จำนวน 21 รูปแบบ และทดลองระดับห้องปฏิบัติการที่เอ็มเทค เพื่อหากระบวนการที่เหมาะสม 3. ทดสอบกระบวนการผลิตในระดับประลองและต่อเนื่องในระดับอุตสาหกรรมที่บริษัท โดยทีมวิจัยของเอ็มเทคให้คำปรึกษาตลอดการทดสอบ (1 ส.ค. – 31 ต.ค. 2559) สถานภาพผลงานวิจัย บริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงยอดขายเพิ่มขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการผลิตปรับปรุงใหม่ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียเมื่อมองทั้งกระบวนการพบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 140 ล้านบาทต่อปี ทีมวิจัยและพัฒนา ดร.อัญชลี มโนนุกุล (เอ็มเทค) […]

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย : Cenospheres Separation from Fly Ash

เซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยCenospheres Separation from Fly Ash การใช้ถ่านหินลิกไนต์เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า จะได้เถ้าถ่านหินเป็นวัสดุพลอยได้กว่า 3.5 ล้านตัน/ปี แบ่งเป็นเถ้าลอย 80% และเถ้าหนักประมาณ 20% การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัสดุพลอยได้จึงเป็นที่มาของการพัฒนากระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอย แนวคิดหลัก เซโนสเฟียร (Cenospheres) เป็นอนภุาคโครงสร้างกลม กลวง มี องค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกับเถ้าลอยคือมีซิลิกาและอะลูมินาเป็นองค์ประกอบหลักเซโนสเฟียร์ มีน้ำหนักเบา มีความหนาแน่นต่ำ เป็นฉนวนกันความร้อน ทนต่อสารเคมี ทนต่อแรงอัดที่สูง ดูดซึมน้ำน้อย และไหลร่วนตัวดีจึงใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, พลาสติกน้ำหนักเบา, วัสดุกันเสียง, วัสดุกันลามไฟ, ซีเมนต์, สีและสารเคลือบผิว เป็นต้น จุดเด่นของผลงานวิจัย> องค์ความรู้เรื่องกระบวนการคัดแยกเซโนสเฟียร์จากเถ้าลอยที่เป็นระบบทั้งกระบวนการแบบเปียกและแบบแห้ง> ฐานข้อมูลเชิงวัสดุและคุณภาพของเซโนสเฟียร์ที่ได้จากเถ้าลอยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ> ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเถ้าลอยอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทางหนึ่ง สถานภาพผลงานวิจัย– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบเปียกระดับขยายสเกลที่สามารถคัดแยกเซโนสเฟียร์ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง– ต้นแบบกระบวนการคัดแยกแบบแห้งภาคสนามที่มีประสิทธิภาพการคัดแยกเถ้าลอยได้หลายชนิดและมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ติดตั้ง ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปางแล้ว– มีการจ้างงานคนในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทีมวิจัยและพัฒนาดร. ศรชล โยริยะน.ส. อังคณา ชุมภูน.ส. ภัทรธิชา […]

ระบบควบคุมคุณภาพ ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกโดยการใช้เทคโนโลยีแมชชีนวิชัน และ เทคโนโลยีการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ

ระบบควบคุมคุณภาพ ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกโดยการใช้เทคโนโลยีแมชชีนวิชัน และ เทคโนโลยีการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ ความถูกต้องในการบรรจุสินค้า เป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงมาตรฐานของโรงงานผลิตและธุรกิจโดยรวม การใช้วิธีสุ่มตรวจไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ 100% เนื่องจากยังอาจมีสินค้าที่ไม่ถูกต้องหลุดรอดออกสู่ตลาด ระบบการตรวจสอบความถูกต้องของการบรรจุสินค้าอัตโนมัติจึงเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า และทำให้เกิดความถูกต้องในระบบบริหารจัดการภายในโรงงานผลิตเอง แนวคิดหลัก > พัฒนากระบวนการผลิตข้อต่อ PVC โดยปรับปรุงการตรวจสอบความถูกต้องของบรรจุภัณฑ์ และจำนวนบรรจุ ด้วยเทคโนโลยีแมชชีนวิชันและระบบการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ > ทีมวิจัยเอ็มเทคพัฒนาระบบดังกล่าวด้วยเทคโนโลยีแมชชีนวิชัน (การมองและแยกแยะใช้ระบบกล้อง และการคำนวณใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติ) และเทคโนโลยีการพิมพ์กล่องอัตโนมัติ จุดเด่นของผลงานวิจัย > ช่วยควบคุมคุณภาพภายในกระบวนการบรรจุสินค้าให้ถูกต้องแม่นยำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า > ทำงานได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูง ลดการพึ่งพาแรงงานในกระบวนการลงได้ 3 คนต่อวัน และใช้เวลาตรวจสอบสินค้าไม่เกิน 3 วินาที ต่อชิ้น สถานภาพผลงานวิจัย ต้นแบบได้ถูกติดตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2560 และใช้งานในสายการผลิตจริง ณ โรงงานของบริษัท นวพลาสติก อุตสาหกรรม จำกัด ทีมวิจัยและพัฒนา ดร.นิรุตต์ นาคสุข และทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม สนใจข้อมูลเพิ่มเติม รัชนี ม้าทอง โทรศัพท์ 0 2564 6500 […]

กังหันลมแกนตั้งที่หมุนได้ด้วยตัวเองเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า : Darrieus Vertical Axis Wind Turbine

กังหันลมแกนตั้งที่หมุนได้ด้วยตัวเองเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าDarrieus Vertical Axis Wind Turbine กังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียส (Darrieus vertical axis wind turbine) มีศักยภาพที่จะนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับกังหันลมแกนนอนที่ใช้กันโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี กังหันลมชนิดนี้มีข้อด้อยประการหนึ่ง คือ ไม่สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเองหากไม่มีการขับให้หมุนในตอนต้น งานวิจัยนี้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าว แนวคิดหลักพัฒนากังหันลมแกนตั้งชนิดเดเรียสให้สามารถเริ่มต้นหมุนได้ด้วยตัวเองที่ความเร็วลม 3 เมตรต่อวินาที และมีกำลังการผลิต 500 วัตต์ที่ความเร็วลม 8 เมตรต่อวินาที ทีมวิจัยทำอย่างไรการทำให้กังหันเริ่มต้นหมุนเองจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีสองส่วน ได้แก่1. เทคโนโลยีใบพัด ได้ออกแบบรูปร่างของใบพัดขึ้นมาใหม่โดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลข พร้อมกับใช้เทคนิคการพับขึ้นรูปอะลูมิเนียม เพื่อให้ได้ใบพัดที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา2. เทคโนโลยีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบควบคุม ได้พัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ไม่มีแรงต้านการหมุนที่เกิดจากแม่เหล็ก (cogging torque) เพื่อลดแรงต้านการหมุนที่ชุดใบพัดต้องเอาชนะ ในขณะเดียวกันระบบควบคุม จะทำหน้าที่ลดแรงต้านจากโหลดทางไฟฟ้าเพื่อให้กังหันสามารถเร่งตัวได้ดียิ่งขึ้น สถานภาพผลงานวิจัยการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเพิ่มกำลังการผลิตของกังหันสามารถทำได้ในอนาคต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้น ตามนโยบายของรัฐที่ตั้งกำลังการผลิตไว้ที่ 3002 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2579 ทีมวิจัยและพัฒนาดร.ศุภกิจ วรศิลป์ชัยดร.บรรพต ไม้งามดร.พงศ์พิชญ์ วิภาสุรมณฑลเกียรติก้อง สุวรรณกิจเสฏฐวรรธ สุจริตภวัตสกุลดุสิต ตั้งพิสิฐโยธินกฤตธี จินดาวงศ์จิรพงษ์ พงษ์สีทองชัยยันต์ […]

1 16 17 18 19 20 26